Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
วิวัฒนาการของนาฏศิลป์ และการละครไทย ยุคแรก, image, image, image, BCB059FE…
วิวัฒนาการของนาฏศิลป์
และการละครไทย ยุคแรก
สมัยธนบุรี
วิวัฒนาการ
🪄นาฏศิลป์สมัยกรุงธนบุรีเท่าที่ปรากฏหลักฐานในจดหมายเหตุ สมโภชพระแก้วมรกต พ.ศ.2323 ได้พัฒนาการแสดง คือ โขน หนัง หุ่น ละคร รำ เช่น
-ละครใน 🎞
สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีได้ทรงรวบรวมตัวละครที่กระจายหนีภัยสงครามบ้างและตัวละครผู้หญิงของหลวงขึ้นใหม่ จึงได้มีละครผู้หญิงแต่ไม่ค่อยจะสมบูรณ์
-ละครนอก 📽
มีมาตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยาเป็นละครที่แสดงกันนอกราชธานี แต่เดิมมาจากการละเล่นพื้นเมือง และร้องแกล้งกัน แล้วต่อมาภายหลังจับเป็นเรื่องเป็นตอนขึ้น เป็นละครดัดแปลงวิวัฒนาการ โนห์รา หรือ ชาตรี
-รามเกียรติ์ 📖
พระราชนิพนธ์ในสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีเป็นบทละครเพียงบางตอนที่ปรากฏต้นฉบับสมุดไทยฉบับหลวง จำนวน 4 เล่ม
เล่ม 1 ตอนพระมงกุฎ เนื้อความตั้งแต่พระมงกุฎลองฤทธิ์จนถึงพระลบมาช่วยพระมงกุฎในเมืองอยุธยา
เล่ม 2 ตอนหนุมานเกี้ยวนางวานรินจนถึงท้าวมาลีวราชว่าความ
เล่ม 3 ตอนท้าวมาลีวราชว่าความจนถึงทศกัณฐ์เข้าเมือง
เล่ม 4 ตอนทศกัณฐ์ตั้งพิธีทรายกรด พระลักษณ์ต้องหอกกบิลพัทจนถึงหนุมานผูกผมทศกัณฐ์กับนางมณโฑ
บุคคลสำคัญ
สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี หรือ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
มีพระนามเดิมว่า สิน เป็นคนไทยเชื้อสายจีน เป็นพระมหากษัตริย์ผู้ก่อตั้งอาณาจักรธนบุรี และเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์เดียวของราชอาณาจักรธนบุรี เดิมพระองค์เป็นนายทหารในรัชกาลสมเด็จพระที่นั่งสุริยาศน์อมรินทร์ ต่อมาในปีพ.ศ.2310กรุงศรีอยุธยาเกิดการเสียอยุธยาครั้งที่สอง พระองค์ได้เป็นผู้นำขับไล่ทหารพม่าที่ยึดครองกรุงศรีอยุธยาอยู่ในเวลานั้น และได้ปราบดาภิเษกเป็นพระเจ้ากรุงศรีอยุธยาอีกเจ็ดเดือนถัดมา โดยพระองค์ย้ายเมืองหลวงไปยังกรุงธนบุรี
📍ความสำคัญ : สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
ทรงพระราชนิพนธ์บทละครในเรื่องรามเกียรติ์ด้วยพระองค์เอง
🔖อ้างอิง : ทัศพร ศรีเกตุ.2564.ละครนาฏศิลป์.” [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก :
http://www.silpathai.com/nat/l1.html.ปีที่สืบค้น
2565
ค้นหาเมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2565 โดยมีนางสาวกัลยาณี วีสุวรรณ เป็นผู้รับผิดชอบ
การแต่งกาย
👱🏻ผู้ชาย: สวมเสื้อหม้อฮ่อม นุ่งกางเกงแพรจีน
👱🏻♀️ผู้หญิง: ทัดดอกไม้ สไบรัดอก นุ่งผ้าถุง
🔖อ้างอิง : กนิษฐรินทร์ พลศักดิ์.2564.การแต่งกายสมัยต่างๆ.” [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก :
http://www.silpathai.com/nat/l1.html.ปีที่สืบค้น
2565
ค้นหาเมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2565 โดยมีนางสาวกัลยาณี วีสุวรรณ เป็นผู้รับผิดชอบ
สมัยสุโขทัย
การแต่งกาย
🧣 สตรีไว้ผมเกล้าสูง อย่างที่เรียกว่า โองขโดง คือรวบขึ้นไปเกล้ามวยกลางกระหม่อม มีเกี้ยวหรือพวงมาลัยสวม สนมกำนัลแต่งกรัชกายนุ่งห่มผ้าลิขิตพัสตร์ ผ้าสุวรรณพัสตร์ ประดับเครื่องอลังกาภรณ์ มีจดหมายเหตุบันทึกการแต่งกายสตรีว่า หญิงนุ่งผ้าสูงพ้นดิน ๒ – ๓ นิ้ว (กรอมเท้า) สวมรองเท้ากีบทำด้วยหนังสีดำสีแดง
✨ อ้างอิง : ภัทรวรรณ วะหะโร. “การแต่งกายสมัยสุโขทัย.” [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก :
https://namfon181238.wordpress.com
