Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การติดเชื้อของเยื่อบุโพรงมดลูก (Endometritis and Metritis ) - Coggle…
การติดเชื้อของเยื่อบุโพรงมดลูก
(Endometritis and Metritis )
พยาธิสภาพ
เป็นอักเสบของเยื่อบุโพรงมดลูกชั้น endometrium โดยเป็นชนิดของการติดเชื้อหลังคลอดที่พบบ่อยที่สุดมักเริ่มจากบริเวณทำฝังตัวของรก โดยแบคทีเรียหลุดเข้าไปในโพรงมดลูกและเข้าไปเพาะตัวที่ decideu โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณทำรกเกาะและลุกลามเข้าสู่กล้ามเนื้อมดลูก อาจเกิดขึ้นตั้งแต่ 2-3 ชั่วโมงหลังคลอดถึง 2-3 วันหลังคลอดถ้าการติดเชื้อจำเพาะอยู่แค่บริเวณผิว ก็จะหลุดลอกออกมาเองภายใน 2-3 วัน การติดเชื้อจะแสดงออกหลายรูปแบบ เช่น บางรายมี discharge น้อย มดลูกเข้าอู่ช้า
ลักษณะทางคลินิก
การติดเชื้อหลังคลอดเกือบทุกชนิด มักจะมีการติดเชื้อของเยื่อบุมดลูกร่วมด้วย โดยทั่วไปแล้วหญิงหลังคลอดจะมีภูมิต้านทานในการตอบสนองต่อปฏิกิริยาของแบคทีเรียให้เป็นกลาง ภายใน 2-3 วัน การติดเชื้อจะหายไป การหลุดลอกของพื้นผิวเยื่อบุมดลูกทำให้มีกลิ่นเหม็นคาว ซึ่งเป็นกลิ่นปกติของน้ำคาวปลา แต่ถ้ามีกลิ่นเหม็นอาจเกิดจากการปนเปื้อนเชื้อบางสิ่ง เป็นการติดเชื้อจากน้ำคาวปลา(lochiametritis)
การรักษา
การรักษาด้วยยาปฏิชีวนะทำออกฤทธิ์ครอบคลุมเชื้อทำเป็นสาเหตุโดยให้ทางหลอดเลือดดำ ในกรณีทำไม่ทราบเชื้อให้พิจารณาให้ broad spectrum antibiotics เช่น clindamycin ร่วมกับ gentamicin หรือ ยากลุ่ม cephalosporins หรือ ยากลุ่ม beta lactam ควรให้ยาจนกระทั่ง ไม่มีไข้อย่างน้อย 24 ชั่วโมง แล้วอาจให้ยารับประทานต่อจนครบ 7 วัน ถ้าไข้ไม่ลดลงใน 48-72 ชั่วโมง ควรพิจารณาหาสาเหตุอื่น
การพยาบาล
วัดสัญญาณชีพทุก 4 ชั่วโมง เพื่อประเมินอาการไข้สังเกตการเปลี่ยนแปลงอย่างใกล้ชิด
คลำหน้าท้องเพื่อดูอาการกดเจ็บ
ประเมินดูผ้าอนามัย และบริเวณผีเย็บ การประเมินตั้งแต่แรกเริ่มช่วยลดความรุนแรงและลดโอกาสทำจะสูญเสียอวัยวะของระบบสืบพันธุ์
แนะนำห้ามสวนล้างช่องคลอดและการงดมีเพศสัมพันธ์
รับประทานอาหารทำมีคุณภาพ และอาหารทำส่งเสริมการหายของแผล
แนะนำการนอนให้นอนท่า Fowler's ช่วยให้น้ำคาวปลาไหลสะดวกป้องกันการขังของน้ำคาวปลาทำมีเชื้อแนะนำให้หญิงหลังคลอดล้างมือบ่อยๆ
รายทำมีอาการรุนแรง อาจได้รับสารน้ำทางหลอดเลือดดำร่วมกับ Oxytocin เพื่อกระตุ้นให้มดลูกหดรัดตัวดูแลให้ได้รับตามแผนการรักษา
รายทำมีไข้สูงให้น้ำอย่างเพียงพอ ทางปากหรือทางหลอดเลือดดำ ประมาณวันละ 3,000-4,000 ml
ให้ยาแก้ปวดตามแผนการรักษา ถ้ามีอาการปวดมดลูกรุนแรงหรือไม่สุขสบายจากการปวดท้อง
แนะนำการทำความสะอาดอวัยวะสืบพันธุ์ และล้างมือให้สะอาดอยู่เสมอ
ป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ อาจต้องแยกหญิงหลังคลอด
การวินิจฉัย
จากอาการและอาการแสดง
-ไข้มักเป็นอาการเตือนแรกสุด อาการมักเริ่มต้นใน 48 ชั่วโมงแรกหลังคลอด ไข้สูงเป็นแบบฟันเลื่อยระหว่าง 38.5 - 40 องศาเซลเซียส กรณีการติดเชื้ออยู่ทำผิวชั้น decideu จะมีไข้เล็กน้อยแต่ถ้าการติดเชื้อลุกลามเข้าไปทำชั้นกล้ามเนื้อมดลูกมักพบไข้สูงมาก
มักมีอาการหนาวส่วนร่วมด้วย
ชีพจรเร็ว มักสัมพันธ์กับอุณหภูมิ
ปวดท้องน้อยบริเวณมดลูก
มดลูกเข้าอู่ช้า การหดรัดตัวไม่ดี
น้ำคาวปลามีเนื้อตายหลุดออกมาปน จึงมีกลิ่นเหม็น (กรณีติดเชื้อจากเชื้อ anaerobes)
จากการตรวจร่างกาย
ระดับยอดมดลูกไม่ลดระดับลง
ตรวจภายในพบ: กดเจ็บทำมดลูก หรือ ปีกมดลูกทั้งสองข้าง หรือ ข้างใดข้างหนึ่งเมื่อตรวจทางช่องคลอดและเจ็บทำข้างคอมดลูก หรือเป็น parametritis เมื่อตรวจทางทวารหนัก
จากการตรวจทางห้องปฏิบัติการ
-เพาะเชื้อจากบริเวณทำติดเชื้อ เซลล์เม็ดเลือดขาวสูงถึง 15,000 - 30,000 cell/mm ค่า neutrophils สูง