Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ - Coggle Diagram
ระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ
โรคระบบกระดูกและกล้ามเนื้อที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ
ข้อเสื่อม
สาเหตุ
กระดูกอ่อนผิวข้อ (Cartilage) ถูกทำลายลงอย่างช้าๆ จนเป็นเหตุให้มีการเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างของข้อ ได้แก่ มีน้ำสะสมในข้อเพิ่มขึ้น กระดูกงอกผิดปกติ (Bone Spurs) กล้ามเนื้อและเอ็นรอบข้อหย่อน ทําให้เคลื่อนไหวข้อได้จํากัด
ปัจจัยที่ส่งผลทำให้ข้อเสื่อม
อายุ
น้ำหนักเกิน น้ำหนักที่มาก
อาชีพ
ยา หรือ สารเคมี บางชนิด
การบาดเจ็บ
พันธุกรรม
เช็คอาการ โรคข้อเสื่อม เบื้องต้น
ปวดบวม ตามข้อ
ปวดหลัง บริเวณสันหลังส่วนล่าง
นิ้วปวดบวม อักเสบ
เส้นเอ็น อักเสบ
ปวดหลัง เวลานั่งนิ่งนานๆ
โรคข้อเข่าเสื่อม
ปัจจัยเสี่ยงข้อเข่าเสื่อม
ที่ป้องกันได้
อาชีพ
น้ำหนัก
อุบัติเหตุ
กลุ่มโรค
ที่ไม่สามารถป้องกันได้
เพศ
พันธุกรรม
อายุ
6 อาการที่ควรรู้ ข้อเข่าเสื่อม ระยะแรก
ปวดเข่าเวลามีการเคลื่อนไหว
มีอาการข้อฝืดขัดโดยเฉพาะมีการหยุดเคลื่อนไหวเป็นเวลาลาน
กล้ามเนื้อต้นขาลีบข้อเข่าโก่งผิดรูป
เหยียดหรือง้อข้อเข่าไม่ค่อยสุด
เมื่อขยับข้อรู้สึกถงการเสียดสี
มีการปวดเวลาเดินหรือขยับ
การรักษาข้อเข่าเสื่อม
ผลิตภัณฑ์อาหารเสริม ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนใช้
รักษาโดยการไม่ใช้ยา ลดปัจจัยที่ทําให้ข้อเข่าเสื่อม ใช้เครื่องช่วย พยุง อุปกรณ์เสริมข้อเข่า ออกกาลังกาย การบริหารกล้ามเนื้อรอบเข่า
รักษาโดยการผ่าตัด เหมาะกับผู้ที่มีภาวะข้อเข่าเสื่อมระยะสุดท้าย ไม่สามารถรักษาด้วยวิธีอื่นได้ เช่น ผ่าตัด เปลี่ยนข้อเข่าเทียม
รักษาโดยการฉีดยา ครอติโคสเตียรอยด์ กรดไฮยาลูโรบิก
กายภาพบำบัด การทํากายภาพบำบัด
รักษาโดยการใช้ยารับประทาน ยาแก้ปวด paracetamol, ยาต้านการ อักเสบ ไม่ใชสเตียรอยด์ NSAID
กระดูกพรุน Osteoporosis
สาเหตุ
ความหนาแน่นของเนื้อกระดูกลดลงและมี การเสื่อมสลายของโครงสร้างภายในกระดูก
ทำให้กระดูกมีความเปราะบาง
ส่งผลให้กระดูกมีความแข็งแรงน้อยลง
เสี่ยงกับการเกิดกระดูกหัก บาดเจ็บได้ง่าย
ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคกระดูกพรุน
ผู้สูงอายุ ทั้ง ชายและหญิง
หญิงวัยหมด ประจําเดือน
ประวัติครอบครัวมีผู้เป็นโรคกระดูกพรุน
ผู้ที่มีรูปร่างเล็ก ผอม บาง
รับปรทานอาหาร ที่มีแคลเซียม น้อย
สูบบุหรี่ ดื่ม สุรา ชา กาแฟ
ขาดการออก กําลังกาย
ใช้ยาบางชนิด เช่น สเตียรอยด์
เป็นโรคเรื้อรัง เช่น เบาหวาน ตับ ไต ไขข้อ อักเสบ
อาการ
หลังโก่ง
ปวดหลัง
กระดูกยุบ
ความสูงลดลง
กระดูกหักน้อย บริเวณข้อมือ ต้นแขน สะโพก หรือกระดูกสันหลัง
เมื่อขยับตัวจะเจ็บมากและ ทำกิจวัตรประจำวัน ได้ด้วยความลำบาก
อาหารป้องกันกระดูกพรุน
ปลาแซลมอน
ถั่วต่างๆ
งาดำ
เต้าหู้แข็ง
ปลาตัวเล็กที่ เคี้ยวทั้งกระดูกได้
โยเกิร์ต
นม
ผักใบเขียว
กุ้งแห้ง
ผลไม้
ไข่ต้ม
อุบัติเหตุใน ผู้สูงอายุ
