Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การแสดงพื้นบ้านอาเซียนในโซนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ - Coggle Diagram
การแสดงพื้นบ้านอาเซียนในโซนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ประเทศไทย
การแสดงพื้นบ้าน คือ ฟ้อนเงี้ยว
ความเป็นมา ฟ้อนเงี้ยว เป็นการแสดงพื้นเมืองของชาวเขาเผ่าหนึ่ง ซึ่งเรียกว่า “เงี้ยว” มีภูมิลำเนาอยู่ภาคเหนือของประเทศไทย นางลมุล ยมคุปต์ ผู้เชี่ยวชาญการสอนนาฎศิลป์ วิทยาลัยนาฎศิลป์กรมศิลปากรได้มีโอกาสไปสอนละครที่คุ้มเจ้าหลวง เจ้าแก้วนวรัฐ ผู้ครองนครเชียงใหม่ และได้เห็นการฟ้อนเงี้ยวเรียกตามภาษาพื้นเมืองว่า เงี้ยวปนเมือง ของคุ้มเจ้าหลวง ซึ่งมีนางหลง บุญจูหลงเป็นผู้ฝึกสอน ในความควบคุมของพระราชชายา เจ้าดารารัศมี ในรัชการที่ 5 ต่อมานางลมุล ยมคุปต์ ได้รับราชการเป็นครูสอนนาฎศิลป์ ที่วิทยาลัยนาฎศิลป์ (ในขณะนั้นเรียกว่า “โรงเรียนนาฎดุริยางค์ศาสตร์”) และได้นำลีลาท่ารำฟ้อนเงี้ยวมาปรับปรุงขึ้นใหม่ให้งดงามตามแบบฉบับนาฎศิลป์ไทย บรรจุไว้ในหลักสูตรวิชานาฎศิลป์ เมื่อ พ.ศ. 2478 บทร้องของฟ้อนเงี้ยวมีลักษณะเป็นบทอวยพร คือ อาราธนาพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เทพยดา สิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายมาปกป้องคุ้มครองอวยชัยให้พรเป็นสวัสดิมงคลต่อไป :
วิธีการแสดง เป็นการฟ้อนระหว่างผู้แสดงฝ่ายชาย และฝ่ายหญิง ออกมาท่ารำประกอบบทร้อง เป็นการรำตีบท หรือรำใช้บท และในช่วยทำนองเพลงรับ ผู้แสดงก็จะทำท่ารับ ความงดงามของการรำฟ้อนเงี้ยวจะอยู่ที่กระบวนท่ารำในลักษณะต่าง ๆ ที่มีความหมายในการอวยชัยให้พร และกระบวนท่าในทำนองเพลงรับ อาทิ ท่าตบมือ ท่าส่ายสะโพก ซึ่งมีความรวดเร็ว กระฉับกระเฉง ทำให้การแสดงเกิดความสนุกสนาน เพลิดเพลิน รวมทั้งมีการแปรแถวในลักษณะต่าง ๆ
เครื่องแต่งกาย แสดงในชุดหญิงล้วน หรือชุด ชาย-หญิง ส่วนใหญ่ลักษณะการแต่งกายมีทั้งแบบชาวเขา แบบฟ้อนเงี้ยวที่กรมศิลปากรประดิษฐ์ขึ้น และแบบพื้นเมืองที่น่าสังเกตก็คือ ผู้แสดงจะถือกิ่งไม้ไว้ในมือทั้งสอง เพื่อเป็นการปัดเป่าสิ่งที่ไม่ดีไปเสีย และยังมีการแต่งกายแบบไทใหญ่และแต่งกายแบบพม่า การแต่งการแบบไทใหญ่จะนุ่งกางเกงเป้ากว้าง ขายาวครึ่งแข้งสวมเสื้อคอกลมแขนกระบอกสีน้ำเงิน มีผ้าโพกศีรษะ และมีเครื่องประดับ เช่น กำไลข้อมือ ข้อเท้า และการแต่งกายแบบพม่า นิยมนุ่งโสร่งตาหมากรุกแบบลอยชาย หรือโจงกระเบน เสื้อคอกลมแขนกระบอกหรืออาจเป็นเสื้อปัด มีผ้าโพกศีรษะและเครื่องประดับตามความเหมาะสม
