Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
วิวัฒนาการของนาฏศิลป์และละครไทยยุคแรก, image, image, image, image, image,…
วิวัฒนาการของนาฏศิลป์และละครไทยยุคแรก
สมัยน่าเจ้า
การแสดง
ระบำนกยูง
ศิลปะการแสดงชั้นสูงของจีน ช่วงสมัยราชวงศ์ถัง นำเสนอการแสดงผ่านความอ่อนช้อยของสรีระของนักแสดงและความพร้อมของโชว์
เป็นการแสดงเลียนแบบท่าทางของนกยูง ที่ต้องอาศัยทักษะของนักแสดงอย่างมาก
การแต่งกาย
หญิงไม่ผัดหน้า เขียนคิ้ว แต่ทาผมด้วยน้ำจากต้นหม่อน สตรีสูงศักดิ์ นุ่งห่ม ซิ่นไหม ย้อมสีสวยงาม บนเอวมีวิ่นไหม ประดับอีกผืนหนึ่ง (ไม่ใช่ย้ำคาดเอว) เกล้าผมสูงบางที ประดิษฐ์ผมเปียห้อย แล้วม้วนไว้ด้านหลัง ต่างหูทำด้วยไข่มุก ทับทิม หรืออำพัน นิยมประดับดอกไม้
ข้าราชการ ชั้นผู้ใหญ่ มีหนังเสือคลุมร่างกาย ผ้ารัดพุงสีทอง ชั้นสูงกว่านี้ จะได้ผ้ารัดพุง สีแดงแถบเหลือง(ทอง) ข้าราชการชั้นผู้น้อย ใส่เสื้อแบบเสื้อกั๊ก(ไม่มีแขน) ด้านหน้า มีลายปัก หรือห้อยคล้องคอ บอกยศตำแหน่ง
บุคคลสำคัญ
ไม่ปรากฏ
นายภากร ทองโต เลขที่13 ม.4/1
สมัยอยุธยา
ได้พัฒนาการแสดงในรูปแบบของละครรำ นับเป็นต้นแบบของละครรำแบบอื่นๆต่อมา คือ ละครชาตรี ละครนอก และละครใน สำหรับละครในเป็นละครผู้หญิง แสดงเฉพาะในราชสำนัก ในราชสมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศนิยมแสดงเรื่อง นิเหนา ซึ่งเจ้าพินทวดีได้สืบทอดท่ารำต่อมาจนถึงสมัยธนบุรี
บุคคลสำคัญ
ได้พัฒนาการแสดงในรูปแบบของละครรำ นับเป็นต้นแบบของละครรำแบบอื่นๆต่อมา คือ ละครชาตรี ละครนอก และละครใน สำหรับละครในเป็นละครผู้หญิง แสดงเฉพาะในราชสำนัก ในราชสมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศนิยมแสดงเรื่อง นิเหนา ซึ่งเจ้าพินทวดีได้สืบทอดท่ารำต่อมาจนถึงสมัยธนบุรี
การแต่งกาย
ในสมัยช่วงต้นอยุธยา ผู้ชายที่เป็นชาวบ้านทั่วไปมักไม่สวมท่อนบน หรือแม้แต่ขุนนางถึงพระมหากษัตริย์ก็สวมเสื้อบ้างตามแต่ความเหมาะสม หลักฐานหนึ่งที่พบข้อมูลเกี่ยวกับเครื่องแต่งกายคือกฎมณเฑียรบาล เมื่อ พ.ศ. 1901 สมัยพระเจ้าอู่ทอง มีข้อความส่วนหนึ่งว่า "ขุนหมื่นพระกำนัลก็ดี ราชยานก็ดี อภิรมก็ดี โภกหูกระต่าย เสื้อขาว นุ่งขาว ผ้าเชีงวรรณ”
