Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ระบบหัวใจและหลอดเลือด, โรคที่เกิดจากความผิดปกติของหลอดเลือด,…
ระบบหัวใจและหลอดเลือด
ความผิดปกติของหัวใจและหลอดเลือด
ความผิดปกติของหัวใจ
โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ (Coronary Artery Disease: CAD)
โรคกล้ามเนื้อหัวใจตาย (myocardial infarction: MI)
โรคหัวใจล้มเหลว (Heart failure)
ความผิดปกติของหลอดเลือด
*ภาวะความดันโลหิตสูง
(Hypertension)
ความผิดปกติของหลอดเลือดส่วนปลาย
(Peripheral diseases)
การมีก้อนเลือดอุดตันในหลอดเลือดดำลึก(Deep Vein Thrombosis: DVT)
หลอดเลือดดำขอด (Varicose Veins)
หลอดเลือดแดงอุดตันเฉียบพลัน (Acute Arterial Occlusion)
โรคที่เกิดจากความผิดปกติของหลอดเลือด
ภาวะความดันโลหิตสูง
(Hypertension)
ความดันโลหิตสูง (hypertension) หมายถึง ระดับความดันโลหิตซิสโตลิก (systolic blood pressure, SBP) > 140 มม.ปรอท และ/หรือ ความดันโลหิตไดแอสโตลิก (diastolic blood pressure, DBP) ≥ 90 มม.ปรอท โดยอ้างอิงจากการวัดความดันโลหิตที่สถานพยาบาล
สาเหตุของการเกิดโรคความดันโลหิตสูงแบ่งเป็น 2 ประเภท
ชนิดที่ยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด (Primary Hypertension หรือ Essential Hypertension) ได้แก่ กรรมพันธุ์ ภาวะอ้วน การสูบบุหรี่ ภาวะเครียด การดื่มสุรา เป็นต้น
ชนิดที่ทราบสาเหตุ (Secondary Hypertension) ซึ่งอาจเกิดได้จากหลายสภาวะ เช่น ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ โรคไต ปัญหาต่อมไทรอยด์ เนื้องอกที่ต่อมหมวกไต หลอดเลือด ผิดปกติแต่กำเนิด การใช้ยาบางชนิด การใช้สารเสพติด หรือแอลกอฮอล์
หลอดเลือดดำขอด (Varicose Veins)
การโป่งพองและคดเคี้ยวของ superficial vein ที่เกิดจากการเพิ่มความดันหลอดเลือดดำ ใน superficial vein สาเหตุเกิดจากลิ้นที่กั้นเสีย ได้แก่ saphenofemoral valve ที่ groin หรือ saphenopopliteal junction ที่หลังเข่า หรือ perforating vein เป็นต้น ทำให้มีเลือด จาก deep system (ระบบเลือดดำที่มีความดันสูง) ไหลมาสู่ superficial system เลือดไหล ย้อนมาคั่งในหลอดเลือดดำส่วนปลาย
อาการและอาการแสดง
มีปัญหาทางด้านความสวยงาม (Cosmetic concern)
มีอาการปวด เจ็บหลอดเลือดดำที่โป่งออกของเส้นเลือดขอด หรืออาจเจ็บทั้งขา มีอาการหนักของขาด้าน ที่มีเส้นเลือดขอด อาจมีอาการปวดทั้งแบบปวดทั่วๆ (diffuse pain) ซึ่งเกิดจาก axial venous reflux หรือปวดเฉพาะที่ (local pain) จากการไหลเวียนของเลือดในเส้นเลือดขอดไม่ดี โดยอาการปวดจะเป็น มากขึ้นเมื่อห้อยลง หรืออากาศร้อน และอาการปวดจะดีขึ้นเมื่อยกข์สูง หรือพันขาด้วย elastic bandage หรือใส่ถุงน่อง
ตะคริว (Cramps) อาการเป็นตะคริวที่ขาพบได้บ่อยในผู้ป่วยที่เป็นเส้นเลือดขอด
