Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
Case conference หญิงไทย อายุ 63 ปี Dx Dyspepsia - Coggle Diagram
Case conference
หญิงไทย อายุ 63 ปี
Dx Dyspepsia
cc : ปวดจุก แน่นท้องใต้ลิ้นปี้ แสบบริเวณยอดอก 1 วันก่อน
PI :
1 วันก่อนมาผู้ป่วยให้ประวัติว่า หลังรับประทานอาหารตอนเย็นมีอาการปวดจุก แน่นท้องบริเวณใต้ลิ้นปี่ แสบร้อนกลางอกย้อนขึ้นไปบริเวณคอ ไม่มีอาการคลื่นไส้อาเจียน ไม่มีอาเจียนเป็นเลือด ไม่มีถ่ายอุจจาระเหลว หรืออุจาระสีดำ ทานอาหารได้น้อยลง อิ่มไว แต่น้ำหนักลดลง 1 กิโล หลังจากมีอาการปวดท้องก็ไปซื้อยาธาตุน้ำขาวมารับประทานอีก หลังรับประทายาอาการทุเลาลงเพียงเล็กน้อย แต่ไม่หายเหมือนทุกครั้ง วันนี้จึงตัดสินใจมาที่ รพสต.เพื่อรับการรักษา และขอยาไปรับประทาน
Past History ความดันโลหิตสูง เป็นมา10 ปี รักษาประทานอย่างงต่อเนื่อง รับยาที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบุ่งคล้า
-PerH. การรับประทานอาหาร รับประทานอาหารวันละ 1-2 มื้อแล้วแต่วัน ส่วนมากจะทานอาหารไม่ตรงเวลา เนื่องจากผู้ป่วยมีอาชีพทำไร่ทำนา ทำงานจนไม่มีเวลาพัก เหนื่อยตอนไหนค่อยพัก เลี้ยงหลาน และค่อยมารับประทานอาหาร อาหารที่รับประทานพื้นบ้านทั่วไป ชอบรับประทานอาหารรสจัด เผ็ดจัด
Review of System
General : ผู้รับบริการเพศหญิง วัยผู้สูงอายุเดินเข้ามาเองได้ ไม่มีรถนั่ง รู้สึกตัวดี สีหน้าไม่ค่อยสดชื่น มีหน้านิ่วคิ้วขมวด ถามตอบรู้เรื่อง มีอาการปวดจุกแน่นท้องบริเวณใต้ลิ้นปี่ แสบอกย้อนขึ้นไปบริเวณคอ
Skin : ไม่มีผื่นคันตามผิวหนัง ไม่เคยมีก้อน ไม่เคยมีการอักเสบหรือแผลเป็น ไม่เคยมีภาวะซีด
Head : ไม่เคยรับอุบัติเหตุรุนแรงที่ศีรษะ ไม่เคยผ่าตัดที่ศีรษะ ไม่เคยมีผื่นคัน
Eye : การมองเห็นชัดปกติ
Ear : ไม่มีปัญหาการได้ยิน หูตึง ไม่เคยได้รับอุบัติเหตุทางหู ไม่เคยมีแปลกปลอมเข้าหู
Nose : ไม่เคยมีอาการเจ็บในโพรงจมูก เคยมีอาการคัดจมูก การได้กลิ่นปกติ
Throat and Mouth : ไม่เคยมีก้อนที่คอ ไม่เคยมีการกระทบกระแทก ไม่เคยมีต่อมน้ำเหลืองโต
Heart : ไม่มีอาการเหนื่อยง่าย ใจสั่นหรืออาการเจ็บหน้าอก
Chest : ไม่อาการเหนื่อย หายใจสะดวก ไม่เคยได้รับอุบัติเหตุทรวงอก
GI : การขับถ่ายปกติ ไม่เคยมีอาการกลืนลำบาก
Genitali : มีอาการปัสสาวะออกปกติไม่มีปัสสาวะแสบขัด
Musculo skeletal : ไม่เคยมีอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรง กำลังกล้ามเนื้อปกติ
Neuro : การรับรู้ปกติ ไม่เคยมีหูแว่ว ไม่เคยสับสน
การตรวจร่างกาย (Physical Examination)
Vital sign
T=36.5c P=98/min RR=20/min BP=117/65mmHg นน=63 kg สส155cmBMI=26.22kg/m2
