Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
CA middle rectum With colonic obstruction, bjkuip;oi - Coggle Diagram
CA middle rectum With colonic obstruction
ข้อมูลผู้ป่วย
หญิงไทย อายุ 65 ปี 5 เดือน
อาการสำคัญที่มารพ. ( CC )
รับ Refer จาก รพ.แพทย์รังสิต ด้วยอาการปวดท้องเป็นๆหายๆ ท้องเสียถ่ายเหลว 3-4 ครั้ง
ประวัติการเจ็บป่วยในปัจจุบัน ( PI )
1 Mo PTA ปวดท้อง เป็นๆหายๆ ท้องเสีย
ถ่ายเหลวหลังรับประทานอาหารทุกครั้ง 3-4ครั้ง/วัน ไม่มีถ่ายเป็นมูกเลือด ไม่คลื่นไส้ อาเจียน
15/11/65 ไป รพ.แพทย์รังสิต แพทย์ให้ Admit EGD+Colonoscopy + CT WA R/O CA Middle rectum c invade uterus ovary
ผลตรวจทางห้องปฏิบัติการ
18 พฤศจิกายน 2565
Electrolyte
K = 2.78 mmol/L
Cl = 97.1 mmol/L
CO2 = 27.0 mmol/L
BUN = 2.9 mg/dl
Cr = 0.25 mg/dl
Na = 134 mmol/L
CBC
Plt = 369 10^3/uL
Hct = 31.1 %
Hb = 9.5 g/dL
WBC = 13.32 10^3/uL
ผลการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ ( EKG )
Sinus rhythm
ผลการทำ CT Scan of chest
Moderate right and minimal left pleural effusion with adjacent passive atelectasis. No pleural nodule or definite loculated pleural effusion.
No active pulmonary infiltration or suspicious lung mass in the rest both lungs.
A 1.0-cm necrotic node at subcarinal region. Please, follow up. No enlarged nodes at other station.
A 1.1-cm ill-defined hypodense lesion at hepatic segment 7/8, indeterminate lesion. Please,correlate with previous study or follow up.
การรักษา
การรักษาโดยผ่าตัดทวารเทียม หมายถึงการผ่าตัดให้เกิดช่องเปิดของลำไส้ใหญ่ออกมาภายนอกร่างกายดยผ่านทางผนังหน้าท้องเพื่อเป็นทางระบายของอุจจาระแทนตำแหน่งเดิม คือทวารหนักเพื่อไม่ให้อุจาระผ่านไปขังบริเวณที่มีพยาธิสภาพหรือบริเวณที่ได้รับบาดเจ็บแบ่งเป็น 2 ชนิด คือ
เเบบชั่วคราว ใน case กรณีศึกษาทำการผ่าตัดแบบชั่วคราว คือ Loop transverse colostomy เป็นการผ่าตัดลำไส้ใหญ่ส่วนต้น ตัดขวาง ลักษณะของทวารเทียมอาจเป็น loop หรือ dowbic barrel โดยนำส่วนปลายของลำไส้ที่ตัดออกทั้ง 2 ข้างมาเปิดที่ทน้าท้องให้อุจจาระผ่านชั่วคราวเพื่อรักษาโรคของลำไส้ที่อยู่ต่ำกว่าช่องเปีดของลำไส้ลงไป โดยใช้เวลาประมาณ 2 เดือน จึงจะผ่าตัดปิดทวารเทียมได้ ลักษณะของลำไส้ลงไป โดยใช้เวลาประมาณ 2 เดือน จึงจะผ่าตัดปิดทวารเทียมได้ ลักษณะของอุจจาระก่อนข้างเหลวและมีน้ำย่อยออกจากลำไส้เล็กปนออกมาด้วยซึ่งมีฤทธิ์เป็นกรดทำให้ระคายเคืองต่อผิวหนังรอบาทวารเทียมได้ง่าย ควบคุมการขับถ่ายได้ยาก
เเบบถาวร ทำมากในมะเร็งลำไส้ใหญ่ส่วนโค้ง (Sigmoid colon) เเละลำไส้ตรง ลักษณะอุจจราระที่ออกมาเหมือนอุจจระปกติ คือ เป็นเนื้อปนน้ำ ไม่มีน้ำย่อยปนออกมากับอุจจาระ สามารถควบคุมการขับถ่ายได้
การรักษาโดยการใช้ยา
Plasil 10 mg v prn q 8 hr.
Metronidazole 500 mg IV q 8 hr.
