Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
Nephotic syndrom
FEE506C9-47A8-471E-A7AD-47536A472545 - Coggle Diagram
Nephotic syndrom
ความหมาย
ภาวะที่มีความผิดปกติทางโครงสร้างหรือการทำหน้าที่ของไตอย่างใดอย่างหนึ่งติดต่อกันนานกว่า 3 เดือน เช่น การมีนิ่ว หรือถุงน้ำที่ไต การมีโปรตีน หรือเม็ดเลือดแดงในปัสสาวะ โดยที่อัตราการกรองของไตอาจปกติหรือผิดปกติก็ได้รวมถึงการตรวจพบอัตราการกรองของไต (EGFR) ต่ำกว่า 60 มล./นาที/พี้นที่ผิวกาย 1.73 เมตร ติดต่อกันนานกว่า 3 เดือน
พยาธิสภาพ
เกิดจากการเสื่อมของไต และการถูกทำลายของหน่วยไต มีผลทำให้การกรองทั้งหมดลดลงและการขับถ่ายของเสียลดลงปริมาณCreatinine และ BUN ในเลือดสูงขึ้น หน่วยไตที่เหลืออยู่จะเจริญมากผิดปกติเพื่อกรองของเสียที่มีมากขึ้น ผลที่เกิดขึ้นคือทำให้ไตเสียความสามารถในการปรับความเข้มข้นของปัสสาวะ ปัสสาวะถูกขับออกไปต่อเนื่อง หน่วยไตไม่สามารถดูดกลับเกลือแร่ต่างๆ ทำให้สูญเสียเกลือแร่ออกจากร่างกาย รวมถึงโรคประจำตัว คือ ความดันโลหิตสูง ทำให้เลือดไปเลี้ยงไตไม่พอ เซลล์ไตขาดเลือดและถูกทำลายทำให้อัตราการกรองของไตลดลงไม่สามารถทำงานได้ปกติ
สาเหตุ
ผู้ป่วยมีพฤติกรรมชอบรับประทานอาหารรสหวาน มัน เค็ม เป็นปัจจัยส่งผลให้เกิดการคั่งของน้ำและเกลือแร่ในร่างกาย และไตสูญเสียการทำงาน รวมทั้งมีการกระตุ้นของระบบรีนิน แองจีโอเทนซิน (Renin-angiotensin) ซึ่งสารแองจีโรเทนซิน เป็นสารที่ทำให้หลอดเลือดหดตัว ทำให้ความดันโลหิตสูงแล้ว สารแองจีโอนเทนซินมีฤทธิ์ทำให้หลอดเลือดแดงที่ออกจาก glomeruli (efferent arteriole) หดตัว เกิดแรงต้านทานของหลอดเลือดส่วนปลายเพิ่มขึ้น ทำให้เกิดความดันสูงและยังส่งผลให้หลอดเลือดหดตัว ทำให้ปริมาณโลหิตที่ ไหลกลับเข้าสู่หัวใจเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ปริมาณโลหิตที่จะถูกส่งออกจากหัวใจ ต่อนาที เพิ่มขึ้น ความดันโลหิตจึงเพิ่มขึ้น นอกจากนั้นแองจิโอเทนซินทู (angiotensin II) ยังสามารถกระตุ้น ต่อมหมวกไตให้มี การหลั่งสารอัลโดสเตอโรน (aldosterone) ซึ่งมีคุณสมบัติในการรักษาสมดุลของเกลือแร่และน้ำในร่างกาย โดยจะกระตุ้นการดูดกลับของน้ำและโซเดียมในไต ส่งผลให้เกิดการคลั่งของน้ำในหลอดเลือด ความดันโลหิตจึงเพิ่มขึ้น ถ้าความดันสูงใน glomeruli ที่เป็นอยู่นานๆ จะมีผลทำให้หลอดเลือดฝอย (Glomerular capillary) เกิดการเสื่อมทำให้มีโปรตีนรั่วในปัสสาวะ ซึ่งผู้ป่วยมีปัสสาวะเป็นฟอง และนำไปสู่ภาวะglomerulosclerosis และ สารแองจีโอเทนซินยังมีฤทธิ์ กระตุ้นการเกิด fibrosis ในบริเวณ interstitium และในหลอดเลือด นำไปสู่การเกิดโรคไตเรื้อรั้ง
