Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่2 การตรวจสุขภาพจิต อาการวิทยาและเกณฑ์การจำแนกโรคทางจิตเวช อ.ดร…
บทที่2 การตรวจสุขภาพจิต อาการวิทยาและเกณฑ์การจำแนกโรคทางจิตเวช
อ.ดร.ทานตะวัน แย้มบุญเรือง
ลักษณะสำคัญและเกณฑ์การจำแนกโรคทางจิตเวชที่พบได้บ่อย
การจำแนกโรคคือ กระบวนการเรียบเรียงและจัดกลุ่มความผิดปกติทางสุขภาพที่มีความคล้ายคลึงกันตามเกณฑ์ที่กำหนดออกมาเป็นหมวดหมู่
โรคทางจิตเวชเป็นกลุ่มอาการที่มีความผิดปกติทางพฤติกรรมเป็นส่วนใหญ่ การจำแนกโรคจำแนกจากอาการ(Symptoms)และ อาการแสดง(Signs)ทางจิตเวชเป็นหลัก
ระบบการจำแนกโรคทางจิตเวช มี2ระบบ
1.International Classification of Disease (ICD)
พัฒนาขึ้นโดยองค์การอนามัยโลก(World Health Organization:WHO)
กระทรวงสาธารณะสุขใช้เป็นระบบหลักในการจำแนกโรค
การลงรหัสใช้อักษรA-Z และตัวเลข 0-9
ปัจจุบันระบบICD พัฒนาถึงฉบับที่11(ICD11)
ในประเทศไทยใช้ ICD-10Thai Modification:ICD-10-TM มีชื่อเป็นภาษไทยว่า"บัญชีจำแนกโรคระหว่างประเทศ ฉบับประเทศไทย"
กลุ่มโรคทางจิตเวชจัดอยู่ใน
-ความผิกปกติทางจิตและพฤติกรรม (Mantal and behavioral disorders)
-อยู่ในหมวด v (chapter v)
-รหัสประจำหมวดคืออักษร F
-แบ่งเป็น10กลุ่มโรค F00-F99 ซึ่งแบ่ง 1รหัสหมวดเท่ากับ 1กลุ่มโรค และมีรหัสต่อท้ายตามชนิดของโรค
ตัวอย่าง F20.00
-F20-29 คือรหัสกลุ่มโรค Schizophrenia,Schizotypal and delusional disorders
-F20 คือโรค Schizophrenia(จิตเภท)
-ชนิดของโรค แบ่งเป็น 9ชนิด คือ f20.0-f20.9 F20.0 Paranoid Schizophrenia (โรคจิตเภทชนิดหวาดระแวง)
-ลักษณะของการดำเนินโรค Schizophrenia(จิตเภท) แบ่งเป็น8ลักษณะ โดยF20.x0คือการดำเนินของโรคแบบต่อเนื่อง รวมถึงดื้อต่อการรักษา [Continuous (including treatment resistant)]
**ดังนั้นF20.00 คือParanoid Schizophrenia,Continuous (including treatment resistant) โรคจิตเภทแบบระแวง ต่อเนื่อง รวมถึงดื้อต่อการรักษา
-การประเมินหลายแกนตาม ICD-10 เป็นการประเมินเพื่อนวบรวมปัญหาสุขภาพทุกด้าน ทั้งกาย จิต สังคม ที่มีผลต่อผู้ป่วย แบ่งเป็น 3แกน(Axis)
แกนที่1 Clinical diagnosis (การวินิจฉัยทางคลินิก) วินิจฉัยโรคที่พบในผู้ป่วยให้ได้มากที่สุดเพื่อสะท้ิอนภาวะสุขภาพโดยรวมของผู้ป่วย
แกนที่2 Disability (ความพิการหรือไร้สมรรถภาพ) เป็นการประเมินความบกพร่องจากโรคของผู้ป่วย พิจารณาจาก Severity Duration Disability แล้วนำมาเปรียบเทียบกับความสามารถตามปกติของบุคคลที่มีเพศ อายุและพื้นฐานทางสังคมวัฒนธรรมใกล้เคียงผู้ป่วย
การประเมิน Disability เป็นการประเมินการทำหน้าที่4ด้าน
1.Personal care (การดูแลเรื่องส่วนตัว)
2.Occupation (การทำงาน)
3.Family and household(ครอบครัวและการบ้านการเรือน)
4.Functioning in a broader social context(การทำหน้าที่ในบริบทโดยรวมทางสังคม)
คะแนน Disability จะแบ่งเป็น6ระดับ คือ ระดับ0(การทำหน้าที่นั้นๆปกติดี)-ระดับ 5(การทำหน้าที่นั้นๆมีการเบี่ยงเบนหรือผิดไปจากปกติแทบตลอดเวลา)
แกนที่ 3 Contextual factors (ปัจจัยทางด้านบริบท)
เป็นบริบทที่มีผลต่อเกิดโรค การดำเนินโรค มารับการรับการรักษา
Diagnostic and Statistical Manual of Mental Disorders (DSM)
-พัฒนาขึ้นโดยสมาคมจิตแพทย์อเมริกัน(American Psychiatric Association:APA)
-ใช้ในการศึกษาและวิจัยเป็นหลัก
-ปัจจุบันระบบ DSM พัฒนาถึงฉบับที่ 5 (DSM-V)
หลักการของ DSM-V คือการมองโรคแบบเป็นมิติ โดยโรคหนึ่งประกอบด้วยอาการและอาการแสดงหลายด้าน แต่ความรุนแรง ความถี่และระยะเวลาที่คงอยู่ของอาการจะมาก/น้อย แตกต่างกันไปในแต่ละโรค
-การแบ่งกลุ่มโรคทางจิตเวชตามระบบ (DSM-V) มี20กลุ่มโรค
-มีการประเมิน Disability โดยใช้แบบประเมิน World Health Organization SShort Disability Assesasment Schedule ฉบับ2.0(WHODAS)
เครื่องมือและการใช้เครื่องมือคัดกรองปปัญหาสุขภาพจิต
การคัดกรอง (Screening) หมายถึง การทดสอบสมาชิกของกลุ่ม ประชากรเพื่อประมาณโอกาสที่ประชากรเหล่านี้จะมีโรคใดโรคหนึ่งที่ต้องต้องการค้นหา
1.คัดกรองโรค(Disease screening) คือคัดกรอองว่าบุคคลใดป่วยบ้างและการคัดกรองสุขภาพ
2.การคัดกรองความเสี่ยง(Health or risk screening) คือคัดกรองว่าใครมีโอกาสเกิดปัญหาสุขภาพบ้างขณะที่ยังไม่ได้เป็นโรค
เครื่องมือคัดกรองปัญหาสุขภาพจิตมีหลายชนิด
1.แบบทดสบพัฒนาการ(Developmental test)เช่น -Denver developmental screening test(DDST)
2.แบบทดสอบเชาวน์ปัญญา(Intelligence test) เช่น-The goodenough-Harris Draw-a-person test ใช้ในเด็ก
-Wechsler Adult Inrelligencee Scale-Third (WAIS-III) ใช้ในผู้ที่มีอายุ16ปีขึ้นไป
3.แบบวัดบุคลิกภาพ(Personality test) -Rorsch test (ภาพหยดหมึก10ภาพ)
-Figure drawing projective test ที่นิยมใช้คือ Draw-A-Person(DAP) วาดภาพบ้าน ต้นไม้ คน
-Sentence completion test(SCT) ให้ต่อเติมประโยคให้สมบูรณ์
-Sixteen Personality Factor Questionnaire(16PF)
