Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การแสดงพื้นเมือง 4 ภาค, image, image, image, image, image, image, image,…
การแสดงพื้นเมือง 4 ภาค
ภาคเหนือ
ตัวอย่างการแสดง
ฟ้อนดาบนี้แสดงได้ทั้งชายและหญิง ส่วนมากเป็นการรำในท่าต่างๆ ใช้ดาบตั้งแต่2-4-6-8 เล่ม และอาจจะใช้ได้ถึง 12 เล่ม นอกจากการฟ้อนดาบแล้ว ก็อาจมีการรำหอกหรือ ง้าวอีกด้วย ท่ารำบางท่าก็ใช้เป็นการต่อสู้กัน ซึ่งฝ่ายต่างก็มีลีลาการฟ้อนอย่างน่าดูและหวาดเสียวเพราะส่วนมากมักใช้ดาบจริงๆ หรือไม่ก็ใช้ดาบที่ทำด้วยหวายแทน หากพลาดพลั้งก็เจ็บตัวเหมือนกัน การฟ้อนดาบนี้มีหลายสิบท่า และมีเชิงดาบต่างๆ
บุคคลสำคัญ
นายคำผาย นุปิง
-
นายคำผาย นุปิง เกิดเมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2463 ที่บ้านหัวนา ตำบลท่าน้าว อำเภอภูเพียง จังหวัดน่าน ศิลปินพื้นบ้าน มีความสามารถในการขับซอ สามารถเขียนบทซอที่มีสำนวนภาษาอันไพเราะ สละสลวย พร้อมทั้งเผยแพร่แนวคิดในการพัฒนาสังคม คำสอนทางพระพุทธศาสนาไปพร้อมกัน เคยได้รับการประกาศเกียรติคุณซอ เมื่อ พ.ศ. 2514 ได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติเป็นผู้มีผลงานดีเด่นทางวัฒนธรรม สาขาศิลปะ เมื่อปี พ.ศ. 2533 ในฐานะที่เป็นศิลปินที่อนุรักษ์วัฒนธรรมพื้นบ้านอันเป็นมรดกการแสดงของภาคเหนือ
นายคำผาย นุปิง ได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติเป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (การแสดงพื้นบ้าน-ขับซอ) ประจำปี พ.ศ. 2538
ลักษณะการแสดง
ศิลปะการแสดงทางภาคเหนือ เป็นลักษณะศิลปะที่มีการผสมผสานกันระหว่างชนพื้นเมืองชาติต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นไทยลานนา ไทยใหญ่ เงี้ยว รวมถึงพวกพม่าที่เคยเข้ามาปกครองล้านนาไทย ทำให้นาฏศิลป์หรือการแสดงที่เกิดขึ้นในภาคเหนือมีความหลากหลาย แต่ยังคงมีเอกลักษณ์เฉพาะที่แสดงถึงความนุ่มนวลของท่วงท่า และทำนองเพลงประกอบกับความไพเราะของเครื่องดนตรีประเภทเครื่องดีด สี ตี เป่า ที่มีความเด่นชัด ไม่ว่าจะเป็น เป้ยะ สล้อ ซอ ซึง และกลอง ที่ปรากฏอยู่ในการฟ้อนประเภทต่างๆ รวมทั้งการแสดงที่มีความเข้มแข็ง หนักแน่นในแบบฉบับของการตีกลองสะบัดชัย และการตบมะผาบ
การแต่งกาย
ส่วนผู้ชายนิยมนุ่งนุ่งกางเกงขายาวลักษณะแบบกางเกงขายาวแบบ 3 ส่วน เรียกติดปากว่า "เตี่ยว" "เตี่ยวสะดอ" หรือ "เตี่ยวกี" ทำจากผ้าฝ้าย ย้อมสีน้ำเงินหรือสีดำ และสวมเสื้อผ้าฝ้ายคอกลมแขนสั้น แบบผ่าอก กระดุม 5 เม็ด สีน้ำเงินหรือสีดำ ที่เรียกว่า เสื้อม่อฮ่อม ชุดนี้ใส่เวลาทำงาน หรือคอจีนแขนยาว อาจมีผ้าคาดเอว ผ้าพาดบ่า และมีผ้าโพกศีรษะ
หญิงชาวเหนือจะนุ่งผ้าซิ่น หรือผ้าถุง มีความยาวเกือบถึงตาตุ่ม ซึ่งนิยมนุ่งทั้งสาวและคนแก่ ผ้าถุงจะมีความประณีต งดงาม ตีนซิ่นจะมีลวดลายงดงาม ส่วนเสื้อจะเป็นเสื้อคอกลม มีสีสัน ลวดลายสวยงาม อาจห่มสไบทับ และเกล้าผม
