Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ละครไทยประเภทละครรำ(แบบดั้งเดิม,ละครรำแบบปรับปรุงขึ้นใหม่), สมาชิก เลขที่1…
ละครไทยประเภทละครรำ(แบบดั้งเดิม,ละครรำแบบปรับปรุงขึ้นใหม่)
ละครรำแบบปรับปรุงขึ้นใหม่
ละครพันทาง
นายวิชชากร นาคพุ่ม ม.4/9 เลขที่ 14
นายวิชชากร นาคพุ่ม ม.4/9 เลขที่ 14
ละครพันทาง เป็นละครแบบผสม ผู้ให้กำเนิดละครพันทางคือ เจ้าพระยามหินทร์ศักดิ์ธำรง (เพ็ง เพ็ญกุล) ท่านเป็นเจ้าของคณะละครมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๔ แต่เพิ่งมาเป็นหลักฐานมั่นคงในรัชกาลที่ ๕ ซึ่งแต่เดิมก็แสดงละครนอก ละครใน ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ ๕ ท่านไปยุโรปจึงนำแบบละครยุโรปมาปรับปรุงละครนอกของท่าน ให้มีแนวทางที่แปลกออกไป ละครของท่านได้รับความนิยมมากในปลายรัชกาลที่ ๕ และสิ่งที่ท่านได้สร้างให้เกิดในวงการละครของไทย คือ
ตั้งชื่อโรงละครแบบฝรั่งเป็นครั้งแรก เรียกว่า "ปรินซ์เทียเตอร์"
ริเริ่มแสดงละครเก็บเงิน (ตีตั๋ว) ที่โรงละครเป็นครั้งแรก
การแสดงของท่านก่อให้เกิดคำขึ้นคำหนึ่ง คือ "วิก" เหตุที่เกิดคำนี้คือ ละครของท่านแสดงสัปดาห์ละครั้ง คนที่ไปดูก็ไปกันทุกๆสัปดาห์ คือ ไปดูทุกๆวิก มักจะพูดกันว่าไปวิก คือ ไปสุดสัปดาห์ด้วยการไปดูละครของท่านเจ้าพระยา
เมื่อท่านถึงแก่อสัญกรรม โรงละครของท่านตกเป็นของบุตร คือ เจ้าหมื่นไวยวรนาถ (บุศย์) ท่านผู้นี้เรียกละครของท่านว่า "ละครบุศย์มหินทร์" ละครโรงนี้ได้ไปแสดงในยุโรปเป็นครั้งแรกในสมัยรัชกาลที่ ๕ โดยไปแสดงที่เมืองปีเตอร์สเบิร์ก ในประเทศรัสเซีย ในสมัยรัชกาลที่ ๕ นี้มีคณะละครต่างๆเกิดขึ้นมากมาย ต่อมาพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ ทรงพระราชนิพนธ์บทละครบทละครเรื่อง "พระลอ (ตอนกลาง)" นำเข้าไปแสดงถวายรัชกาลที่ ๕ ทอดพระเนตร ณ พระที่นั่งอภิเษกดุสิต เป็นที่พอพระราชหฤทัยมาก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ได้ทรงตั้งคณะละครขึ้นชื่อว่า "คณะละครหลวงนฤมิตร" ได้ทรงนำพระราชพงศาวดารไทยมาทรงพระนิพนธ์เป็นบทละคร เช่น เรื่องวีรสตรีถลาง คุณหญิงโม ขบถธรรมเถียร ฯลฯ ทรงใช้พระนามแฝงว่า "ประเสริฐอักษร" ปรับปรุงละครขึ้นแสดง โดยใช้ท่ารำของไทยบ้าง และท่าของสามัญชนบ้าง ผสมผสานกัน เปลี่ยนฉากไปตามเนื้อเรื่อง เรียกว่า "บทละครพระราชพงศาวดาร" และเรียกละครชนิดนี้ว่า "ละครพันทาง"
ผู้แสดง
มักนิยมใช้ผู้แสดงชาย และหญิงแสดงตามบทบาทตัวละครที่ปรากฏในเรื่อง
การแต่งกาย
ไม่แต่งกายตามแบบละครรำทั่วไป แต่จะแต่งกายตามลักษณะเชื้อชาติ เช่น แสดงเกี่ยวกับเรื่องมอญ ก็จะแต่งแบบมอญ แสดงเกี่ยวกับเรื่องพม่า ก็จะแต่งแบบพม่า เป็นต้น
เรื่องที่แสดง
ส่วนมากดัดแปลงมาจากบทละครนอก เรื่องที่แต่งขึ้นในระยะหลังก็มี เช่น พระอภัยมณี เรื่องที่แต่งขึ้นจากพงศาวดารของไทยเอง และของชาติต่างๆ เช่น จีน แขก มอญ ลาว ได้แก่ เรื่องห้องสิน ตั้งฮั่น สามก๊ก ซุยถัง ราชาธิราช เป็นต้น นอกจากนี้ก็ยังมีเรื่องที่ปรับปรุงจากวรรณคดีเก่าแก่ของภาคเหนือ เช่น พระลอ
การแสดง
ดำเนินเรื่องด้วยคำร้อง เนื่องจากเป็นละครแบบผสมดังกล่าวแล้ว ประกอบกับเป็นละครที่ไม่แน่นอนว่าจะต้องเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ ดังนั้นบางแบบต้นเสียง และคู่ร้องทั้งหมดเหมือนละครนอก ละครใน บางแบบต้นเสียงลูกคู่ร้องแต่บทบรรยายกิริยา ส่วนบทที่เป็นคำพูด ตัวละครจะร้องเองเหมือนละครร้อง มีบทเจรจาเป็นคำพูดธรรมดาแทรกอยู่บ้าง ดังนั้นการที่จะทำให้ผู้ชมรู้เรื่องราว และเกิดอารมณ์ต่างๆจึงอยู่ที่ถ้อยคำ และทำนองเพลงทั้งสิ้น ส่วนท่าทีการร่ายรำมีทั้งดัดแปลงมาจากชาติต่างๆผสมเข้ากับท่ารำของไทย
ดนตรี
มักนิยมใช้วงปี่พาทย์ไม้นวม เรื่องใดที่มีท่ารำ เพลงร้อง และเพลงดนตรีของต่างชาติผสมอยู่ด้วย ก็จะเพิ่มเครื่องดนตรีอันเป็นสัญลักษณ์ของภาษานั้นๆ เรียกว่า "เครื่องภาษา" เข้าไปด้วยเช่น ภาษาจีนก็มีกลองจีน กลองต๊อก แต๋ว ฉาบใหญ่ ส่วนพม่าก็มีกลองยาวเพิ่มเติมเป็นต้น
เพลงร้อง
ที่ใช้ร้องจะเป็นเพลงภาษา สำหรับเพลงภาษานั้นหมายถึงเพลงประเภทหนึ่งที่คณาจารย์ดุริยางคศิลปได้ประดิษฐ์ขึ้น จากการสังเกต และการศึกษาเพลงของชาติต่างๆ ว่ามีสำเนียงเช่นใด แล้วจึงแต่งเพลงภาษาขึ้นโดยใช้ทำนองอย่างไทยๆ แต่ดัดแปลงให้มีสำเนียงของภาษาของชาตินั้นๆหรืออาจจะนำสำเนียงของภาษานั้นๆมาแทรกไว้บ้าง เพื่อนำทางให้ผู้ฟังทราบว่า เป็นเพลงสำเนียงอะไร และได้ตั้งชื่อเพลงบอกภาษานั้นๆ เช่น มอญดูดาว จีนเก็บบุปผา ลาวชมดง ลาวรำดาบ แขกลพบุรี เป็นต้น คนร้องซึ่งมีตัวละคร ต้นเสียง และลูกคู่ จะต้องเข้าใจในการแสดงของละคร เพลงร้อง และเพลงดนตรีเป็นอย่างดี
สถานที่แสดง แสดงบนเวที มีการจัดฉากไปตามท้องเรื่องเช่นเดียวกับละครดึกดำบรรพ์
ละครเสภา
นายวิชชากร นาคพุ่ม ม.4/9 เลขที่ 14
ละครเสภา มีกำเนิดมาจากการเล่านิทาน เมื่อการเล่านิทานเป็นที่นิยมแพร่หลาย ทำให้เกิดการปรับปรุงแข่งขันกันขึ้น ผู้เล่าบางท่านจึงคิดแต่งเป็นกลอน ใส่ทำนองมีเครื่องประกอบจังหวะ คือ "กรับ" จนกลายเป็นขับเสภาขึ้น
เสภามีมาแต่โบราณสมัยกรุงศรีอยุธยาสันนิษฐานว่ามีขึ้นในสมัยสมเด็จพระบรมไตโลกนาถ ราว พ.ศ. ๒๐๑๑ เสภาในสมัยโบราณไม่มีดนตรีประกอบ จนถึงสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีปี่พาทย์บรรเลงประกอบเสภา
สมัยรัชกาลที่ ๓ นิยมเพลงอัตรา ๓ ชั้น เพลงที่ร้อง และบรรเลงในการขับเสภาซึ่งเคยขับเพลง ๒ ชั้น ก็เปลี่ยนเป็น ๓ ชั้นบ้าง และใช้กันมาจนปัจจุบันนี้
สมัยรัชกาลที่ ๕ ได้มีผู้คิดเอาตัวละครเข้ามาแสดงการรำ และทำบทบาทตามคำขับเสภา และร้องเพลง เรียกว่า "เสภารำ" สมัยนี้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้กวีช่วยกันแต่งเสภาเรื่อง "นิทราชาคริต" เพื่อใช้ขับเสภาในเวลาทรงเครื่องใหญ่ มีเหตุการณ์เปลี่ยนแปลงคือ พวกขับเสภาสำนวนแบบนอก คือใช้ภาษาพื้นบ้านหันมาสนใจสำนวนหลวง
สมัยรัชกาลที่ ๖ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ กับพระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นกวีพจน์สุปรีชา ช่วยกันชำระเสภาขุนช้างขุนแผน แก้ไขกลอนให้เชื่อมติดต่อกัน และพิมพ์เป็นฉบับหอสมุดแห่งชาติขึ้นครั้งแรก เมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๐ ซึ่งเป็นแบบแผนของการแสดงขับเสภา ซึ่งต่อมากลายเป็น "ละครเสภา"
ผู้แสดง มักนิยมใช้ผู้แสดงชาย และหญิง ตามบทเสภาของเรื่อง
การแสดง
ละครเสภาจำแนกตามลักษณะการแสดง ไว้ดังนี้ คือ
เสภาทรงเครื่อง สมัยรัชกาลที่ ๔ วงปี่พาทย์ได้ขยายตัวเป็นเครื่องใหญ่ เมื่อปี่พาทย์โหมโรงจะเริ่มด้วย "เพลงรัวประลอง เสภา" ต่อด้วย "เพลงโหมโรง" เช่น เพลงไอยเรศ เพลงสะบัดสะบิ้ง หรือบรรเลงเป็นชุดสั้นๆ เช่น เพลงครอบจักรวาล แล้วออกด้วยเพลงม้าย่องก็ได้ ข้อสำคัญเพลงโหมโรงจะต้องลงด้วยเพลงวา จึงจะเป็น "โหมโรงเสภา" เมื่อปี่พาทย์โหมโรงแล้ว คนขับก็ขับเสภาไหว้ครูดำเนินเรื่อง ถัดจากนั้นร้องส่งเพลงพม่าห้าท่อนแล้วขับเสภาคั่น ร้องส่งเพลงจระเข้หางยาวแล้วขับเสภาคั่น ร้องเพลงสี่บทแล้วขับเสภาคั่น ร้องส่งเพลงบุหลันแล้วขับเสภาคั่น ต่อจากนี้ไปไม่มีกำหนดเพลง แต่คงมีสลับกันเช่นนี้ตลอดไปจนจวนจะหมดเวลาจึงส่งเพลงส่งท้ายอีกเพลงหนึ่ง เพลงส่งท้ายนี้แต่เดิมใช้เพลงกราวรำ ต่อมาเปลี่ยนเป็นอกทะเล เต่ากินผักบุ้งหรือพระอาทิตย์ชิงดวง เดิมบรรเลงเพลง ๒ ชั้น ต่อมาประดิษฐ์เป็นเพลง ๓ ชั้น ที่เรียกว่า "เสภาทรงเครื่อง" คือ การขับเสภาแล้วมีร้องส่งให้ปี่พาทย์รับนั่นเอง
เสภารำ เกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๕ กระบวนการเล่นมีการขับเสภา และเครื่องปี่พาทย์ บางครั้งก็ใช้มโหรีแทน มีตัวละครออกแสดงบทตามคำขับเสภา และมีเจรจาตามเนื้อร้อง เสภารำมีแบบสุภาพ และแบบตลก เสภารำแบบตลกนี้ผู้ริเริ่มชื่อขุนรามเดชะ (ห่วง) บางท่านว่าขุนราม (โพ) กำนันตำบลบ้านสาย จังหวัดอ่างทอง ซึ่งเล่าลือกันว่าขับเสภาดีนัก ผู้แต่งเรื่องขุนช้างขุนแผน ตอนขุนแผนเข้าห้องนางแก้วกิริยา สมัยรัชกาลที่ ๖ ขุนสำเนียงวิเวกวอน (น่วม บุญยเกียรติ) ร่วมกับนายเกริ่น และนายพัน คิดเสภาตลกขึ้นอีกชุดหนึ่งเลียนแบบขุนช้างขุนแผน โดยแสดงเรื่องพระรถเสน ตอนฤาษีแปลงสาร
เรื่องที่แสดง
