Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
DHF Dengue Hemorrhagic fever - Coggle Diagram
DHF Dengue Hemorrhagic fever
ข้อมูลผู้ป่วย
CC : มีไข้ อาเจียน อ่อนเพลีย 5 ชั่วโมงก่อนมาโรงพยาบาล
PI : 4 วันก่อนมาโรงพยาบาล มีไข้ ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยตามตัว ไปตรวจที่คลินิก อาการไม่ทุเลา5 ชั่วโมงก่อน มีไข้ อาเจียน อ่อนเพลีย ญาตินำส่งโรงพยาบาล
พยาธิสภาพของโรค
ตามตำรา
ความหมาย เป็นโรคที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสเดงกี (dengue virus) โดยมียุงลายเป็นพาหะนำโรค
ระยะของโรค
ระยะช็อค ระยะนี้ไข้จะเริ่มลดลง ผู้ป่วยจะซึม เหงื่อออก มือเท้าเย็น ชีพจรเต้นเบาแต่เร็ว ปวดท้อง โดยเฉพาะบริเวณใต้ชายโครงขวา ปัสสาวะออกน้อย อาจมีเลือดออกง่าย เช่น มีเลือดกำเดาไหล อาเจียนเป็นเลือด อุจจาระมีสีดำ ในรายที่รุนแรง จะมีความดันโลหิตต่ำ ช็อค และอาจถึงตายได้ ระยะนี้กินเวลา 24-48 ชั่วโมง ซึ่งผู้ป่วยแต่ละรายไม่จำเป็นต้องเป็นรุนแรงและเข้าสู่ภาวะช็อคทุกราย
ในผู้ป่วยไข้เลือดออกที่อาการไม่รุนแรง เมื่อไข้ลดก็จะมีอาการดีขึ้น รับประทานอาหารได้ เข้าสู่ระยะฟื้นตัว
ระยะฟื้นตัว อาการต่างๆจะเริ่มดีขึ้น ผู้ป่วยรู้สึกอยากรับประทานอาหาร ความดันโลหิตสูงขึ้น ชีพจรเต้นแรงขึ้นและช้าลง ปัสสาวะมากขึ้น บางรายมีผื่นแดงและมีจุดเลือดออกเล็กๆ ตามลำตัว
ระยะไข้ (2-7 วัน) ผู้ป่วยจะมีไข้สูงเกือบตลอดเวลา เบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง มักมีหน้าแดง และอาจมีผื่นหรือจุดเลือดออกตามลำตัว แขน ขา
ของผู้ป่วย
4 วันก่อนมาโรงพยาบาลผู้ป่วยมีไข้ ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยตามตัว แรกรับผู้ป่วยมีไข้สูง สัญญาณชีพ T 39.2 ̊C P 90/min R 24 /min BP 100/70 mmHg CBC : Hct 42.9% WBC 2070cell/uL Platelet count 110,000cell/uL Neutrophils 36% Lymphocyte 55% แพทย์วินิจฉัยโรคครั้งแรก Dengue Hemorrhagic fever : DHFไข้เลือดออก
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
เสี่ยงต่อการเกิดภาวะเลือดออกได้ง่ายเนื่องจากระดับเกร็ดเลือดต่ำ
เสี่ยงต่อภาวะขาดน้ำและภาวะไม่สมดุลของอิเล็กโทรไลต์เนื่องจากการรับประทานอาหารได้น้อย
มีโอกาสเกิดภาวะช็อกเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของการไหลเวียนเลือดจากการรั่วของพลาสมาออกนอกหลอดเลือด
วิตกกังวลต่อความเจ็บป่วยที่เป็น และการรักษาที่ได้รับ
การรักษา
1.ระยะมีไข้สูง ถ้ามีเกิน 39 ̊C ให้ยาลดไข้จำพวกพาราเซตามอล ขนาด 10 มิลลิกรัม/กิโลกรัม/ครั้ง ไม่ควรให้แอสไพริน ควรให้ยาลดไข้เป็นครั้งคราว เมื่อมีไข้สูงเท่านั้น
2.ให้น้ำให้เพียงพอ การมีไข้สูง เบื่ออาหาร อาเจียนทำให้เกิดภาวะขาดน้ำและอาจขาดเกลือโซเดียมควรให้ผู้ป่วยดื่มน้ำผลไม้ หรือ ORS ถ้าเด็กอายุน้อยกว่า 2 ปี ให้ ORS 1 ส่วน ดื่มนมหรือน้ำตาม 1-2 ส่วน
3.โดยทั่วไปไม่จำเป็นต้องAdmit ทุกราย โดยเฉพาะในระยะแรกที่ยังมีไข้ แต่ติดตามอาการผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด โดยติดตามดูระดับเกร็ดเลือดและฮีมาโตคริท และการเปลี่ยนแปลงของสัญญาณชีพ ในรายที่ไข้ลดฮีมาโตคริทสูงขึ้น ≥ ร้อยละ20 แต่ไม่มีภาวะช็อก อาจให้การรักษาแบบผู้ป่วยนอกได้ โดยใช้ 5%D/N/2 ในเด็กโต หรือ 5%D/N/3 ในเด็กน้อยกว่า 1 ปี