Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
Nephotic syndrom
D078C986-E649-4C89-9F9B-F57D23AB2627 - Coggle Diagram
Nephotic syndrom
การแบ่งระยะ
ระยะของโรคไตเรื้อรังมี 5 ระยะ ดังนี้
- ระยะที่ 1 คือ ระยะที่อัตราการกรองของไตของผู้ป่วยมากกว่า 90 ml/min/1.73 m2 การมีความผิดปกติของไต แต่ค่าอัตราการกรองของไตอยู่ในเกณฑ์ปกติ
- ระยะที่ 2 คือ คือ ระยะที่อัตราการกรองของไตของผู้ป่วยอยู่ในช่วง 60 - 89 ml/min/1.73 m2 การมีความผิดปกติของไตและค่าอัตราการกรองของไตลดลงเล็กน้อย
- ระยะที่ 3a คือ คือ ระยะที่อัตราการกรองของไตของผู้ป่วยอยู่ในช่วง 45 - 59 ml/min/1.73 m2 การมีความผิดปกติของไตและค่าอัตราการกรองของไตลดลงปานกลาง
- ระยะที่ 3b คือ คือ ระยะที่อัตราการกรองของไตของผู้ป่วยอยู่ในช่วง 30 - 44 ml/min/1.73 m2 การมีความผิดปกติของไตและค่าอัตราการกรองของไตลดลงปานกลางถึงรุนแรง
- ระยะที่ 4 คือ คือ ระยะที่อัตราการกรองของไตของผู้ป่วยอยู่ในช่วง 15 - 29 ml/min/1.73 m2 การมีความผิดปกติของไตและค่าอัตราการกรองของไตลดลงอย่างมาก ต้องมีการบำบัดรักษาทดแทนไต
- ระยะที่ 5 คือ คือ ระยะที่อัตราการกรองของไตของผู้ป่วยต่ำกว่า 15 ml/min/1.73 m2 ซึ่งถือว่าเป็นระยะไตวาย
-
พยาธิสภาพ
เกิดจากการเสื่อมของไต และการถูกทำลายของหน่วยไต มีผลทำให้การกรองทั้งหมดลดลงและการขับถ่ายของเสียลดลง ปริมาณCreatinine และ BUN ในเลือดสูงขึ้น หน่วยไตที่เหลืออยู่จะเจริญมากผิดปกติเพื่อกรองของเสียที่มีมากขึ้น ผลที่เกิดขึ้นคือทำให้ไตเสียความสามารถในการปรับความเข้มข้นของปัสสาวะ ปัสสาวะถูกขับออกไปต่อเนื่อง หน่วยไตไม่สามารถดูดกลับเกลือแร่ต่างๆ ทำให้สูญเสียเกลือแร่ออกจากร่างกาย รวมถึงโรคประจำตัว คือ ความดันโลหิตสูง ทำให้เลือดไปเลี้ยงไตไม่พอ เซลล์ไตขาดเลือดและถูกทำลายทำให้อัตราการกรองของไตลดลงไม่สามารถทำงานได้ปกติ
-
สาเหตุ
โรคไตเรื้อรังเกิดได้จากความผิดปกติใดก็ตาม ที่มีการทำลายเนื้อ
ไต ทำให้มีการสูญเสียหน้าที่ของไตอย่างถาวร เช่น ไตอักเสบ
เรื้อรังจากการติดเชื้อ ภาวะอุดกั้นในทางเดินปัสสาวะสาเหตุ และโรคเบาหวาน (ประมาณ 40%) และความดันโลหิตสูง (ประมาณ 20%) โรคอื่น ๆ ที่อาจพบได้คือโรคนิ่วและการอุดตันของทางเดินปัสสาวะ (obstructive uropathy) โรคไตจากเก๊าท์ โรคภูมิต้านทางต่อเนื้อเยื่อตนเอง (Systemic lupus erythematasus) โรคไต IgA โรคถุงน้ำในไตซึ่งเป็นโรคทางกรรมพันธุ์ (Autosomal dominant polycystic kidney disease) โรคไตเรื้อรังที่เกิดจากการใช้ยาแก้ปวด (Analgesic and NSAIDS induced nephropathy)