การบวม พบบ่อยร่วมกับผู้ป่วยที่เส้นเลือดขอดและมักจะมีอาการปวดร่วมด้วย
อาการแทรกซ้อนของหลอดเลือดดำขอด
การอักเสบของเส้นเลือดขอด (Thrombophlebitis) ทำให้เกิดการก่อตัวของก้อนเลือด และอาจนำไปสู่ภาวะรุนแรง เช่น deep vein thrombosis และ pulmonary embolism แต่ปัญหาดังกล่าวพบไม่บ่อย
เลือดออกอย่างรุนแรง เกิดได้เนื่องจากหลอดเลือดอยู่บริเวณตื้นๆ ดังนั้นการบาดเจ็บ โดยตรงกับหลอดเลือด ก็สามารถทำให้เลือดออกได้อย่างมาก หรือมีอาการชาบริเวณนี้ได้ การรักษาคือการกดบริเวณเลือดออกและยกขาสูงก่อนมาพบแพทย์
การมีก้อนเลือดอุดตันในหลอดเลือดดำลึก(Deep Vein Thrombosis: DVT)
กระบวนการเกิด DVT เกิดจากการมีเกร็ดเลือดรวมตัวกันที่บริเวณใดก็ตามที่มีการคั่งของ เลือดโดยเฉพาะ เช่น ที่บริเวณเหนือลิ้นหลอดเลือดดำ หรือบริเวณที่มีการบาดเจ็บของ Venous endothelial จากการผ่าตัด ซึ่งจะไปกระตุ้นทำให้เกิดมีลิ่มเลือด ก้อนเลือดเกิดบริเวณหลอดเลือดดำ ที่ขา ทั้งๆที่ในร่างกายที่มีกระบวนการสลายลิ่มเลือด แต่เนื่องจากกระบวนการเกิดลิ่มเลือดมีการผลิต ในอัตราที่เร็วกว่ากระบวนการสลายลิ่มเลือดของร่างกาย ดังนั้นจึงเกิด venous thrombosis
calf vein thrombosis จะมีอาการเจ็บที่บริเวณน่อง บวมบริเวณข้อเท้า และ มีไข้ต่ำๆ และมักจะมีอาการร้อนที่บริเวณน่อง
iliofemoral thrombosis จะมีอาการเจ็บแบบกระจายไปทั่วทั้งขา มีบวมแบบ Pitting edema ซึ่งอาการบวมนั้นจะกระจายไปเหนือเข่า ถ้าอาการของ deep vein thrombosis ถูกกั้นการไหลเวียนโลหิตกลับของขาอย่างรุนแรงผู้ป่วยอาจ จะเปลี่ยนแปลงสีของขาเป็นสีเขียวคล้ำ (phlegrasia caerula dolens) ทำให้ เกิดการเน่าของขาได้ (venous gangrene)
การวินิจฉัย DVT
อาการและอาการแสดง Homan's sign เป็นการทำ dorsiflexion ที่เท้า ผู้ป่วยมีอาการปวดที่น่อง (Homans' Sign)
การตรวจด้วย ultrasound
การตรวจ D-dimer
การฉีดสีในหลอดเลือดดา (venography)
การรักษา DVT
ให้ยาป้องกันการแข็งตัวของเลือด (Anticoagulation) : heparin
Iñunazanuâulão (Thrombolytic drug) : plasminogen activator (TPA)
การผ่าตัดเอาลิ่มเลือดออก (Embotectomy)
การใส่ที่กรองใน inferior vena cava เป็นการทำโดยเทคนิคทางรังสี เพื่อสกัดกั้นการลอยของก้อนเลือดจากขาไปปอด ใช้เฉพาะผู้ป่วยที่มี pulmonary embolism ที่เกิดขึ้นแล้ว
โรคหลอดเลือดแดงอุดตัน (Arterial occlusion disease)
โรคที่เกิดมีการอุดตันของหลอดเลือดแดง ส่วนมากเกิดในหลอดเลือด ส่วนปลายอาจเกิดจากภาวะหลอดเลือดแดงแข็ง (Atherosclerosis) เกิดจาก การอักเสบของหลอดเลือดจนทำให้เกิดการตีบตัน หรือมีสิ่งแปลกปลอม เช่น ลิ่มเลือดหลุดไปอุดหลอดเลือดก็ได้ โรคนี้อาจทําให้เกิดการขาดเลือดเฉียบพลัน หรือเรื้อรัง โดยส่วนมากมักเป็นที่ขา
ปัจจัยเสี่ยง
