Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต - Coggle Diagram
ระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
ความหมายของระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
อินเตอร์เน็ต (Internet) มาจากคำว่า Interconnection Network เป็น เครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่เชื่อมต่อกันทั่วโลกโดยมีมาตรฐานการรับส่งข้อมูลระหว่างกันเป็นแบบเดียวกันซึ่งคอมพิวเตอร์ภายในเครือข่ายแต่ละเครื่องสามารถรับและส่งข้อมูลในรูปแบบต่างๆ ได้หลากหลายรูปแบบ เช่น ตัวอักษร ภาพกราฟิก และเสียง เป็นต้น"
กิดานันท์ มลิทอง (2540 , 321) ได้กล่าวถึงความหมายของอินเตอร์เน็ตว่าหมายถึงระบบของการเชื่อมโยงข่ายงานคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่มากครอบคลุมไปทั่วโลก เพื่ออำนวยความสะดวกในการให้บริการสื่อสารข้อมูล ดังนั้นอินเตอร์เน็ตจึงเป็นวิธีในการเชื่อมโยงข่ายงานคอมพิวเตอร์ที่มีอยู่ซึ่งขยายออกไปอย่างกว้างขวาง เพื่อการเข้าถึงแต่ละระบบที่มีส่วนร่วมอยู่
ครือข่ายเข้าด้วยกันไม่ว่าจะเป็นเครือข่ายเอกชนฯ หรือเครือข่ายของหน่วยงานราชการ โดยมีปัจจัยหลักอยู่ 3 ประการคือ
อินเตอร์เน็ตยอมให้คอมพิวเตอร์และเครือข่ายหลากหลายประเภทสื่อสารกันได้
ไม่มีองค์กรใดเป็นเจ้าของหรือจัดการวางระเบียบในอินเตอร์เน็ต
อินเตอร์เน็ตเป็นสังคมที่เต็มไปด้วยจิตสำนึกผู้ใช้อินเตอร์เน็ตต้องมีมารยาทใน การใช้ทรัพยากรร่วมกันในเครือข่ายอินเตอร์เน็ต
ความเป็นมาของระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
อินเทอร์เน็ต (Internet) เป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ซึ่งเริ่มก่อตั้งโดยโครงการของ ARPAnet (Advanced Research Projects Agency Network)ซึ่งเป็นหน่วยงานที่สังกัดกระทรวงกลาโหม ของสหรัฐ (U.S.Department of Defense - DoD) ถูกก่อตั้งเมื่อประมาณปี พ.ศ.2503 อินเทอร์เน็ต ในยุคแรกๆ เป็นเพียงการนำคอมพิวเตอร์จำนวนไม่กี่เครื่องมาเชื่อมต่อกัน โดยสายส่งสัญญาณเพื่อแลกเปลี่ยน ข้อมูลระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์
**
ในปี พ.ศ.2512 ARPAnet ได้เปลี่ยนชื่อเป็น DARPA (Defense Advanced Research Projects Agency) พร้อมเปลี่ยนแปลงนโยบายบางอย่าง เช่น ได้ทดลองการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ คนละชนิด จาก 4 แห่งเข้าหากันเป็นครั้งแรก คือ มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย สถาบันวิจัยสแตนฟอร์ด มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย และมหาวิทยาลัยยูทาห์ เครือข่ายทดลองประสบความสำเร็จอย่างมาก ดังนั้น ในปี พ.ศ.2518 จึงได้เปลี่ยนจากเครือข่ายทดลองเป็นเครือข่ายที่ใช้งานจริง
**
พ.ศ.2526 DARPA ตัดสินใจนำ TCP/IP (Transmission Control Protocal/Internet Protocal)มาใช้กับคอมพิวเตอร์ทุกเครื่อง ทำให้เป็นมาตรฐานของวิธีการติดต่อในระบบเครือข่าย อินเทอร์เน็ต ดังนั้น TCP/IP คือข้อกำหนดที่ทำให้คอมพิวเตอร์ทั่วโลกทุก platform คุยกันรู้เรื่อง และสื่อสารกันได้อย่างถูกต้อง
**
พ.ศ.2529 ได้มีการกำหนดชื่อโดเมน (Domain Name System) ขึ้น เพื่อสร้างฐานข้อมูล แบบกระจาย (Distribution database) อยู่ในแต่ละเครือข่าย โดยให้ ISP(Internet Service Provider) ช่วยจัดทำฐานข้อมูลของตนเอง จึงไม่จำเป็นต้องมีฐานข้อมูลแบบรวมศูนย์เหมือนแต่ก่อน เช่น การเรียกเว็บ www.edtechno.com จะไปที่ตรวจสอบว่ามีชื่อนี้ หรือไม่ที่ www.thnic.co.th ซึ่งมีฐานข้อมูลของเว็บทั้งหมด เป็นต้น
