Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่1 คุณลักษณะของพยาบาลวิชาชีพ - Coggle Diagram
บทที่1 คุณลักษณะของพยาบาลวิชาชีพ
1.1 พยาบาลวิชาชีพ (Professional Nurse)
เป็นผู้อยู่ในวิชาชีพการพยาบาลและเป็นบุคลากรทางการสาธารณสุขซึ่งอยู่ในสาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ ที่ให้การดูแลรักษาสุขภาพอนามัยทางด้านการพยาบาลและผดุงครรภ์ เป็นผู้ที่ได้รับการศึกษาอบรม และปลูกฝังให้มีความรู้ในศาสตร์ทางการพยาบาลต้องเป็นผู้ที่มีจิตใจเอื้ออาทร เมตตา กรุณา เต็มใจที่จะช่วยเหลือดูแลให้การรักษาพยาบาลแก่ผู้ที่มาขอรับบริการ เป็นผู้ที่สนใจศึกษาหาความรู้ พัฒนาทักษะความเชี่ยวชาญในด้านต่างๆแก่ตนเอง
1.2 คุณสมบัติขั้นพื้นฐานของพยาบาลวิชาชีพ
1.2.1 มีความรู้และความชำนาญในวิชาชีพของตนเอง โดยมีความรู้ในทฤษฏีทางการพยาบาที่ใช้เป็นหลักในการดำเนินชีวิตและหลักในการให้การพยาบาล จึงสามารถทำหน้าที่ได้อย่างเชี่ยวชาญ มีประสิทธิภาพ
1.2.2 ต้องมีจรรยาบรรณในวิชาชีพ คุณธรรม และจริยธรรมในวิชาชีพ ซึ่งเป็นสิ่งที่สังคมคาดหวังไว้สูงมาก การให้บริการหรือดูแลผู้ป่วย พยาบาลวิชาชีพ ต้องมีความรู้คู่คุณธรรม จึงจะสามารถปฏิบัติงานและสร้างสัมพันธภาพที่ดีกับผู้ป่วยหรือผู้รับบริการ ซึ่งคุณลักษณะทางคุณธรรมและจริยธรรมที่ควรสร้าง
การทำใจ หมายถึงการหัดสร้างความคิดที่จะทำแต่ละสิ่งที่ดีงามให้เกิดขึ้นภายในจิตใจของตนเองอยู่เสมอ
การให้ หมายถึง ให้การกระทำที่ดีแก่บุุลอื่นโดยเฉพาะให้การดูแลรักษาสุขภาพแก่ผู้มาขอรับบริการหรือผู้ป่วยเสมอ
3) การก้าวไกลในศาสตรืการพัฒนาศาสตร์หรือองค์ความรู้ทางการพยาบาลสร้างวิสัยทัศน์ที่ดีและก้าว ไกลจากสิ่งที่ไม่ดีหรือชั่วร้าย
1.2.3 มีความรับผิดชอบต่อสังคม สังคมยุคใหม่เป็นสังคมที่ต้องยึดโยงกันด้วยความเป็นชุมชน การอยู่ใน วิชาชีพเดียวกันจะต้องมีการสร้างสังคมในวิชาชีพที่เข็มแข็งก่อน เพราะจะเป็นกลไกที่จะนําไปสู่ความเป็นวิชาชีพ
1.3 คุณลักษณะของพยาบาลวิชาชีพ
1.3.1 ความสามารถด้านการปฏิบัติการพยาบาล
1) มีทักษะความสามารถ ความเชี่ยวชาญในการปฏิบัติการพยาบาลเป็นอย่างดี เน้นการป้องกัน และ ส่งเสริมสุขภาพ การดูแลสุขภาพชุมชน
2) มีความสามารถในการให้บริการพยาบาลโดยใช้แนวคิด ทฤษฎีการพยาบาล กระบวนการพยาบาล และ
ศาสตร์สาขาอื่นที่เกี่ยวข้อง
1.3.2 ความสามารถด้านวิชาการ
1) มีความสามารถในการคิด ใช้วิจารณญาณและการตัดสินใจในการแก้ปัญหาสุขภาพ
2) มีความคิดริเริ่มปรับปรุงงานให้ทันต่อความก้าวหน้าของวิทยาการและเทคโนโลยี