. สืบค้นวันที่ 7 พฤศจิกายน 2565 โดยมี นางสาวเจนจิรา ศักดิ์สงค์ เป็นผู้รับผิดชอบ
บุคคลสำคัญ
พ่อขุนรามคำแหงมหาราช
📕 ได้ประดิษฐ์อักษรไทย จึงปรากฏหลักฐานด้านการละครไทยปรากฏบนหลักศิลา จารึกของพ่อขุนรามคำแหง หนังสือวรรณคดีรวมถึงเอกสารทางประวัติศาสตร์ทั้งนี้หลักฐานที่เป็น ตำนานการฟ้อนรำของไทยมีรูปแบบทางนาฏศิลป์ และดนตรีเป็นของตนเองซึ่งไม่เหมือนกับท่าทาง การฟ้อนรำตามตำนาน “โกยิลปุราณะ” ของอินเดีย หากแต่ได้รับเอาความเชื่อทางศาสนามา จากอินเดียรวมถึงการบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิด้วยการฟ้อนรำและดนตรี ส่วนท่าทางในการฟ้อนรำนั้น แตกต่างกัน ซึ่งการกำเนิดท่ารำที่มีตำนานการฟ้อนรำจากประเทศอินเดียพระอิศวรเป็นผู้กำเนิดท่ารำมีทั้งหมด 108 ท่าที่เป็นแม่ท่าของท่าทางนาฏศิลป์ไทย ตามตำนานที่ได้กล่าวมา
✨ อ้างอิง : _.“บุคคลสำคัญด้านนาฏศิลป์และการละครไทยสมัยสุโขทัย.” [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก :
http://blog.bru.ac.th/wp-content/uploads/bp-attachments
. สืบค้นวันที่ 9 พฤศจิกายน 2565 โดยมี นางสาวเจนจิรา ศักดิ์สงค์ เป็นผู้รับผิดชอบ
วิวัฒนาการ
🌈 นาฏศิลป์ไทย : การแสดงประเภทระบำ รำ ฟ้อน มีวิวัฒนาการมาจากการละเล่นของชาวบ้าน เป็นการพักผ่อน หย่อนใจหลังจากเสร็จงาน หรือแสดงในงานบุญ งานรื่นเริงประจำปี ปรากฏในหนังสือไตรภูมิพระร่วงฉบับพระ มหาราชาลิไทว่า “บ้างเต้น บ้างรำ บ้างฟ้อน ระบำบันลือ” แสดงให้เห็นรูปแบบของนาฏศิลป์ที่ปรากฏในสมัยนี้ คือ เต้น รำ ฟ้อน และระบำ
🌈 การละครไทย : ละครแก้บนกับละครยก อาจมีสืบเนื่องมาแต่สมัยสุโขทัย สมเด็จฯกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงอธิบายไว้ในสาส์นสมเด็จว่า ประเพณีที่ไทยเราเล่นละครแก้บน เห็นจะมาจากคติเดียวกับการเล่นโขนของศาสนาพราหมณ์ แต่เลยมาถึงเล่นละครบวงสรวงในพระพุทธศาสนา เมื่อฉันยังเป็นเด็กได้เคยเห็นละครชาตรีเล่นแก้บนที่หน้าพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม และได้ยินว่าที่วัดบวรนิเวศวิหาร ก็เคยมีละครแก้บนพระพุทธชินสีห์ เพิ่งในสมัยรัชกาลที่ 5 ประเพณีไทยเล่นละครแก้บนแต่ก่อนเห็นจะหยุดชะงัก จึงมีผู้คิดทำตุ๊กตา เรียกว่า “ละครยก” สำหรับคนจนแก้บนถ้าจะนับเวลาเห็นจะเป็นตั้งพันปีมาแล้ว
✨ อ้างอิง : พรรษชล ศิริพันธ์.“การละครไทยสมัยสุโขทัย.” [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก :
https://sites.google.com/site/dramaticarttuppschool/lakhr-thiy
. สืบค้นวันที่ 8 พฤศจิกายน 2565 โดยมี นางสาวเจนจิรา ศักดิ์สงค์ เป็นผู้รับผิดชอบ
✨ อ้างอิง :
_
.“นาฏศิลป์ไทยสมัยสุโขทัย.” [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก :
https://nachuakpit.ac.th
. สืบค้นวันที่ 8 พฤศจิกายน 2565 โดยมี นางสาวเจนจิรา ศักดิ์สงค์ เป็นผู้รับผิดชอบ
สมัยน่านเจ้า
การแต่งกายสมัยน่านเจ้า
:red_flag: หญิงผู้ดีนุ่งซิ่นไหม ใช้ผ้าไหมอีกผืนหนึ่งคาดเอวไว้ ผมมุ่นสูง บางทีถักเป็นเปียห้อยลงสองข้าง ใช้ต่างหูทำด้วยไข่มุก ทับทิมหรืออำพัน นิยมใช้รองเท้าฟาง ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ มีหนังเสือคลุมร่างกาย ผ้ารัดพุงสีทอง ชั้นสูงกว่านี้ จะได้ผ้ารัดพุง สีแดงแถบเหลือง(ทอง) ข้าราชการชั้นผู้น้อย ใส่เสื้อแบบเสื้อกั๊ก(ไม่มีแขน) ด้านหน้า มีลายปัก หรือห้อยคล้องคอ บอกยศตำแหน่ง
:star: อ้างอิง หนังสือพัสตราภรณ์ไทย ถวายไท้ ราชินี. “การแต่งกายสมัยน่านเจ้า.” [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก :
http://www.thaitopwedding.com/Misc/dress_history-3.html
.
