Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
หน่วยที่ 12 จิตวิทยาและมนุษยสัมพันธ์ในการส่งเสริม และพัฒนาการเกษตร -…
หน่วยที่ 12 จิตวิทยาและมนุษยสัมพันธ์ในการส่งเสริม
และพัฒนาการเกษตร
แนวคิดและทฤษฎีทางจิตวิทยาและ
มนุษยสัมพันธ์ที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริม
และพัฒนาการเกษตร
ความรู้เกี่ยวกับจิตวิทยาและมนุษยสัมพันธ์ที่เกี่ยวข้องกับ
การส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร
ความรู้เกี่ยวกับจิตวิทยา
ความหมายของจิตวิทยา
ความหมายของจิตวิทยา หมายถึง การศึกษาเชิงวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับพฤติกรรมและกระบวนการทางจิต โดยพฤติกรรมเป็นการกระทำและการตอบสนองที่สามารถวัดและสังเกตได้โดยตรง ส่วน จิต เป็นสภาวะและกระบวนการภายใน เช่น ความคิด ความรู้สึก ทัศนคติที่ไม่สามารถ
สังเกตได้โดยตรง แต่ต้องอาศัยการสังเกตหรือการวัดพฤติกรรม เช่น คำพูด การกระทำ เป็นต้น
ความสำคัญของจิตวิทยา
ช่วยทำให้บุคคลรู้จัก เข้าใจ และเกิดการยอมรับในตนเองมากขึ้น
ช่วยให้คนในสังคมแสดงพฤติกรรมที่เหมาะสมตามแนวทางของกฎเกณฑ์ทางสังคม
ประโยชน์ของจิตวิทยา
ประโยชน์ที่มีต่อตนเอง
ประโยชน์ต่อสังคม
ประโยชน์ด้านอื่นๆ
ความรู้เกี่ยวกับมนุษยสัมพันธ
ความหมายของมนุษยสัมพันธ์
หมายถึงการติดต่อเกี่ยวข้องกันระหว่างบุคคลเพื่อให้เกิดความรู้สึกที่ดีต่อกัน เกิดความร่วมมือ ร่วมใจกันในการทำกิจกรรมให้บรรลุเป้าหมายและดำเนินชีวิตร่วมกันอย่าง
มีความสุข
ความสำคัญของมนุษยสัมพันธ์
เสริมสร้างการพัฒนาการ
ของชีวิตการสร้างสัมพันธภาพที่ดีของครอบครัว
ทำให้คนในสังคมมีการช่วยเหลือ
เกื้อกูลกัน ช่วยให้คนเข้าใจตนเอง และเข้าใจผู้อื่นดีขึ้น
การดำเนินชีวิตในองค์การ
เศรษฐกิจ
การเมืองการปกครอง
การเรียนรู้
ประโยชน์ของมนุษยสัมพันธ์
ช่วยให้เข้าใจธรรมชาติ และพฤติกรรมของคน ช่วยให้เข้าใจความต้องการของคนอื่น ก่อให้เกิดการร่วมมือ ทำให้เกิดความราบรื่นในการคบหาสมาคมกับผู้อื่น กระตุ้นให้บุคคลมีจิตใจดี ช่วยลดความขัดแย้ง ช่วยให้ชีวิตมีความสุข ทำให้เกิดความสามัคคีและความพร้อมเพรียงในหมู่คณะ ช่วยให้เกิดขวัญ กำลังใจในการทำงาน ช่วยให้การพัฒนาประเทศ เจริญก้าวหน้า
จิตวิทยาเกี่ยวกับการรับรู้และการเรียนรู้
ที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมและ
พัฒนาการเกษตร
การรับรู้
ความหมาย กระบวนการประมวลตีความและแปลความหมาย
ของข้อมูล จากการสัมผัส โดยเริ่มตั้งแต่ การมีสิ่งเร้ามากระทบกับประสาทสัมผัสทั้งห้า คือ หูตา คอ จมูก และการสัมผัส และส่งกระแสประสาท ไปยังสมอง เพื่อการแปลความ ทำให้เกิดการได้รู้ได้เข้าใจ
องค์ประกอบการรับรู้
-สิ่งเร้าหรือสถานการณ์
-ประสาทสัมผัส
-ประสบการณ์หรือความรู้เดิมที่เกี่ยวข้องกับสิ่งเร้า
-การแปลความหมายของสิ่งที่สัมผัส
กระบวนการรับรู้