3) มีความคิด ความสามารถเป็นสากล หรือในเชิงนานาชาติ
4) สามารถคัดกรอง แปล วิเคราะห์ และเลือกใช้ข้อมูล
5) มีความสามารถในการคิดรวบยอด วิเคราะห์ วิจารณ์
6) มีทักษะ ความสามารถในการเรียนรู้ด้วยตนเอง ตลอดชีวิตมีความรอบรู้ในเรื่องต่างๆ ที่เกี่ยวกับระบบการ
บริการสุขภาพและศาสตร์อื่นที่เกี่ยวข้อง
1.3.3 ความสามารถด้านการบริหาร
มีความสามารถในการเป็นผู้บริหารและการจัดการที่ดีมีความสามารถในการประกันคุณภาพของการบริการ
1.3.4 ความสามารถด้านการวิจัย
แสวงหาความรู้ใหม่ ๆ เพื่อพัฒนาศาสตร์ทางวิชาชีพสามารถร่วมทําวิจัยและนําผลการวิจัยมาใช้
เขียนถึง
1.3.5 ความสามารถด้านทักษะเกี่ยวกับมนุษย์และมวลชน
1) สามารถทํางานร่วมกับทีมสุขภาพและบุคคลอื่นได้
2) มีการปรับตัว ยอมรับการเปลี่ยนแปลง เปิดกว้าง รับรู้สิ่งใหม่ ๆ
3) มีความสามารถทางภาษา
4) มีศักยภาพด้านมนุษย์สัมพันธ์มีความสามารถติดต่อสื่อสารกับผู้อื่น
1.3.6 ความสามารถในการมีส่วนร่วมทางการเมืองและการปกครอง
สามารถคาดการณ์การเปลี่ยนแปลงของสังคมและการเมืองที่มีผลต่อการปฏิบัติการพยาบาลและสนองตอบต่อ
การเปลี่ยนแปลงได้สนับสนุนหลักการประชาธิปไตย และดํารงตนเป็นพลเมืองดีของสังคม
1.3.7 คุณสมบัติด้านคุณธรรม และจริยธรรม
1) มีสมรรถนะให้คําปรึกษาด้านจริยธรรมที่เกี่ยวกับสุขภาพ
2) มีความปรารถนา และพร้อมท่ีจะช่วยเหลือผู้อื่น ประชาชน
3) มีค่านิยมร่วมในขนมธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรมของสังคม
4) มีคุณธรรม จริยธรรมในด้านส่วนตัว และหน้าที่การงาน
5) มีความจงรักภักดีต่อหน่วยงาน และองค์การ
6) ตระหนักและคํานึงถึงคุณค่าของวิชาชีพและสิทธิมนุษยชนของผู้รับบริการ
7) ใฝ่ดี ธํารงรักษาเอกลักษณ์ไทยที่พึงประสงค์
1.3.8 ความสามารถด้านการใช้เทคโนโลยี
เข้าใจและใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมสามารถจัดการและใช้สารสนเทศในด้านต่าง ๆ ได้
1.3.10 คุณสมบัติด้านบุคลิกภาพ
มีบุคลิกภาพที่เหมาะสมด้านการแต่งกาย อารมณ์และจิตใจ มองโลกในแง่ดี มีอารมณ์ขันมีความสุข
1.3.9 ความสามารถด้านภาวะผู้นํา
มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ เป็นผู้นําการเปลี่ยนแปลงเป็นผู้นําและแหล่งบริการวิชาการที่เกื้อกูลประโยชน์ต่อ
สาธารณสุขและสังคม
1.3.11 คุณสมบัติด้านอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
ประหยัด และใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าให้ความรู้ รณรงค์ ป้องกันภัยอันตรายต่าง ๆ ที่ผลกระทบต่อสุขภาพ อัน
เนื่องมาจากสิ่งแวดล้อมอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