-
ภาคอีสาน
ตัวอย่างการแสดง
เซิ้งสวิง
เป็นการฟ้อนรำที่จำลอง หรือเล่าเรื่องราวการหาสัตว์น้ำของชาวบ้าน โดยใช้สวิงเป็นอุปกรณ์หรือเครื่องมือ แสดงคู่ชาย-หญิง ก็ได้ หรือ แสดงเพียงผู้หญิงเท่านั้น ก็ได้ท่าฟ้อนจะแสดงให้เห็นถึงการออกไปหาปลา การช้อนปลา จับปลาผู้แสดงฝ่ายหญิงจะเป็นผู้ถือสวิงไปช้อนปลา ส่วนฝ่ายชายจะนำข้องไปคอยใส่ปลาที่ฝ่ายหญิงจับได้
เครื่องดนตรี ที่ใช้บรรเลงประกอบการแสดงชุดเซิ้งสวิง ได้แก่ กลองยาว กลองแต๊ะ แคน ฆ้องโหม่ง กั๊บแก๊บ ฉิ่ง ฉาบ กรับ
ลักษณะการแสดง
ลักษณะการแสดงซึ่งเป็นลีลาเฉพาะของอีสาน คือ ลีลาและจังหวะในการก้าวเท้า มีลักษณะคล้ายเต้น แต่นุ่มนวล มักเดินด้วยปลายเท้าและสะบัดเท้าไปข้างหลังสูง เป็นลักษณะของ เซิ้ง
-
บุคคลสำคัญ
ครูเปลื้อง ฉายรัศมี
ประวัติ
เป็นบุตรของ นายคง และนางนาง ฉายรัศมี เกิดเมื่อวันที่ 25 ต.ค. 2475 ที่บ้านเลขที่ 7 บ้านตา ต.ม่วงมา อ.เมืองกาฬสินธุ์ จ.กาฬสินธุ์
ผลงาน
นายเปลื้อง ฉายรัศมี เป็นนักดนตรีอีสานที่มีความสามารถเป็นพิเศษคือ สามารถเล่นสอนและทำเครื่องดนตรีอีสานได้ทุกชนิดที่สำคัญที่สุดคือ นายเปลื้อง ฉายรัศมี เป็นผู้ที่ได้ศึกษาค้นคว้าปรับปรุงและพัฒนาโปงลางมาตลอดระยะเวลา ๔๐ ปี จึงได้รับยกย่องเชิดชูเกียรติเป็น ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (ดนตรีพื้นบ้าน) ประจำปี พ.ศ. ๒๕๒๙
การแต่งกาย
ผู้ชาย ส่วนใหญ่นิยมสวมเสื้อแขนสั้นสีเข้มๆ ที่เราเรียกว่า "ม่อฮ่อม" สวมกางเกงสีเดียวกับเสื้อจรดเข่า นิยมใช้ผ้าคาดเอวด้วยผ้าขาวม้า
ผู้หญิง การแต่งกายส่วนใหญ่นิยมสวมใส่ผ้าซิ่นแบบทอทั้งตัว สวมเสื้อคอเปิดเล่นสีสัน ห่มผ้าสไบเฉียง สวมเครื่องประดับตามข้อมือ ข้อเท้าและคอ
-
ภาคใต้
ลักษณะการแสดง
การแสดงพื้นบ้านภาคใต้ด้วยเหตุที่ภาคใต้เป็นภาคที่มีอาณาเขตติดต่อกับประเทศมาลาเชีย และเป็นดินแดนที่ติดทะเลทําให้เกิดการผสมผสานทั้งทางศาสนา วัฒนธรรม และอารยธรรมจากกลุ่มชนหลายเชื้อชาติ เกี่ยวโยง ถึงศาสนาและพิธีกรรมจนทําให้นาฏศิลป์ และดนตรีในภาคใต้มีลักษณะที่เป็ นเครื่องบันเทิงทั้งในพิธีกรรม และ พิธีชาวบ้าน รวมทั้งงานรื่นเริงโดยมีลักษณะการแสดงที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะ คือมีจังหวะที่เร่งเร้า กระฉับกระเฉง
-
บุคคลสำคัญ
นายพัฒน์ เกื้อสกุล
-
ได้จัดตั้ งศูนย์ฝึ กอบรมหนัง ตะลุงขึ้น ณ บ้านเลขที่ ๒๐ หมู่ที่ ๓ ตําบลเขาหัวความ อําเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี อันเป็ นบริเวณบ้าน ของตนเอง เพื่อประสงค์จะอนุรักษ์และพัฒนาศิลปะการแสดงหนังตะลุง โดยการฝึ กสอนหนังตะลุงใหม่ ๆ ออก แสดงในท้องถิ่ น ให้ลูกศิษย์ได้ออกแสดง
การแต่งกาย
ผู้ชาย สวมหมวกหนีบไม่มีปีก หรือที่เรียกหมวกแขกสีดำ หรือที่ศีรษะอาจจะสวม “ชะตางัน” หรือโพกผ้าแบบเจ้าบ่าวมุสลิมก็ได้ นุ่งกางเกงขากว้างคล้ายกางเกงขาก๊วยของคนจีน ใส่เสื้อคอกลมแขนยาวผ่าครึ่งอกสีเดียวกับกางเกง ใช้โสร่งแคบๆยาวเหนือเข่าสวมทับกางเกง เรียก “ผ้าสิลินัง” หรือ “ผ้าซาเลนดัง”
ผู้หญิง ใส่เสื้อเข้ารูปแขนกระบอก เรียกเสื้อ “บันดง” ลักษณะเสื้อแบบเข้ารูปปิดสะโพก ผ่าอกตลอด ติดกระดุมทองเป็นระยะ สีเสื้อสดสวยและเป็นสีเดียวกับ “ผ้าปาเต๊ะยาวอ” หรือ “ผ้าซอแก๊ะ”
-
ภาคกลาง
ตัวอย่างการแสดง
เพลงเกี่ยวข้าว
เพลงเกี่ยวข้าว เป็นเพลงที่สำหรับร้องกันในขณะลงแขกเกี่ยวข้าว อันเป็นอาชีพสำคัญของประชาชนชาวไทยอย่างหนึ่ง เพื่อให้ความสนุกสนานกับความเหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้าในการงาน และเชื่อมความสามัคคีในระหว่างพื้นบ้านอาชีพเดียวกัน เพลงเกี่ยวข้าวจะเล่นกันในฤดูเกี่ยวข้าว จะเล่นกันเมื่อหยุดจากการเก็บเกี่ยวข้าวแล้ว
บุคคลสำคัญ
มนตรี ตราโมท
-
ผลงาน : นอกจากมนตรีจะมีฝีมือในการบรรเลงดนตรีแล้ว มนตรียังมีความสามารถในการแต่งเพลงอีกด้วย มนตรีแต่งเพลงมาแล้วมากมาย มากกว่า 200 เพลง และได้รับรางวัล 1 เพลงนั้นชื่อว่า “เพลงวันชาติ 24 มิถุนา”
เป็นที่ทราบกันโดยทั่วไปว่า ครูมนตรีเป็นครูผู้ประกอบพิธีไหว้ครู และครอบประสิทธิ์ประสาทวิชาวิชาดนตรีไทยของกรมศิลปากรอีกด้วย ครูมนตรีจึงแต่งโคลงไว้มากมาย นอกจากนี้ หนังสือประเภทสารคดีที่เกี่ยวกับวิชาการทางด้านศิลปะ ครูมนตรีก็ได้แต่งไว้หลายเรื่อง เช่น "ดุริยางค์ศาสตร์ไทยภาควิชาการ" "การละเล่นของไทย" "ศัพท์สังคีต" นอกจากนี้ก็มีเรื่องสั้น ๆ ที่ครูมนตรีเขียนไว้ในหนังสือต่าง ๆ เช่น เรื่องปี่พาทย์ไทย ปี่พาทย์มอญ ปี่พาทย์ชวา
ลักษณะการเเสดง
ส่วนใหญ่คนภาคกลางมีอาชีพเกี่ยวกับเกษตรกรรม การทำนาเพราะโดยธรรมชาติภาคกลางภูมิประเทศเป็นที่ราบลุ่มและมีแม่น้ำหลายสายทำให้ การแสดงจึงออกมาในรูปแบบของขนบธรรมเนียมประเพณี การประกอบอาชีพหรือเมื่อเสร็จจากเทศกาลฤดูเก็บเกี่ยว เช่น การเล่นเพลงเกี่ยวข้าว เต้นกำรำเคียว รำโทนหรือรำวง รำเถิดเทิง หรือรำกลองยาว เป็นต้น มีการแต่งกาย ตามวัฒนธรรมของท้องถิ่น และใช้เครื่องดนตรีพื้นบ้าน เช่น กลองยาว กลองโทน ฉิ่ง ฉาบ กรับ และโหม่ง
ภาคกลางเป็นที่รวมของศิลปะวัฒนธรรม การแสดงจึงมีการถ่ายทอดสืบต่อกันเรื่อยๆ จนบางอย่างกลายเป็นการแสดงนาฏศิลป์แบบฉบับไปก็มี เช่น รำวงและเนื่องจากเป็นที่รวมของศิลปะนี้เอง ทำให้คนภาคกลางรับการแสดงของท้องถิ่นใกล้เคียงเข้าไว้แล้วปรุงแต่งตามเอกลักษณ์ของภาคกลางคือ การร่ายรำที่ใช้มือ แขน และลำตัว เช่นการจีบมือ ม้วนมือ ตั้งวง การอ่อนเอียง
การเเต่งกาย
ฝ่ายชายจะนุ่งกางเกงขาก๊วยและเสื้อกุยเฮงสีดำ มีผ้าขาวม้าคาดพุง สวมงอบและไม่สวมรองเท้า ฝ่ายหญิงจะนุ่งโจงกระเบนและเสื้อแขนกระบอกสีดำทั้งชุดเช่นกัน ทัดดอกไม้ที่หูขวาและไม่สวมรองเท้าผู้แสดงทุกคนต้องถือเคียวในมือขวาและถือรวงข้าวในมือซ้ายด้วย
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-