Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การออกแบบและกระบวนการผลิตสื่อสิ่งพิมพ์ - Coggle Diagram
การออกแบบและกระบวนการผลิตสื่อสิ่งพิมพ์
1.การออกแบบสื่อสิ่งพิมพ์
1.1 วัตถุประสงค์ของการออกแบบสื่อสิ่งพิมพ์
ใช้เป็นแนวทางในการผลิตสื่อสิ่งพิมพ์ เพื่อรับรู้รูปแบบ รูปร่าง ลักษณะ และส่วนประกอบในการพิมพ์
เพื่อสร้างความสวยงามทางศิลป์ของสื่อสิ่งพิมพ์
เพื่อดึงดูดความสนใจของผู้พบเห็นและผู้อ่าน
เพื่อเสนอข่าวสารและง่ายต่อการจดจำเนื้อหา
เพื่อปิดบังความด้อยต่อคุณภาพสื่อสิ่งพิมพ์
เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการสื่อสาร
2.รูปร่างของสื่อสิ่งพิมพ์
ตามปกติมีรูปร่างมาตรฐานเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าตามลักษณะของกระดาษขนาดมาตรฐาน ดั้งนั้นการกำหนดสื่อสิ่งพิมพ์ให้มีรูปร่างสี่เหลี่ยมผืนผ้าจึงไม่ทำให้กระดาษเสียเศษ
ซึ่งมีทั้งสี่เหลี่ยมผืนผ้าแนวตั้งและสี่เหลี่ยมผืนผ้าแนวนอน
3.ตำแหน่งจุดแห่งความสนใจในสื่อสิ่งพิมพ์
โดยปกติผู้ออกแบบสื่อสิ่งพิมพ์มักจะให้ความสำคัญแก่ปกหน้าพิเศษมากกว่าส่วนอีก ทั้งนี้เพราะเป็นจุดดึงดูดสายตาและสามารถสร้างความน่าสนใจแกผู้ดูในกรณีที่มี
การแข่งขันกับสื่อสิ่งพิมพ์อื่นๆสำหรับการจัดหน้าภายในหนังสือนั้นสมัยก่อนมักให้ความสำคัญแก่หน้าขวามือหรือหน้าคี่ ได้แก่ 1,3,5,7 ไปตามลำดับ
4.ขนาดของสื่อสิ่งพิมพ์
ขึ้นอยู่กับขนาดของกระดาษเป็นสำคัญจะเห็นได้ว่าหนังสือขนาด 8 หน้ายก (7.5 นิ้ว
10.25นิ้ว) ที่พิมพ์ในปัจจุบันมีขนาดรูปเล่มที่แท้จริงไม่เท่ากัน ทั้งนี้เนื่องจากขนาดของกระดาษที่ใช้พิมพ์ไม่เท่ากัน ได้แก่ กระดาษขนาด 31 นิ้ว
43 นิ้ว และกระดาษขนาด 24 นิ้ว *35 นิ้ว
ความแตกต่าง (Contrast)
เป็นวิธีที่ง่ายที่สุด โดยการเน้นให้องค์ประกอบใดองค์ประกอบหนึ่งเด่นขึ้นมาด้วยการเพิ่มขนาดใหญ่กว่าองค์ประกอบอื่น ๆ โดยรอบ เช่น พาดหัวขนาดใหญ่ เป็นต้น ซึ่งโดยธรรมชาติแล้วผู้ดูจะเลือกดูองค์ประกอบใหญ่ก่อน
– ความแตกต่างโดยขนาด เป็นวิธีการที่ง่ายที่สด โดยการเน้นให้องค์ประกอบใดองค์ประกอบหนึ่ง เด่นขึ้นมาด้วยการเพิ่มขึ้นมาด้วยการเพิ่มขนาดใหญ่กว่าองค์ประกอบอื่น ๆ โดยรอบ เช่น พาดหัวขนาดใหญ่ เป็นต้น ซึ่งโดยธรรมชาติแล้วผู้ดูจะเลือกดูองค์ประกอบใหญ่ก่อน
– ความแตกต่างโดยรูปร่าง เป็นวิธีที่เน้นองค์ประกอบใดองค์ประกอบหนึ่งเด่นขึ้นมาด้วยการใช้รูปร่างที่แตกต่างกันออกไปจากองค์ประกอบอื่นในหน้ากระดาษ เช่น การได้ตัดภาพคนตามรูปร่างของร่างกายแล้วนำไปวางที่หน้ากระดาษที่มีภาพแทรกเล็ก ๆ ที่อยู่ในกรอบสี่เหลี่ยม เป็นต้น
– ความแตกต่างโดยความเข้ม เป็นวิธีการที่เน้นให้องค์ประกอบใดองค์ประกอบหนึ่งเด่นขึ้นมาด้วยการใช้เพิ่มหรือลดความเข้มหรือน้ำหนักขององค์ประกอบนั้นให้เข้มหรืออ่อนกว่าองค์ประกอบอื่น ๆ ที่อยู่รวมกันในหน้ากระดาษ เช่น การใช้ตัวอักษรที่เป็นตัวหนาในย่อหน้าที่ต้องการเน้นเพียงย่อหน้าเดียวในหน้ากระดาษ เป็นต้น
จังหวะ ลีลา และการซ้ำ (Rhythm & Repetition)
การจัดวางองค์ประกอบหลาย ๆ ชิ้นโดยกำหนดตำแหน่งให้เกิดมีมีช่องว่าเป็นช่วง ๆ ตอน ๆ อย่างมีการวางแผนล่วงหน้า จะทำให้เกิดลีลาขึ้น และหากว่าองค์ประกอบหลาย ๆ ชิ้นนั้นมีลักษณะซ้ำกันหรือใกล้เคียงกัน ก็จะยิ่งเป็นการเน้นให้เกิดจังหวะลีลา ได้ชัดเจนยิ่งขึ้นลักษณ์ตรงข้ามกับแบบแรก จังหวะและลีลาลักษณะนี้จะก่อให้เกิดความรู้สึก ที่ตื่นเต้นดูเคลื่อนไหวและมีพลัง