เสื้อผ้ายังเป็นอีกหนึ่ง "รางวัล” ที่พระมหากษัตริย์พระราชทานให้ผู้ประกอบความดีความชอบเช่นรบชนะศัตรู รางวัลเป็นทั้งขันเงิน ขันทอง และ "เสื้อผ้า” ซึ่งทำให้เห็นได้ว่า "เสื้อ” (แบบอยุธยา) มีปรากฏมานานกว่า 500 ปีแล้ว แต่ไม่ได้ใส่ในชีวิตประจำวันทั่วไปซึ่งนั่นทำให้ชาวต่างชาติที่เข้ามาในไทยสมัยพระนารายณ์มหาราช เมื่อ 300 ปีก่อนอย่างนิโกลาส์ แชร์แวส แสดงความคิดเห็นว่า "อาชีพที่อัตคัดที่สุดในราชอาณาจักรสยามก็คืออาชีพช่างตัดเสื้อ เพราะพลเมืองสามัญเขาไม่สวมเสื้อกัน”
ขณะที่กางเกงก็เชื่อว่ามีขึ้นในเวลาไล่เลี่ยกัน ศัพท์ที่คนยุคนี้อาจคุ้นเคยกันคือ "สนับเพลา” หมายถึง กางเกงขาสั้นครึ่งน่อง ในกฎมณเฑียรบาลก็มีเอ่ยถึงสนับเพลาไว้ในส่วนพระสนมที่ต้องโทษถึงประหารชีวิต ให้ใส่ "สนับเพลาจึ่งมล้าง”
ส่วนผู้หญิงมีทั้งเสื้อ-ผ้าสไบ และผ้านุ่ง หลักฐานเกี่ยวกับเครื่องแต่งตัวเจ้านายผู้หญิงยังปรากฏในกฎมณเฑียรบาล อธิบายว่า ลูกเธอ เอกโท "เสื้อโภคลายทอง” หลานเธอเอกโท "เสื้อแพรพรรณ” แต่เชื่อว่าโดยผู้หญิงทั่วไปแล้วก็นิยมห่มสไบ ท่อนล่างนุ่งผ้าจีบ หรือนุ่งแบบโจงกระเบน
เมื่อมาถึงสมัยกรุงธนบุรี เชื่อว่า การแต่งกายน่าจะยังไม่เปลี่ยนแปลงจากสมัยกรุงศรีอยุธยามากนักจากที่กรุงธนบุรีมีระยะเวลาประมาณ 12 ปี และเวลาผ่านมาถึงยุครัตนโกสินทร์ตอนต้นก็ยังพบเห็นลักษณะการแต่งกายที่ใกล้เคียงกับกรุงศรีอยุธยา
นายณัฐพนธ์ พันธ์มโน เลขที่15 ม.4/1
สมัยสุโขทัย
ได้พัฒนาการแสดงในรูปแบบของละครรำ นับเป็นต้นแบบของละครรำแบบอื่นๆต่อมา คือ ละครชาตรี ละครนอก และละครใน
การแสดงสำคัญ
ในสมัยสุโขทัยไม่มีหลักฐานเกี่ยวกับละครมากนัก แต่จะเป็นการแสดงทางศิลปะแห่งการละเล่นพื้นเมืองประเภทระบำ รำ ฟ้อน มีวิวัฒนาการมาจากการละเล่นของชาวบ้าน เป็นการพักผ่อนหย่อนใจหลังจากเสร็จงาน หรือแสดงในงานบุญ งานรื่นเริงประจำปี ปรากฏในหนังสือไตรภูมิพระร่วงฉบับพระมหาราชาลิไทว่า “บ้างเต้น บ้างรำ บ้างฟ้อน ระบำบันลือ” แสดงให้เห็นรูปแบบของนาฏศิลป์ที่ปรากฏในสมัยนี้ คือ เต้น รำ ฟ้อน และระบำ
การแต่งกาย
ลักษณะการแต่งกายของผู้หญิง ผม : ผมยาวเกล้ามวยบนศีรษะ มีพวงดอกไม้หรือพวงมาลัยสวมรอบมวย หรือไว้ผมแสก กลาง รวบผมไว้ท้ายทอย มีเกี้ยวหรือห่วงกลมคล้องตรงที่รวบ
เครื่องประดับ : กรองคอ รัดแขน กำไลมือและกำไลเท้า เครื่องปักผมเป็นเข็มเงิน เข็มทอง ใส่แหวน รัดเกล้า
เครื่องแต่งกาย : นุ่งผ้าซิ่นหรือผ้าถุงยาวกรอมถึงข้อเท้า
ลักษณะการแต่งกายของผู้ชาย
ผม : มุ่นผม หรือปล่อยผมเมื่อยามพักผ่อนอยู่บ้าน