บุคคลสำคัญ คือ ท่านหญิงแผ้ว สนิทวงศ์เสนี เกิดเมื่อวันที่ ๒๕ ธันวาคม ๒๔๔๖ได้ถวายตัวในสมเด็จพระบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าอัษฎางค์เดชาวุธ กรมหลวงนครราชสีมา และได้รับการฝึกหัดนาฏศิลป์ กับครูอาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิในราชสำนักเช่น เจ้าจอมมารดาวาดและเจ้าจอมมารดาเขียน ในรัชกาลที่ ๔ เจ้าจอมมารดาทับทิม ในรัชกาลที่ ๕ หม่อมแย้ม ในนามสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ หม่อมอึ่งในสมเด็จพระบัณฑูรฯ จนมีความรู้ความสามารถออกแสดงละครเป็นตัวเอกในโอกาสที่แสดงถวายทอดพระเนตรหน้าพระที่นั่ง ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว หลายครั้ง
แหล่งอ้างอิง : ปฏิรัตน์ วงศ์สาคร.//(2560).//ฟ้อนเงี้ยว.//สืบค้นเมื่อ 12 พฤศจิกายน 2565,/
https://sites.google.com/site/natsilpphunban/neuxha-bth-reiyn/kar-saedng-phun-ban-phakh-henux?fbclid=IwAR2R2YDd_GXkXr8najgCdALslHwr9v0gcbN1Is6KfrzYyBNPqX5EroXrSN0
นายณัฐพงศ์ แก้วบุบผา เลขที่ 12
วิภา จิรภาไพศาล.//(2560).//บุคคลสำคัญ.//สืบค้นเมื่อ 12 พฤศจิกายน 2565,/
https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%81%E0%B8%9C%E0%B9%89%E0%B8%A7_%E0%B8%AA%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B8%A8%E0%B9%8C%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%99%E0%B8%B5
นายณัฐพงศ์ แก้วบุบผา เลขที่ 12
ประเทศเวียดนาม
การแสดงพื้นบ้าน คือ ระบำหมวก
ความเป็นมา กำเนิดจากทางภาคเหนือของเวียดนาม
วิธีการแสดง รำด้วยท่าทางที่อ่อนช้อยสวยงาม
เครื่องแต่งกาย ชุดเรียกว่า “อาวหยาย”
หมวกเรียกว่า “นอนล้า
บุคคลสำคัญ คือ โฮจิมินห์ เป็นนักปฏิวัติชาวเวียดนาม ซึ่งมีความสำคัญต่อการประกาศอิสรภาพของเวียดนาม
นายสุภทัร สมจิตร เลขที่ 11
อ้างอิง : ศิลปะเด็กน้อย. //(2555).//ระบำหมวก.//สืบค้นเมื่อ 12 พฤศจิกายน 2565,/จาก
https://artandcom.wordpress.com/%E0%B8%A8%E0%B8%B4%E0%B8%A5%E0%B8%9B%E0%B8%B0%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%8B%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%99/%E0%B9%80%E0%B8%A7%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%94%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%A1-vietnam/%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%9A%E0%B8%B3%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%A7%E0%B8%81/