สืบค้นวันที่ 8 พฤศจิกายน 2565 โดยมีนางสาวพิชชาพร พรหมมา เป็นผู้รับผิดชอบ
วิวัฒนาการ
:red_flag: นาฏศิลป์ไทย
พวกไต คือ ประเทศไทยเรา แต่เป็นพวกที่ไม่อพยพลงมาจากดินแดนเดิม ชีวิตและความเป็นอยู่ของพวกไตเป็นแบบชาวเหนือของไทยพวกไทยนี้สืบเชื้อสายมาจากสมัยน่านเจ้า เหตุแวดล้อมดังกล่าวจึงชวนให้เข้าใจว่าเป็นชาติที่มีศิลปะมาแล้วแต่ดั้งเดิม ซึ่งได้รักษาขนบธรรมเนียมประเพณีวัฒนธรรมไว้อย่างเดียวกับไทยภาคเหนือ การละเล่นของไทยในสมัยน่านเจ้า นอกจากเรื่องมโนห์รา ยังมีการแสดงระบำต่างๆ เช่น ระบำหมวก ระบำนกยูง
:red_flag: การละครไทย
สมัยอาณาจักรน่านเจ้า ไทยมีนิยายเรื่องหนึ่งคือ “มโนห์รา” ซึ่งปัจจุบันนี้ก็ยังมีอยู่ หนังสือทีเขียนบรรยายถึงเรื่องของชาวจีนตอนใต้ และเขียนถึงนิยายการเล่นต่างๆ ของจีนตอนใต้ มีอยู่เรื่องหนึ่งที่ชื่อเหมือนกับนิยายของไทย คือเรื่อง “นามาโนห์รา” และอธิบายไว้ด้วยว่าเป็นนิยายของพวกไต ซึ่งจีนถือว่าเป็นชนกลุ่มน้อยอยู่ทางใต้ของประเทศจีน ไตเป็นน่านเจ้าสมัยเดิม คำว่า “นามาโนห์รา” เพี้ยนมาจากคำว่า “นางมโนห์รา” ของไทยนั่นเอง
:star: อ้างอิง นางสาวพรรษชล ศิริพันธ์. “นาฏศิลป์ไทยและการละครไทยในสมัยน่านเจ้า.” [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก :
https://sites.google.com/site/dramaticarttuppschool/phu-cad-tha
.
สืบค้นวันที่ 7 พฤศจิกายน 2565 โดยมีนางสาวพิชชาพร พรหมมา เป็นผู้รับผิดชอบ
บุคคลสำคัญ
:silhouette:ละครเรื่อง "มโนราห์" ไม่ปราากฏชื่อผู้แต่งและไม่สามารถหาหลักฐานใดๆได้เลยว่าใครเป็นผู้ประพันธ์
สมัยอยุธยา
วิวัฒนาการ
🎶ได้พัฒนาการแสดงในรูปแบบของละครรำนับเป็นต้นแบบของละครรำแบบอื่นๆต่อมามีการแสดง
ละครชาตรี ละครนอก ละครใน แต่เดิมที่เล่นเป็นละครเร่
จะแสดงตามพื้นที่ว่างโดยไม่ต้องมีโรงละคร เรียกว่า
ละครชาตรี ต่อมาได้มีการวิวัฒนาการ เป็นละครรำ
เรียกว่าละครใน ละครนอก โดยปรับปรุงรูปแบบ
ให้มีการแต่งกายที่ประณีตงดงามมากขึ้น
มีดนตรีและบทร้องและมีการสร้างโรงแสดงละครในแสดงในพระราชวังจะใช้ผู้หญิงล้วน ห้ามไม่ให้ชาวบ้านเล่นเรื่องที่นิยมมาแสดงมี3 เรื่องคือ อิเหนา รามเกียรติ์
อุณรุท ส่วนละครนอก ชาวบ้านจะแสดง
ใช้ผู้ชายล้วนดําเนินเรื่องอย่างรวดเร็ว
🌜อ้างอิง : บัญวีร์ ธนรัตน์.“วิวัฒนาการละครและนาฏศิลป์ไทย สมัยอยุธยา[ออนไลน์].