มักจะนำมาจากนิทานพื้นบ้าน เช่น เรื่องขุนช้างขุนแผน ไกรทอง หรือจากบทพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ ๖ เช่น พญาราชวังสัน สามัคคีเสวก
ดนตรี
มักนิยมใช้วงปี่พาทย์เครื่องห้าบรรเลง และมีกรับขยับประกอบการขับเสภา
การแต่งกาย
แต่งกายตามท้องเรื่องคล้ายกับละครพันทาง
เพลงร้อง
มีลักษณะคล้ายละครพันทาง แต่จะมีการขับเสภาซึ่งเป็นบทกลอนสุภาพแทรกอยู่ในเรื่องตลอดเวลา
สถานที่แสดง
แสดงบนเวที มีการจัดฉากไปตามท้องเรื่องเช่นเดียวกับละครดึกดำบรรพ์
ละครดึกดำบรรพ์
นายวิชชากร นาคพุ่ม ม.4/9 เลขที่ 14
นายวิชชากร นาคพุ่ม ม.4/9 เลขที่ 14
ละครดึกดำบรรพ์ เป็นละครแบบหนึ่ง ซึ่งกำเนิดเมื่อปี ๒๔๔๒ เป็นละครที่ปรับปรุงรูปแบบจากละครนอก ละครใน และกระบวนวิธีการแสดง โดยมีหลักว่าให้ผู้แสดงหรือผู้รำต้องขับร้องด้วยตนเอง โดยมีลูกคู่ร้องรับ การแต่งกายแบบยืนเครื่อง มีวงดนตรีที่มีลักษณะเฉพาะที่เรียกว่าวงปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์ ดำเนินเรื่องรวดเร็ว มีการตกแต่งฉากที่คล้ายของจริง
เรื่องที่แสดงเดิมซึ่งเป็นบทพระนิพนธ์ที่สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ทรงปรับปรุงจากบทละครใน ละครนอก ได้แก่ เรื่องอิเหนา รามเกียรติ์ อุณรุท สังข์ทอง คาวี สังข์ศิลปชัย มณีพิชัย เป็นต้น และพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชนิพนธ์เรื่อง ศกุนตลา ท้าวแสนปม พระเกียรติรถ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้าจุฑาธุชธราดิลก กรมขุนเพชรบูรณ์อินทราชัย พระนิพนธ์เรื่องพระยศเกตุ จันทกินรี และสองกรวรวิก บุคคลสำคัญที่มีส่วนร่วมในการพัฒนารูปแบบการแสดงละครดึกดำบรรพ์ ได้แก่ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ทรงพระนิพนธ์บทและทรงเลือกสรรปรับปรุงทำนองเพลง ออกแบบฉาก และกำกับการแสดง พระประดิษฐไพเราะ (ตาด ตาตะนันท์) จัดทำนองเพลง ควบคุมวงดนตรีและหม่อมเข็ม กุญชร ณ อยุธยา ปรับปรุง ประดิษฐ์ท่ารำและฝึกสอน
วงปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์ เป็นวงดนตรีที่มีเสียงทุ้มนุ่มนวล ประกอบไปด้วย ระนาดเอก (ใช้ไม้นวมตี) ระนาดทุ้ม ระนาดทุ้มเหล็ก ฆ้องวงใหญ่ ขลุ่ยเพียงออ ขลุ่ยอู้ ซออู้ ฆ้องหุ่ย ๗ ใบ ตะโพน กลองตะโพน และฉิ่ง ส่วนเพลงร้องใช้เพลงไทยของเก่าและพระนิพนธ์ขึ้นใหม่ รูปแบบการแสดงมีโหมโรงเฉพาะตอนต่างๆ ก่อนเข้าเนื้อเรื่อง และเมื่อแสดงจบจะมีเพลงสรรเสริญพระบารมีที่มีเนื้อเพลงเฉพาะ