สูบบุหรี่
โรคเบาหวาน
โรคความดันโลหิตสูง
โรคไขมันในเลือดสูง
อ้วน (BMI > 30 kg/m)
การประเมินอาการและอาการแสดงของหลอดเลือดแดงอุดตันเฉียบพลัน คือ 6P's
pain - ปวด
Pallor - ผิวซีด
Poikilothemia - ผิวเย็น
Paresthesia - เหน็บชา
Pulselessness - คลำชีพจรไม่ได้
Paresis/Paralysis - อ่อนแรง
การรักษาโรคหลอดเลือดแดงอุดตัน
ยา : Anticoagulants, antiplatelet, Vasodilators (increase blood flow, decrease pain)
ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม : smoking cessation, diet, exercise, but rest at the onset of claudication
การผ่าตัด : PTA (Percutanoeus Transluminal Angioplasty), stent, thrombolectomy, revascularization, amputation
การดูแลหลังการผ่าตัด
Observe bleeding and hematoma at the catheter insertion area (usually at groins)
Bed rest and apply sand bag
Observe bleeding of surgical area
Continue anticoagulants and hydration
Keep the surgical area straight
Observe the function of the bypass graft
Check the 6Ps signs and rapidly notify the doctor if found
โรคที่เกิดจากความผิดปกติของหัวใจ
โรคหัวใจล้มเหลว (Heart failure)
ภาวะหัวใจล้มเหลวเป็นกลุ่มอาการซึ่งมีสาเหตุจากความผิดปกติ
ของการทํางานของหัวใจ อาจเกิดจากความผิดปกติของโครงสร้าง หรือการทำหน้าที่ ทำให้หัวใจไม่สามารถสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆของร่างกายหรือรับเลือดกลับเข้าสู่หัวใจได้ ภาวะหัวใจล้มเหลวมักค่อยๆสะสมอาการ ทำให้ผู้ป่วยมีอาการน้อยๆ ค่อนข้างคงที่ เป็นระยะเวลานาน (chronic HF) เมื่อติดตามอาการต่อไป ผู้ป่วยจะมีอาการทรุดลง เป็นระยะ เรียกว่า ภาวะหัวใจล้มเหลวเฉียบพลัน (acute HF) ซึ่งต้องดูแลใกล้ชิด ความรุนแรงของอาการนั้นอาจไม่สัมพันธ์กับระดับความผิดปกติของโครงสร้างหัวใจ และหลอดเลือดโดยตรง แต่ขึ้นกับปัจจัยกระตุ้นในขณะที่ผู้ป่วยมีอาการทรุดลงด้วย
สาเหตุ
ความผิดปกติแต่กำเนิด (congenital heart disease) เช่น ผนังกั้น ห้องหัวใจรั่ว (atrial septal defect หรือ ventricular septal defect)
ความผิดปกติของลิ้นหัวใจ (valvular heart disease) เช่น ลิ้นหัวใจ ตีบ หรือ ลิ้นหัวใจรั่ว
ความผิดปกติของกล้ามเนื้อหัวใจ (myocardial disease) เช่น หัวใจ ห้องล่างซ้ายบีบตัวลดลง (left ventricular systolic dysfunction)
ความผิดปกติของเยื่อหุ้มหัวใจ เช่น เยื่อหุ้มหัวใจหนาบีบรัดหัวใจ (Constrictive pericarditis)
ความผิดปกติของหลอดเลือดหัวใจ (Coronary artery disease) เช่น myocardial ischemia induced heart failure
การดูแลช่วยเหลือผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจล้มเหลว
1) ผู้ป่วยอาการหัวใจล้มเหลวดีขึ้น