Abdomen
Distension with mild tenderness
bowel sound 4 bpm
Problem list :
Distension with Mild tenderness มีอาการแน่นท้องและกดเจ็บเล็กน้อย
Epigastric burning แสบร้อนบริเวณใต้ลิ้นปี่
post prandial fullness
Differential diagnosis
-Dyspepsia
Dyspepsia
โรคกระเพาะอาหาร คือ โรคที่มีอาการปวดท้องหรือไม่สบายท้องที่มีสาเหตุจากความผิดปกติของบริเวณกระเพาะอาหารหรือลำไส้เล็กส่วนต้นก็ได้ โดยหากผู้ป่วยได้รับการส่องกล้องตรวจระบบทางเดินอาหารส่วนบนจะพบความรุนแรงของโรคกระเพาะอาหารได้แตกต่าง
สาเหตุ
-ติดเชื้อแบคทีเรียเฮลิโคแบคเตอร์ไพโลไรในกระเพาะ
-การรับประทานยาที่อาจจะระคายกระเพาะอาหาร ได้แก่ ยาแก้ปวด ยาคลายเส้น ยาละลายลิ่มเลือด
-การสูบบหรี่
-การรับประทานเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์
-ภาวะความเครียด ซึมเศร้า วิตกกังวล
อาการ
ปวดท้องบริเวณใต้ลิ้นปี่Epigastric pain
แสบร้อนท้องบริเวณใต้ลิ้นปี่ Epigastric burning
แน่นหรืออึดอัดท้องหลังมื้ออาหาร post -Prandial Fullness
Early satialtion อิ่มเร็วกว่าปกติ
กรณีศึกษา : อาการ
ปวดจุกแน่นท้องบริเวณใต้ลิ้นปี่หลังรับประทานอาหาร แสบร้อนกลางอกลามไปถึงบริเวณคอ อิ่มเร็วกว่าปกติทั้งที่ปริมาณอาหารเท่าเดิม ทานอาหารได้น้อยลง
-ปวดท้องบริเวณใต้ลิ้นปี (epigastric pain)
-เป็นอาการแสบร้อน (burning) ย้อนขึ้นไปบริเวณคอ
-แน่นหรืออึดอัดท้องหลังมื้ออาหาร (post-prandial fullness)
-อิ่มเร็วกว่าปกติ(early satiation)
กรณีศึกษา : สาเหตุ
ผู้ป่วยให้ประวัติว่าตนรับประทานอาหารไม่ตรงเวลาเพราะช่วงนี้เป็นช่วงกับเกี่ยวผลผลิตและดูแลหลานชาย บางครั้งก็ลืม ชอบรับประทานอาหารรสจัด เผ็ดร้อน
กรณีศึกษา :ตรวจร่างกายพบ
Mild tenderness , : tenderness on epigastric region -กดเจ็บเล็กน้อยบริเวณ epigastrium
GERD
โรคที่เกิดจากระบบการย่อยอาหารที่ผิดปกติเกิดขึ้นที่บริเวณหูรูดของหลอดอาหารส่วนล่าง (lower esophageal sphincter/LES) ซึ่งเป็นกล้ามเนื้อที่อยู่ระหว่างหลอดอาหารกับกระเพาะอาหาร ทำให้เกิดการไหลย้อนกลับของอาหารและกรดในกระเพาะกลับขึ้นไปสู่หลอดอาหาร
อาการ
-แสบร้อนกลางอกช่วงกระดูกหน้าอกมักเกิดขึ้นหลังจากมื้ออาหาร
-เจ็บหน้าอกหลังจากการงอตัว, นอนหงายหรือหลังมื้ออาหาร
-กลืนลำบาก
-รู้สึกเหมือนมีอาหารติดค้างอยู่กลางหน้าอกหรือลำคอ
-อาจมีเสียงแหบเป็นๆหายๆเรื้อรัง
กรณีศึกษา: อาการ
1.ปวดจุกแน่นท้องบริเวณใต้ลิ้นปี่หลังรับประทานอาหาร แสบร้อนกลางอกลามไปถึงบริเวณคอ อิ่มเร็วกว่าปกติทั้งที่ปริมาณอาหารเท่าเดิม ทานอาหารได้น้อยลง