ละครดึกดำบรรพ์เปิดแสดงครั้งแรกที่โรงละครดึกดำบรรพ์เมื่อ พ.ศ.๒๔๔๒ และแสดงต่อเนื่องมาจนถึงปี พ.ศ.๒๔๕๒ หลังจากนั้นจึงค่อยๆ ลดความนิยมลง จนกระทั่งปัจจุบัน ละครดึกดำบรรพ์ได้รับการฟื้นฟูเพื่อจัดแสดงโดยกรมศิลปากรและสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป ส่วนวงดนตรีและเพลงปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์นั้น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้ทำการวิจัยและเผยแพร่ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๓๐ มาจนถึงปัจจุบัน โดยมีสมเด็จพระเทพรัตน์ราชสุดาฯ เป็นองค์ประธาน
ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีชาวต่างประเทศเข้ามาเฝ้าอยู่เนืองๆ จึงรับสั่งให้เจ้าพระยาเทเวศรวงศ์วิวัฒน์ (ม.ร.ว.หลาน กุญชร) ซึ่งมีละครผู้หญิงเป็นของตัวเอง และเป็นผู้บังคับบัญชากรมมหรสพในขณะนั้น คิดจัดการเล่นคอนเสิร์ตสำหรับแขกเมือง เจ้าพระยาเทเวศร์ฯจึงกราบทูลสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระนริศฯ ให้ทรงช่วยเลือกบท เพลงดนตรี และอำนวยการซ้อม จึงเกิด “คอนเสิร์ต” ขึ้น โดยแรกนั้นจะเล่นหลังเลี้ยงอาหารค่ำ มีคนร้องชายพวกหนึ่ง หญิงพวกหนึ่งนั่งอยู่บนเวทีในห้องรับแขก ขับร้องประสานเสียงเข้ากับเครื่องปี่พาทย์ ต่อมาสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระนริศฯ ทรงแก้ไขกระบวนคอนเสิร์ต ให้ร้องบทเป็นเรื่องเดียวต่อกันแต่ต้นจนจบ เช่น เอาบทละครเรื่องรามเกียรติ์และอิเหนามาปรุงเป็นบทร้องให้เข้ากับเรื่อง จึงเกิดเป็น “คอนเสิร์ตเรื่อง” จากนั้นเจ้าพระยาเทเวศรฯ ได้คิดเอาตัวละครออกรำเข้ากับเพลงคอนเสิร์ตพอปี ๒๔๓๔ เจ้าพระยาเทเวศรฯ ไปยุโรป ได้เห็นละครโอเปร่าของฝรั่ง จึงทูลชวนสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระนริศฯ ให้ร่วมกันขยายละครคอนเสิร์ตให้เป็นโอเปร่าไทย โดยทำเครื่องแต่งกายให้ละครผู้หญิงของท่านเล่น และได้สร้างโรงละครใหม่ในบ้านของท่าน เรียกชื่อว่า “โรงละครดึกดำบรรพ์” ทั้งนี้ประสงค์จะใช้คำ “ดึกดำบรรพ์” เป็นชื่อคณะละครแทนชื่อ“ละครเจ้าพระยาเทเวศรฯ”แต่คนก็เอาชื่อคณะไปเรียกเป็นชื่อละครว่า “ละครดึกดำบรรพ์” จัดแสดงครั้งแรกเมื่อปี ๒๔๔๒ งานต้อนรับเจ้าชายเฮนรีพระอนุชาสมเด็จพระเจ้ากรุงปรัสเซีย พระราชอาคันตุกะของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระนริศฯ ทรงคิดบทและจัดกระบวนลำนำที่จะขับร้อง ซึ่งได้รับความนิยมเรื่อยมา จนปี พ.ศ. ๒๔๕๒ เจ้าพระยาเทเวศรฯ ป่วยทุพพลภาพ เลยต้องเลิกเล่น แต่กรมมหรสพและเจ้าของโรงละครอื่นๆก็กลับฟื้นเล่นกันขึ้นอีกในสมัยรัชกาลที่ ๖ ในปี ๒๔๖๗ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระกรุณาโปรดทำงานฉลองอายุ ๗๐ ปีพระราชทานเจ้าคุณพระประยูรวงศ์ ทรงดำรัสสั่งมายังหอพระสมุดให้พิมพ์หนังสือ“ประชุมบทละครดึกดำบรรพ์” แจกในงาน แต่ก็ยังขาดเรื่องมณีพิชัย สูรปนขา และอุณรุท ตามที่หม่อมเจ้าหญิง (เหลือ) พัฒนายุ ธิดาสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ได้เสาะหามา แล้วถวายให้สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระนริศฯ ช่วยตรวจชำระจนเวลาผ่านมา ๒๐ ปี กรมศิลปากรจึงได้พิมพ์หนังสือ “ประชุมบทละครดึกดำบรรพ์” ที่ครบ ทั้ง ๘ เรื่อง อันมีภาพพวกละครของเจ้าคุณพระประยูรวงศ์แต่งตัวเป็นแบบประกอบแจกในงานศพเจ้าคุณพระประยูรวงศ์