ประเทศกัมพูชา
การแสดงพื้นบ้าน
คือ ระบำอัปราสร
ความเป็นมา
เกิดขึ้นด้วยคุณูปการของพระนาง โดยนางอัปสราตัวเอกองค์แรกคือเจ้าหญิงบุพผาเทวี พระราชธิดาในเจ้าสีหนุ เป็นระบำที่กำเนิดขึ้นเพื่อเข้าฉากภาพยนตร์เกี่ยวกับนครวัดที่กำกับโดย Marchel Camus ชื่อเป็นภาษาฝรั่งเศสว่า L"Oiseau du Paradis ก็คือ The Bird of Paradise หลังจากนั้นระบำอัปสราก็เป็นระบำขวัญใจชาวกัมพูชา ใครได้เป็นตัวเอกในระบำอัปสรานั้นเชื่อได้ว่าเป็นตัวนางชั้นยอดแห่งยุคสมัย
วิธีการแสดง
การแสดงระบำนางอัปสราของเขมร จะมีท่วงท่าและลักษณะการเคลื่อนไหวคล้ายกับการเคลื่อนไหวของนาคมาเป็นท่วงท่าการรำของตัวนางที่มีความอ่อนโยน ทั้งลีลาการใช้แขน มือขา และเท้า เอว สะโพก ลำคอ ใบหน้า สายตา และศีรษะ โดยทุกส่วนของร่างกายกระชับ และกลมกลืนกัน มีการเคลื่อนไหวทั้งท่วงท่าช้า ท่วงท่าเร็ว ให้ถูกต้องตามหลักไวยากรณ์ของภาษาท่า
เครื่องแต่งกาย
ชฎา 3 ยอด ประดับด้วยดอกไม้ ยอดละ 2 ดอก มีกระบังหน้า จอนหู และหางพวงมาลัยขางละอัน รวมส่วนประกอบทั้งหมดเข้าด้วยกันจะได้ ชฎาอัปสรา ใส่เสื้อเป็นบอดี้สูทรัดช่วงตัวสีเนื้อหรือสีขาวนวล ประดับด้วยกรองคอผ้ากำมะหยี่สีแดงที่ประดับด้วยเครื่องทอง กระโปรง(ซิ่น)จะใช้ผ้ายกสีขาวนวล
บุคคลสำคัญ คือ
แวนด้า เป็นดาราศิลปินแร็ปและฮิปฮอปชาวกัมพูชาที่ได้รับความนิยมอย่างมากในกัมพูชา ผลงานเขาซึ่งเป็นที่รู้จักจากเพลง Time To Rise ซึ่งเป็นเพลงดนตรีฮิปฮอปผสมผสานกับเพลงดนตรีพื้นบ้านเขมร บรรเลงด้วยเครื่องดนตรีพื้นบ้านเขมรโบราณ จะเป็ยฎ็องแวง (กระจับปี่เขมร) รับด้วยขลุ่ยพื้นเมือง ซึ่งทำให้เขาได้รับความนิยมอย่างมากจากคนหนุ่มสาวชาวกัมพูชา เพลงนี้ทำให้เขาโด่งดังมาจนถึงทุกวันนี้ วันดา มีชื่อจริงว่า วันดา มันน์ (Vannda Mann) เกิดเมื่อวันที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2540 จังหวัดพระสีหนุพระราชอาณาจักรกัมพูชา
error
ประเทศบรูไน
การแสดงพื้นบ้าน คือ อาไดอาได (Adai-Adai)
ความเป็นมา มาจากชาวประมงสมัยก่อนที่ร้องเพลงขณะช่วยกันลากอวน
วิธีการแสดง เต้นรำประกอบเพลงบรรเลงสลับกับการท่องโคลงแบบมลายู เครื่องดนตรีหลักคือกลองและไวโอลิน
เครื่องแต่งกาย แต่งกายแบบชาวเล โดยนักแสดงชายสวมชุดพื้นเมือง ส่วนนักแสดงหญิงสวมชุด บาจู กูรง (baju kurong) คือ เสื้อแขนยาวและผ้าถุง คลุมผมด้วยผ้าพื้นเมือง