4.แบบคัดกรองโรคซึมเศร้า2คำถาม (2Q) ใช้สัมภาษณ์เพื่อประเมินภาวะซึมเศร้าใน 2สัปดาห์โดยคำตอบมี 2แบบคือ มีและไม่มี ถ้าคำตอบมีในข้อใดข้อหนึ่งหรือทั้ง2ข้อ หมายถึง เป็นผู้มีความเสี่ยงหรือมีแนวโน้มที่ป่วยเป็นโรคซึมเศร้า
5.แบบประเมินโรคซึมเศร้า 9คำถาม(9Q) เป็นเครื่องมือประเมินและจำแนกความรุนแรงของโรคซึมเศร้า 9ข้อแบ่งการประเมินเป็น4ระดับ
คือ ไม่มีเลย(0คะแนน) เป็นบางวัน 1-7วัน (1คะแนน) เป็นบ่อย >7วัน (2คะแนน) และเป็นทุกวัน (3คะแนน) มีคะแนนรวมระหว่าง0-27 คะแนน
6.แบบประเมินการฆ่าตัวตาย 8คำถาม (8Q) เป็นเครื่องมือประเมินแนวโน้มในการฆ่าตัวตาย 8ข้อ ในช่วง1เดือนที่ผ่านมา มีคะแนนตั้งแต่0-10คะแนน แตกต่างกันในแต่ละข้อคำถามและมีคะแนนรวมระหว่าง 0-52คะแนน
7.แบบคัดกรองความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเครียดหลังเหตุการณ์สะเทือนขวัญ (2P)
8.แบบประเมินความรุนแรงของภาวะAlcohol withdrawal syndrome ชื่อThe revised Clinical Institute Withdrawal Assessment for Alcohol (CIWA-Ar) scale
9.แบบทดสอบวัดสุขภาพจิตมาตรฐาน Symptom Distress Checklist 90 (SCL.90)
10.Thai General Health Questionnaire (GHQ) สามารถคัดกรองปัญหาสุขภาพจิตโดยบอกได้ว่าบุคคลนั้นจะมีปัญหาสุขภาพจิตหรือไม่
หลักการสัมภาษณ์ประวัติทางจิตเวช
แหล่งข้อมูล
1.ผู้ป่วย(คำพูด การแสดงอารมณ์ พฤติกรรมต่างๆที่ปรากฏ)
2.ญาติหรือผู้ดูแล(ข้อมูลก่อนมาโรงพยาบาล/ให้คำนึงถึงความใกล้ชิด ลักษณะสัมพันธภาพ)
3.เจ้าหน้าที่ที่นำส่ง(ตำรวจ เจ้าหน้าที่สาธารณสุข)
วิธีการและทักษะที่ใช้
1.การสังเกต
2.การสัมภาษณ์
ข้อมูลที่ต้องการ
1.อาการสำคัญ คือสาเหตุที่นำผู้ป่วยมาพบแพทย์หรือมาโรงพยาบาล โดยบันทึกตามคำบอกเล่าของผู้ป่วยซึ่งสะท้อนถึงการรับรู้และการตระหนักรู้ถึงอาการทางจิตของผู้ป่วย
2.ประวัติการเจ็บป่วยทางจิตปัจจุบัน คืออาการไม่สบายตามลำดับเวลา การเปลี่ยนแปลงด้านต่างๆในช่วงชีวิตที่ป่วย
3.ประวัติการเจ็บป่วยทางจิตในอดีต คือเารเจ็บป่วยทางจิดอื่นๆที่นอกเหนือจากการเจ็บป่วยปัจจุบัน
4.ประวัติการใช้ยาและสารเสพติด ทั้งที่ถูกกฎหมายปละผิดกฎหมาย ระยะเวลาและปริมาณที่เสพ อาการที่เป็นผลจากการเสพ ผลกระทบจากการเสพ
5.ประวัติการเจ็บป่ววยทางกาย โดยเฉพาะโรคที่สัมพันธ์กับการเกิดอาการทางจิต เช่น ลมชัก อุบัติเหตุที่ศีรษะ
6.ประวัติครอบครัว โดยเฉพาะประวัติการเจ็บป่วยด้วยโรคทางจิตเวช การฆ่าตัวตาย(ควรเขียนเป็น Family tree)
7.ประวัติการเติบโตและพัฒนาการตามช่วงวัยต่างๆ
8.การตรวจร่างกายตามระบบ
9.การตรวจสภาพจิต
นางสาวพิมพ์ชล ไชยรา เลขที่52
รหัสนักศึกษา63123301100