Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
เงินสำรองต่างๆเป็นรายจ่ายต้องห้ามนอกจากเงินสำรองดังต่อไปนี้สามารถนำมาเป็นร…
เงินสำรองต่างๆเป็นรายจ่ายต้องห้ามนอกจากเงินสำรองดังต่อไปนี้สามารถนำมาเป็นรายจ่ายในการคำนวนกำไรสุทธิได้คือ
1)เงินสำรองต่างๆนอกจาก
1.1เงินสำรองจากเบี้ยประกันภัยเพื่อสมทบทุนประกันชีวิตที่กันไว้ก่อนคำนวนกำไรเฉพาะส่วนที่ไม่เกินร้อยละ65
1.2เงินสำรองจากเบี้ยประกันภัยเพื่อสมทบทุนประกันภัยอื่นที่กันไว้ก่อนคำนวนกำไรเฉพาะส่วนที่ไม่เกินร้อยละ45
1.3เงินสำรองที่กันไว้เป็นค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญสำหรับหนี้จากการให้สินเชื่อที่ธนาคารพาณิชย์
2)เงินที่จ่ายเข้ากองทุนใดๆเป็นรายจ่ายต้องห้ามเว้นแต่เงินที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลให้ถือเป็นรายจ่ายได้ซึ่งเป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดโดยกระทรวง ฉบับที่183(พ.ศ2533)
3)รายจ่ายอันมีลักษณะการเป็นส่วนตัว การให้โดยเสน่ห์หา หรือการกุศล เป็นรายจ่ายต้องห้าม ตามที่อธิบดีกำหนดโดยอนุมัติรัฐมนตรีในส่วนที่ไม่เกินร้อยละ2 ของกำไรสุทธิ
4)ค่ารับรองหรือค่าบริการ ส่วนที่ไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กฏหมายกำหนดเป็นรายจ่ายต้องห้ามเว้นแต่ค่ารับรอง
5)รายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการลงทุน หรือรายจ่ายในการต่อเติม เปลี่ยนแปลงขยายออกหรือทำให้ดีขึ้นซึ่งทรัพย์สินเป็นรายจ่ายต้องห้ามแต่หากเป็นการซ่อมแซมให้คงสภาพเดิมเป็นรายจ่ายในการคำนวรสุทธิ ตามมาตรา65ตรี(5)แห่งประมวลรัษฎากร
6)เบี้ยปรับและหรือเงินเพิ่มภาษีอากร ค่าปรับทางอาญา ภาษีบริษัทเงินได้หรือห้างหุ้นส่วน นิติบุคคลเป็นรายจ่ายต้องห้าม”ค่าเบี้ยปรับและหรือเงินเพิ่มภาษีอากร ค่าปรับทางอาญา”หมายถึงค่าเบี้ยปรับ หรือเงินเพิ่ม(ตามคำวินิจฉัยของคณะกรรมการวินิจฉัยภาษีอากรที่40/2560
7)การถอนเงินโดยปราศจากค่าตอบแทนของผู้เป็นหุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลเป็นรายจ่ายต้องห้าม หากมองตามหลักบัญชีแล้วการถอนเงินของผู้เป็นหุ้นส่วนไม่ถือเป็นรายจ่ายอยู่แล้ว เป็นการถอนเงินลงทุนหรือการแบ่งกำไรกัน
8)เงินเดือนของผู้ถือหุ้นหรือเป็นหุ้นส่วนเฉพาะส่วนที่จ่ายเกินสมควรเป็นรายจ่ายต้องห้ามเจ้าพนักงานมีอำนาจพิจารณารายจ่ายประเภทเงินเดือนหรือผู้ถือหุ้นหรือผู้เป็นหุ้นส่วนเปรียบเทียบกับรายอื่นซึ่งมีฐานะหรือลักษณะเดียวกัน
9)รายจ่ายซึ่งกำหนดขึ้นเองโดยไม่มีรายจ่ายจริงหรือรายจ่ายซึ่งควรจะได้จ่ายในรอบระยะเวลาบัญชีอื่นเป็นรายจ่ายต้องห้าม เว้นแต่ในกรณีที่ไม่สามารถจะลงจ่ายในรอบระยะเวลาบัญชีใดก็อาจจะลงจ่ายในรอบถัดไปได้
10)ค่าตอบแทนแก่ทรัพย์สินซึ่งบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลเป็นเจ้าของเองและใช้เองเป็นรายจ่ายต้องห้าม
-
12)ผลเสียหายอันอาจได้กลับคืน เนื่องจากการประกันหรือสัญญาคุมกันใดๆหรือผลขาดทุนสุทธิในรอบระยะเวลาบัญชีก่อนไปถือเป็นรายจ่ายต้องห้าม
13)รายจ่ายซึ่งมิใช่รายจ่ายเพื่อหากำไรหรือเพื่อกิจการโดยเฉพาะถือเป็นรายจ่ายต้องห้าม การชำระเงินควรอยู่ในวัตถุประสงค์ของการประกอบกิจการ
-
15)ค่าซื้อทรัพย์สินและรายจ่ายเกี่ยวกับการซื้อขายทรัพย์สินในส่วนที่เกินปกติโดยไม่มีเหตุผลอันสมควรถือเป็นรายจ่ายต้องห้าม
16)ค่าของทรัพยการธรรมชาติที่สูญหรือสิ้นไปเนื่องจากกิจการที่ทำถือเป็นรายจ่ายต้องห้าม เช่นการทำเหมืองแร่ การทำป่าไม้
17)ค่าของทรัพย์สินนอกจากสินค้าที่ตีราคาตํ่าลงถือเป็นรายจ่ายต้องห้าม ซึ่งเท่ากับการนำเอามูลค่าของทรัพย์สินที่ตีราคาลดลงมาเป็นรายจ่ายทั้งที่ยังไม่เกิดขึ้นจริง
18)รายจ่ายซึ่งจ่ายพิสูจน์ไม่ได้ใครเป็นผู้รับถือเป็นรายจ่ายต้องห้าม เช่น บริษัทจ้างถมที่ และขายทราย-ดินรุกรัง :
19)รายจ่ายใดๆกำหนดจ่ายจากผลกำไรที่ได้เมื่อสิ้นสุดรอบระยะเวลาบัญชีแล้วถือเป็นรายจ่ายต้องห้าม เช่น บริษัทจ่ายเงินค่าที่ปรึกษา ที่กำหนดจ่ายตากผลกำไร ตามมาตรา65 ตรี (19)
20)รายจ่ายที่มีลักษณะทำนองเดียวกับที่ระบุไว้ใน(1) ถึง (19) ตามที่กำหนดโดยพระราชกฤษฎีกา การคำนวรกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษี จำเป็นต้องกำหนดหลักเกณฑ์สำหรับรายจ่ายที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลสามารถนำไปใช้คำนวนกำไรสุทธิแบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคลประจำปี