Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
สถานการณ์การเปลี่ยนแปลงด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม🌳🌳 - Coggle…
สถานการณ์การเปลี่ยนแปลงด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม🌳🌳
ทรัพยากรดิน
ความเสื่อมสภาพของดิน
ทางเคมี
เช่น ดินเปรี้ยวหรือดินกรดจัด การใช้สารเคมีในการเพาะปลูก
ความอุดมสมบูรณ์ลดลง ธาตุอาหารในดินขาดความสมดุล
ทางชีวภาพ
การลดลงของอินทรียวัตถุและความหลากหลายของสิ่งมีชีวิต
ทางกายภาพ
การสูญเสียโครงสร้างหน้าดินและอินทรียวัตถุ
เช่น การชะล้างหน้าดินที่เกิดจากน้ำไหลหรือการเพราะปลูก
แนวทางการจัดการทรัพยากรดิน
ปัญหาดินขาดธาตุอาหาร ควรลดปริมาณการใช้ปุ๋ยเคมี และหันมาใช้ปุ๋ยอินทรีย์ทางธรรมชาติไถกลบซากพืชโดยไม่เผาทำลาย เพิ่มปริมาณไนโตรเจนโดยการปลูกพืชตระกูลถั่ว ฯ.
ปัญหาดินขาดสารอินทรวัตถุ ควรปลูกพืชหมุนเวียนประจำปี และปลูกพืชหลากหลายชนิดอย่างผสมผสาน
ปัญหาโครงสร้างดิน เมื่อใช้มาเป็นเวลายาวนานต้องมีการไถพรวนระดับลึกเพื่อเป็นการทำลายชั้นดานดินในดิน
บริหจัดการการใช้ที่ดินอย่างเป็นระบบ โดยลดการปลูกพืชเชิงเดี่ยว หันมาทำการเกษตรแบบผสมผสาน ลดการใช้ปุ๋ยเคมี บริหารจัดการน้ำให้เพียงพอและทั่วถึง
ผลกระทบทรัพยากรดิน
การใช้ดินซ้ำ ทำให้อินทรียวัตถุในดิน พร้อมทั้งจุลชีพที่เป็นประโยชน์ในดินสูญเสียไป
ในระยะหลังที่มีการปลูกพืชเชิงเดี่ยวเพื่อการค้า มีการใช้เครื่องจักรไถพรวน และ มีการใช้สารเคมีเพิ่มขึ้้น
ใช้ดินต่อเนื่องระยะยาวนานและการชะล้างหน้าดินมีมากขึ้น
การเสื่อมสภาพโครงสร้างดิน เนื่องจากถูกนำมาใช้มากเกินไปและขาดการบำรุงรักษา
ทรัพยากรน้ำ
สถานการณ์การขาดแคลนน้ำ
ผลกระทบ
ประชากรโลกประมาณ 3,500 ล้านคนขาดแคลนน้ำดื่มที่สะอาด ตามหลักสุขาภิบาล ทำให้ประชากร เสียชีวิตด้วยโรคที่เกิดจากน้ำไม่สะอาด
เมืองใหญ่หลายแห่งทั่วโลกประสบปัญหาการขาดแคลนน้ำดื่มและน้ำอุปโภคจากปริมาณน้ำที่ไม่เพียงพอและสารปนเปื้อน
ผลผลิตอาหารจากภาคเกษตรกรรมทั้งพืชและสัตว์เลี้ยงเพื่อการบริโภคลดลง เลยไม่เพียงพอต่อประชากร
สถานการณ์น้ำของโลก ประชากรโลก 1 ใน 5 คนไม่สามารถเข้าถึงน้ำสะอาดและขาดแคลนน้ำดื่ม IWMI ประมาณการว่า ในราว ค.ศ.2025 ประชากร 4,000 ล้านคนใน 48 ประเทศ จะเผชิญกับปัญหาการขาดแคลนน้ำ หากยังใช้ฟุ่มเฟือยเช่นในปัจจุบัน เมืองใหญ่ที่ขาดแคลนน้ำ
เช่น เซาเปาลู ประเทศบราซิล สาเหตุมาจากภัยแล้ง ผลกระทบคือ ประชากร 21.7 ล้านคนเดือนร้อน
แนวทางการจัดการ
วางแผนการใช้น้ำอย่างมีประสิทธิภาพเช่นทำการเกษตรที่ใช้น้ำน้อย
แต่ให้ผลผลิตสูงโดยการใช้เทคโนโลยีเข้ามา
สร้างและจัดหาพื้นที่กักเก็บน้ำผิวดินที่ได้จากฝุ่น เช่น อ่างเก็บน้ำรูปแบบต่างๆเพื่อสำรองน้ำจืดไว้ใช้
จัดการและอนุรักษ์พื้นที่ป่าไม้บริเวณต้นน้ำ เพื่อให้ปริมาณน้ำที่เป็นต้นน้ำ
แนวทางการจัดการ
สร้างจิตให้ประชาชนตระหนักถึงความสำคัญในการรักษาคุณภาพของแหล่งน้ำและการอนุรักษ์น้ำ