ละครรำแบบมาตรฐานดังเดิม มี 3ชนิด คือ
ละครนอก
นายภูว์รินทร์ คงตุก ม.4/9 เลขที่1
ละครนอก มีมาตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา เป็นละครที่แสดงกันนอกราชธานี แต่เดิมคงมาจากการละเล่นพื้นเมือง และร้องแก้กัน เป็นละครที่พัฒนามาจากละครชาตรี แต่เดิมคงมีตัวละครเพียง ๓-๔ ตัว อย่างละครชาตรี ต่อมามีการแสดงละครกันอย่างแพร่หลายทั่วไปในหมู่ราษฎร มีการเล่นเรื่องต่างๆ มากขึ้น ต้องเพิ่มตัวละครขึ้นตามเนื้อเรื่อง ผู้แสดงยังคงเป็นชายล้วน แต่การแต่งกายได้ประดิษฐ์เพิ่มเติม เปลี่ยนแปลงให้ประณีตงามขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยา นิยมเล่นกันหลายเรื่อง ล้วนแต่เป็นประเภทจักรๆ วงศ์ๆ นิทานชาวบ้าน นิทานชาดก มีคติสอนใจ เช่น การเกด คาวี ไชยทัต พิกุลทอง พิมพ์สวรรค์ พิณสุริยวงศ์ มโนราห์ โม่งป่า มณีพิชัย สังข์ทอง
ผู้แสดง
ในสมัยโบราณจะใช้ผู้ชายแสดงล้วน และเริ่มมีผู้หญิงแสดงละครนอก ในสมัยรัชกาลที่ ๒ แต่เป็นละครหลวง ผู้แสดงต้องเป็นคนแคล่วคล่องว่องไว มีไหวพริบปฏิภาณชำนาญทั้งรำและร้อง มีลูกคู่รับ หากเป็นบทเล่าหรือบรรยาย ลูกคู่จะร้อง และผู้แสดงต้องพูดเอง เล่นตลกเอง
การแต่งกาย
ในขั้นแรกตัวละครแต่งตัวอย่างคนธรรมดาสามัญ เป็นเพียงแต่งให้รัดกุมเพื่อแสดงบทบาทได้สะดวก ตัวแสดงบทเป็นตัวนางก็นำเอาผ้าขาวม้ามาห่มสไบ ถ้าแสดงบทเป็นตัวยักษ์ก็เขียนหน้าหรือใส่หน้ากาก ต่อมามีการแต่งกายให้ดูงดงามมากขึ้น วิจิตรพิสดารขึ้น เพราะเลียนแบบมาจากละครใน บางครั้งเรียกการแต่งกายลักษณะนี้ว่า "ยืนเครื่อง"
การแสดง
มีความมุ่งหมายในการแสดงเรื่องมากกว่าการร่ายรำฉะนั้นในการดำเนินเรื่องจะรวดเร็ว ตลกขบขัน ไม่พิถีพิถันในเรื่องของขนบธรรมเนียมประเพณี การใช้ถ้อยคำของผู้แสดง มักใช้ถ้อยคำ "ตลาด" เป็นละครที่ชาวบ้านเรียกกันเป็นภาษาธรรมดาว่า "ละครตลาด"
ดนตรีและเพลงร้อง
มักนิยมใช้วงปี่พาทย์เครื่องห้า ก่อนการแสดงละครนอก ปี่พาทย์จะบรรเลงเพลงโหมโรงเย็น เป็นการเรียกคนดู เพลงโหมโรงเย็นประกอบด้วย เพลงสาธุการ ตระ รัวสามลา เข้าม่าน ปฐม และเพลงลา เพลงร้อง มักเป็นเพลงชั้นเดียว หรือเพลง ๒ ชั้น ที่มีจังหวะรวดเร็ว มักจะมีคำว่า "นอก" ติดกับชื่อเพลง เช่น เพลงช้าปี่นอก โอ้โลมนอก ปีนตลิ่งนอก ขึ้นพลับพลานอก เป็นต้น มีต้นเสียง และลูกคู่ บางทีตัวละครจะ ร้องเอง โดยมีลูกคู่รับทวน มีคนบอกบทอีก ๑ คน