**
พ.ศ.2533 DARPA ได้ให้มูลนิธิวิทยาศาสตร์แห่งชาติ (National Science Foundation - NSF) เข้ามาดูแลแทนร่วมกับอีกหลายหน่วยงาน ในความเป็นจริง ไม่มีใครเป็นเจ้าของ internet และไม่มีใครมีสิทธิขาดแต่เพียงผู้เดียว ในการกำหนดมาตรฐานใหม่ต่าง ๆ ผู้ติดสินว่าสิ่งไหนดี มาตรฐานไหนจะได้รับการยอมรับ คือ ผู้ใช้ที่กระจายอยู่ทั่วทุกมุมโลก ที่ได้ทดลองใช้มาตรฐาน เหล่านั้น และจะใช้ต่อไปหรือไม่เท่านั้น ส่วนมาตรฐานเดิมที่เป็นพื้นฐานของระบบ เช่น TCP/IP หรือ Domain name ก็จะต้องยึดตามนั้นต่อไป ต่อมาอาร์ปาเนตไม่สามารถที่จะรองรับภาระที่เป็นหลัก (Backbone) ของระบบได้ อาร์ปาเน็ตจึงได้ยุติลง และเปลี่ยนไปใช้ NSFNET และเครือข่ายอื่นๆ แทนมาจนเป็นเครือข่ายขนาดใหญ่จนกระทั่งถึงทุกวันนี้โดยเรียกเครือข่ายว่าอินเทอร์เน็ตโดยเครือข่าย ส่วนใหญ่จะอยู่ในอเมริกาและปัจจุบันนี้มีเครือข่ายย่อยมากมายทั่วโลก(
http://www.thaiall.com
)
อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย
**
พ.ศ. 2534 เป็นปีที่มีการนำอินเทอร์เน็ตเข้ามาอยู่ในประเทศไทยอย่างสมบูรณ์แบบ โดย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้เช่าสายเป็นสายความเร็วสูงต่อเชื่อมกับเครือข่าย UUNET ของ บริษัทเอกชนที่รัฐเวอร์จิเนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา ต่อมามหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า และมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญบริหารธุรกิจ ได้ขอเชื่อมต่อผ่าน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และเรียกเครือข่ายนี้ว่า"ไทยเน็ต" (THAInet) นับเป็นเกตเวย์(Gateway) แรกสู่เครือข่ายอินเทอร์เน็ตสากลของประเทศไทย
**
ในปี พ.ศ. 2535 ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC: National Electronic and Computer Technology Centre) ได้จัดตั้งกลุ่มเครือข่าย ประกอบด้วยมหาวิทยาลัยอีกหลายแห่ง เรียกว่า เครือข่าย"ไทยสาร" ต่อเชื่อมกับเครือข่าย UUNET ด้วยนับเป็นเกตเวย์สู่เครือข่ายอินเทอร์เน็ตแห่งที่สอง (จักรพงษ์ เจือจันทร์.2543)
บริการต่างๆ บนอินเทอร์เน็ต
ไปรษณีอิเล็กทรอนิกส์ (E-mail : Electronics mail)
เป็นบริการที่ช่วยให้สามารถส่งข้อมูลแลกเปลี่ยนกันในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์โดยที่ผู้ส่งจะใช้บัญชีอินเทอร์เน็ต (E-mail Adrress) ส่งข้อมูลประเภทข้อความ รูปภาพ หรือเสียง ผ่านจอคอมพิวเตอรื ไปยังบัญชีอินเทอร์เน็ตของผู้รับ หากผู้รับไม่อยู่ที่จอคอมพิวเตอร์จดหมายนี้จะถูกเก็บไว้ในตู้ โดยที่ผู้รับจะรับเวลาใดหรือตอบกลับเวลาใดก็ได้
ผู้ใช้บริการสามารถติดต่อรับ/ส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ กับผู้ใช้อินเทอร์เน็ตได้ทั่วโลกได้ ซึ่งสะดวก รวดเร็ว ประหยัดเวลาและค่าใช้จ่าย
เครือข่ายใยแมงมุม (WWW : World Wide Web)
เป็นบริการค้นหาและแสดงข้อมูลในแบบสื่อประสม(Multimedia) คือจะเป็นข้อมูลที่มีทั้งข้อความ ภาพ และเสียงประกอบกัน ซึ่งเป็นบริการที่แพร่หลาย ขยายตัวเร็วที่สุดบนอินเทอร์เน็ต
โปรแกรมที่เป็นประตูเข้าสู่โลก World Wide Web ในปัจจุบันมีหลายรายแต่ที่ได้รับความนิยม คือ Nestcape Communicator) และInternet Explorer โดยที่ผู้ใช้บริการต้องระบุ URL (Uniform Resource Locator) เป็นที่อยูของเอกสารในเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เช่นwww.nu.ac.th
nu หมายถึง มหาวิทยาลัยนเรศวร
ac หมายถึง องค์กรที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา
th หมายถึง ประเทศไทย