รณรงค์ให้หน่วยงาน องค์กรต่างๆ มีการบำบัดและขจัดสารพิษก่อนที่จะปล่อยลงสู่แหล่งน้ำ
ลดแริการใช้น้ำ และลดปริมาณขยะในครัวเรือน
ไม่ทิ้งขยะสิ่งปฏิกูล หรือสารพิษลงในแหล่งน้ำ
การเปลี่ยนแปลงคุณภาพอากาศ
บรรยากาศโลกประกอบด้วย แก๊สไนโตรเจน ออกซิเจน ไอน้ำ ฝุ่นละออง จุลินทรีย์ต่างๆ แก๊สออกซิเจนมีความสำคัญต่อสิ่งมีชีวิตรวมถึงมนุษย์
สาเหตุ
การปล่อยควันเสียจากโรงงานอุตสาหกรรม
การปล่อยควันเสียจากยานพาหนะ
การเผาวัชพืชหรือเศษวัสดุเพื่อเตรียมพื้นที่สำหรับการเกษตรกรรม
เกิดภัยธรรมชาติ เช่น ไฟป่า ภูเขาไฟประทุ
ผลกระทบ
ส่งผลต่อระบบทางเดินหายใจของมนุษย์และสัตว์
ส่งผลกระทบต่อทัศนวิสัยการมองเห็นเส้นทางของผู้ขับขี่ยานพาหนะ และอาจนำไปสู่การเกิดอุบัติเหตุ
เมื่อปนเปื้อนกับฝนหรือแหล่งน้ำผิวดิน ทำให้น้ำมีคุณภาพลดลงหรือเกิดฝนกรด
แนวทางการจัดการ
ติดตามตรวจสอบการระบายอากาศจากแหล่งกำเนิดต่างๆ เช่น โรงงานอุตสาหกรรม โรงไฟฟ้าถ่านหิน ให้อยู่ในมาตรฐาน
เฝ้าระวังคุณภาพอากาศด้วยการตรวจวัดอย่างสม่ำเสมอ
ควบคุมมลพิษทางอากาศ เช่น ลดการใช้รถยนต์ส่วนบุคคลลง ด้วยการสร้างและพัฒนาระบบขนส่งมวลชนขนาดใหญ่ที่สะดวก และครอบคลุมในทุกเส้นทาง
การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ
สาเหตุ
มาจากการปล่อยสารซีเอฟซี( CFC ) หรือสารคลอโรฟลูออโรคาร์บอนขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศ
ผลกระทบ
ทำให้รังสีอัลตราไวโอเลต ( UV ) ผ่านลงมายังผิวโลกมากขึ้น
ซึ่งเป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตชนิดต่างๆ รวมทั้งมนุษย์ที่ป่วยเป็นโรคมะเร็งผิวหนัง
แนวทางการจัดการ
คือ การควบคุมการใช้วัตถุหรือสารเคมีที่ก่อให้เกิดสาร ซีเอฟซี เช่น กระป๋องสเปรย์ สารทำความเย็น
ทรัพยากรป่าไม้
สถานการณ์
การเปลี่ยนแปลงพื้นที่ป่าไม้ของโลกที่สำคัญ คือ การสูญเสียทรัพยากร
ป่าไม้เป็นจำนวนมาก โดยพื้นที่ป่าไม้ที่ถูกทำลายส่วนใหญ่อยู่ในประเทศกำลังพัฒนา การลดลงขอวพื้นที่ป่าไม้ โดยเฉพาะป่าไม้เขตร้อนชื้น ส่งผล
กระทบต่อความหลากหลายทางชีวภาพ
ผลกระทบ
สูญเสียพื้นที่ป่าไม้ ทำให้ปริมาณและสัตว์ป่าและพืชพรรณลดลง
พื้นที่ป่าไม้ลดลง ทำให้เกิดความแห้งแล้ง ฝนไม่ตกตามฤดูกาล สภาพอากาศเปลี่ยนแปลง
เมื่อฝนตกหนักและไม่มีต้นไม้ยึดเกาะหน้าดิน ทำให้เกิดดินถล่มบริเวณเขตภูมิประเทศลาดชันลงมาทับบ้านเรือน
ป่าไม้ลดลง ทำให้ระบบอุทกวิทยาในพื้นที่เกิดการเปลี่ยนแปลง โดยปกติพื้นที่ป่าไม้จะมีน้ำไหลรินอยู่ในพื้นที่ป่าตลอดเวลา แต่เมื่อป่าไม้ถูกทำลาย ระบบลำห้วย ลำคลอง แม่น้ำเกิดการระเหยมากขึ้น
เมื่อป่าไม้ลดลง ทำให้สูญเสียที่อยู่อาศัยและแหล่งอาหารของสิ่งมีชีวิตทั้งสัตว์และมนุษย์
แนวทางการจัดการ
ลดปริมาณการตัดไม้ทำลายป่า โดยทุกประเทศจะต้องมีมาตรการและแนวทางในการป้องกันการตัดไม้ทำลายป่าอย่างเคร่งครัด
ป้องกันการสูญเสียป่าไม้ที่เกิดจากไฟป่าในทุกประเทศ เช่น สร้างแนวกันไฟรอบพื้นที่
การฟื้นฟูพื้นที่ป่าไม้ เช่น การปิดป่า การประกาศเป็นเขตอนุรักษ์