2.ปฏิเสธอาการเจ็บหน้าอกหลังจากงอตัว /นอนหงายหลังมื้อ
3.ปฏิเสธการกลืนลำบาก
4.ปฏิเสธความรู้สึกเหมือนอาหารติดคอ/กลางอก/ลำคอ
5.ปฏิเสธอาการเสียงแหบหรือไอเรื้อรัง เป็นๆหายๆ
สาเหตุ
-รับประทานอาหารปริมาณมาก
-รับประทานอาหารจำพวกที่มีไขมันสูงเป็นประเภทอาหารที่ค้างอยู่ในกระเพาะอาหารได้นาน
-เครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน จะกระตุ้นให้กระเพาะอาหารหลั่งกรดมากขึ้น
-เครื่องดื่มแอลกอฮอล์/ซอคโกแลต เพราะมีฤทธิ์คลายกล้ามเนื้อจึงลดการบีบตัวของกระเพาะอาหาร
-มีช่อง กระเพาะอาหารจึงดันเข้าไปอยู่ในช่องอก ส่งผลให้มีอาหารค้างในกระเพาะอาหาร รวมทั้งเพิ่มความดันในกระเพาะอาหารด้วย
กรณีศึกษา : สาเหตุ
ปฏิเสธการรับประทานอาหารมาก ให้ประวัติรับปรัทานอิ่มเร็ว ทานได้นอนลง
ปฏิเสธการดื่มสุราและชา กาแฟ
Duodenal ulcer ภาวะที่ทำให้สมดุลนี้เสียไป ซึ่งเชื่อว่า อาจเกิดจากการหลั่งกรดที่มากกว่าปกติ หรือ ผนังเยื่อบุอ่อนแอกว่าปกติ จึงทำให้เกิดแผลขึ้นโดยมี สาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดแผล พบบ่อยในวัยหนุ่มสาว (อายุเฉลี่ยของผู้ที่เริ่มเป็นโรคนี้ประมาณ 30 ปีเศษ)
สาเหตุ :
1.การติดเชื้อแบคทีเรีย H. Pylori เชื้อ H. Pylori
เกิดจากการรับประทานยาที่ระคายเคืองเยื่อบุกระเพาะอาหาร NSAID
3.ปัจจัยเสี่ยง Hx.เลือดออกในทางเดินอาหาร
4.การใช้ยาสเตียรอยด์
5.ความเครียด /สูบบุหรี่ดื่มเหล้า
อาการ :
ปวดบริเวณกึ่งกลางลิ้นปี่ ปวดร้าวไปที่ หลังหรือไหล่
-ปวดมากขึ้นเมื่อท้องว่าง หลังมื้ออาหาร 1-3 hr
-มีอาการมากขึ้นช่วงกลางคืน
-อาการอาจะเป็นๆหายๆเป็นวันหรือสัปดาห์
-อาการปวดมักจะดีขึ้รหลังรับประทานอาหาร /ดื่มนม หรือยาลดกรด
-คลื่นไส้อาเจียน /อาเจียนเป็นเลือดสดหรือเลือดแดงคล้ำ
-จุกแน่นท้อง /ท้องอืด
-ถ่ายเป็นเลือดสด สีดำ ยางมะตอย
-น้ำหนักลดโดยไม่ทราบสาเหตุ
กรณีศึกษา Duodenal ulcer : อาการ
กดเจ็บบริเวณ epigastrium จุกแน่นท้อง บริเวณใต้ลิ้นปี้ แสบอกย้อนขึ้นไปบริเวณคอมักเป็นหลังรับประทานอาหาร
-ไม่มีคลื่นไส้อาเจียนหรืออาเจียนเป็นเลือดสดหรือเลือดสีแดงคล้ำ ถ่ายเป็นเลือดสด สีดำ หรือเป็นยางมะตอย
-น้ำหนักลดโดยไม่ทราบสาเหตุ
กรณีศึกษา Duodenal ulcer: สาเหตุ
ผู้ป่วยเพศหญิงอายุ 63 ปี ผู้ป่วยให้ประวัติไม่มีความเครียดหรือโรคทางจิตสังคมและไม่มีประวัติมีเลือกออกในทางเดินอาหาร
-ปฏิเสธการใช้ยาสเตียรอยด์
ปฏิเสธการใช้สารเสพติดและการดื่มสุรา
Gastric Ulcer
โรคนี้จะไม่มีการหลั่งกรดในกระเพาะอาหาร
มากกว่าปกติแต่ความต้านทานต่อกรด
ของเยื่อบุกระเพาะอาหารเสื่อมลง
สาเหตุ
