Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
แนวคิดเชิงคำนวณ (COMPUTATIONAL THINKING), นางสาว สวิตตา แก้วกระเศรษฐ ม…
แนวคิดเชิงคำนวณ
(COMPUTATIONAL THINKING)
หมายถึง
เป็นกระบวนการวิเคราะห์ปัญหา เพื่อให้ได้แนวทางหาคำตอบอย่างเป็นขั้นตอนที่สามารถนำไปปฏิบัติได้โดยบุคคลหรือคอมพิวเตอร์อย่างถูกต้อง
การแบ่งปัญหาใหญ่เป็นปัญหาย่อย
(Decomposition)
เป็นการแยกส่วนประกอบของปัญหา เพื่อแบ่งปัญหาหรืองานออกเป็นส่วนย่อย ทำให้สามารถ จัดการกับปัญหาหรืองานได้ง่ายขึ้น การแตกปัญหาที่ซับซ้อนให้เป็นปัญหาย่อยที่มีขนาดเล็กลงและซับซ้อนน้อยลง เพื่อช่วยให้การวิเคราะห์และออกแบบวิธีการแก้ปัญหาทำได้ง่ายขึ้น ในการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์
เช่น การเขียนโปรแกรมแยกเป็นส่วน ๆ แยกเป็นแพ็กเกจ แยกเป็นโมดูล หรือมองเป็น layer หรือการแบ่งปัญหาเมื่อจะแก้ไขอุปกรณ์
การออกแบบอัลกอริทึม (Algorithm)
เป็นการพัฒนากระบวนการหาคำตอบให้เป็นขั้นตอนที่บุคคลหรือคอมพิวเตอร์สามารถนำไปปฏิบัติตามเพื่อแก้ปัญหาได้ อีกทั้งเป็นการพัฒนาแนวทางแก้ปัญหาอย่างเป็นขั้นเป็นตอน เพื่อดำเนินตามทีละขั้นตอนในการแก้ไขปัญหา เช่น เมื่อเราต้องการสั่งคอมพิวเตอร์ให้ทำงานบางอย่าง เราจะต้องเขียนโปรแกรมคำสั่งเพื่อให้คอมพิวเตอร์ทำงานไปตามขั้นตอน ตามแนวทางการแก้ปัญหาเพื่อให้คอมพิวเตอร์ทำงานตอบสนองความต้องการของเรา
การนำอัลกอริทึมไปใช้แก้ปัญหา ไม่จำกัดเฉพาะการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ แต่สามารถใช้กับปัญหาอื่นๆได้เช่นเดียวกัน เพื่อให้เกิดการใช้ทรัพยากรอย่างมีประโยชน์สูงสุด จึงต้องวางแผนอย่างเป็นระบบ เป็นขั้นตอน และอาศัยอัลกอริทึม เพื่อให้ทราบถึงขั้นตอนต่างๆ
การพิจารณารูปแบบ
(Pattern Recognition)
เป็นการหารูปแบบซึ่งเป็นทักษะการหาความสัมพันธ์ที่เกี่ยวข้อง แนวโน้ม และลักษณะ ทั่วไปของสิ่งต่าง ๆ โดยทั่วไปแล้วผู้เรียนจะเริ่มพิจารณาปัญหาหรือสิ่งที่สนใจ จากนั้นอาจใช้ทักษะการแยกส่วนประกอบทำให้ได้องค์ประกอบภายในอื่น ๆ แล้วจึงใช้ทักษะการหารูปแบบเพื่อสร้างความเข้าใจระหว่างองค์ประกอบเหล่านั้น
เช่น ส่วนประกอบของจักรยาน ผู้เรียนจะพบว่าระบบขับเคลื่อนประกอบด้วยเฟืองหน้า และเฟืองหลังเชื่อมกันด้วยโซ่จักรยานมีลักษณะเหมือนระบบรอก ดังนั้น ถ้านักเรียนทราบถึงคุณสมบัติการทดแรงของระบบรอก นักเรียนก็จะเข้าใจการทดแรงของระบบขับเคลื่อนของจักรยาน
การคิดเชิงนามธรรม (Abstraction)
เป็นองค์ประกอบหนึ่งของแนวคิดเชิงคำนวณ ซึ่งใช้กระบวนการคัดแยกคุณลักษณะที่สำคัญออกจากรายละเอียดปลีกย่อย ในปัญหาหรืองานที่กำลังพิจารณา เพื่อให้ได้ข้อมูลที่จำเป็นและเพียงพอในการแก้ปัญหา เป็นการแยกรายละเอียดที่สำคัญและจำเป็นต่อการแก้ปัญหาออกจากรายละเอียดที่ไม่จำเป็น ซึ่งรวมไปถึงการแทนกลุ่มของปัญหา ขั้นตอน หรือกระบวนการที่มีรายละเอียดปลีกย่อยหลายขั้นตอนด้วยขั้นตอนใหม่เพียงขั้นตอนเดียว
โดยจะยกตัวอย่างดังนี้
การคิดเชิงนามธรรมที่เกี่ยวข้อกับรูปทรง
การคิดเชิงนามธรรมที่เกี่ยวข้อกับตัวอักษร
การคิดเชิงนามธรรมจากเกมเลขฐานสอง
การคัดแยกรายละเอียดปลีกย่อย
การอธิบายปัญหาโดยใช้รายละเอียด และแบบซ่อนรายละเอียด
องค์ประกอบ
การพิจารณารูปแบบ(Pattern Recognition)
การคิดเชิงนามธรรม (Abstraction)
การแบ่งปัญหาใหญ่เป็นปัญหาย่อย (Decomposition)
การออกแบบอัลกอริทึม (Algorithm)
นางสาว สวิตตา แก้วกระเศรษฐ ม.4/8 เลขที่25