Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การแสดงนาฏศิลป์พื้นบ้าน 4 ภาค, 571C062D-B608-41AA-9D1C-87BCDC6565FE,…
การแสดงนาฏศิลป์พื้นบ้าน 4 ภาค
ภาคใต้
ประวัติความเป็นมา
มโนราห์
"มโนราห์"คือ ศิลปะพื้นเมืองภาคใต้ โดยคำเรียก "มโนห์รา"เป็นคำที่เกิด ขึ้นมาในสมัยกรุงศรีอยุธยา จากการนำเอาเรื่อง ‘พระสุธน-มโนราห์’ มาแสดงเป็นละครชาตรี ส่วนประวัติความเป็นมาของกำเนิดของโนรานั้น นักโบราณคดีไทย ได้คาดการณ์กันว่า การร่ายรำประเภทนี้ ได้รับอิทธิพลมาศิลปะการแสดงประเทศอินเดียโบราณ เกิดขึ้นก่อนสมัยศรีวิชัย โดยมาจากพ่อค้าชาวอินเดียที่เดินทางมาค้าขายกับประเทศไทย โดยวิเคราะห์จากเครื่องดนตรี เรียกว่า ‘เบญจสังคีต’ อันประกอบด้วย โหม่ง , ฉิ่ง , ทับ , กลอง ,ปี่ และใน รวมถึงท่ารำที่ละม้ายคล้ายกับการร่ายรำของอิเดีย
ลักษณะการเเสดง
มีแม่บทท่ารำอย่างเดียวกับละครชาตรี บทร้องเป็นกลอนสด ผู้ขับร้องต้องใช้ปฏิภาณไหวพริบ สรรหาคำให้สัมผัสกันได้อย่างฉับไว มีความหมายทั้งบทร้อง ท่ารำและเครื่องแต่งกายเครื่องดนตรีประกอบด้วย กลอง ฉิ่งโหม่ง ปี่ชวา และกรับ ปัจจุบันพัฒนาเอาเข้าร่วมด้วย เดิมนิยมใช้ผู้ชายล้วนแสดง แต่ปัจจุบันมีผู้หญิงเข้าไปแสดงด้วย
องค์ประกอบในการร่ายรำและการแสดงโนรา
▪️โรง เวทีการแสดง
▪️ ผู้แสดงและลูกคู่ ผู้แสดงโนราแต่เดิมมีเพียง ๓ คน ปัจจุบันมีประมาณ ๑๕-๒๐ คน เนื่องจากนิยมแสดงจากนิยายสมัยใหม่ ต้องใช้ตัวประกอบมาก
▪️ เครื่องแต่งกาย จากตำนานโนราถือว่า เป็นเครื่องทรงที่ขุนศรีศรัทธาได้รับพระราชทานจากพระยาสายฟ้าฟาดจึงน่าจะเป็นเครื่องทรงของกษัตริย์ และมีลักษณะคล้ายกับกินนร หรือกินรี เครื่องแต่งกายประกอบด้วย เทริด หน้าพราน ผ้าห้อยหน้า ผ้าห้อยข้าง (ชายไหว ชายแครง) ผ้านุ่ง หางหงส์ กำไลมือหรือกำไลปลายแขน และเล็บมือซึ่งทำด้วยเงินหรือโลหะ
▪️ เครื่องดนตรี เครื่องดนตรีโนรารุ่นเก่า มีอยู่ ๕ ชิ้น คือ กลอง ซึ่งตามตำนานโนราเรียก "กลองสุวรรณเภรีโลก” ทับ คู่หนึ่ง ตามตำนานโนราเรียก "น้ำตาตก” กับ "นกเขาขัน” ทับที่เสียงทุ้มเรียกว่า "ลูกเทิง” เสียงแหลมเรียกว่า "ลูกฉับ” โหม่ง ๑ คู่ มีเสียงทุ้มกับเสียงแหลม ฉิ่ง ๑ คู่ กรับ ๑ อัน ปี่ ๑ เลา เป็นพวกปี่ไฉน
โอกาสที่แสดง:สามารถพบโนราได้ในงานทั่วไปทั้งงานมงคลเเละงานอวมงคล
ศิลปินแห่งชาติ
ผศ.ธรรมนิตย์ นิคมรัตน์
สาขา:ศิลปะการแสดง
สาขาย่อย:การแสดงพื้นบ้านมโนราห์
ผลงาน:ได้รับการคัดเลือกเพื่อยกย่องเชิดชูเกียรติศิลปินแห่งชาติประจำปี2564จากกระทรวงวัฒนธรรม ในฐานะผู้มุ่งมั่นสืบสานศิลปะและวัฒนธรรมการรำมโนราห์และถ่ายทอดศาตร์ส่งเยาวชนรุ่นหลัง