ผลข้างเคียงของยาต้านการอักเสบ/ยาแก้อักเสบในกลุ่มยา (NSAIDs,)
ความเครียด บุหรี่ แอลกอฮอล์
โรคมะเร็งกระเพาะอาหาร
พันธุกรรม
โรคเนื้องอกบางชนิดของกระเพาะอาหา
เชื้อแบคทีเรีย H. Pylori
กรณีศึกษา : สาเหตุ
ผู้ป่วยปฏิเสธการใช้ยา NSAIDs, Non-steroidal anti-inflammatory drugs)
-ปฏิเสธความเครียดและโรคทางจิตสังคม
-ปฏิเสธการดื่มสุราและการใช้สารเสพติด
-ปฏิเสธโรคทางพันธุกรรมไม่มีสายเลือดด้วยกันเป็นโรคมะเร็งกระเพาะเลยอาหารและเนื้องอก
อาการ :
ปวดท้องบริเวณเหนือสะดือ ลิ้นปี่ หรือยอดอก เป็น ๆ หาย ๆ (epigastric pain)
รู้สึกไม่สบายท้องส่วนบน เช่น ท้องอืด ท้องเฟ้อ รู้สึกมีลมในท้องมาก รับประทานแล้วไม่สบายท้อง คลื่นไส้ อาเจียน
ปวดท้อง หรือจุกแน่นท้องบริเวณใต้ลิ้นปี่ หรือท้องช่วงบน มักเป็นเวลาท้องว่างหรือเวลาหิว หรือปวดแน่นท้องกลางดึกหลังจากหลับไปแล้ว
อาการปวดจะเป็นมากขึ้นหลังทานอาหาร โดยเฉพาะอาหารรสเผ็ดจัด เปรี้ยวจัด
กรณีศึกษา : อาการ
กดเจ็บบริเวณ epigastric pain
-กดเจ็บบริเวณ epigastrium จุกแน่นท้อง บริเวณใต้ลิ้นปี้ แสบอกย้อนขึ้นไปบริเวณคอมักเป็นหลังรับประทานอาหาร รับประทานมื้ออาหารได้น้อย อิ่มเร็ว
ไม่มีคลื่นไส้อาเจียนหรืออาเจียนเป็นเลือดสดหรือเลือดสีแดงคล้ำ ถ่ายเป็นเลือดสด สีดำ หรือเป็นยางมะตอย
-น้ำหนักลดโดยไม่ทราบสาเหตุ
การวินิจฉัยโรคเบื้องต้น (Tentative diagnosis)
Dyspepsia (โรคกระเพาะอาหาร)
Impression ตามเกณฑ์เวชปฏิบัติในการวินิจฉัยและรักษาผู้ป่วย Dyspepsis ปี 2562 สมาคมแพทย์ระบบทางเดินอาหารแห่งประเทศไทย โดยใช้เกณฑ์ของ ROME III definition,Uninvestigates ผู้ป่วยที่มาด้วยอาการ Dyspepsiaโดยอายุเมื่อเริ่มมีอาการ 55 ปี ขึ้นไป ให้ส่องกล้องตรวจทางเดินอาหารส่วนต้น (EGD:Esophagogastroduodenoscopy) เพื่อการตรวจวินิจฉัยหาโรคเพิ่มเติม ได้แก่ Gallstone นิ่วในถุงน้ำดี , Gastric cancer มะเร็งกระเพาะอาหาร
Gallstone
นิ่วในถุงน้ำดี เกิดจากภาวะไม่สมดุลของสารประกอบในน้ำดี ซึ่งเมื่อมีนิ่วเกิดขึ้นแล้ว อาจมีอาการตั้งแต่ ท้องอืด อาหารไม่ย่อย บางครั้งนิ่วไปอุดท่อถุงน้ำดี ทำให้มีอาการปวดแบบปวดดิ้น หรือถ้านิ่วตกลงไปอุดท่อน้ำดีใหญ่
อาการ
ปวดท้องใต้ชายโครงขวาเป็นครั้งคราว
ปวดท้องรุนแรง และปวดร้าวไปถึงสะบักด้านขาว
ไข้สูงเฉียบพลัน ถ้ามีการอักเสบของถุงน้ำดีอย่างเฉียบพลัน
ตัวเหลือง ตาเหลือง ปัสสาวะสีเข้ม
กรณีศึกษาปฏิเสธอาการที่เกี่ยวกับพยาธิสภาพ
Myocardial infarctionภาวะที่หัวใจขาดเลือดและออกซิเจนที่ไปหล่อเลี้ยงหัวใจเนื่องจากหลอดเลือดหัวใจถูกปิดกั้นจากคราบพลัค(Plaque) จนทำให้กล้ามเนื้อที่หัวใจเสื่อมสภาพและตายลง