Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ความรู้การจัดการขยะพลาสติก, image - Coggle Diagram
ความรู้การจัดการขยะพลาสติก
สถานการณ์ขยะพลาสติก
ประเทศไทยมีขยะพลาสติก
ประมาณร้อยละ 12 ของปริมาณขยะที่เกิดขึ้นทั้งหมด หรือประมาณปีละ 2 ล้านตัน มีการนำกลับไปใช้ประโยชน์ประมาณปีละ 0.5 ล้านตัน (ร้อยละ 25) ส่วนที่เหลือ 1.5 ล้านตัน (ร้อยละ 75) ซึ่งพลาสติกส่วนใหญ่เป็นพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียว (Single-use plastics) อาทิ ถุงร้อน ถุงเย็น ถุงหูหิ้ว แก้วพลาสติก หลอดพลาสติก กล่องโฟมบรรจุอาหาร ไม่มีการนำกลับไปใช้ประโยชน์ใหม่ โดยส่วนใหญ่จะถูกทิ้งเป็นขยะมูลฝอยในปริมาณและสัดส่วนที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในปี 2563 ได้มีการศึกษาปริมาณขยะพลาสติกที่เกิดขึ้น ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พบว่า มีขยะพลาสติกประมาณ 6,300 ตัน/วัน หรือเพิ่มขึ้น ร้อยละ 15 ของปริมาณขยะพลาสติกเมื่อเทียบกับในช่วงเวลาเดียวกันในสถานการณ์ปกติ เมื่อปี 2562 (ปี 2562 มีปริมาณขยะพลาสติกเฉลี่ย 2 ล้านตัน หรือประมาณ 5,500 ตัน/วัน)
การผลิตและประเภทพลาสติก
โพลีเอทิลีน เทเรฟทาเลต
(PET) พลาสติกประเภทนี้คือขวดพลาสติกใสๆ มองทะลุได้
โพลีเอทิลีนความหนาแน่นสูง
(HDPE) บรรจุภัณฑ์พลาสติกสีขาวและสีอื่นที่เป็นสีทึบขวดชนิดนี้จะเหนียวและทนทานกว่า PET :
โพลีไวนิล คลอไรด์
(PVC) หรือที่เราเรียกกันติดปากว่า พีวีซี เป็นวัสดุที่เป็นแบบแข็งหรือเป็นยาง
พอลิเอทิลีนความหนาแน่นต่ำ
หรือ LDPE พลาสติกเบอร์ 4 นี้ เป็นฟิล์มพลาสติกที่ยืดหยุ่นได้ เช่น ถุงพลาสติกมีหูหิ้ว
โพลีโพพีลีน
(PP) พลาสติกแข็ง ถูกใช้เป็นบรรจุภัณฑ์อาหาร เช่น ถ้วยโยเกิร์ต
โพลีสไตรีน
(PS) เป็นพลาสติกมีลักษณะแข็งและมันวาว แต่เปราะแตกง่าย ยกตัวอย่างเช่น ช้อน ส้อมพลาสติกตามร้านสะดวกซื้อ
พลาสติกอื่นๆ
มีสัญลักษณ์เบอร์ 7 หรือมีคำว่า OTHER กำกับไว้ เป็นพลาสติกแข็งใช้ซ้ำได้ ยกตัวอย่างเช่น ขวดนมเด็ก ขวดน้ำดื่ม กล่องใส่อาหาร
การผลิตเม็ดพลาสติก
เริ่มต้นจากการนำสารประกอบไฮโดรคาร์บอนที่มีขนาดเล็กซึ่ง ได้จากกลั่นลำดับส่วนน้ำมันดิบมาทำปฏิกิริยากันจนได้เป็นสายโซ่ยาว เรียกว่าโพลิเมอร์ ซึ่งโพลิเมอร์แต่ละชนิดสังเคราะห์โดยใช้วัตถุดิบเริ่มต้นที่แตกต่างกันไป ทำให้โพลิเมอร์มีสมบัติที่แตกต่างกันออกไปด้วย โดยโพลิเมอร์ที่สังเคราะห์ได้นี้ จะถูกนำไปขึ้นรูปเป็นเม็ดพลาสติกและผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ ต่อไป ตัวอย่างเช่น การผลิตเม็ดพลาสติกโพลิเอทธิลีน
ผลกระทบของขยะพลาสติกต่อสิ่งแวดล้อม
-มลพิษต่อดิน
ความเป็นพิษของการหมักขยะพลาสติก จะทำให้พลาสติกเกิดการย่อยสลายได้ทางชีวภาพ ทำให้ในดินมีสารตกค้าง เนื่องจากเนื้อพลาสติกประกอบด้วยสารเคมีหรือใช้สารเติมแต่งที่มีความเป็นพิษ และส่งผลกระทบต่อพืชและสัตว์ที่อาศัยอยู่ในดิน เช่น ไส้เดือน จิ้งหรีด สัตว์เลื้อยคลาน
-มลพิษต่อแหล่งน้ำบนดิน
หากนำขยะพลาสติกไปทำการฝังกับขยะประเภทอื่นๆ ใกล้แหล่งน้ำ ในระดับที่ไม่เหมาะสม เมื่อขยะและพลาสติกเกิดการเน่าเสียมีปริมาณสารอินทรีย์เพิ่มขึ้น หรือสารอาหารในแหล่งน้ำในปริมาณสูงก่อให้เกิดมลภาวะทางน้ำเนื่องจากการเพิ่มจำนวนของจุลินทรีย์
-มลพิษต่อน้ำใต้ดิน
น้ำใต้ดินซึ่งอยู่ลึกจากผิวดินก็อาจได้รับผลกระทบเช่นเดียวกัน โดยผลกระทบที่เกิดขึ้นจะเกิดการปนเปื้อนของน้ำชะขยะมูลฝอยรวมถึงพลาสติกลงสู่ใต้ดิน ทำให้น้ำใต้ดินมีคุณภาพน้อยลง และเสี่ยงต่อการนำมาใช้เป็นแหล่งน้ำเพื่อการบริโภค
เศรษฐกิจหมุนเวียนและการปรับพฤติกรรม
Circular economy หรือระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน
เป็นการออกแบบเศรษฐกิจให้หมุนเวียนเป็นวงจรไม่รู้จบ หลักการของระบบเศรษฐกิจหมุนเวียนนั้นกว้างกว่าเพียงการนำทรัพยากรกลับมาใช้ใหม่ (recycle)แต่เป็นแนวคิดแบบองค์รวมที่ครอบคลุมหลักการสำคัญ 3 ข้อคือ 1) ออกแบบสินค้าและบริการที่เน้นการรักษาต้นทุนด้านทรัพยากรธรรมชาติ
2) เพิ่มประสิทธิภาพในการใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุดด้วยการหมุนเวียนวัตถุดิบและสินค้า
3) ลดการเกิดของเสียและผลกระทบเชิงลบ (negative externalities) ต่อสิ่งแวดล้อมให้ได้มากที่สุด