บุคคลสำคัญ คือ นักร้องหญิงอันดับต้นๆ ของบรูไน “มาเรีย” หรือ เมเรีย ไอเรส วัย 24 ปี เธอเป็นเจ้าของรางวัลมากมาย รวมถึงนักร้องหญิงยอดเยี่ยม Pelangi Awards เป็นเจ้าของหลายเพลงดังรวมถึง Bisik Hati ซึ่งติดอันดับหนึ่งในหลายชาร์ต
นางสาวปารณีย์ ศรีสุวรรณ เลขที่ 26
อ้างอิง : แหนง-ดู.//(2556).//มาเรีย ไอเรส.//สืบค้นเมื่อ 12 พฤศจิกายน 2565,/จาก
https://www.posttoday.com/ent/news/217177
อ้างอิง : ฐานข้อมูลสังคม-วัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้.//(2559).//การแสดงพื้นเมืองของประเทศบรูไน.//สืบค้นเมื่อ 12 พฤศจิกายน 2565,/จาก
https://www.sac.or.th/databases/southeastasia/subject.php?c_id=1&sj_id=95
ประเทศสิงคโปร์
การแสดงพื้นบ้าน คือ บังสาวัน
ความเป็นมา ได้รับอิทธิผลจากมาเลเซีย
วิธีการแสดง
เครื่องแต่งกาย เสื้อผ้าสีสันสด
บุคคลสำคัญ คือ ลี กวนยู เป็นนายกรัฐมนตรีคนแรก
ของสิงคโปร์เขาเป็นผู้เปิดประเทศสิงคโปร์ให้ทันสมัยทัดเทียมนานาอารยประเทศ
นายสุภทัร สมจิตร เลขที่ 11
อ้างอิง : ฐานข้อมูลสังคม-วัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้.//(2559).//การแสดงพื้นเมืองของประเทศสิงคโปร์.//สืบค้นเมื่อ 12 พฤศจิกายน 2565,/จาก
https://www.sac.or.th/databases/southeastasia/subject.php?c_id=1&sj_id=95
ประเทศอินโดนีเซีย
การแสดงพื้นบ้าน
คือ Bedhayan Ardhanareesvara Dance
ความเป็นมา
ได้แรงบันดาลใจจากลักษณะท่าทางของพระอรรธนารีศวร ซึ่งเป็นปางหนึ่งของพระศิวะที่มีร่างกึ่งชายกึ่งหญิง (พระศิวะและพระแม่ปารวตี) เป็นสัญลักษณ์ของความสมดุล
วิธีการแสดง
ท่าร่ายรำมาจากศาสนาที่งดงาม พริ้วไหว และมีเสน่ห์ การแสดงจะเริ่มต้นด้วยการร่ายรำแบบชวา ซึ่งเป็นการแสดงในราชสำนักของชวาภาคกลาง (ยอร์กยากาต้าและซูรากาต้า) ผสมผสานกับท่ารำใหม่ จากนั้นจะเป็นการร่ายรำชุดต่างๆที่ได้ต้นแบบมาจากการรำทางศาสนาในอินโดนีเซีย
เครื่องแต่งกาย
ส่วนใหญ่เป็นนักแสดงชายข้ามเพศแต่งตัวด้วยเสื้อผ้าหลากหลายสีสันสะดุดตา
บุคคลสำคัญ คือ
Didik Hadiprayitno Didik Hadiprayitno เกิด 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2497 -เกิดที่ Kwee Tjoen An เป็นที่รู้จักกันดีในชื่อ Didik Nini Thowok เป็นนักเต้นชาวชวาที่มักปลอมตัวเป็นผู้หญิงในระหว่างการแสดงการเต้นรำแบบชวาและการเต้นรำแบบบาหลี มีการศึกษานาฏศิลป์ในหลายประเทศ รวมทั้งอินโดนีเซีย อินเดีย ญี่ปุ่น และสเปน มักจะผสมผสานสไตล์จากหลากหลายวัฒนธรรมในการเต้นของเขาเอง