ผู้ป่วยมีประวัติเป็นโรคเก๊าท์ เป็นโรคข้ออักเสบเรื้อรังชนิดหนึ่ง ซึ่งสาเหตุจากการที่ร่างกายมีกรดยูริดมากกว่าปกติ และตกตะกอนอยู่ภายในข้อ ทำให้เกิดอาการอักเสบ กรดยูริคอาจจะตกตะกอนในไตหรือทางเดินปัสสาวะ ทำให้เป็นนิ่วหรือไตวายเรื้อรังได้
โรคไตเรื้อรังเกิดได้จากความผิดปกติใดก็ตาม ที่มีการทำลายเนื้อไต ทำให้มีการสูญเสียหน้าที่ของไตอย่างถาวร เช่น ไตอักเสบเรื้อรังจากการติดเชื้อ ภาวะอุดกั้นในทางเดินปัสสาวะสาเหตุ และโรคเบาหวาน (ประมาณ 40%) และความดันโลหิตสูง (ประมาณ 20%) โรคอื่น ๆ ที่อาจพบได้คือโรคนิ่วและการอุดตันของทางเดินปัสสาวะ (obstructive uropathy) โรคไตจากเก๊าท์ โรคภูมิต้านทางต่อเนื้อเยื่อตนเอง (Systemic lupus erythematasus) โรคไต IgA โรคถุงน้ำในไตซึ่งเป็นโรคทางกรรมพันธุ์ (Autosomal dominant polycystic kidney disease) โรคไตเรื้อรังที่เกิดจากการใช้ยาแก้ปวด (Analgesic and NSAIDS induced nephropathy)
-
การวินิจฉัย
- ประเมินค่า eGFR จากการตรวจระดับครีะตินินในซีรั่ม (serum creatinine, SCr) โดยวิธี enzymatic และคำนวณด้วยสูตร Schwartz formula
- ตรวจหาโปรตีนจากตัวอย่างปัสสาวะถ่ายครั้งเดียว 2.1 ถ้าตรวจพบมีโปรตีนรั่วทางปัสสาวะตั้งแต่ระดับ 1 +ขึ้นไป โดยใช้แถบตรวจปัสสาวะ(dipstick) ควรได้รับการตรวจยืนยันด้วยการตรวจ protein-to-creatinine ratio ภายใน 3เดือน2) 2.2 ถ้าผลการตรวจ protein-to-creatinine ratio ผิดปกติ ต้องประเมินและตรวจหาสาเหตุเพิ่มเติม
- ตรวจหาเม็ดเลือดแดงในปัสสาวะด้วยแถบตรวจปัสสาวะ ถ้าได้ผลบวกให้ทำการตรวจ microscopic examination หากพบเม็ดเลือดแดงมากกว่า 5/HPF ในปัสสาวะที่ได้รับการปั่น และไม่มีสาเหตุที่สามารถทำให้เกิดผลบวกปลอม จากการตรวจ 3 ครั้ง ห่างกัน 1-2 สัปดาห์ ถือได้ว่ามีภาวะไตผิดปกติ
- ในกรณีที่ตรวจพบความผิดปกติข้อใดข้อหนึ่งตามข้อ 1 - 3 นานเป็นระยะเวลาตั้งแต่ 3 เดือนขึ้นไปให้วินิจฉัยผู้ป่วยเป็น CKD
- การตรวจทางรังสีวิทยา เช่น ภาพถ่ายรังสีระบบทางเดินปัสสาวะ (plain KUB) และ/หรือการตรวจอัลตราชาวด์ระบบทางเดินปัสสาวะ (utrasonography of KUB) ขึ้นอยู่กับข้อบ่งชี้ในผู้ป่วยแต่ละราย
-
การรักษา
1.การรักษาแบบประคับประคอง(Conservative Treatment): การรักษาด้วยยา , การจัดการ
กับอาหาร ,น้ำ การหลีกเลี่ยงปัจจัยกระตุ้นที่จะทำให้การเสื่อมของไตมากขึ้น เพื่อชะลอการเสื่อมของไต และคงไว้ซึ่งการทำหน้าที่ของไตที่เหลืออยู่ในนานที่สุด
- การรักษาโดยการบำบัดทดแทนไต (Renalreplacement therapy) : Continuous ambulatoryperitoneal dialysis : CAPD , Hemodialysis : HD ,Kidney transplantation : KT