-ขั้นที่ 1 สิ่งเร้ามากระทบประสาทสัมผัสของบุคคล
-ขั้นที่ 2 กระแสประสาทสัมผัสวิ่งไปยังระบบประสาทส่วนกลาง
-ขั้นที่ 3 สมองแปลความหมาย
ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการรับรู้
-สิ่งเร้า
-ผู้รับรู้
-สภาพแวดล้อมหรือสถานการณ์ที่รับรู้
การเรียนรู้
ความหมาย กระบวนการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมจากเดิม
ไปสู่พฤติกรรมใหม่ที่ค่อนข้างถาวร และพฤติกรรมใหม่นี้เป็นผลมาจากประสบการณ์หรือการฝึกฝนมิใช่เป็น
ผลจากการตอบสนองโดยธรรมชาติหรือสัญชาตญาณ
ลักษณะที่สำคัญ
-การเรียนรู้เป็นกระบวนการ
-การเรียนรู้หมายถึงการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมทุกชนิด
-การเรียนรู้เป็นสิ่งที่ช่วยในการปรับปรุงตนเอง
-การเรียนรู้เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพ
-การเรียนรู้ไม่ใช่วุฒิภาวะ เพียงแต่อาศัยวุฒิภาวะเป็นตัวประกอบ
องค์ประกอบการเรียนรู้
-แรงขับ
-สิ่งเร้า
-การตอบสนอง
-การเสริมแรง
ทฤษฎีการเรียนรู้ที่สำคัญ
-ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพฤติกรรมนิยม
-ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มปัญญานิยมหรือพุทธินิยม
-ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มปัญญาสังคมหรือสังคมเชิงพุทธิปัญญา
-ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มมนุษยนิยม
-ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มสร้างสรรค์ทางปัญญานิยม
ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเรียนรู้
-ปัจจัยภายใน
-ปัจจัยภายนอก
จิตวิทยาที่เกี่ยวกับแรงจูงใจการสื่อสารและ
ทัศนคติที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริม
และพัฒนาการเกษตร
แรงจูงใจ
ความหมาย แรงผลักดันภายในที่ไม่สามารถสังเกตเห็นได้ซึ่งก่อตัวขึ้นจนกลายเป็นแรงกระตุ้นและบังคับให้บุคคลแสดง พฤติกรรมตอบสนอง
ลักษณะของแรงจูงใจ ประกอบด้วย แรงจูงใจภายใน แรงจูงใจภายนอก
ความสำคัญของการจูงใจ
-ช่วยให้บุคคลได้เข้าใจถึงพฤติกรรมและ
วิธีการในการสร้างหนทางเพื่อเปลี่ยนพฤติกรรมไปในทิศทางที่ต้องการ
-ช่วยเพิ่มพลังในการทำงานให้บุคคล
-ช่วยเพิ่มความพยายามในการทำงานให้บุคคล
-ช่วยให้เกิดการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการทำงานของบุคคล
-ช ่วยเสริมสร้างคุณค่าของความเป็นคนที่สมบูรณ์ให้บุคคล
ทฤษฎีการจูงใจ
-ทฤษฎีที่เน้นเนื้อหาของการจูงใจ
-ทฤษฎีที่เน้นกระบวนการในการจูงใจ
การสื่อสาร
ความหมาย กระบวนการซึ่งคนเรามีปฏิกิริยาต่อกันและกัน เพื่อความมุ่งหมายที่จะให้เกิดการผสมกลมกลืนกันทั้งในระหว่างบุคคลและภายในตัวบุคคลผู้นั้นเอง
ความสำคัญ
-การสื่อสารเป็นปัจจัยสำคัญในการดำรงชีวิตของมนุษย
-ก่อเกิดความเข้าใจกันระหว่างบุคคลและสังคม
