Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
กระบวนการยุติธรรม - Coggle Diagram
กระบวนการยุติธรรม
ระบบกระบวนการยุติธรรมของไทย
ความไม่เหมาะสมของระบบการศาลเดิม
ระบบศาลที่มีศาลแยกย้ายกันอยู่ตามกระทรวงกรมต่างๆ มากมายและระบบการดำเนินกระบวนการพิจารณาและ พิพากษาคดีที่ต้องทำงานร่วมกันหลายหน่วยงานจึงทำให้การพิจารณาคดีเกิดความล่าช้าสับสน และยังก่อให้เกิดปัญหาเรื่องอำนาจศาล
ความไม่เหมาะสมของวิธีพิจารณาความแบบเดิม
วิธีพิจารณาและพิพากษาคดี รวมถึงการลงโทษขาดความเหมาะสมและไม่เป็นธรรม คดีเกิดความล่าช้า และจำนวนคดีความก็เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว
ความบีบคั้นจากต่างประเทศในด้านการศาล
อันเนื่องจากชาวต่างประเทศมีสิทธิสภาพนอกอาณาเขตในประเทศ ซึ่งเป็นปัญหาในการ ปกครองประเทศเป็นอันมาก เพราะ กงสุลต่างประเทศถือโอกาสตีความสนธิสัญญา และไม่เคารพ ยำเกรง ต่อกฎหมายและการศาลไทย
องค์กรและบุคลากรในกระบวนการยุติธรรมของไทย
ประชาชน หมายถึง ประชาชนผู้เกี่ยวข้อง ผู้เสียหาย ผู้ต้องหา จำเลย พยา
พนักงานสอบสวนหรือตำรวจ ได้แก่ ผู้ใหญ่บ้าน กำนัน ปลัดอำเภอ นายอำเภอ ผู้ว่าราชการจังหวัด
พนักงานอัยการ มีหน้าที่ฟ้องคดีผู้ถูกกล่าวหาต่อศาล เป็นทนายโจทก์หรือทนายจำเลย หรือทนายความของแผ่นดิน
ทนายความ คือ ผู้ที่ดำเนินคดีให้แก่ลูกความในศาล
ศาล มีอำนาจในการพิจารณาพิพากษาคดี
ศาลชั้นต้น
คือ ศาลเริ่มต้นคด
ศาลอุทธรณ์
คือ ศาลที่พิจารณาพิพากษาคดีที่ศาลชั้นต้นได้พิจารณาแล้ว
ศาลฎีกา
คือ ศาลสูงสุดในการพิจารณาคดีที่ตัดสินโดยศาลอุทธรณ์ แต่ยังไม่เป็นที่พอใจของคู่ความ จึงยื่นอุทธรณ์ได้ มีอยู่ที่กรุงเทพมหานครเพียงแห่งเดียว
ประวัติความเป็นมาของกระบวนการยุติธรรมของไทย
ประเทศไทยต้องปฏิรูประบบกฎหมายและการศาลไทยใหม่อย่างเร่งด่วน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ประกาศจัดตั้งกระทรวงยุติธรรมขึ้น เมื่อวันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2434 (รศ. 110) มีวัตถุประสงค์เพื่อรวบรวมศาลที่กระจัดกระจายตามกระทรวงต่างๆ เข้ามาไว้ในกระทรวงยุติธรรม ให้มีเสนาบดีเป็นประธาน เพื่อที่จะจัดวางรูปแบบศาลและกำหนดวิธีพิจารณาคดีขึ้นใหม่ โดยมีกรมพระสวัสดิวัฒนวิศิษฎ์เป็นเสนาบดีกระทรวงยุติธรรมคนแรก ได้ทรงวางระเบียบศาลตามแบบใหม่ ซึ่งเดิมตามประกาศจัดตั้งกระทรวงยุติธรรมมีศาลทั้งหมด 16 ศาล ให้รวมมาเป็นศาลสถิตย์ยุติธรรมให้เหลือเพียง 7 ศาล คือ
ยกศาลฎีกา เรียกเป็น ศาลอุทธรณ์คดีหลวงศาลอุทธรณ์มหาดไทย เรียกเป็น อุทธรณ์คดีราษฎร์
ศาลนครบาล กับศาลอาญานอก รวมเรียกว่า ศาลพระราชอาญา
ศาลแพ่งเกษม ศาลกรมวัง ศาลกรมนา รวมเรียกว่า ศาลแพ่งเกษม
ศาลแพ่งกลาง ศาลกรมท่ากลาง ศาลกรมท่าซ้าย ศาลกรมท่าขวา ศาลธรรมการ และ ศาลราชตระกูล รวมเรียกว่า ศาลแพ่งกลาง
ศาลสรรพากร ศาลมรฎก รวมเรียกว่า ศาลสรรพากร
ศาลต่างประเทศ คงไว้ตามเดิม
ความสำคัญของกระบวนการยุติธรรม
มีความสําคัญอย่างยิ่ง เนื่องจากมีผลกระทบต่อ ประชาชนในประเทศ เพราะเป็นกระบวนการวินิจฉัยข้อขัดแย้งของบุคคลในสังคมให้ได้รับความเป็น ธรรม และก่อให้เกิดความสงบสุขแก่สังคม ทั้งยังเป็นสาระสําคัญของการปกครองในระบบประชาธิปไตย ภายใต้หลักนิติธรรม