1.4 คุณลักษณะของพยาบาลแมคคอร์มิค
จากปรัชญาหลักสูตร คณะพยาบาลศาสตร์แมคคอร์มิค มหาวิทยาลัยพายัพ ตั้งอยู่บนรากฐานความเชื่อ
ในองค์พระเยซูคริสต์ ซึ่งทรงเป็นแบบอย่างในการอุทิศตนเพื่อช่วยเหลือผู้อื่น โดยยึดหลักคุณธรรม จริยธรรม ความ ซื่อสัตย์ และความมีน้ําใจในการให้บริการแก่สังคมเพื่อให้เกิดการมีสุขภาพดี ทุกช่วงวัย ยึดมั่นในหลัก “สัจจะ-บริการด้วยน้ําใจ ไมล์ที่สอง” น้ําใจไมล์ที่สอง (The Spirit of the Second Mile) มาจากพระธรรมมัทธิว บทที่ 5 ข้อ 41 กล่าวไว้ว่า ถ้าผู้ใดเกณฑ์ท่านให้เดินทางไปหนึ่งไมล์ก็ให้เลยไปกับเขาถึงสองไมล์ (If anyone forces you to go one mile, go also the second mile) โดยไมล์ที่หนึ่ง ”(The first mile) หมายถึง การปฏิบัติหน้าที่ตาม บทบาทหลักอย่างเต็มความสามารถ ด้วยความชื่นชมยินดี และไมล์ที่สอง (The second mile) หมายถึง การอุทิศ ตนในการปฏิบัติหน้าที่นอกเหนือจากหน้าที่หลักด้วยน้ําใจที่พร้อมจะช่วยเหลือทุกเวลาและทุกสถานที่ด้วยความ เต็มใจ
จากคําพร่ําสอน ของศาสตราจารย์กิตติคุณ ศรีวิไล สิงหเนตร ในหนังสืออนุสรณ์ อาจารย์ ผ.ป.ศรีวิไล สิงหเนตร พ.ศ.2530 ท่านสอนไว่ว่า
“เมื่องานของเรายังไม่เสร็จและถึงเวลาออกเวรแล้ว แต่เราทําจนเสร็จหรือจวนเวลาจะออกเวร บังเอิญมี ผู้ป่วยหนักมา เราก็อยู่ช่วยจนเป็นประเพณีว่าเรามี McCormick Spirit แต่ถ้าเวลาที่เราอยู่เวร เราไถล ทําบ้าง ไม่ ทําบ้าง ถึงเวลาออกเวรงานยังทําไม่เสร็จเราก็ไม่ออกเวรนั้น จะเรียกว่า McCormick Spirit ไม่ได้ รวมความหมาย แล้วคือการทําความดีตอบแทนความชั่ว ไม่เพียงแต่ทําเกินเวลาเท่านั้น
การปฏิบัติการพยาบาลในปัจจุบัน หากจะให้เป็น Second Mile จริงๆแล้วก็ไม่ควรหวังสิ่งใดตอบแทน หรือจะได้รับผลตอบแทนบางประการเช่น เงิน ก็ควรได้ทําการแบ่งปันเงินนนั้ เพื่อทํากิจกรรมการสาธารณกุศลบ้าง ตามสัดส่วนที่สมควร พยาบาลผู้นั้นจึงจะเป็นผู้ที่ได้รับการยอมรับนับถือว่าเป็นผู้มี Second Mile อย่างแท้จริง
พยาบาลควรหันมาทําการพยาบาลกับผู้ป่วยโดยตรงให้มากขึ้น และให้มากที่สุด เพื่อจะเป็นผลทําให้ คุณภาพของการพยาบาลดีเด่นขึ้นด้วย และควรทําทุกอย่างที่จะช่วยให้ผู้ป่วยสุขสบาย หายจากโรคหรือประกอบ อาชีพการงานได้ตามปรกติ
ขอให้พยาบาลรุ่นพี่ทุกคนได้เป็นแบบปฏิบัติที่ดีแก่รุ่นน้องๆ ทั้งนี้เพราะการสอนโดยวิธีให้ผู้เรียนได้เหน็ ด้วย ตาของตนเองเช่นนี้ จะได้ผลดีกว่าวิธีการพร่ําสอนใดๆทั้งสื้น”
1.5 พฤติกรรมเชิงจริยธรรมของพยาบาลวิชาชีพ