-เป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนาความเจริญก้าวหน้าทั้งตัวบุคคลและสังคม
-ช่วยสืบทอดวัฒนธรรมประเพณี
-ช่วยธำรงสังคม
ให้อยู่ร่วมกันเป็นปกติสุขและอยู่ร่วมกันอย่างสันติ
องค์ประกอบที่สำคัญของการสื่อสาร คือ ผู้ส่งสาร สาร สื่อ หรือช่องทาง ผู้รับสาร
รูปแบบจำลองและทฤษฎีการสื่อสารที่สำคัญ
SMCR ของเบอร์โล
-รูปแบบจำลองหรือทฤษฎีการสื่อสารทางเดียวเชิงเส้นตรงของแชนนันและวีเวอร์
-รูปแบบจำลองหรือทฤษฎีการสื่อสารของชแรมม์
ทัศนคติ
ความหมาย หมายถึงผลจากผสมผสานระหว่างความนึกคิด ความเชื่อ ความคิดเห็น ความรู้ และความรู้สึกของบุคคลที่มีต่อสิ่งหนึ่งสิ่งใด คนใดคนหนึ่ง หรือสถานการณ์ใดสถานการณ์หนึ่งๆซึ่งผ่านเข้ามาในประสบการณ์ของแต่ละบุคคล
องค์ประกอบของทัศนคติ
-องค์ประกอบทางด้านความรู้
-องค์ประกอบทางด้านความรู้สึก
-องค์ประกอบทางด้านพฤติกรรม
ปัจจัยที่ก่อให้เกิดทัศนคติ
-การเพิ่มพูนหรือการประสานกันของการตอบสนองซึ่งเกิดจากการเรียนรู้ในแนวคิดต่างๆ
-ความแตกต่างของบุคคลซึ่งมีประสบการณ์ที่แตกต่างกัน
-อิทธิพลของประสบการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างกะทันหัน
-การถ่ายทอดทัศนคติ
ทฤษฎีเกี่ยวกับทัศนคติ
-ทฤษฎีการวางเงื่อนไขและการให้แรงเสริม
-ทฤษฎีสิ่งล่อใจ
-ทฤษฎีความสอดคล้องกันในการรับรู้
-ทฤษฎีความขัดแย้งทางความคิด
-ทฤษฎีการเปลี่ยนแปลงทัศนคติโดยการปรับตัวให้เข้ากับสังคม
-ทฤษฎีเกี่ยวกับการมีส่วนร่วม
ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับมนุษยสัมพันธ์ในการส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร
กลุ่มทฤษฎีแรงจูงใจ
-ทฤษฎีพฤติกรรมนิยม
-ทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคม
-ทฤษฎีพุทธินิยม
-ทฤษฎีมนุษยนิยม
-ทฤษฎีความคาดหวัง
-ทฤษฎีความเป็นธรรม
ทฤษฎีความต้องการของมนุษย์
-ความต้องการทางกายภาพ
-ความต้องการความมั่นคงปลอดภัย
-ความต้องการทางสังคม
-ความต้องการได้รับการยกย่องสรรเสริญในสังคม
-ความต้องการความสำเร็จสมหวังในชีวิต
ทฤษฎีสองปัจจัยของเฮิร์ซเบิร์ก
-ปัจจัยอนามัย
-ปัจจัยจูงใจ
การประยุกต์แนวคิดและทฤษฎีทางจิตวิทยา
และมนุษยสัมพันธ์ไปใช้ในการส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร
การประยุกต์หลักจิตวิทยา
เป้าหมาย
-เพื่อส่งเสริมบรรยากาศที่ดีระหว่างนักส่งเสริมและตัวเกษตรกร
-เพื่อเป็นกำลังใจให้เกษตรกรแสดงความรู้เพิ่มมากขึ้น
-เพื่อแสดงความพึงพอใจในตัวเกษตรกร
-เพื่อให้การชมเชยแก่เกษตรกร
หลักการใช้จิตวิทยา
-เข้าใจการเปลี่ยนแปลงอัตมโนทัศน์
-ให้ความสำคัญกับประสบการณ์ของเกษตรกร
-คำนึงถึงความพร้อมที่จะเรียนรู้
-ตระหนักถึงความมุ่งหมายของการเรียนรู้ของเกษตรกร
-เข้าใจในหลักการทำงานกับเกษตรกรเป็นรายบุคคล
-เข้าใจในหลักการทำงานกับเกษตรกรเป็นรายกลุ่ม
-เข้าใจในหลักการทำงานกับเกษตรกรเป็นแบบมวลชน
การประยุกต์จิตวิทยาที่เกี่ยวกับการรับรู้และการเรียนรู้