ดูแลให้ผู้ป่วยนอนหัวสูงโดยจัดท่า Fowler's position เพื่อลดอาการเหนื่อยหอบ
ดูแลให้ผู้ป่วยได้ Bed rest โดยช่วยเหลือทำกิจกรรมให้ผู้ป่วยในระยะที่ผู้ป่วยมีอาการเหนื่อย
ดูแลให้ออกซิเจนตามแผนการรักษา เพื่อรักษาระดับ oxygen saturation ให้ปกติ (95-98%)
ประเมินสัญญาชีพความดันโลหิต ชีพจร อัตราการหายใจ และประเมินความอิ่มตัวของออกซิเจน
สังเกต / ดูแลผู้ป่วยหลังได้รับยาขับปัสสาวะ ผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจล้มเหลวเฉียบพลัน และ pulmonary edema ที่จําเป็นต้องได้รับยาขับปัสสาวะแบบฉีด (intravenous furosemide)
2) ผู้ป่วยไม่มีภาวะน้ำเกิน หรือขาดน้ำ (Optimize volume status)
สังเกตและประเมินภาวะน้ำเกินได้แก่ การบวม อาการเหนื่อย นอนราบไม่ได้ หายใจลำบาก น้ำหนักตัว ไม่ลดลง และนอกจากสังเกตภาวะน้ำเกิน ต้องสังเกตภาวะขาดน้ำในผู้ป่วยบางรายที่ได้รับยาขับปัสสาวะ ปริมาณสูง อาจมีอาการขาดน้ำ ได้แก่ ภาวะน้ำหนักลดลงมากเกินไป ความดันโลหิตต่ำ มีอาการหน้ามืด ขณะลุกเดิน
บันทึกจำนวนน้ำดื่ม จำนวนปัสสาวะ
บันทึกน้ำหนักตัวผู้ป่วยทุกวัน พร้อมทั้งประเมินความสมดุล ถ้าผู้ป่วยรายไหนที่มีภาวะน้ำเป็นมาก ยังมี บวมและน้ำหนักตัว ไม่ลดหรือน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นอีก ควรรายงานแพทย์
จำกัดน้ำดื่มผู้ป่วยตามแผนการรักษาพร้อมทั้งให้คำแนะนำถึง เหตุผลของการจำกัดน้ำ
แนะนำการปรับเปลี่ยนการรับประทานอาหาร โดยการหลีกเลี่ยงอาหารรสเค็ม อาหารแช่แข็ง อาหารหมักดอง มาการีน ผงชูรส ผงปรุงรสทุกชนิด
แนะนำเรื่องการดื่มน้ำ โดยประเมินความรุนแรงของโรคผู้ป่วย ประวัติการได้รับยาขับปัสสาวะ ประวัติโรคไต เพื่อให้การแนะนำการดื่มน้ำที่เหมาะสมกับผู้ป่วย โดยผู้ป่วยที่อาการหัวใจล้มเหลวไม่รุนแรงมาก ปริมาณน้ำ ที่เหมาะสมคือ 1.5 ลิตรต่อวัน ในรายที่ยังมีอาการเหนื่อย บวม ต้องใช้ยาขับปัสสาวะในขนาดสูง ผู้ป่วยโรคไต ที่มีภาวะน้ำ และเกลือคั่งง่าย ผู้ป่วยที่มีภาวะ Hyponatraemia ปริมาณน้ำที่เหมาะสมคือ 1 ลิตรต่อวัน
แนะนำการทำงาน และการพักผ่อน กิจกรรมทางเพศ โปรแกรมการออกกำลังกายที่เหมาะสม โดยจำเป็นต้อง ประเมินสภาพร่างกาย ความรุนแรงของโรค ความพร้อม
โรคกล้ามเนื้อหัวใจตาย (myocardial infarction: MI)
เกิดจากเลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อเยื่อหัวใจไม่เพียงพอกับความต้องการ จนกล้ามเนื้อส่วนนั้นตาย เนื่องจากขาดอาหารและออกซิเจนไปเลี้ยง
สาเหตุ
มีการอุดตันของ coronary artery
Atherosclerosis
เกิดขึ้นภายหลังที่เป็น angina pectoris นาน ๆ โดยไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้อง มีการอักเสบของหลอดเลือดแดง
การวินิจฉัย
องค์การอนามัยโลก ได้กำหนด criteria สำหรับการตรวจวินิจฉัย AMI ไว้โดยใช้เกณฑ์จาก 2 ใน 3 ข้อ ต่อไปนี้ ถือว่ามีภาวะ AMI คือ
