Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
พื้นฐานนาฏศิลป์ไทย, ต้องทำใจให้รักและนิยมในศิลปะแขนงนี้ - Coggle Diagram
พื้นฐานนาฏศิลป์ไทย
-
ความสำคัญ
1.นาฏศิลป์แสดงถึงความเป็นเอกลักษณ์ประจำชาติ เช่น อารยประเทศ ความเจริญรุ่งเรืองของประเทศไทยวิถีชีวิตความเป็นอยู่ ประวัติศาสตร์ ภูมิปัญญาไทย จารีต ประเพณี และ วัฒนธรรม เป็นต้น
2.นาฏศิลป์เป็นแหล่งรวมของศิลปะแขนงต่างๆ เช่น การประพันธ์วรรณคดีต่างๆ สถาปัตยกรรม ประติมากรรม จิตรกรรม ดุริยางคศิลป์ และอื่นๆ
3.นาฏศิลป์ช่วยพัฒนาบุคลิกภาพของผู้แสดง ให้ผู้แสดงมีความกล้าแสดงออก และมีความมั่นใจมากยิ่งขึ้น ทำให้มีท่าทางการเคลื่อนไหวที่ดูสง่างาม สามารถยึดเป็นอาชีพต่อไปได้
4.นาฏศิลป์ทำให้เกิดความสามัคคีกันในหมู่คณะ นาฏศิลป์ทำให้ผู้แสดงมีความสามัคคีกัน เพราะผู้แสดงต้องร่วมกันแสดงท่ารำทางนาฏศิลป์ เพื่อให้การแสดงนาฏศิลป์นั้นออกมาเรียบร้อยและงดงาม
-
นาฏยศัพท์และภาษาท่า
-
ภาษาท่า
ภาษาท่านาฏศิลป์ คือ การแสดงท่าทางแทนคำพูด รวมทั้งการแสดงอารมณ์ต่าง ๆ ภาษาท่าเป็นการใช้ภาษาอย่างหนึ่งที่วิวัฒนาการมาจากธรรมชาติแล้วนำมาปรับแต่งท่าทางให้งดงามมากขึ้น
-
ประโยชน์
ทางอ้อม
มีจิตใจอ่านโยน นาฏศิลป์ช่วยให้ผู้เรียนมีจิตใจอ่อนโยน มีสติ และมีสมาธิที่ มั่นคง ไม่หวั่นไหวไปกับสิ่งรอบข้าง ซึ่งทำให้ผู้นั้นมีความสามารถในขณะปฏิบัติงานต่าง ๆ ได้ผลมีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น นอกจากนั้นช่วยผ่อนคลายและความเครียดของจิตใจ ดังจะเห็นได้ว่า ศิลปินในแขนงนี้มีอายุยืนยาว มีสุขภาพดีเป็นส่วนมาก ช่วยปรับปรุงบุคลิกภาพให้งดงามยิ่งขึ้น ผู้ที่เรียนนาฏศิลป์จะมีลักษณะพิเศษเห็นได้เด่นชัด อาทิ ขณะเวลานั่ง หรือ ยืน จะสง่างาม เพราะได้รับการฝึกฝนวิธีการนั่งยืนมาเป็นอย่างดี ในขณะเดียวกันเป็นผู้ที่รู้จักควบคุมอารมณ์ไม่ตื่นตระหนก และกล้าที่จะแสดงออก สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ เป็นผลจากประสบการณ์ในการแสดงทั้งสิ้น
ทางตรง
ใช้เป็นวิชาชีพ ผู้ที่ศึกษาวิชานาฏศิลป์ อย่างจัดเจน ชำนิชำนาญ สามารถยึดเป็นอาชีพได้ เพราะในกิจกรรมต่าง ๆ วิชานาฏศิลป์เข้าไปมีส่วนร่วมอยู่เสมอ เป็นการบริหารร่างกายให้มีสุขภาพสมบูรณ์ โดยเฉพาะวิชานาฏศิลป์นั้น ในขณะฝึกหัดนัยว่าเป็นการออกกำลังกายอย่างดีเยี่ยม ได้บริหารร่างกายทั่วทุกส่วน
กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ(นาฏศิลป์)หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน. ( - ). จุดมุ่งหมายของการเรียนนาฏศิลป์. สืบค้นเมื่อ 13 พฤศจิกายน 2565. จาก thesis-165-file06-2016-02-08-15-15-16.pdf
บุคคลสำคัญ
-
นายกรี วรศะริน
-
ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (นาฏศิลป์-โขน) ประจำปีพ.ศ.2531
ท่านเป็นศิลปินผู้เชี่ยวชาญการสอนนาฏศิลป์โขน เป็นหลักและแม่แบบโดยเฉพาะโขนตัวลิง ท่านประดิษฐ์ละครหลายชุดซึ่งเป็นแบบฉบับของการแสดงและการเรียนการสอน
-
ความหมาย
นาฏศิลป์ไทย หมายถึง ศิลปะการแสดงประกอบดนตรี เช่น ฟ้อน รำ ระบำโขนหรือความรู้แบบแผนของการฟ้อนรำ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงวิถีชีวิต ความเป็นอยู่ : ความเชื่อ นิสัยใจคอของคนในท้องถิ่นนั้นๆหรือเป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นด้วยความประณีตงดงาม เพื่อให้ความบันเทิง อันโน้มน้าวอารมณ์และความรู้สึกของผู้ชมให้คล้อยตามโดยอาศัยการบรรเลงดนตรี และการขับร้องเข้าร่วมด้วย
-
ที่มา
นาฏศิลป์ไทยมีกำเนิดมาพร้อม ๆ กับชนชาติไทยเพราะนาฏศิลป์ไทยเป็นส่วนหนึ่งที่บ่งบอกถึงวิถีชีวิตความเป็นอยู่ การแต่งกาย คติ และความเชื่อของคนไทยในอดีตจนถึงปัจจุบัน และน่าจะมีที่มาจาก 4 แหล่ง
-
-
-
-
-
-
จุดมุ่งหมาย
มีความรู้ความเข้าใจองค์ประกอบนาฏศิลป์ แสดงออกทางนาฏศิลป์ อย่างสร้างสรรค์ ใช้ศัพท์เบื้องต้นทางนาฏศิลป์ วิเคราะห์วิพากษ์ วิจารณ์คุณค่านาฏศิลป์ ถ่ายทอด ความรู้สึก ความคิดอย่างอิสระ สร้างสรรค์การเคลื่อนไหวในรูปแบบต่าง ๆ ประยุกต์ใช้นาฏศิลป์ ในชีวิตประจำวัน เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างนาฏศิลป์กับประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม เห็นคุณค่า ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภูมิปัญญาไทย และสากล
-
-
-