อ้างอิง
https://www.historicaldance.com/สืบค้นวันที่
14 พฤศจิกายน 2565
https://www.m-culture.go.th/สืบค้นวันที่
14 พฤศจิกายน 2565
https://youtube.be/QdpJg9nYAMw?t=49
สืบค้นวันที่ 14พฤศจิกายน 2565
จัดทำโดย
นายศักดิ์ขรินทร์ อ่อนรักษ์ เลขที่7
น.ส.ปาลิตา หมิกใจดี เลขที่22
ม.4/9
ภาคเหนือ
อ้างอิง
https://monkey2kblog.wordpress.com/สืบค้นวันที่
15 พฤศจิกายน 2565
https://chananrog2015.wordpress.com/สืบค้นวันที่
15 พฤศจิกายน 2565
https://www.wikiwand.com/th
สืบค้นวันที่ 15 พฤศจิกายน 2565
เครื่องดนตรี
มีปีแน กลองแอว์ กลองตะโล้ดโป๊ด ฉาบใหญ่ ฆ้องโหม่ง และฆ้องหุ่ย
ประวัติความเป็นมา
ฟ้อนเทียน
เดิมคงเป็นการฟ้อนสักการบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ต่อมาแสดงในงานพิธีสำคัญในคุ้มเจ้าหลวง ผู้ฟ้อนเป็นเจ้านายเชื้อพระวงศ์ฝ่านใน เมื่อ พ.ศ.2469 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จประพาสเมืองเหนือ เจ้าดารารัศมีทรงฝึกหัดสาวเหนือฟ้อนรับเสด็จและครูนาฏศิลป์ของกรมศิลปากรได้นำมาสอนในวิทยาลัยนาฏศิลป์ต่อมา
โอกาสที่แสดง
ในงานพระราชพิธี หรือวันสำคัญทางศาสนา ต้อนรับแขกบ้านแขกเมืองชาวต่างชาติ และในงานประเพณีสำคัญตามแบบฉบับของชาวล้านนา
เครื่องแต่งกาย
นุ่งซิ่นยาวกรอม สวมเสื้อแขนยาว คอปิด คาดเข็มขัดทับ ห่มสไบ เกล้าผมมวยสูง ประดับดอกไม้ล้อมมวย ห้อยอุบะยาวเคลียไหล่ ถือเทียนมือละเล่ม
ศิลปินแห่งชาติ
นายมานพ ยาระนะ
สาขาศิลปะการแสดง ผู้เชี่ยวชาญด้านศิลปะการฟ้อน ศิลปะล้านนาหลายแขนง
ผลงานที่ได้รับ: ▪️เป็นผู้ประดิษฐ์ท่าการแสดงชุด ฟ้อนขันดอก เพื่อเป็นการฟ้อนรำบูชาพระรัตนตรัย ให้บังเกิดความสงบร่มเย็นแก่บ้านเมือง
▪️ได้รับการยกย่องให้เป็นศิลปินเเห่งชาติ สาขาประกอบการแสดง ประจำปี2548
ลักษณะการแสดง
ผู้ฟ้อนเป็นหญิงล้วนถือเทียนจุดเทียนมือละเล่ม นิยมแสดงในเวลากลางคืน ความงามของการฟ้อนเทียนอยู่ที่แสดงเทียน เต้นระยิบระยับ ขณะที่ผู้ฟ้อนหมุนข้อมือและลีลาการเคลื่อนไหวช้าๆ เห็นแสงเทียนเดินเป็นทาง มีการแปรขบวน ควงคู่ สลับแถว เข้าวง ต่อเมื่อ ฯลฯ งดงามมาก
จัดทำโดย
น.ส.ญาณิศา แสงอำไพ เลขที่34 ม.4/9
ภาคกลาง
ประวัติความเป็นมา
เต้นกำรำเคียว