Mo 4 mg IV prn q 6 hr.
Cef-3 2g IV OD.
AMK (1) 1x2 /20 tab
Para (500) 2 /20 tab
ความหมายของโรคมะเร็งลำไส้ตรง
มะเร็งลำไส้ตรง (CA rectum) หมายถึงภาวะของการมีเนื้อเยื่ออักเสบเรื้อรัง และคลำพบก้อนบริเวณทวารหนักและลำไส้ตรง มีการเปลี่ยนแปลงการขับถ่ายอุจจาระ มีอาการท้องผูกสลับกับท้องเสีย อุจจาระมีลักษณะมูกปนเลือดมีกลิ่นเหม็น เมื่อก้อนโตขึ้นจะมีอาการปวดเบ่งคล้ายอยากถ่ายอุจจาระตลอดเวลา น้ำหนักตัวลค
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
ผู้ป่วยเสี่ยงติดเชื้อบริเวณแผลผ่าตัด
ข้อมูลสนับสนุน
SD : ผู้ป่วยให้ประวัติว่ามีเเผลผ่าตัดเปิดลำไส้เพื่อถ่ายอุจจาระทางหน้าท้อง
OD : แผล Colostomy อยู่ใกล้กับบริเวณแผลผ่าตัด
-อุณหภูมิร่างกาย 37.6 องศาเซลเซียส ชีพจร 108 ครั้ง/นาที ( 3 หลังผ่าตัด )
วัตถุประสงค์การพยาบาล
ไม่เกิดการติดเชื้อบริเวณแผลผ่าตัด
เกณฑ์การประเมินผล
ลักษณะบาดแผล ขอบแผลไม่บวมแดง ไม่มี Discharge เป็นหนอง ไม่มีกลิ่นเหม็น
อุณหภูมิร่างกายปกติ 36.5-37.4 องศาเซลเซียส ชีพจร 60-100 ครั้ง/นาที
กิจกรรมการพยาบาล
ประเมินดูลักษณะบาดแผล สังเกตลักษณะของ Discharge ทุกครั้งที่ทําแผล รอยบวมแดง
ล้างมือก่อนและหลังให้การพยาบาลทุกครั้ง และทําแผลโดยยึดหลักปราศจากเชื้อ
วัดสัญญาณชีพทุก 4 ชั่วโมง เพื่อประเมินภาวะติดเชื้อที่แผล
เปลี่ยนถุง Colostomy ให้ว่างไม่มีอุจจาระ เพื่อป้องกันอุจจาระที่รั่วออกมาปนเปื้อนบาดแผล
ให้ยาปฏิชีวนะตามแผนการรักษา คือ Metronidazole 500 mg iv drip ทุก 8 ชั่วโมง และ
Cef-3 2g IV OD. ตามแผนการรักษา และสังเกตอาการข้างเคียงของยา ได้แก่ ผื่น คลื่นไส้ อาเจียน
แนะนำผู้ป่วยเกี่ยวกับการดูแลบาดแผล ระวังไม่ให้แผลเปียกน้ํา ไม่ใช้มือหรือวัตถุสิ่งของถูกต้อง
บริเวณบาดแผล เพราะอาจจะเป็นการเพิ่มเชื้อโรคสู่บาดแผล
การประเมินผล
ผู้ป่วยดูแลบาดแผลได้อย่างถูกต้อง บาดแผลผ่าตัดแห้งดี Stoma แดงดี รอบแผลไม่มีอักเสบ บวมแดง อุจจาระออกดี อุณหภูมิร่างกาย 36.8 องศาเซลเซียส
มีโอกาสเกิดการระคายเคืองที่ผิวหนังรอบทวารเทียมภายหลังการใช้
อุปกรณ์รองรับการขับถ่ายเป็นเวลานาน
ข้อมูลสนับสนุน
SD : ผู้ป่วยหญิง case s/p loop transvere colostomy ครอบถุง colostomy transparent one-piece แผลผ่าตัดที่หน้าท้องแห้งติดดีแผลบริเวณฝีเย็บไม่มีมีภาวะแทรกซ้อนที่ผิวหนังรอบทวารเทียมเนื่องจากแพ้อุปกรณ์รองรับสิ่งขับถ่าย
OD : ผู้ป่วยยังไม่ทำความสะอาดทวารเทียมด้วยตนเอง ให้พยาบาลเป็นผู้ทำความสะอาดทวารเทียม
วัตถุประสงค์การพยาบาล