พฤติกรรมจริยธรรมของพยาบาล เป็นการแสดงออกของพยาบาลในการปฏิบัติวิชาชีพ ซึ่งอยู่บนพื้นฐาน จริยธรรมทางการพยาบาลที่กําหนดไว้ในจรรยาบรรณพยาบาล และกฎหมายข้อบังคับจริยธรรมของผู้ประกอบ วิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ (อุดมรัตน์ สงวนศิริธรรม และสมใจ ศิระกมล, 2558)
1.5.1 องค์ประกอบการแสดงพฤติกรรมจริยธรรมของบุคคล
1) ความรู้เชิงจริยธรรม บุคคลมีความรู้ความเข้าใจว่าในสังคมของตนเองนั้น การกระทําใดที่ควรกระทําและการกระทําใดไม่ควรกระทําระดับความรู้เชิงจริยธรรมนั้นขึ้นอยู่กับปัจจัยด้านอายุระดับ
การศึกษา และพัฒนาการทางสติปัญญาของบุคคล
2) ทัศนคติเชิงจริยธรรม เป็นความเชื่อและความคิดของบุคคลเกี่ยวกับลักษณะพฤติกรรมจริยธรรมที่ตนเองชอบหรือไม่ชอบมากน้อยเพียงใด ซึ่งส่วนใหญ่ทัศนคติเชิงจริยธรรมของบุคคลจะสอดคล้องกับ ค่านิยมในสังคมนั้น ๆ และเมื่อเวลาเปลี่ยนไปทัศนคติเชิงจริยธรรมของบุคคลอาจเปลี่ยนแปลงไปได้
3) เหตุผลเชิงจริยธรรม บุคคลจะตัดสินใจเลือกที่จะกระทําหรือไม่กระทําพฤติกรรมใดนั้น โดยใช้เหตุผล ของตนเอง ซึ่งมีผลมาจากการกระตุ้นของแรงจูงใจที่อยู่ภายในหรืออยู่ภายใต้การกระทํานั้น ๆ พฤติกรรมจริยธรรม จึงเป็นการแสดงออกหรือเป็นการแสดงพฤติกรรมของบุคคลที่สังคมชื่นชอบ หรือ งดเว้นการแสดงพฤติกรรมที่สังคมนั้นไม่ยอมรับเพราะเป็นการฝ่าฝืนกฎเกณฑ์หรือค่านิยมในสังคมนั้น
1.5.2 การแสดงพฤติกรรมจริยธรรมของพยาบาลตามหลักจรรยาบรรณพยาบาล
เป็นการแสดงออกถึงความตระหนักในความรับผิดชอบทาง จริยธรรมของพยาบาล เพื่อให้พยาบาลที่เป็นสมาชิกวิชาชีพทุกคนใช้เป็นกรอบมาตรฐานในการแสดงพฤติกรรม ขณะให้บริการพยาบาลเป็นมาตรฐานเดียวกันทั้งประเทศ และสื่อสารกับผู้รับบริการ ผู้ร่วมงานอื่น ๆ ตลอดจน ประชาชนทั่วไป ให้ทราบถึงหลักจริยธรรมที่พยาบาลยึดถือ และเป็นการแสดงความมุ่งมั่นของพยาบาลที่จะ ประกอบวิชาชีพให้มีคุณภาพตามมาตรฐาน
จรรยาบรรณ ข้อที่ 1 พยาบาลรับผิดชอบต่อประชาชนผู้ต้องการการพยาบาล และบริการสุขภาพ พฤติกรรมจริยธรรมของพยาบาล ประกอบด้วย
1) พยาบาลรับฟังปัญหาและให้ข้อมูลเกี่ยวกับสุขภาพ หรือแนะนําการปฏิบัติตัวของผู้รับบริการด้วยความเต็มใจ
2) พยาบาลให้ข้อมูลอย่างเพียงพอต่อการตัดสินใจของผู้รับบริการในการเลือกรับบริการทุกครั้ง
3) พยาบาลรักษาความลับเกี่ยวกับการวินิจฉัยโรคและการรักษาโรคเป็นอย่างดี
4) พยาบาลเอาใจใส่และรับผิดชอบดูแลสุขภาพของผู้รับบริการอย่างสม่ําเสมอ
5) พยาบาลให้ความรู้เกี่ยวกับการสร้างเสริมสุขภาพและการป้องกันการเจ็บป่วยแก่ผู้รับบริการอย่างเพียงพอต่อความเข้าใจ