สถานที่แสดง
โรงละครเป็นรูปสี่เหลี่ยมดูได้ ๓ ด้าน (เดิม) กั้นฉากผืนเดียวโดยไม่ต้องเปลี่ยนแปลงไปตามท้องเรื่อง มีประตูเข้าออก ๒ ทาง หน้าฉากตรงกลางตั้งเตียงสำหรับตัวละครนั่ง ด้านหลังฉากเป็นส่วนสำหรับตัวละครพักหรือแต่งตัว
ละครใน
นายภูว์รินทร์ คงตุก ม.4/9 เลขที่1
ละครใน มีหลายชื่อ เช่น ละครใน ละครข้างใน ละครนางใน และละครในพระราชฐาน เป็นต้น สันนิษฐานว่ามีมาตั้งแต่สมัยอยุธยา และรุ่งเรืองมากที่สุดในสมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ละครในแสดงมาจนถึงสมัยธนบุรี และรัตนโกสินทร์ หลังสมัยรัชกาลที่ ๖ มิได้มีละครในในเมืองหลวงอีก เนื่องจากระยะหลังมีละครสมัยใหม่เข้ามามาก จนต่อมามีผู้คิดฟื้นฟูละครในขึ้นอีก เพื่อแสดงบ้างในบางโอกาส แต่แบบแผน และลักษณะการแสดงเปลี่ยนไปมาก
ผู้แสดง
เป็นหญิงฝ่ายใน เดิมห้ามบุคคลภายนอกหัดละครใน จนถึงสมัยรัชกาลที่ ๔ ทรงเลิกข้อห้ามนั้น ต่อมาภายหลังอนุญาตให้ผู้ชายแสดงได้ด้วย ผู้แสดงละครในต้องเป็นผู้ที่มีความสามารถตีบทให้แตก และมีลักษณะทีท้าวทีพญา
การแต่งกาย
พิถีพิถันตามแบบแผนกษัตริย์จริงๆ เรียกว่า "ยืนเครื่อง" ทั้งตัวพระ และตัวนาง
เรื่องที่แสดง
มักนิยมแสดงเพียง ๓ เรื่อง คือ อุณรุฑ อิเหนา และรามเกียรติ์
การแสดง
ละครในมีความมุ่งหมายอยู่ที่ศิลปะของการร่ายรำ ต้องให้แช่มช้อยมีลีลารักษาแบบแผน และจารีตประเพณี
ดนตรี
ใช้วงปี่พาทย์เหมือนละครนอก แต่เทียบเสียงไม่เหมือนกัน จะต้องบรรเลงให้เหมาะสมกับเสียงของผู้หญิงที่เรียกว่า "ทางใน"
เพลงร้อง
ปรับปรุงให้มีทำนอง และจังหวะนิ่มนวล สละสลวย ตัวละครไม่ร้องเอง มีต้นเสียง และลูกคู่ มักมีคำว่า "ใน" อยู่ท้ายเพลง เช่น ช้าปี่ใน โอ้โลมใน
สถานที่แสดง
แต่เดิมแสดงในพระราชฐานเท่านั้น ต่อมาไม่จำกัดสถานที่
ละครชาตรี
นายภูว์รินทร์ คงตุก ม.4/9 เลขที่1
ละครชาตรี เป็นละครประเภทหนึ่งของไทย สันนิษฐานว่าคงนำเอาการขับร้องและระบำ รำฟ้อน ประกอบดนตรี ตั้งแต่สมัยสุโขทัยมาผสมกับละคร มีลักษณะคล้ายละครอินเดียที่เรียกว่า ยาตรี หรือ ยาตรา ซึ่งแปลว่าเดินทางท่องเที่ยว
ประวัติ
ละครชาตรีเกิดขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยา ต่อมาราชสำนักอยุธยานำลงไปสอนละครชาตรีที่ภาคใต้ ละครชาตรีได้เป็นที่นิยมแพร่หลายทางภาคใต้ เรื่องที่นิยมแสดงคือเรื่อง พระสุธนและนางโนราห์ จึงเรียกละครประเภทนี้ว่า โนราห์ชาตรี พ.ศ. 2312 เมื่อสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีเสด็จยกทัพไปปราบเจ้านครศรีธรรมราช และพาขึ้นมากรุงธนบุรีพร้อมด้วยพวกละคร พ.ศ. 2323 ในงานฉลองพระแก้วมรกต ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ละครของนครศรีธรรมราชขึ้นมาแสดงประชันกับละครหลวงผู้หญิงของหลวง