จากข้อมูลของการเกิดอุบัติเหตุใน “ผู้สูงอายุมักมีสาเหตุจากความเสื่อมและการถดถอยของร่างกายอีกทั้งจากโรคภัยไข้เจ็บเป็นผลให้การทำงานของอวัยวะต่างๆ ลดลง ซึ่งมักเกิดกับผู้สูงอายุที่มีอายุระหว่าง 65-75 ปี และเนื่องจากผู้สูงอายุมักจะมีภาวะกระดูกบางหรือกระดูกพรุน เมื่อหกล้มกระดูกจึงเกิดการแตกหรือหักได้ง่าย
ปัจจัยภายในร่างกายที่มีผลต่อความเสี่ยงหกล้มของผู้สูงอายุ
1.การเดินและการทรงตัวผิดปกติ เช่น ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง พาร์กินสัน ข้อเสื่อม ข้ออักเสบ เป็นต้น
2.ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อลดลง และภาวะโรคต่างๆ
3.ความบกพร่องด้านการมองเห็น
4.ระดับการทำกิจวัตรประจำวันและการเคลื่อนไหวลดลง เพราะไม่ได้ออกกำลังกาย
5.สารอาหารและเกลือแร่ในร่างกายไม่สมดุล
6.กินยาบางชนิดที่มีผลต่อการทรงตัว
7.ความบกพร่องของการรับรู้ และภาวะจิตใจ
ปัจจัยภายนอกร่างกายที่มีผลต่อความเสี่ยงหกล้มของผู้สูงอายุ
1.พื้นทางเดิน และสิ่งแวดล้อมไม่ปลอดภัย เช่น พื้นเปียก ลื่น ขรุขระ ของในบ้านวางแกะกะ
2.แสงสว่างในบ้านไม่เพียงพอ
3.สิ่งก่อสร้างไม่เอื้ออำนวย เช่น ห้องน้ำไม่มีราวเกาะ บันไดแคบและชัน
4.ทางเท้าและพื้นถนนอยู่ระหว่างการซ่อมแซม
5.เครื่องใช้และเครื่องแต่งกายไม่พอดีตัว เช่น เสื้อผ้าหลวมและยาว รุ่มร่าม รองเท้าหลวม พื้นรองเท้าลื่น
การบาดเจ็บภายหลังการพลัดตกหกล้ม
มีการบาดเจ็บตั้งแต่เล็กน้อยจนถึงขั้นรุนแรง
มีแผลฟกช้ำ ถลอก มีภาวะกระดูกหัก ได้แก่ กระดูกข้อมือ แขน สะโพก จนถึงการบาดเจ็บของศีรษะ และอาจทำให้เสียชีวิตได้
เป็นสาเหตุของความพิการเรื้อรัง รักษาตัวในโรงพยาบาลนาน
เกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น แผลกดทับ แผลติดเชื้อ ข้อติด
ส่งผลกระทบต่อสภาพจิตใจผู้ที่พลัดตกหกล้ม เกิดความกลัว การหกล้มซ้ำ เกิดความวิตกกังวล ซึมเศร้า ต้องพึ่งพาอาศัยผู้อื่น
วิธีการปฐมพยาบาลและการดูแลผู้ป่วยสูงอายุที่หกล้มเบื้องต้น
ถ้ามีศีรษะกระแทกและไม่รู้สึกตัว ให้นอนในท่าเดิมและเรียกรถ พยาบาล
ผู้ป่วยรู้สึกตัวดีและมีอาการปวดต้นคอร่วมด้วยให้นอนราบ ไม่หนุน หมอน เรียกรถพยาบาล พยายามขยับผู้ป่วยให้น้อยที่สุด
ผู้ป่วยที่ปวดสะโพกหรือต้นขาให้นอนในท่าที่ผู้ป่วยปวดน้อยที่สุดแล้ว เรียกรถพยาบาล ไม่ควรเคลื่อนย้ายเอง เพราะอาจจะทำให้มีการเคลื่อน ของกระดูกมากขึ้นได้
ผู้ป่วยศีรษะกระแทก ไม่ปวดต้นคอ รู้ตัวดี ให้ญาตินำส่งโรงพยาบาล กรณีมีแผลเลือดออกให้ใช้ผ้าสะอาดกดไว้นาน 10 – 15 นาที
กระดูกสะโพกหัก (Hip Fracture)
อาการ คือ หลังจากหกล้มจะมีอาการปวดบริเวณสะโพกข้าง ที่หัก ลุกเดินไม่ได้ หรือลงน้ำหนักขาข้างที่สะโพกหักไม่ได้
หากญาติพบผู้ป่วยหกล้มและสงสัยกระดูกสะโพกหัก แนะนำให้ ผู้ป่วยพักในท่าที่สบาย พยายามอย่าเคลื่อนย้ายผู้ป่วย และโทร เรียกรถพยาบาลมารับผู้ป่วยไปตรวจโดยเร็ว
จัดท่านอนหลังการผ่าตัด
นอนราบหัวสูง 30 องศา ขาข้างที่ผ่าตัดกาง ออก โดยใช้หมอนวางระหว่างขาทั้งสองข้าง ขา อยู่ในท่าเหยียดตรง
หลีกเลี่ยงการงอขาทันที การบิดหรือหมุนข้อสะโพกออกนอกและเข้าในมากเกินไป
นอนตะแคงไปข้างที่ไม่ผ่าตัด ขณะพลิกตะแคง ตัวต้องวางหมอนไว้ระหว่างขาทั้งสองข้างพร้อม กับระวังไม่ให้ขาข้างที่ผ่าตัดหุบเข้า