นางสาวปารณีย์ ศรีสุวรรณ เลขที่ 26
อ้างอิง : วิกิพีเดีย.//(2562).//ดิดิค นินี โธวก.//สืบค้นเมื่อ 12 พฤศจิกายน 2565,/จาก
https://en.m.wikipedia.org/wiki/Didik_Nini_Thowok
อ้างอิง : ฐานข้อมูลสังคม-วัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้.//(2559).//การแสดงพื้นเมืองของประเทศอินโดนีเซีย.//สืบค้นเมื่อ 12 พฤศจิกายน 2565,/จาก
https://www.sac.or.th/databases/southeastasia/subject.php?c_id=1&sj_id=95
ประเทศเมียนมาร์
การแสดงพื้นบ้าน คือ ซะปแว
ความเป็นมา เนื้อเรื่องส่วนหนึ่งที่ซะปแวนำมาแสดงไม่ต่างไปจากหุ่นชัก คือมาจากนิทานชาดก ที่ต่างกันอยู่ตรงผู้แสดงระหว่างคนกับหุ่นชัก อันที่จริงชาวไทใหญ่ก็มีการแสดงที่เหมือนซะปแว ซึ่งเรียกว่า จ้าดไต โดยเรียก ซะปแวว่า จ้าดพม่า ซึ่งคำว่า ซะ หรือ จ้าด มาจากคำว่า ชาตก หรือ ชาดก ในภาษาไทย
วิธีการแสดง หัวหน้าหรือครูอาวุโสของคณะทำพิธีขอพรจากนัต ช่วยคุ้มครองให้การแสดงชุดนี้สำเร็จลุล่วงและได้รับความนิยมชมชอบจากผู้ชม โดยใช้ของเซ่นไหว้ที่มีกล้วยกับมะพร้าวเป็นหลัก หลังจากพิธีเสร็จแล้วดนตรีปี่พาทย์จะเริ่มประโคมเพื่อเป็นการโหมโรงเรียกผู้ชมเข้ามาดู เมื่อได้เวลาแสดงจะมีนักแสดงชาย 2 คน แต่งกายและพูดจาตลกขบขัน ที่พม่าเรียกว่า ลูชวีนด่อ ออกมาพูดคุย เกริ่นนำเรื่องราวที่จะแสดงในวันนั้นๆ เมื่อเล่าเรื่องราวต่างๆ เสร็จแล้วจึงเริ่มแนะนำตัวนักแสดงทีละคนว่าใครมีบทบาทอะไรในท้องเรื่อง พร้อมกันนั้นนักแสดงก็จะออกมานำเสนอตัวเองโดยการโชว์ทีเด็ดส่วนตัว อาทิ บางคนรำสวย บางคนร้องเก่งเสียงดี
เครื่องแต่งกาย คนแสดงจะแต่งกายด้วยชุดตลกที่พม่าเรียกว่า ลูชวีนด่อ
บุคคลสำคัญ คือ เป็นพระนามของกษัตริย์องค์ที่สี่แห่งราชวงศ์อลองพญา ครองอาณาจักรพม่า ระหว่างปี พ.ศ.2325 - 2362 พระองค์ทรงเป็นพระราชโอรสองค์ที่สี่ ของพระเจ้าอลองพญา พระองค์ได้ครองราชย์โดยทำการปราบดาภิเษก พระเจ้าปดุง แห่งราชวงศ์คองบอง ประเทศพม่าได้มี การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองและทางวัฒนธรรม ครั้งสำคัญที่ส่งผลต่อการละครและการแสดงหุ่น นาฏยศิลป์พม่ายุคนี้ถือได้ว่าเป็นยุครุ่งเรืองมากอีกทั้งปรับปรุงให้มีมาตรฐานมากขึ้น เนื่องจากพระเจ้า
ชเวตวง พระมหาอุปราชทรงสนพระทัยด้านนี้มาก ทรงส่ง คณะนาฏยศิลป์พม่าไปศึกษาท่ารำและดนตรีจากประเทศใกล้เคียง เช่น ลาว ไทย เขมรและชวาส่งผลให้นาฏศิลป์พม่ารวมถึงการแสดงละครหุ่นพม่าได้รับวัฒนธรรมของ ประเทศใกล้เคียงมาปรับใช้ในการพัฒนาศิลปะการแสดง