เพื่อแก้ไขภาวะแทรกซ้อนของผิวหนังรอบทวารเทียมจากการระคายเคืองต่าง ๆ
เกณฑ์การประเมินผล
ผิวหนังรอบทวารเทียมไม่มีภาวะแทรกซ้อน เช่น ผิวหนังอักเสบมีลักษณะเป็นผื่นแดง เป็นแผลถลอกจากการดึงลอกอุปกรณ์ เป็นต้น
กิจกรรมการพยาบาล
เนื่องจากถุงรองรับอุจจาระผลิตจากวัสดุหลายประเภท พยาบาลแผนกผู้ป่วยนอกศัลยกรรม จึงประสานกับพยาบาลเฉพาะทางทวารเทียม เพื่อทำการทดสอบผิวหนังผู้ป่วย และเปลี่ยนถุง colostomy transparent one-piece จากชนิดกาวน้ำเป็นชนิด แป้น hydrocolloid
สอนสาธิต การดูแลรักษาผิวหนังรอบทวารเทียมที่มีผื่นแดงด้วยการทำความสะอาด ด้วยสำลีฆ่าเชื้อโรคชุบน้ำเกลือ จนทวารเทียมและผิวหนังสะอาด ซับให้แห้ง วัดขนาดของทวารเทียมโดยใช้แบบเทียบขนาด ตัดตามรูปร่างทวารเทียม ขนาดวงของรูเปิดใหญ่กว่าขนาดทวารเทียมประมาณ 2 มิลลิเมตร แล้วจึงนำไปเป็นแบบวาดลงบนแป้นด้านหลัง ตัดขนาดวงของทวารเทียมตามแบบที่วาดใช้ผงดูดซับ ความชื้น skin barrier power โรยบาง ๆ บนผื่นแดง ลูบผงแป้งออกเบาๆด้วยสำลีให้เหลือผงแป้งบาง ๆ ทำ Stomahesive® Paste ที่รอบทวารเทียมทับผงแป้ง เป่าลมให้แห้งพอหมาด นำแป้นไปครอบทวารเทียม โดยลอกกระดาษกาวด้านหลังออก ลูบเบาๆ ให้แป้นปิดแนบกับผิวหนัง
ทบทวนความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับทวารเทียม ปกติมีสีแดงหรือชมพู ผิวมันเรียบ ลักษณะชุ่มชื้นขนาดจะมีขนาดเล็กลงเล็กน้อยภายหลังผ่าตัด 6-8 สัปดาห์ ไม่มีเส้นประสาทรับความรู้สึกเมื่อสัมผัสจึงไม่เจ็บ มีเส้นเลือดฝอยมาเลี้ยงมากท าให้เลือดออกได้ผิวหนังรอบทวารเทียมปกติเรียบเนียน ไม่แดงเป็นแผล หรือมีผื่นคัน อุจจาระนิ่มเป็นก้อน หากมีความผิดปกติให้รีบกลับมาพบแพทย์
ทบทวน อาการผิดปกติ ที่ควรไปพบแพทย์ทันที ดังนี้
1) มีความผิดปกติของแผลผ่าตัด ทวารเทียม แผลเย็บที่ก้น
2) ปวดท้อง หน้าท้องแข็งตึง อุจจาระออกน้อยกว่าปกติ ไม่ผายลม คลื่นไส้ อาเจียน ควรงดน้ำและอาหารไว้ก่อน เนื่องจากอาจมีการอุดตันของลำไส้เกิดขึ้น
3) ผิวหนังรอบทวารเทียม บริเวณที่ปิดแป้นมีผื่นแผล มีอาการคัน ผิวหนังอักเสบ หรือติดแป้นการรั่วซึมของอุจจาระที่ทำให้ต้องเปลี่ยนแป้นบ่อยขึ้น หรือแป้นหลุดก่อนเวลา
4) ผิวหนังรอบทวารเทียม บวมนูนหรือโป่งออกเมื่อนอนราบไม่กลับคืน
5) ทวารเทียมมีความผิดปกติ มีเลือดสดออกไม่หยุดเมื่อทำการห้ามเลือดที่ทวารเทียมหรือมีลำไส้ยื่นยาว ทวารเทียมตีบตัน หรือมีถ่ายเป็นเลือด ออกมาจากลำไส้
การประเมินผล
ผู้ป่วยไม่มีภาวะแทรกซ้อนเกี่ยวกับทวารเทียม
ผู้ป่วยมีความรู้สึกสูญเสียภาพลักษณ์ เนื่องจากต้องขับถ่ายอุจาระทางหน้าท้อง