การเปลี่ยนแปลงของคลื่นไฟฟ้าหัวใจ
ระดับของ cardiac marker สูงกว่าปกติ
เจ็บหน้าอก
อาการและอาการแสดง
อาการเจ็บหน้าอก (Chest pain) หน้าอกด้านซ้าย แน่น เหมือนอะไรหนัก ๆ มากดทับ ร้าวไปบริเวณ คอ ขากรรไกร แขนด้านซ้าย ลิ้นปี ระยะเวลาการเจ็บนานมากกว่า 20 นาที 'อาการหายใจลำบาก (dyspnea) แสดงถึง ประสิทธิภาพการทำงานของหัวใจห้องล่างซ้าย ลดลง
อาการคลื่นไส้ (nausea) และปวดท้อง (Abdominal pain) อาการร่วมกับ Inferior wall อาการกลัว วิตกกังวล
อาการหน้ามืด เป็นลม (Syncope) มีชีพจรช้าลง เนื่องจาก cardiac output ลดลง
เหงื่อออก (Diaphoresis)
การรักษา
Goal of treatment คือ ลด chest pain เพิ่ม coronary perfusion ป้องกัน myocardial infarction or re-infarction & Uanu sudden cardiac death การรักษาเหล่านี้จึงขึ้นอยู่กับระยะเวลา Onset to treatment time
Fibrinolytic or thrombolytic agent
Percutaneous Coronary Intervention: PCI
Coronary artery bypass graft : CABG
Medications for CAD patients
Morphine เป็นยาแก้ปวดที่ดีที่สุดบรรเทาอาการเจ็บหน้าอก
Oxygen therapy
Nitrate มีฤทธิ์ขยายทั้งหลอดเลือดดำและแดง (dilate vein and arteries) ลด afterload WIN ได้แก่ nitroglycerin ระวัง ปวดศีรษะ และ hypotension
Aspirin (Analgesia) ใช้เพื่อลด Antiplatelet aggregation : Aspirin (325 mg) เคี้ยวทันที
Platelet inhibitors: GP II b III a inhibitor
Bata blockers
คำแนะนําการปฏิบัติตัวเมื่อกลับบ้าน
1) ลดปัจจัยเสี่ยง พฤติกรรมเสี่ยง งดการสูบบุหรี่เด็ดขาด
2) พกยาไนโตรกลีเซอรีนติดตัวเสมอ เมื่อมีอาการเจ็บแน่นหน้าอก ให้อมใต้ลิ้น 1 เม็ด หากอาการไม่ดีขึ้นใน 5 นาที ให้เรียกรถพยาบาล ขอความช่วยเหลือ
3) รับประทานอาหารไขมันต่ำ ย่อยง่าย ระวังท้องผูก
4) ออกกำลังกายด้วยการเดินช้าๆ วันละ 15-30 นาที หรือ ทำโปรแกรมฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจ กับแพทย์กายภาพบำบัด
5) รับประทานยาสม่ำเสมอและระวังเลือดหยุดยากเพราะยาต้านเกล็ดเลือด
โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ (Coronary Artery Disease: CAD)
เป็นโรคหลอดเลือดหัวใจที่เกิดจากความผิดปกติของหลอดเลือดแดงโคโรนารีที่มีลักษณะแข็งหรือตีบ จนทำให้การไหลเวียนของเลือดลดลง และเกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด
สาเหตุ
ความอ้วน
การไม่ออกกำลังกาย
ระดับโฮโมซีสเตอีนในเลือดสูง
เบาหวาน
ยาคุมกำเนิด
ภาวะความดันโลหิตสูง
แอลกอฮอล์
ความเครียด
บุหรี่
ระดับไขมันในเลือดผิดปกติ
Sign & Symptom of CAD
Dyspnea
Syncope
Palpitations
Cough of hemoptysis
Chest pain - due to lack of oxygen
Excessive fatigue
Findings may be normal during asymptomatic periods