เครื่องประดับ : กษัตริย์จะสวมเทริด กำไล เพชร พลอยสี
เครื่องแต่งกาย : นุ่งกางเกงครึ่งน่อง แล้วนุ่งผ้าถกเขมร หรือหยักรั้งทับกางเกงอีกที ต่อมาประยุกต์เป็นนุ่งสั้น และทิ้งหางเหน็บ เรียกว่ากระเบนเหน็บ หรือนุ่งแบบโรยเชิง สวมเสื้อ คอ กลมหรือไม่สวม
นางสาวชนิดาภา พลธรรม เลขที่41 ม.4/1
สมัยธนบุรี
ประวัติบุคคลสำคัญ
สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีหรือ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช17 เมษายน พ.ศ. 2277 – 6 เมษายน พ.ศ. 2325) มีพระนามเดิมว่า สิน เป็นคนไทยเชื้อสายจีน เป็นพระมหากษัตริย์ผู้ก่อตั้งอาณาจักรธนบุรี และเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์เดียวของราชอาณาจักรธนบุรี
เดิมพระองค์เป็นนายทหารในรัชกาลสมเด็จพระที่นั่งสุริยาศน์อมรินทร์ ต่อมา พ.ศ. 2310 เกิดการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง พระองค์ได้เป็นผู้นำขับไล่ทหารพม่าที่ยึดครองกรุงศรีอยุธยาอยู่ในเวลานั้น และได้ปราบดาภิเษกเป็นพระเจ้ากรุงศรีอยุธยาอีกเจ็ดเดือนถัดมาโดยพระองค์ย้ายเมืองหลวงไปยังกรุงธนบุรี และรวบรวมแผ่นดินซึ่งมีขุนศึกก๊กต่าง ๆ ปกครองให้กลับเป็นปึกแผ่นอีกครั้ง เช่นเดียวกับการขยายอาณาเขตออกไปอย่างกว้างขวาง นอกจากนี้ ยังทรงฟื้นฟูราชอาณาจักรในด้านต่าง ๆ ให้กลับคืนสู่สภาวะปกติหลังสงคราม ทั้งส่งเสริมกิจการด้านเศรษฐกิจ ศาสนา ศิลปวัฒนธรรม วรรณกรรม และการศึกษา ภายหลังรัฐบาลไทยประกาศให้วันที่ 28 ธันวาคมของทุกปีเป็น "วันสมเด็จพระเจ้าตากสิน" และยังทรงได้รับสมัญญานามมหาราช
การแสดงที่สำคัญ
นาฏศิลป์และการละเล่นสมัยกรุงธนบุรี เท่าที่ปรากฏหลักฐานในจดหมายเหตุ สมโภชพระแก้วมรกต พ.ศ.2323 คือ โขน หนัง หุ่น ละคร รำ ( รำหญิง , รามัญรำ , ชวารำ , ญวนรำถือโคมดอกบัว ) มโหรี ปี่พาทย์ ระเม็ง โมงครุ่ม ญวนหก และคนต่อเท้าโจนหกรับหอก หกไม้ลำเดียว หกไม้สูง 3 ต่อ ไต่ลวดลังกาไม้ลอดต่ำ ดุลาเล็ก มังกรตีวิสัย ( แทงวิสัย ) โตกระบือหรือโตกระบือ จีนเงาะ มวย คู่ปล้ำ เสลหรือดาบดั้ง คู่ง้าว คู่ทวน คู่หอก คู่กฤช ชนช้าง แข่งม้า ทวนหลังม้า กระบี่หลังม้า และม้าคลุมม้าคลี
การแต่งกาย
ผู้ชาย
นุ่งเสื้อหม้อฮ่อม
กางเกงผ้าแพรจีน
ผู้หญิง
ทัดดอกไม้
สไบรัดอกผ้าแพรจีน
นุ่งผ้าถุง
นายธนภัทร คณะแนม เลขที่9 ม.4/1
นางสาวณัฏพิชา เฉลิมเมือง เลขที่38 ม.4/1