ข้อมูลสนับสนุน
SD :ผู้ป่วยบอกว่า รู้สึกอายเวลาที่มีกลิ่น
OD : หลังแพทย์แจ้งว่าต้องเปิดทวารเทียมและต้องขับถ่ายอุจาระทางหน้าท้องเป็นระยะเวลานาน ผู้ป่วยหน้าตาไม่แจ่มใส เวลาพูดคุยหรือปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น
วัตถุประสงค์การพยาบาล
เพื่อให้ผู้ป่วยมีความรู้สึกมีคุณค่าในตัวเอง และยอมรับภาพลักษณ์ที่เปลี่ยนไปได้
เกณฑ์การประเมินผล
ผู้ป่วยมีสีหน้าแจ่มใส
เข้าใจและยอมรับภาพลักษณ์ที่เปลี่ยนไป ให้ความร่วมมือในการช่วยเหลือดูแลตนเอง
กิจกรรมการพยาบาล
สร้างสัมพันธภาพที่ดีกับผู้ป่วย พูดคุยสอบถามปัญหาความต้องการของผู้ป่วยด้วยท่าทีที่เป็นไมตรี เห็นใจ แสดงออกถึงการยอมรับและเข้าใจผู้ป่วย ให้ผู้ป่วยเกิดความไว้วางใจ และรู้ว่าพยาบาลมีความ จริงใจในการช่วยเหลือ เช่น การสัมผัส การเยี่ยมดูแลผู้ป่วยบ่อย ๆ
อธิบายเกี่ยวกับอาการที่เป็นอยู่ว่า ผู้ป่วยมีพยาธิสภาพที่ลําไส้ จําเป็นต้องตัดลําไส้ส่วนนั้นออก ทําให้ไม่สามารถขับถ่ายอุจจาระทางทวารหนักได้ จําเป็นต้องดึงเอาลําไส้มาเปิดอย่างถาวรทางหน้าท้อง เพื่อให้มีการขับถ่ายแทน ซึ่งมีหลายคนที่ต้องขับถ่ายแบบนี้เช่นกันและสามารถใช้ชีวิตประจําวันได้อย่างปกติ ถ้าปฏิบัติตามคําแนะนํา เพื่อให้ผู้ป่วยเข้าใจเหตุผลและความจําเป็น และเสริมสร้างกําลังใจ
สอนวิธีการ สาธิตการผู้ป่วยเปลี่ยนถุงอุจจาระ และการลดกลิ่น เพื่อให้ผู้ป่วยมีความมั่นใจ มากขึ้น
เมื่อมีการพบปะหรือเข้าสังคม โดย
3.1 สอนให้ผู้ป่วยเปลี่ยนถุงอุจจาระเอง และให้ถุงว่างอยู่เสมอ
3.2 ทำความสะอาดร่างกาย และสวมเสื้อผ้าให้มิดชิด หลีกเลี่ยงอาหารที่ทําให้เกิดกลิ่น ได้แก่ ถั่ว ปลา ไข่ หัวหอม และกะหล่ำปลี
แนะนําช่วยเหลือผู้ป่วยในการวางแผนเพื่อที่จะดูแลตนเอง และเพื่อที่จะปฏิบัติกิจกรรมต่าง ๆ โดยให้ผู้ป่วยปฏิบัติตนตามคําแนะนํา และร่วมมือในการรักษาพยาบาล เพื่อผลดีกับตัวผู้ป่วยเอง
จัดเตรียมอุปกรณ์ Stoma bag ที่ต้องใช้เมื่อผู้ป่วยกลับบ้าน ประกอบด้วย ถุง Stoma bag พลาสเตอร์เหนียวขนาด 1 นิ้ว สําลีก้อนใหญ่ น้ําเกลือสําหรับล้างแผล
เตรียมข้อมูลเกี่ยวกับการใช้บริการในชุมชน และหน่วยงานที่สามารถให้ความช่วยเหลือผู้ป่วยได้ เพื่อวางแผนให้ข้อมูลผู้ป่วยก่อนจําหน่าย
การประเมินผล
ผู้ป่วยมีสีหน้าแจ่มใสขึ้น พูดคุยกับเจ้าหน้าที่และเพื่อนข้างเตียงดี เข้าใจและยอมรับภาพลักษณ์ที่ เปลี่ยนไป ให้ความร่วมมือในการช่วยเหลือดูแลตนเอง สามารถเปลี่ยนถุงอุจจาระเองได้ และคอยถามอย่าง สม่ำเสมอเกี่ยวกับการรักษาต่อไป