พ.ศ. 2375 สมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยูรวงศ์ (ดิศ บุนนาค) เมื่อครั้งเป็นเจ้าพระยาพระคลัง ได้ลงไปปราบและระงับเหตุการณ์ร้ายทางหัวเมืองภาคใต้ พวกชาวใต้ จึงอพยพติดตามขึ้นมาด้วย ราษฎรเหล่านั้นเป็นไพร่หลวงเกณฑ์บุญ เมื่อราชการมีงานบุญ และให้ตั้งบ้านเรือน ซึ่งในปัจจุบันเป็นบริเวณถนนหลานหลวงและถนนดำรงรักษ์ ภายหลังได้ตั้งคณะละครรับจ้างแสดง
ปัจจุบันมีละครแก้บนที่แสดงตามสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ เช่น ศาลหลักเมืองกรุงเทพมหานคร ศาลท้าวมหาพรหม โรงแรมเอราวัณ กรุงเทพมหานคร วัดโสธรวรารามวรวิหาร จังหวัดฉะเชิงเทรา และวัดมหาธาตุวรวิหาร จังหวัดเพชรบุรี ตลอดจนตามวัดสำคัญ ๆ ในจังหวัดภาคกลาง ประชาชนทั่วไป เรียกการแสดงแก้บนนี้ว่า ละครชาตรี
แม้ว่าการแสดงละครชาตรีในปัจจุบันจะเหมือนละครนอกเกือบทั้งหมด แต่ยังคงมีการแสดงละครชาตรีแบบดั้งเดิมเหลืออยู่บ้าง เช่น คณะนายพูน เรืองนนท์ ที่ถนนหลานหลวง กรุงเทพมหานคร คณะละครชาตรีที่จังหวัดเพชรบุรีที่เรียกว่า ละครชาตรีเมืองเพชร
ลักษณะ
ในสมัยโบราณ ผู้แสดงเป็นชายล้วน มีตัวละครเพียง 3 ตัว คือตัวนายโรง ตัวยาง และตัวตลก เพราะกฎหมายห้ามไม่ให้ผู้หญิงแสดงละครนอกและละครชาตรี ผู้หญิงจะใช้แสดงเฉพาะละครในเท่านั้น จนกระทั่งในปลายสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีการอนุญาตให้ผู้หญิงสามารถแสดงละครนอกและละครชาตรีได้ สมัยปัจจุบันนิยมใช้ผู้หญิงแสดงเป็นส่วนใหญ่ ละครชาตรีสมัยโบราณไม่สวมเสื้อเนื่องจากตัวแสดงเป็นชาย ตัวยืนเครื่องซึ่งเป็นตัวที่แต่งกายดีกว่าตัวอื่นก็นุ่งสนับเพลานุ่งผ้าคาดเจียระบาดมีห้อยหน้า ห้อยข้างสวมสังวาล ทับทรวง กรองคอกับตัวเปล่า บนศีรษะสวมเทริดเท่านั้น ส่วนการแต่งกายในสมัยปัจจุบันมักนิยมแต่งเครื่องละครสวยงาม เรียกตามภาษาชาวบ้านว่า "เข้าเครื่องหรือยืนเครื่อง"
เครื่องดนตรีที่ใช้เป็นวงปี่พาทย์ชาตรี ประกอบด้วย ปี่ โทน ฆ้องคู่ กรับ และกลองชาตรี ละครชาตรีไม่มีฉากประกอบ ยกเว้นให้มีเสากลางโรง 1 ต้น เสานี้สําคัญมาก (เป็นเสาที่พระวิสสุกรรมเสด็จมาประทับเพื่อปกป้องผองภัยอันตราย จึงได้ทําเสาผูกผ้าแดงปักไว้ตรงกลางดรง)
สมาชิก เลขที่1 10 11 13 14 15 ม.4/9
อ้างอิง
https://guru.sanook.com/7741/?fbclid=IwAR37n-J9CuOytpmtFyGHk_XURBG4wVJfTiPfcDTVRCEJ9aEpawm6VdVOJBo
และ
https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%B5?fbclid=IwAR0_r9on50EjglAwoY2PR9RipELDvyO3c82D_gbbcgmr9V70M27vh2iyjt8
นายภัทรกร ศรีสุวรรณ เลขที่13(หารูปภาพ) และนายกิตติภพ ทิพยมนตรี เลขที่ 15 (หาข้อมูล)