การรับรู้
-การส่งเสริมให้เกษตรกรรวมกลุ่มโดยคำนึงถึงกฎการรับรู้ของกลุ่มเกสตัลท์
-การสร้างความประทับใจระหว่างบุคคลตั้งแต่ครั้งแรกที่พบกัน
-การผลิตและใช้สื่อโดยคำนึงถึงคุณลักษณะของสิ่งเร้า
-การดำเนินงานส่งเสริมการเกษตรโดยคำนึงถึงบุคคลเป้าหมาย
-การสนับสนุนการตัดสินใจ
การเรียนรู้
-ความพร้อมในการเรียนรู้ของผู้เรียน
-ความแตกต่างระหว่างบุคคลและวิธีการเรียนรู้ของผู้เรียน
-การมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ของผู้เรียน
-การกำหนดวัตถุประสงค์การเรียนรู้ให้ชัดเจน
-การจัดระบบเนื้อหาสาระและการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับผู้เรียน
-การกระทำและการรับรู้ผ่านประสาทสัมผัสหลายทาง
-การถ่ายโอนการเรียนรู้
การประยุกต์จิตวิทยาที่เกี่ยวกับแรงจูงใจ การสื่อสาร และทัศนคติ
การจูงใจ
-ข้อควรคำนึงถึงในการสร้างแรงจูงใจในการส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร
-วิธีการสร้างแรงจูงใจในการส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร
การสร้างแรงจูงใจในการส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรให้สอดคล้องกับความต้องการของ
การสร้างแรงจูงใจให้สอดคล้องกับสิ่งจูงใจ
การสร้างแรงจูงใจให้แก่เกษตรกรให้สอดคล้องกับความคาดหวังของเกษตรกร
การสร้างแรงจูงใจให้สอดคล้องกับรูปแบบการเรียนรู้
การสื่อสาร
-ขั้นความรู้
-ขั้นการชักชวน
-ขั้นการตัดสินใจ
-ขั้นการนำไปปฏิบัติ
-ขั้นการยืนยันการตัดสินใจ
ทัศนคติ
-การเปลี่ยนทัศนคติต่อตนเอง
-การสร้างและเปลี่ยนทัศนคติที่ดีในการส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร
การประยุกต์ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับมนุษยสัมพันธ์
การสร้างแรงจูงใจในการส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร
-ทฤษฎีพฤติกรรมนิยม
-ทฤษฎีความคาดหวัง
-ทฤษฎีความเป็นธรรม
การตอบสนองความต้องการของเกษตรกร
-ทฤษฎีความต้องการความสัมฤทธิผลของแมคเคลแลนด์
-ทฤษฎีความต้องการของมาสโลว์
การสร้างมนุษยสัมพันธ์ในการส่งเสริม
และพัฒนาการเกษตร
แนวคิดเกี่ยวกับการสร้างมนุษยสัมพันธ์ในการส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร
ความสำคัญ
-ช่วยให้นักส่งเสริมสามารถเข้าใจตนเองและผู้อื่น
-ทำให้ได้รับความร่วมมือในการทำงานจากบุคลากรในหน่วยงานต่างๆ
-ทำให้เกิดการพัฒนางานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร
ประโยชน์
ทำให้ผู้ที่มีมนุษยสัมพันธ์ดีสามารถเข้ากับคนอื่นได้ง่าย
-เป็นปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่งที่ทำให้เกิดความสำเร็จในการทำงาน
-เพื่อเชื่อมโยงให้บุคลากรทุกฝ่ายทำงานร่วมกันให้บรรลุผลสำเร็จ
-ทำให้สังคมมีคุณภาพ
ขอบเขต
-การสร้างมนุษยสัมพันธ์ภายในองค์การส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร
-การสร้างมนุษยสัมพันธ์ภายนอกองค์การส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร
แนวทางและข้อควรพิจารณาในการสร้างมนุษยสัมพันธ์
แนวทางการสร้างมนุษยสัมพันธ์
-การสนใจในตัวบุคคลอื่น
-การยิ้มแย้มแจ่มใสอยู่เสมอ
-การจำชื่อบุคคลต่าง ๆ
-การเป็นผู้ฟังที่ดี
-การพูดในเรื่องที่ผู้ฟังสนใจ
-การรู้จักยกย่องบุคคลอื่น
-การรู้จักถ่อมตน
-การมีความร่วมรู้สึกหรือการเข้าใจความรู้สึกของผู้อื่น
-การมีใจยุติธรรม
ข้อควรพิจารณา
-ระวังการแสดงสีหน้า ท่าทาง บุคลิกภาพ ไม่พึงประสงค์ การโต้แย้ง การโต้เถียงเพื่อเอาชนะ การตำหนิติเตียนผู้อื่นทั้งต่อหน้าและลับหลัง การพูดเพ้อเจ้อ นินทาว่าร้าย การไม่สนใจฟังผู้อื่น การแสดงความอิจฉาริษยา การแสดงความมีอคติใจแคบ ความโมโหฉุนเฉียว การเลือกที่รักมักที่ชัง การไม่รักษาสัจจะ ชอบจู้จี้จุกจิก แสดงการไม่จริงใจ ความไม่คงเส้นคงวา การโจมตีแรงจูงใจ การคิดแบบถืออัตตา การคิดแบบถือพวกทางสังคม
การสร้างมนุษยสัมพันธ์ในการส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร
การสร้างมนุษยสัมพันธ์ในองค์การ
การสร้างมนุษยสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน
-ทำตนเป็นที่ยอมรับของเพื่อนร่วมงาน
-สังเกตและปฏิบัติตามกฎกติกาของที่ทำงาน
-รับผิดชอบงานของตนให้ดี
-ฝึกตนให้เป็นผู้ที่มีความอดทนต่อพฤติกรรมไม่ดีของเพื่อนร่วมงาน
-สร้างความก้าวหน้าในการทำงานโดยรักษาความสัมพันธ์ที่ดีกับเพื่อน
-ช่วยเหลือเพื่อนร่วมงานมือใหม่
การผูกมิตรกับเพื่อนต่างชาติ
แนวทางในการสร้างมนุษยสัมพันธ์กับผู้บังคับบัญชาและผู้ใต้บังคับบัญชา
-
แนวทางในการสร้างมนุษยสัมพันธ์กับผู้บังคับบัญชา
ทำความเข้าใจในตัวผู้บังคับบัญชา
สนใจในสิ่งที่มีความสำคัญยิ่งต่อผู้บังคับบัญชา
ช่วยทำให้ความปรารถนาของผู้บังคับบัญชาบรรลุผล
สร้างลักษณะนิสัยที่พึงประสงค์
ให้ความเคารพยกย่องผู้บังคับบัญชาตามฐานะ
สรรเสริญคุณงามความดีของผู้บังคับบัญชาในโอกาสอันควร
อย่ารบกวนผู้บังคับบัญชาในเรื่องเล็กๆน้อยๆ
-
การสร้างมนุษยสัมพันธ์กับผู้ใต้บังคับบัญชา
มีความสามารถในการจัดการงาน
ทำตนเป็นคนน่าคบ
ประพฤติตนเป็นที่ยอมรับของผู้ใต้บังคับบัญชา
เปิดโอกาสให้มีการติดต่อสัมพันธ์
ช่วยเหลือผู้ใต้บังคับบัญชา
การสร้างมนุษยสัมพันธ์กับบุคคลภายนอกองค์การ
การสร้างมนุษยสัมพันธ์กับบุคลากรของหน่วยงานอื่น
-รูปแบบการติดต่อสัมพันธ์ของบุคคลระหว่างองค์การต่างๆ
-วิธีการสร้างมนุษยสัมพันธ์กับบุคลากรของหน่วยงานอื่นๆ ได้แก่ แบบไม่เป็นทางการ แบบเป็นทาการ แบบยั่งยืน
การสร้างมนุษยสัมพันธ์กับเกษตรกร
-การสร้างมนุษยสัมพันธ์แบบไม่เป็นทางการกับเกษตรกร
-การสร้างมนุษยสัมพันธ์แบบเป็นทางการกับเกษตรกร ได้แก่ การติดต่อสัมพันธ์เป็นรายบุคคล การติดต่อสัมพันธ์กับกลุ่มเกษตรกร การติดต่อสัมพันธ์กับมวลชนเกษตรกร