เข้าถึงได้จาก :
https://prezi.com/p/mb6256bic0_z/presentation/
.
สืบค้นวันที่ 6 พฤศจิกายน 2565
โดยมี นางสาวเขมิกา เทพสุข เป็นผู้รับผิดชอบ
การแต่งกาย
👑ละครใน
จะแต่งกายตามแบบของกษัตริย์ เช่น มีมงกุฎ สังวาล ทับทรวง เจียระบาด ห้อยหน้า สนับเพลา พระภูษา ฉลองพระองค์ ฯลฯ
🥻ละครนอก
การแต่งกายอย่างชาวบ้านธรรมดา เพราะเป็นละครชาวบ้าน เพียงแต่ให้รัดกุมและใช้ผ้าโพกหรือห่มพอให้รู้ว่าเป็นหญิงหรือชาย ต่อมา มีผู้ประดิษฐ์ให้งดงาม ปักดิ้นเลื่อมแพราวพราว ศีรษะสวมชฎาและรัดเกล้า
ทั้งรัดเกล้ายอด รัดเกล้าเปลว ตลอดจนปันจุเหร็จ
กระบังหน้ารูปต่างๆ
🙎♂️ละครชาตรี
การแต่งกาย ผู้แสดงเป็นชายล้วน แต่งกายไม่สวมเสื้อ นุ่งสนับเพลา เชิงกรอมข้อเท้า นุ่งผ้าหยักรั้ง จีบโจงไว้หางหงส์ มีห้อยหน้า เจียระบาด รัดสะเอว สวมสังวาล
กรองคอ ทับทรวง ศีรษะสวมเทริด(เซิด)ต่อมาเมื่อมีผู้หญิงแสดงด้วย จึงแต่งกายอย่างละครนอก
🌜อ้างอิง : ไม่ปรากฏนามผู้เขียน.“ละครชาตรี-บ้านรำไทย[ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก :
http://www.banramthai.com/html/lakhon1.html
สืบค้นวันที่ 6 พฤศจิกายน 2565
โดยมี นางสาวเขมิกา เทพสุข เป็นผู้รับผิดชอบ
🌜อ้างอิง : ไม่ปรากฏนามผู้เขียน.“ละครนอก-บ้านรำไทย[ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก :
http://www.banramthai.com/html/lakhon2.html
สืบค้นวันที่ 6 พฤศจิกายน 2565
โดยมี นางสาวเขมิกา เทพสุข เป็นผู้รับผิดชอบ
🌜อ้างอิง : ไม่ปรากฏนามผู้เขียน“ละครใน-บ้านรำไทย[ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก :
http://www.banramthai.com/html/lakhon3.html
.
สืบค้นวันที่ 6 พฤศจิกายน 2565
โดยมี นางสาวเขมิกา เทพสุข เป็นผู้รับผิดชอบ
บุคคลสำคัญ
🧑🦰🧑เจ้าฟ้ากุณฑลและเจ้าฟ้ามงกุฎ
เป็นพระธิดาของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ
และเจ้าฟ้าสังวาลย์ทั้งสองพระองค์มีความสามารถด้านการแต่งกลอนเป็นอย่างมาก เจ้าฟ้ากุณฑลคนพี่แต่งเรื่อง ดาหลัง ส่วนเจ้าฟ้ามงกุฎแต่งเรื่อง อิเหนา ทั้งดาหลัง และ อิเหนาได้รับความนิยมในราชสํานักอยุธยาเวลานั้นเป็นอย่างมากทรงแต่งต่อไปเรื่อยๆ จนเป็นเรื่องยาว
และยังนำหลายบทหลายตอนมา
จัดแสดงเป็นละครรำอีกด้วย
🌜อ้างอิง : พงศกร.“เจ้าฟ้ากุณฑล-เจ้าฟ้ามงกุฎ.” [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก :
https://anowl.co/anowlrod/readclassic/part43/
.
สืบค้นวันที่ 6พฤศจิกายน 2565
โดยมี นางสาวเขมิกา เทพสุข เป็นผู้รับผิดชอบ