6) พยาบาลสนับสนุนทุกวิถีทางเพื่อให้ครอบครัวมีส่วนร่วมในการรักษาผู้รับบริการ
7) พยาบาลอยู่เป็นเพื่อนและคอยป้องกันอันตรายขณะผู้รับบริการได้รับการตรวจรักษา
จรรยาบรรณ ข้อที่ 2 พยาบาลประกอบวิชาชีพด้วยความเมตตากรุณา เคารพในคุณค่าของชีวิต ความมีสุขภาพดี และความผาสุกของเพื่อนมนุษย์
พฤติกรรมจริยธรรมของพยาบาล ประกอบด้วย
1) พยาบาลให้โอกาสผู้รับบริการระบายความคับข้องใจเกี่ยวกับความเจ็บป่วยด้วยอัธยาศรัยอันดีทุกครั้ง
2) พยาบาลสอบถามการตัดสินใจของผู้รับบริการก่อนทุกครั้งที่จะให้การพยาบาล
3) พยาบาลพูดคุยด้วยท่าทีที่นุ่มนวลและปลอบโยนให้กําลังใจอย่างสม่ําเสมอ
4) พยาบาลให้คําตอบในข้อสงสัยแก่ผู้รับบริการด้วยข้อมูลที่เป็นความจริงอย่างครบถ้วนทุกครั้ง
5) พยาบาลมีความกระตือรือร้นในการให้การดูแลผู้รับบริการอย่างเต็มความสามารถ
จรรยาบรรณ ข้อที่ 3 พยาบาลมีปฏิสัมพันธ์ทางวิชาชีพกับผู้รับบริการ ผู้ร่วมงาน และประชาชนด้วยความเคารพ ในศักดิ์ศรี และสิทธิมนุษยชนของบุคคล
พฤติกรรมจริยธรรมของพยาบาล ประกอบด้วย
1) พยาบาลแสดงการยอมรับและให้การสนับสนุนการทํากิจกรรมตามความเชื่อและค่านิยมส่วนตัวของผู้รับบริการ
2) พยาบาลสอบถามการตัดสินใจของผู้รับบริการก่อนทุกครั้งที่จะให้การพยาบาล
3) พยาบาลพูดคุยด้วยท่าทีที่นุ่มนวลและปลอบโยนให้กําลังใจอย่างสม่ําเสมอ
4) พยาบาลมีความกลมเกลียวกันและแสดงท่าทีที่เป็นมิตรในการดูแลผู้รับบริการ
5) พยาบาลเปิดโอกาสให้ผู้รับบริการและครอบครัว ได้แสดงความคิดเห็นที่เกี่ยวข้องกับการ
รักษาพยาบาลอย่างเต็มที่
จรรยาบรรณ ข้อที่ 4 พยาบาลยึดหลักความยุติธรรม และความเสมอภาคในสังคมมนุษย์
พฤติกรรมจริยธรรมของพยาบาล ประกอบด้วย
1) พยาบาลให้การดูแลเอาใจใส่ผู้รับบริการทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน
2) พยาบาลอํานวยความสะดวกแก่ผู้รับบริการทุกคนอย่างทั่วถึงกัน
3) พยาบาลชี้แจงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการเจ็บป่วยให้ผู้รับบริการทราบโดยไม่ปิดบังหรือรังเกียจ
4) พยาบาลแสดงความรับผิดชอบในการปกป้องผู้รับบริการให้ได้รับการดูแลรักษาที่เหมาะสมกับภาวะความเจ็บป่วย
5) พยาบาลช่วยให้ผู้รับบริการได้มีโอกาสพบแพทย์ผู้รักษาตามที่ต้องการ
6) พยาบาลแจ้งข้อมูลเกี่ยวกับสิทธิการรักษาพยาบาลที่ผู้รับบริการควรได้รับอย่างเพียงพอและครอบคลุม
จรรยาบรรณ ข้อที่ 5 พยาบาลประกอบวิชาชีพโดยมุ่งความเป็นเลิศ
พฤติกรรมจริยธรรมของพยาบาล ประกอบด้วย
1) พยาบาลทําให้ผู้รับบริการเกิดความมั่นใจในบริการที่ตนเองได้รับ