ผู้ป่วยมีประวัติเป็นโรคความดันโลหิตสูง ไม่ได้รับประทานยาต่อเนื่องส่งผลให้เกิดความดันโลหิตสูง ทำให้หลอดเลือดที่เลี้ยงไตตีบแคบและผู้ป่วยมีประวัติเป็นโรคความดันโลหิตสูง ไม่ได้รับประทานยาต่อเนื่องส่งผลให้เกิดความดันโลหิตสูง ทำให้หลอดเลือดที่เลี้ยงไตตีบแคบและแข็ง / II ทำให้หลอดเลือดแดงส่วนปลายหดตัวกระตุ้นต่อมหมวกไตผ่าน Medullaหลั่ง aldosterone เพิ่มขึ้น ทำให้การไหลเวียนเลือดลดลง เพิ่มการดูดกลับน้ำและโซเดียมในร่างกายอัตราการกรองของไตลดลงจนไตไม่สามารถทำหน้าที่ได้ตามปกติ
ผู้ป่วยมีประวัติเป็นโรคเก๊าท์ เป็นโรคข้ออักเสบเรื้อรังชนิดหนึ่ง ซึ่งสาเหตุจากการที่ร่างกายมีกรดยูริดมากกว่าปกติ และตกตะกอนอยู่ภายในข้อ ทำให้เกิดอาการอักเสบ กรดยูริคอาจจะตกตะกอนในไตหรือทางเดินปัสสาวะ ทำให้เป็นนิ่วหรือไตวายเรื้อรังได้
-
การรักษา
1.การรักษาแบบประคับประคอง(Conservative Treatment): การรักษาด้วยยา , การจัดการ
กับอาหาร ,น้ำ การหลีกเลี่ยงปัจจัยกระตุ้นที่จะทำให้การเสื่อมของไตมากขึ้น เพื่อชะลอการเสื่อมของไต และคงไว้ซึ่งการทำหน้าที่ของไตที่เหลืออยู่ในนานที่สุด
- การรักษาโดยการบำบัดทดแทนไต (Renalreplacement therapy) : Continuous ambulatory
peritoneal dialysis : CAPD , Hemodialysis : HD ,
Kidney transplantation : KT
การพยาบาลการตัดชิ้นเนื้อไต
Kidney biopsy
เป็นการใช้เข็มเจาะดูดชิ้นเนื้อไตออกมา ตำแหน่งที่เจาะคือ บริเวณบั้นเอวระหว่างซี่โครงซี่สุดท้ายกับกระดูกสันหลัง (Costovertebral angle) ด้านข้างต่อกับกล้ามเนื้อ lumbosacral
วัตถุประสงค์
1.วินิจฉัยโรค เช่น ตรวจดูพยาธิสภาพของเนื้อไต
2.ติดตามการดำเนินของโรค และ พยากรณ์ของโรคไต
3.เป็นแนวทางการรักษา
-
-
มีหน้าที่สำคัญคือ
การขับของเสียต่างๆที่อยู่ในร่างกายออกทางปัสสาวะ ผลิตฮอร์โมน Erythropoietin ซึ่งมีหน้าที่กระตุ้นไขกระดูกให้สร้างเม็ดเลือดแดงและผลิตเรนิน มีหน้าที่ควบคุมความดันโลหิต และวิตามินดี มีหน้าที่สร้างกระดูก ควบคุมสมดุลน้ำและเกลือแร่ ขับถ่ายสารแปลกปลอมที่ร่างกายรับมา
คำแนะนำ
- การจำกัดอาหารโปรตีนประมาณ 0.6-0.8 กรัม/นน.ตัว/วัน ผู้ป่วยหนัก 50 kg) สามารถชะลอการเสื่อมของไต เนื่องจาก การทานโปรตีนปริมาณมาก จะมีผลให้ของเสียมากขึ้นและไตทำงานหนักจาก hyperfiltration ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้ไตเสื่อมเร็ว และ ควรแนะนำให้ทานอาหารโปรตีนที่มาจาก เนื้อสัตว์ โดยเฉพาะเนื้อปลา และไข่ขาว เนื่องจากเป็นโปรตีนที่มีคุณภาพสูงมากกว่า โปรตีนจากพืช
- การหลีกเลี่ยงอาหารที่มีรสเค็ม จะช่วยลดความดันโลหิต และอาการบวมน้ำได้ และไม่ควรทานอาหารไขมันสูง เพราะในผู้ป่วยโรคไต มักมีไขมันในเลือดสูง และมีการเกิดโรคของโรคหัวใจและหลอดเลือดสูงกว่าคนปกติ
ความหมาย