error
ประเทศลาว
การแสดงพื้นบ้าน คือ ลำตังหวาย
ความเป็นมา เป็นศิลปะการแสดงที่ปรากฏในวัฒนธรรมร่วมสองฝั่งแม่น้าโขง ไทย - ลาว โดยเริ่มต้นจาก การขับลำประกอบดนตรี ภายหลังมีการฟ้อนรำประกอบ ทำนองการลำตังหวาย จนเป็นที่นิยมนำมาขับลำเพื่อ ความบันเทิงสองฝั่งแม่น้าโขง และมีการนำมาสร้างสรรค์การขับลำและประกอบการแสดงอยู่เสมอ การลำตังหวาย เริ่มต้นที่ บ้านตังหวายโคก เมืองซนนะบุรี แขวงสะหวันนะเขต สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
วิธีการแสดง สามารถลำกันได้ทุกเพศ ทุกวัย ในอดีต ผู้ชายจะเป็นฝ่ายลำเพื่อการเกียวพาราสีฝ่ายหญิงถ้าฝ่ายหญิงมีความสามารถโต้ตอบได้ ก็จะตอบกลับโดยใช้ผญาโต้ตอบฝ่ายชาย การลำตังหวายไม่มีการประพันธ์ไว้ล่วงหน้าจึงเป็นการลำแบบด้นสด สามารถ คิดการลำได้เอง โดยใช้ทำนองลำตังหวาย บุญชู วงคีรี
เครื่องแต่งกาย เสื้อผ้าฝ้ายย้อมคราม นุ่งซิ่นผ้าฝ้ายมัดหมี่ย้อมคราม แพรเบี่ยงโดยใช้ผ้าสีขาวหรือ ผ้าขาวม้า ผู้ชายสวมเสื้อย้อมคราม ใส่ผ้าโสร่ง ผ้าผูกเอว
บุคคลสำคัญ คือ
ดาวเวียง บุตรนาโค เกิดวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2497 เป็นนักเขียน กวี และนักแต่งเพลงลูกทุ่งลาวอันโด่งดัง และยังเป็นศิลปินแห่งชาติของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวอีกด้วย
ตัวอย่างผลงานการประพันธ์เพลงของเขาที่ทำให้ศิลปินเหล่านี้มีชื่อเสียงได้แก่ สาวดงโดก, สาวตะเกียวน้อย, สาวศรีเมือง, หญิงคนนั้นแม่นไผ, ผู้ชายปลายแถว,กำแพงเงิน, น้ำตาลูกผู้ชาย, โดยสารสายใต้ ฯลฯ บางครั้งดาวเวียงถูกเรียกว่าเป็น ครูสลาเมืองลาว
เขาเสียชีวิตในวันที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2562 ด้วยโรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูงรวมอายุได้ 64 ปี
error
ประเทศมาเลเซีย
การแสดงพื้นบ้าน คือ ระบำซาปิน
ความเป็นมา เกิดขึ้นก่อนในดินแดน อาระเบียและต่อมาได้มีคนนำมาเผยแพร่ในมาเลเซียในคริสต์ศตวรรษที่ 15 เป็นต้นมาชาวบ้านทางภาคเหนือและตะวันตกของแหลมมลายูนิยมชมชอบการฟ้อนรำแบบนี้มาก
วิธีการแสดง การแสดงระบำซาปินมีผู้แสดง 12 คน แบ่งเป็นหญิงชายจำนวนเท่ากัน ฝ่ายละ 6 จับคู่เต้นกันเป็น
กลุ่ม ใช้การยกเท้ายกขาพร้อมกันเป็นจังหวะ เต้นรำตามจังหวะดนตรี ซึ่งบรรเลงจากช้าไปหาเร็ว
เครื่องแต่งกาย เป็นแบบเรียบๆ ชายใส่หมวกอิสลามหรือหมวกแขก ใส่เสื้อกั๊ก นุ่งโสร่ง หญิงนุ่งกระโปรง เสื้อรัดรูป มีผ้าแพรคลุมศีรษะ