2) พยาบาลชี้แจงภาวะของโรคและอาการที่เกิดขึ้นจนผู้รับบริการเข้าใจได้ดี
3) พยาบาลทําให้ผู้รับบริการมั่นใจว่าได้รับบริการทุกอย่างที่มีประสิทธิภาพสูงและปลอดภัย
4) พยาบาลแสดงให้ผู้รับบริการเห็นว่าสถานพยาบาลมีความพร้อมทุกด้านในการให้บริการ
5) พยาบาลทําการปรับปรุงนวัตกรรมการพยาบาลใหม่ ๆ เพื่อนํามาใช้กับผู้รับบริการ
6) พยาบาลได้จัดทําเอกสารเผยแพร่ความรู้ทางสุขภาพที่เป็นประโยชน์แก่ผู้รับบริการและครอบครัว
จรรยาบรรณ ข้อที่ 6 พยาบาลพึงป้องกันอันตรายต่อสุขภาพและชีวิตของผู้รับบริการ
พฤติกรรมจริยธรรมของพยาบาล ประกอบด้วย
1) พยาบาลปฏิบัติการพยาบาลโดยคํานึงถึงคุณภาพชีวิตและความต้องการของผู้รับบริการเป็นสําคัญ
2) พยาบาลให้การช่วยเหลือผู้รับบริการทันทีที่พบว่ามีปัญหา
3) พยาบาลคอยเฝ้าระวังเพื่อป้องกันภาวะเสี่ยงมิให้เกิดอันตรายต่อผู้รับบริการ
4) พยาบาลทําการชี้แจงข้อมูลเกี่ยวกับภาวะโรคให้ผู้รับบริการรับทราบอย่างเป็นระยะ ๆ โดยสม่ําเสมอ
5) พยาบาลคอยระมัดระวังมิให้ผู้รับบริการได้รับความเจ็บปวดหรือรับอันตรายใด ๆ ขณะรับการรักษา
จรรยาบรรณ ข้อที่ 7 พยาบาลรับผิดชอบในการปฏิบัติให้สังคมเกิดความเชื่อถือไว้วางใจต่อพยาบาลและต่อ วิชาชีพการพยาบาล
พฤติกรรมจริยธรรมของพยาบาล ประกอบด้วย
1) พยาบาลปฏิบัติงานโดยยึดตามมาตรฐานวิชาชีพอย่างเคร่งครัด
2) พยาบาลร่วมมือกันพัฒนาวิชาชีพให้เจริญก้าวหน้าในสังคมอย่างมีเอกภาพ
3) พยาบาลร่วมมือกับผู้อื่นในกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม
4) พยาบาลให้ความร่วมมือกับกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมทั้งในระดับท้องถิ่นระดับประเทศและระหว่างประเทศ
จรรยาบรรณข้อที่8พยาบาลพึงร่วมในการทําความเจริญก้าวหน้าให้แกว่ิชาชีพการพยาบาล พฤติกรรมจริยธรรมของพยาบาล ประกอบด้วย
1) พยาบาลให้ความร่วมมือในการพัฒนาวิชาชีพการพยาบาลโดยการเข้าร่วมกิจกรรมขององค์กรวิชาชีพอย่างเข้มแข็ง
2) พยาบาลนําผลงานวิจัยหรือหลักฐานทางวิชาการมาใช้ปรับปรุงการปฏิบัติการพยาบาลอย่างสม่ําเสมอ
3) พยาบาลกระตือรือร้นในการมีส่วนร่วมกําหนดนโยบายและแผนพัฒนาวิชาชีพการพยาบาล
4) พยาบาลพัฒนาตนเองในการศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมโดยการศึกษาต่อเนื่องและฝึกอบรม
5) พยาบาลรับผิดชอบในการพัฒนาความรู้และศาสตร์ทางการพยาบาลเพื่อการพัฒนาวิชาชีพ
6) พยาบาลมีความพยายามในการสร้างองค์ความรู้ทางการพยาบาลและเผยแพร่สู่เพื่อนร่วมวิชาชีพ
7) พยาบาลส่งเสริมและเผยแพร่ความรู้ด้านการดูแลสุขภาพสู่ประชาชนทั้งในระดับบุคคล ครอบครัวและชุมชน