สรุปอาการผู้ป่วยขณะที่นักศึกษาได้ดูเเล
ผู้ป่วยหญิง case s/p loop transvere colostomy on colostomy ผู้ป่วยตื่น รู้ตัวรู้เรื่องดี v/s BP : 120/93 mmhg p: 90 /min R: 22 /min T: 37.2 COn kabiven v 60 ml/hr มีให้ยา metronidazole 500 mg v q 8 hr ผู้ป่วยได้รับยาตามแผนการรักษา pain score 2 คะแนน rest ได้ ทานอาหารได้เล็กน้อย ambulation ได้ดี
พยาธิสภาพของมะเร็งลำไส้ตรง
มีก้อนเนื้องอกในชั้น mucosa และ submucosa มะเร็งอาจกระจายเข้าไปในชั้นที่ลึกกว่าและกระจายไปยังต่อมน้ำเหลืองซึ่งการแบ่งระยะของโรคมะเร็งดำไส้ของดูคส์ แบ่งเป็น 4 ระยะ คือ ระยะที่ 1 พบมะเร็งในผนังลำไส้ ระยะที่ 2 มะเร็งผ่านลำไส้เข้าไปในชั้นที่ลึกกว่า ระยะที่ 3 กระจาบไปต่อมน้ำเหลือง ระยะที่ 4 กระจายไปต่อมน้ำเหลือง
และอวัยวะอื่นพบบ่อยที่สุดคือ ตับ
พยาธิสภาพของโรคลำไส้อุดตัน
ผลจากกาวะลำไส้อุดตัน จะเกิดการเปลี่ยนแปลงเฉพาะที่ต่อผนังลำไส้เองและการเปลี่ยนแปลงทั่ว ๆ ไป ต่อร่างกายทั้งหมด การเปลี่ยนแปลงจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับ
1.ระดับของลำไส้ที่เกิดการอุดตัน
2.ความดันจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับการอุดตัน
3.ระยะเวลาที่เกิดการอุดตัน
4.ยังมีเลือดมาเลี้ยงลำไส้ส่วนนั้นเป็นปกติ หรือไม่ในภาวะปกติทางเดินอาหารจะหลั่งของเหลวออกมาประมาณ 8-10 ลิตร/วัน จากกระเพาะลำไส้เล็ก ทางเดินน้ำดี ดับอ่อน ทั้งหมดนี้ส่วนใหญ่จะมีการดูดซึมกกับมาทางลำไส้เล็กมีส่วนน้อยที่ถูกดูดกลับทางลำไส้ใหญ่ ในภาวะปกติลำไส้เล็กจะมีการดูดของเหลวและเกลือแร่จากกระแสเลือดเข้าสู่ลำไส้ เมื่อการอุดตันเกิดขึ้นจะเกิดการเสียของเหลวและเกลือแร่ ซึ่งเกิดขึ้นได้ 3 ทาง คือ
1.มีการดั่งของของเหลวและเกลือแร่ภายในลำไส้เหนือรอยต่อจุดอุดตัน
2.การสูญเสียของเหลวและเกลือแร่เข้าไปในผนังลำไส้ส่วนที่เหนือรอยต่อจุดอุดตัน
3.การสูญเสียของเหลวและเกลือแร่ที่มองเห็นได้ชัดที่สุด คือ การสูญเสียโดย การอาเจียนออกมา หรือการดูดออกจาก nasogastric tube
ซึ่งโดยการอุดตันของทางเดินอาหารจะมีการคั่งของของเหลวและก๊าซภายในลำไส้ ทำให้ลำไส้โป้งพองซึ่งเกิดเป็นของเสียได้ ซึ่งนอกจากจะทำให้ผู้ป่วยอาเจียนแล้ว ยังทำให้ลำไส้บีบตัวแรงขึ้น ส่งผลให้ผู้ป่วยหายอาการปวดท้องได้
ความหมายของโรคลำไส้อุดตัน
โรคลำไส้อุดตัน หมายถึง การอุดตันของลำไส้ตั้งแต่ลำไส้เล็กลงไปจนถึงลำไส้ใหญ่การอุดตันอาจเป็นแค่เพียงบางส่วน โดยที่อาหารหรือน้ำข่อยพอผ่านได้บ้างหรืออุตัดนทั้งหมด
bjkuip;oi