Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
พื้นฐานนาฎศิลป์ไทย - Coggle Diagram
พื้นฐานนาฎศิลป์ไทย
บุคคลสำคัญ
(นายณัฐนันท์ เจตนา เลขที่2)
ครูจำเรียง พุธประดับ
เกิดเมื่อวันที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2459 เป็นคนจังหวัดเพชรบุรี
มีความสามารถรอบรู้กระบวนการงานนาฏศิลป์ เป็นผู้อนุรักษ์แบบแผนการแสดงนาฏศิลป์การละครรวมทั้งสร้างสรรค์ เป็นผู้ร่วมพิจารณาหลักสูตรสาขาวิชานาฏศิลป์ไทย และพัฒนาร่างหลักสูตรรายวิชา
ครูลมุล ยมะคุปต์ (แม่ลมุล)
เกิดวันที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2448 เป็นชาวจังหวัดน่าน
เชี่ยวชาญและมีองค์ความรู้ทางด้าน ละครพระ ท่านเป็นผู้วางรากฐานของนาฏศิลป์ไทย อันสืบทอดมาแต่โบราณ โดยเป็นหนึ่งในผู้ริเริ่มสร้างหลักสูตรการเรียนวิชานาฏศิลป์ไทยของวิทยาลัยนาฏศิลป
คุณครูเฉลย ศุขะวณิช
เกิดเมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน พุทธศักราช 2447 เป็นคนกรุงเทพฯ
ผู้เชี่ยวชาญการสอนและออกแบบนาฏศิลป์ไทย แห่งวิทยาลัยนาฏศิลป์ ซึ่งมีความรู้ความสามารถสูงในกระบวนท่ารำทุกประเภท ทางราชการจึงได้มอบหมายให้เป็นผู้วางรากฐานจัดสร้างหลักสูตรการเรียนการสอนวิชานาฏศิลป์
แหล่งอ้างอิง
sittipanareerat422.
บุคคลสำคัญในวงการนาฏศิลป์ของไทย.
สืบค้นวันที่ 6 พ.ย 65.
จาก
https://sites.google.com/site/sittipanareerat422/bth-thi2-kar-saedng-natsilp-thiy/kar-pradisth-tha-ra-ni-kar-saedng-natsilp
ความหมายของนาฎศิลป์
(นายจิระธาดา พัดบุรี เลขที่ 6)
“นาฏศิลป์”
หมายถึง ศิลปะการฟ้อนรำ หรือความรู้แบบแผนของการฟ้อนรำ เป็นสิ่งที่มนุษย์ประดิษฐ์ขึ้นด้วยความประณีตงดงาม ให้ความบันเทิง ต้องอาศัยการบรรเลงดนตรี และการขับร้องเข้าร่วมด้วย
“นาฏ”
หมายถึง การฟ้อนรำ หรือความรู้แบบแผนของการฟ้อนรำ
“ศิลปะ”
การแสดงออกมาให้ปรากฏขึ้นอย่างงดงาม น่าพึงชมก่อให้เกิดอารมณ์สะเทือนใจ เป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น สร้างอย่างประณีต
แหล่งอ้างอิง
นาฏศิลป์
. สืบค้นวันที่ 6 พ.ย 65
จาก
https://guru.sanook.com/4062/
https://sites.google.com/site/deedoothai/khwam-hmay-khxng-nad-silp-thiy
ต้นกำเนิดของนาฎศิลป์
(นายปรเมศวร์ บุญเจริญ เลขที่ 3)
มาจากการเลียนแบบธรรมชาติ
เป็นการแสดงออกด้วยกิริยาท่าทาง ใช้กิริยาเหล่านั้นเป็นภาษาสื่อความหมายให้ผู้อื่นรู้ความรู้สึกและความประสงค์ ต่อมาอีกขั้นหนึ่งเลือกเอากิริยาท่าทาง ซึ่งแสดงอารมณ์ต่างๆ มาเรียบเรียงสอดคล้องติดต่อกันเป็นขบวนฟ้อนรำ
ความเชื่อตั้งแต่สมัยโบราณ
การบูชา บวงสรวง จนถึงการฟ้อนรำและขับร้องเพื่อขอให้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ประทานพรให้ตนสมปรารถนา หรือขอให้ขจัดปัดเป่าสิ่งที่ตนไม่ปรารถนาให้สิ้นไป
อิทธิพลจากอารยธรรมอินเดีย
โดยรับจากชนชาติมอญและขอมที่อยู่ก่อนหน้านี้ ไทยจึงพลอยได้รับอารยธรรมอินเดียไว้หลายด้าน เช่น ภาษา ประเพณี ตลอดจนศิลปะการละคร
แหล่งอ้างอิง
ความหมายของนาฏศิลป์
. สืบค้นวันที่ 6 พ.ย 65
จาก
http://www.digitalschool.club/digitalschool/art/art6_2/lesson4/page8.php
ประเภทของนาฏศิลป์ไทย
(นายวุฒินันท์ ขำอ้วม เลขที่ 11)
รำ
คือการแสดงที่มุ่งเน้นถึงศิลปะท่วงท่า ดนตรี
รำเดี่ยว
เป็นการแสดงที่มุ่งอวดศิลปะทางนาฏศิลป์อย่างแท้จริง
รำคู่
การแสดงชุดนี้ไม่จำเป็นจะต้องพร้อมเพียงกันแต่อาจมีท่าที่เหมือนก็ได้
รำหมู่
รำชุดนี้เป็นการรำที่เน้นความพร้อมเพรียง
รำละคร
คือการรำที่ใช้ในการแสดงละครหรือโขน
ระบำ
คือการแสดงที่มีความหมายในตัวใช้ผู้แสดงสองคนขึ้นไป
ระบำมาตรฐาน
เป็นระบำที่บรมครูทางนาฏศิลป์ได้คิดค้นไว้
ระบำที่ปรับปรุงขึ้นใหม่
เป็นระบำที่บรมครูหรือผู้รู้ทางนาฏศิลป์ได้คิดค้น
ละคร
คือการแสดงเรื่องราว
ละครแบบดั้งเดิม
ละครที่ปรับปรุงขึ้นใหม่
มหรสพ
คือการแสดงรื่นเริง หรือการแสดงที่ใช้ในงานพิธีต่างๆ
แหล่งอ้างอิง
นาฏศิลป์ไทย
. สืบค้นวันที่ 6 พ.ย 65
จาก
http://th.wikipedia.org/wiki/