ภาวะที่มีความผิดปกติทางโครงสร้างหรือการทำหน้าที่ของไตอย่างใดอย่างหนึ่งติดต่อกันนานกว่า 3 เดือน เช่น การมีนิ่ว หรือถุงน้ำที่ไต การมีโปรตีน หรือเม็ดเลือดแดงในปัสสาวะ โดยที่อัตราการกรองของไตอาจปกติหรือผิดปกติก็ได้รวมถึงการตรวจพบอัตราการกรอง
ของไต (EGFR) ต่ำกว่า 60 มล./นาที/พี้นที่ผิวกาย 1.73 เมตร ติดต่อกันนานกว่า 3 เดือน
พบ UA albumin 4+ ,RBC(UA) 5-10
การวินิจฉัย
- ประเมินค่า eGFR จากการตรวจระดับครีะตินินในซีรั่ม (serum creatinine, SCr) โดยวิธี enzymatic และคำนวณด้วยสูตร Schwartz formula
- ตรวจหาโปรตีนจากตัวอย่างปัสสาวะถ่ายครั้งเดียว 2.1 ถ้าตรวจพบมีโปรตีนรั่วทางปัสสาวะตั้งแต่ระดับ 1 +ขึ้นไป โดยใช้แถบตรวจปัสสาวะ(dipstick) ควรได้รับการตรวจยืนยันด้วยการตรวจ protein-to-creatinine ratio ภายใน 3เดือน2) 2.2 ถ้าผลการตรวจ protein-to-creatinine ratio ผิดปกติ ต้องประเมินและตรวจหาสาเหตุเพิ่มเติม
- ตรวจหาเม็ดเลือดแดงในปัสสาวะด้วยแถบตรวจปัสสาวะ ถ้าได้ผลบวกให้ทำการตรวจ microscopic examination หากพบเม็ดเลือดแดงมากกว่า 5/HPF ในปัสสาวะที่ได้รับการปั่น และไม่มีสาเหตุที่สามารถทำให้เกิดผลบวกปลอม จากการตรวจ 3 ครั้ง ห่างกัน 1-2 สัปดาห์ ถือได้ว่ามีภาวะไตผิดปกติ
- ในกรณีที่ตรวจพบความผิดปกติข้อใดข้อหนึ่งตามข้อ 1 - 3 นานเป็นระยะเวลาตั้งแต่ 3 เดือนขึ้นไปให้วินิจฉัยผู้ป่วยเป็น CKD
- การตรวจทางรังสีวิทยา เช่น ภาพถ่ายรังสีระบบทางเดินปัสสาวะ (plain KUB) และ/หรือการตรวจอัลตราชาวด์ระบบทางเดินปัสสาวะ (utrasonography of KUB) ขึ้นอยู่กับข้อบ่งชี้ในผู้ป่วยแต่ละราย
ผู้ป่วยทำการตรวจชิ้นเนื้อไต (Kidney biopsy) U/S พบ Right kidney size 10.3x4.7x5.3 cm., Left kidney size 10.5x5.7x4.3 cm.
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
- Creatinine ยิ่งน้อยยิ่งดี ไม่เกิน 1.5 สูง ระยะอันตราย 4-5 ขึ้นไป
- eGFR ยิ่งมากยิ่งดี มากกว่า 90 ดี ระยะอันตรายต่ำกวา 15-29
- BUN ยิ่งน้อยยิ่งดี 10-20 mg/dl (ถ้าน้อยไปอาจมีปัญหาที่ตับ)
BUN 23.8 mg/dL (สูงกว่าปกติ), Creatinine 1.95 mg/dL (สูงกว่าปกติ)
ข้อมูลพื้นฐาน
-
-
-
อาการแรกรับ
- Hypertension เป็นมา 5 ปี รับยาต่อเนื่องที่โรงพยาบาลตำรวจ
- Dyslipidemia เป็นมา 5 ปี รับยาต่อเนื่องที่โรงพยาบาลตำรวจ
- Idiopathic gout เป็นมา 2 ปี
- Chronic kidney disease stage 3 เป็นมา 1 ปี
-
General. Appearance
ผู้ป่วยหญิงไทย วัยผู้ใหญ่ ผมสีดำ ผิวสีน้ำผึ้ง รูปร่างท้วม รู้สึกตัวดี ช่วยเหลือตัวเองได้ หายใจ room air พูดได้ ทำตามคำสั่งได้ Neurological signs = E4M6V5 pupil 3 mm reaction to light. Motor power แขนทั้งสองข้าง grade 5 ขาทั้งสองข้าง grade 5 รับประทานอาหารธรรมดา on injection plug ที่มือขวา ไม่มีภาวะ Phleblitis ปัสสาวะได้ด้วยตัวเอง ปัสสาวะสีเหลืองใสมีฟอง
-
-