Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ระบบประสาท (Nervous System) - Coggle Diagram
ระบบประสาท (Nervous System)
โครงสร้างของระบบประสาท
ระบบศูนย์กลางที่ควบคุมการทำงานของร่างกาย เป็นระบบที่ทำหน้าที่รับความรู้สึก ควบคุมความคิด ถ้ามีอันตรายใดๆ เกิดขึ้นกับสมอง ก็จะทำให้ร่างกายพิการหรือเสียชีวิตได้ ระบบประสาทแบ่งออกเป็น 3 ส่วนคือ ระบบประสาทส่วนกลาง ระบบประสาทส่วนปลาย และระบบประสาทอัตโนมัติ
ระบบประสาทส่วนกลาง ได้แก่ สมอง และไขสันหลัง
สมอง (Brain) เป็นอวัยวะที่มีขนาดใหญ่กว่าส่วนอื่นๆ อยู่ในกะโหลกศีรษะเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วในช่วงอายุ 1-9 ปีและเจริญเติบโตเต็มที่เมื่ออายุ 18-20 ปี สมองแบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ สมองส่วนหน้า สมองส่วนกลาง สมองส่วนท้าย
สมองส่วนกลาง (mid brain) ทำหน้าที่เกี่ยวกับการมองเห็น การได้ยิน การสัมผัส
สมองส่วนท้าย (Hind brain) ประกอบด้วย เซรีเบลลัม (Cerebellum) เมดัลลาออบกองกาตา (Medulla oblongata) และพอนส์ (Pons)
เมดัลลาออบลองกาตา/ ก้านสมอง: ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของระบบประสาทอัตโนมัติ เช่น การหายใจ ความดันเลือด การกลืน การจาม การสะอึก การอาเจียน
พอนส์: ควบคุมการเคี้ยวอาหาร การหลั่งน้ำลาย การเคลื่อนไหวของใบหน้า ควบคุมการหายใจ
เซรีเบลลัม: ประสานการเคลื่อนไหวของร่างกาย และควบคุมการทรงตัวของร่างกาย
สมองส่วนหน้า (Fore brain) ประกอบด้วย เซรีบรัม (Cerebrum) ทาลามัส (Thalamus) และไฮโพทาลามัส (Hypothalamus)
ทาลามัส: ศูนย์รวบรวมกระแสประสาทที่ผ่านเข้าออก และแยกกระแสประสาทไปยังสมอง
ไฮโพทาลามัส: ศูนย์ควบคุมกระบวนการต่างๆ ของร่างกาย เช่น การเต้นของหัวใจ การทำงานพื้นฐานของร่างกาย ได้แก่ ความหิว ความดันเลือด ความต้องการทางเพศ การหลั่งฮอร์โมนของต่อมไร้ท่อและการแสดงอารมณ์ความรู้สึก
เซรีบรัม: ความคิด ความจำ เชาว์ปัญญา เป็นศูนย์กลางควบคุมการทำงานด้านต่างๆ การสัมผัส การพูด การมองเห็น รับรส การได้ยิน การดมกลิ่น การทำงานของกล้ามเนื้อ
ไขสันหลัง (spinal cord) เป็น ส่วนที่ต่อมาจากก้านสมองอยู่ภายในกระดูกสันหลัง มีความยาวประมาณ 16-18 นิ้วสมองและไขสันหลังจะเป็นศูนย์กลางการรับรู้และการกระตุ้น ความรู้สึกจากสิ่งเร้าทั้งภายในและภายนอก แล้วส่งผ่านไปยังเส้นประสาทที่กระจายตามส่วยต่างๆของร่างกาย
ระบบประสาทส่วนปลาย ได้แก่ เส้นประสาทสมอง และเส้นประสาทไขสันหลัง ทำหน้าที่รับและนำความรู้สึกเข้าสู่ระบบประสาทส่วนกลาง
เส้นประสาทสมอง หรือเส้นประสาทที่แยกออกจากสมอง มี 12 คู่ ทำหน้าที่รับความรู้สึกเกี่ยวกับกลิ่น การมองเห็น การเคลื่อนไหวของตา
เส้นประสาทไขสันหลัง มี 31 คู่ เป็นเส้นประสาทที่ออกมาจากไขสันหลังไปสู่ร่างกาย แขน ขา
ระบบประสาทอัตโนมัติ ควบคุมการทำงานของประสาที่อยู่นอกเหนือการควบคุมของจิตใจให้เป็นไปตามปกติ แบ่งออกเป็น 2ส่วน
ระบบประสาทซิมพาเทติก (Sympathetic Nerve): กระตุ้นการทำงานมากกว่ายับยั้งการทำงาน
ระบบประสาทพาราซิมพาเทติก (Parasympathetic Nerve): ยับยั้งการทำงานมากกว่ากระตุ้นการทำงาน เพื่อปรับไม่ให้ร่างกายทำงานมากเกินไป
แพทย์ศัลยกรรมประสาท คือ แพทย์ที่ตรวจรักษาผู้ป่วยในโรคสมองและระบบประสาท
หน้าที่ของระบบประสาท
ส่วนรับความรู้สึก (sensory division): รับความรู้สึกจากภายนอกร่างกาย และตอบสนองความรู้สึกนั้นๆ
ส่วนสั่งการ (Motor division): สั่งการกับหน่วยปฏิบัติงานที่บังคับได้ เช่น กล้ามเนื้อยึดกระดูกจัดเป็นระบบประสาทโซมาติก (Somatic Nervous System: SNS)
และสั่งการกับหน่วยปฏิบัติงานที่บังคับไม่ได้ เช่น อวัยวะภายในต่อมต่างๆ จัดเป็นระบบประสาทอัตโนมัติ (Autonomic Nervous System: ANS)
การสร้างเสริมและดำรงประสิทธิภาพของระบบประสาท
ออกกำลังกายสม่ำเสมออย่างน้อยสัปดาห์ละ ๓ ครั้ง แต่ละครั้งไม่น้อยกว่า ๓๐ นาที จะทำให้ร่างกายแข็งแรง
พักผ่อนให้เพียงพอ อย่างน้อย ๖-๘ ชั่วโมง และทำจิตใจให้แจ่มใสอยู่เสมอ
ถนอมการใช้สายตา เช่น เปิดไฟดูโทรทัศน์ ไม่ใช้คอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน
หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันสูง
สังเกตความผิดปกติของอวัยวะว่ามีความผิดปกติหรือไม่ ถ้ามีควรไปพบแพทย์
ดูแลสุขภาพของตนเองอย่างสม่ำเสมอ โดยการตรวจสมรรถภาพของอวัยวะรับรู้ความรู้สึกของระบบประสาท เช่น การตรวจวัดสายตา การตรวจการได้ยิน
รับประทานอาหารที่บำรุงสมอง เช่น อาหารที่มีโอเมกา ๓ อาหารที่มีเลซิติน อาหารที่มี วิตามินบี อาหารที่มีวิตามินอี
หลีกเลี่ยงการดื่มน้ำอัดลมและเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ทุกชนิด