การเพิ่มพื้นที่ป่าไม้ด้วยการปลูกป่าทดแทนป่าไม้ที่ถูกทำลาย
ความหลากหลายทางชีวภาพ
สถานการณ์
ความหลากหลายทางชีวภาพปัจจุบันคือการทำลายป่าเพิ่มมากขึ้นเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพไม่เฉพาะแต่การคุกคามโดยมนุษย์แต่ยังเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทางธรรมชาติที่รวดเร็วเช่น อุณหภูมิสูงขึ้น ไฟป่า น้ำท่วม แผ่นดินไหว ภูเขาไฟประทุ ปัจจุบันสูญเสียสัตว์และพืชพันธ์ในป่าเขตร้อนอย่างน้อย 27,000 ชนิดต่อปี
ผลกระทบ
นำไปสู่ภาวะโฮโมโซโกซิตี คือ ภาวะพันธุ์แท้ ที่ประชากรสัตว์มีการผสมตัวเองมากขึ้นก่อให้เกิดพันธุ์แท้
การสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพทำให้ระบบนิเวศในแต่ละระบบขาดตอน เช่น การถ่ายทอดทางพันธุกรรม ห่วงโซ่อาหาร การพึ่งพาอาศัยกัน และการสูญเสียสายพันธุ์ทั้งชีวิตทั้งระบบ
ส่งผลต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศในการขาดแคลนอาหาร ขาดแคลนวัตถุดิบ เพื่อการผลิตและขาดปัจจัยที่จำเป็นต่อการดำรงค์ชีวิต
ทำให้สูญเสียถิ่นที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิตเพราะในระบบชีวนิเวศต้องมีการพึ่งพาอาศัยกัน
มีผลกระทบต่อการผลิตยารักษาโรคในทางการแพทย์
แนวทางการจัดการศึกษา
ลดการทำลายป่าไม้และสิ่งแวดล้อม
ออกมาตรการทางกฎหมายคุ้มครองป่า
ชนิดพันธุ์พืชและสัตว์ป่า
จัดระบบนิเวศให้ใกล้เคียงตามธรรมชาติ โดยฟื้นฟูหรือพัฒนาพื้นที่เสื่อมโทรม
จัดให้มีศูนย์อนุรักษ์และพิทักษ์สิ่งมีชีวิตทั้งในถิ่นกำเนิดและนอกถิ่นกำเนิดเพื่อเป็นที่พักพิงและอนุบาลชั่วคราว
ส่งเสริมการเกษตรแบบไร่นาสวนผสม เพื่อให้มีพืชและสัตว์หลายชนิดมาอยู่รวมกัน
ทรัพยากรแร่และพลังงาน
สถานการณ์
ทรัพยากรแร่และพลังงานเป็นทรัพยากรที่สำคัญต่อการพัฒนาด้านเศรษฐกิจเป็นวัตถุดิบสำคัญในการผลิตของอุตสาหกรรม เพื่อตอบสนองความต้องการของมนุษย์ จึงส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและคุณภาพชีวิตเช่น เกิดสารพิษจำพวกปรอท แคดเมียม โครเมียม จากอุตสาหกรรมขุดเจาะและผลิตน้ำมันปิโตรเลียม แหล่ง พลังงานหลักของโลกมาจากเชื้อ
เพลิงฟอสซิล คือ ถ่านหิน น้ำมันดิบ และแก๊สธรรมชาติ แต่เนื่องจากแหล่งพลังงานฟอสซิลกำลังจะหมดไปจึงมีการใช้พลังงานสะอาดแทน ได้แก่พลังงานลม พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานความร้อนใต้พิภพ กระแสน้ำและคลื่นทะเล และพลังงานชีวภาพ
ผลกระทบ
แร่และพลังงานเมื่อนำมาใช้ปริมาณมากจะส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เช้น มลพิษทางอากาศ มลพิษทางน้ำ ฯ.
แนวทางการจัดการ
ในหลายประเทศใช้แนวทางพลังงานทางเลือกทดแทนทรัพยากรเชื้อเพลิงฟอสซิลที่มีจำกัด ซึ่งสามารถนำมาหมุนเวียนใช้ได้อีก รวมทั้งเป็นพลังงานสะอาด เช้น พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม พลังงานความร้อนใต้พิภพ ฯ. ในประเทศพัฒนาแล้ว เช่น ประเทศสหรัฐอเมริกามีการใช้พลังงานหมุนเวียนจากความร้อนใต้พิภพ