บุคคลสำคัญ
คือ สุดีร์มานเป็นนักร้องในตำนานของมาเลเซียผู้โด่งดังระดับทอปของประเทศ ซึ่งมีทั้งสีสันและเป็นปรากฏการณ์ของสังคมมาเลเซีย
สุดีร์มานเกิดวันที่ ๒๕ พฤษภาคม ๑๙๕๔ สุดีร์มานเป็นทั้งนักร้อง นักแต่งเพลง นักแสดง คอลัมนิสต์ และผู้ประกอบการ ไม่ว่าบทบาทใดเขามีวิญญาณเอนเตอร์เทนเนอร์ที่ยากจะหาใครเทียบ ด้วยบุคลิกแห่งคนบันเทิงทำให้โชว์ของเขาโดดเด่นทั้งอุปกรณ์ ฉาก พลอตการแสดง มีคนเปรียบว่าเขาคือ Elvis Presley บ้างก็ว่าคือ Michael Jackson แห่งมาเลเซีย สุดีร์มานเสียชีวิตในวัย ๓๗ ปี สุดีร์มานคือนักร้องคนสุดท้ายที่เป็นขวัญใจคนทุกชาติพันธุ์อย่างแท้จริง
นายคุณากร แก้วทอง เลขที่ 6
อ้างอิง : thaigoodview.//(2558).//ศิลปะมาเลเซีย.//สืบค้นเมื่อ 12 พฤศจิกายน 2565,/จาก
http://www.thaigoodview.com/node/190383?page=0,1
sarakadee.//(2559).//ASEAN Culture – Sudirman Arshad “นักร้องมหาชน” คนสุดท้ายของมาเลเซีย.//สืนค้นเมื่อ 12 พฤศจิกายน 2565,/จาก
https://www.sarakadee.com/2016/08/04/asean-culture-sudirman-arshad/
ประเทศฟิลิปปินส์
การแสดงพื้นบ้าน
คือ ตินิคลิ่ง (Tinikling)
ความเป็นมา
เป็นการเต้นรำเลียนแบบการเคลื่อนไหวของนก Tikling เป็นการแสดงแบบดั้งเดิมของฟิลิปปินส์เกิดขึ้นในช่วงสเปนเป็นเจ้าอาณานิคม
วิธีการแสดง
เต้นแบบก้าวกระโดด 5 จังหวะ ในช่วง 4 จังหวะแรกคู่เต้นรำจะยืนตรงข้ามกัน ในช่วงจังหวะสุดท้ายทั้งคู่จะเริ่มเต้นรำอยู่ข้างเดียวกันระหว่างลำไม้ไผ่ 2 ลำ
เครื่องแต่งกาย
ชายและหญิง ผู้หญิงสวมชุด balintawak หรือ patadyong ผู้ชายสวมเสื้อ barong tagalog เป็นผ้าทำจากใยสับปะรด
บุคคลสำคัญ คือ
จาเนลา ซัลวาดอร์
-นักแสดงและนักร้องชาวฟิลิปปินส์ เปิดตัวในละครฮิตเรื่อง Be Careful with My Heart ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา เธอมีบทบาทนำใน Oh My G!, Haunted Mansion
-เกิด30มีนาคม2541 อายุ24 จากนครเซบู ในฟิลิปปินส์
นางสาวปารณีย์ ศรีสุวรรณ เลขที่ 26
อ้างอิง : วิกิพีเดีย.//(2565).//จาเนลลา ซัลวาดอร์.//สืบค้นเมื่อ 12 พฤศจิกายน 2565,/จาก
https://en.m.wikipedia.org/wiki/Janella_Salvador
นางสาวปารณีย์ ศรีสุวรรณ เลขที่ 26
อ้างอิง : ฐานข้อมูลสังคม-วัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้.//(2559).//การแสดงพื้นเมืองของประเทศฟิลิปปินส์.//สืบค้นเมื่อ 12 พฤศจิกายน 2565,/จาก
https://www.sac.or.th/databases/southeastasia/subject.php?c_id=1&sj_id=95