ประชาชนส่วนมากยึดอาชีพการทำนาเป็นหลัก หลังจากการเก็บเกี่ยวข้าวแล้ว ชาวนารู้สึกเหน็ดเหนื่อย และด้วยนิสัยรักความสนุก ประกอบกับการเป็นคนเจ้าบทเจ้ากลอนของคนไทยด้วย ก็ชักชวนกันผ่อนคลายความเมื่อยล้า ด้วยการตั้งวงเต้นกำรำเคียว การเล่นเต้นกำรำเคียวมักเริ่มเล่นเพลงเกี่ยวข้าวก่อนเสมอ เต้นกำรำเคียวเป็นการละเล่นพื้นบ้านที่เก่าแก่แบบหนึ่งของชาวชนบท
การเเต่งกาย
ทั้งของฝ่ายชายและฝ่ายหญิง คือ ชุดที่ใส่ในการทำนา ฝ่ายชายจะนุ่งกางเกงขาก๊วย และสวมเสื้อม่อฮ่อมสีดำหรือสีน้ำเงินเข้มมีผ้าขาวม้าคาดเอว สวมหมวกสานใบลาน ฝ่ายหญิงจะนุ่งโจงกระเบนสีดำ หรือโจงกระเบนผ้าลายก็ได้ และสวมเสื้อแขนกระบอกสีดำหรือสีน้ำเงินเข้ม สวมงอบ
ผู้เล่น
การเล่นเพลงเต้นกำรำเคียวนั้นผู้เล่นเป็นชาวบ้านที่มาเกี่ยวข้าว ไม่จำกัดจำนวน ชาย หญิง จะจับคู่เล่นกันเป็นคู่ๆ ประมาณ 5 คู่ ถึง 10 คู่
อุปกรณ์ในการเล่น
เคียวเกี่ยวข้าวคนละ 1 เล่ม พร้อมกับกำรวงข้าวคนละ 1 กำ
สถานที่เล่น
เล่นกันในท้องนาที่เกี่ยวข้าว หรือลานดินกว้างๆ ในท้องนา
วิธีการเล่น
จะมีผู้เล่นประมาณ ๕ คู่ แบ่งผู้เล่นเป็นสองฝ่าย ฝ่ายชายเรียกว่า พ่อเพลง ฝ่ายหญิงเรียกว่า แม่เพลง เริ่มด้วยพ่อเพลงร้องชักชวนแม่เพลงให้ออกมาเต้นกำรำเคียว โดยร้องเพลงและเต้นออกไปรำล่อฝ่ายหญิงและแม่เพลงก็ร้องและรำแก้กันไป ซึ่งพ่อเพลงแม่เพลงนี้อาจเปลี่ยนไปหลายๆคน ช่วยกันร้องจนจบเพลง ผู้ที่ไม่ได้เป็นพ่อเพลงแม่เพลงก็จะเป็นลูกคู่ ปรบมือและร้องเฮ้ เฮ้วให้จังหวะ
อ้างอิง
https://www.trueplookpanya.com/สืบค้นวันที่15
พฤศจิกายน 2565
http://www.banramthai.com/สืบค้นวันที่
15 พฤศจิกายน 2565
https://www.m-culture.go.th/สืบค้นวันที่
15 พฤศจิกายน 2565
ตัวอย่างเนื้อเพลงเต้นกำรำเคียว
เพลงมา
ชาย มากันเถิดนางเอย เอ๋ยรา แม่มามารึมา แม่มา (ซ้ำ) มาเถิดแม่นุชน้อง พี่จะเป็นฆ้องให้น้องเป็นปี่ ต้อยตะริดติ๊ดตอด น้ำแห้งน้ำหยอดที่ตรงลิ้นปี่ มาเถินะแม่มา มารึมาแม่มา มาเต้นกำย่ำหญ้ากันในนานี้เอย
หญิง มากันเถิดนายเอย เอ๋ยรา พ่อมามารึมา พ่อมา ฝนกระจายปลายนา แล้วน้องจะมาอย่างไรเอย
ศิลปินแห่งชาติ
นายคําหมา แสงงาม
สาขาทัศนศิลป์ (การปั้นแกะสลัก)
ผลงาน:▪️การบูรณะองค์พระธาตุพนม ซึ่งนายคําหมาได้ร่วมเดินทางไปกับคณะครูวิโรจน์โนบล ในขณะที่บวชเป็นสามเณร
▪️ออกแบบและก่อสร้างซุ้มประตูวัด กําแพงแก้ว ๔๕ แห่ง
จัดทำโดย
น.ส.กุลลดา ชูเอียด เลขที่32
น.ส.ชนากานต์ เหมือนพิมพ์ เลขที่33
ม.4/9
ภาคอีสาน
ประวัติความเป็นมา
เซิ้งโปงลาง
เรียกว่าโปงเพราะส่วนล่างปากของมันโตหรือพองออก ในสมัยโบราณชาวอีสานเวลาเดินทางไปค้าขายยังต่างแดน โดยใช้บรรทุกสินค้าบนหลังวัว ยกเว้นวัวต่างเพราะเป็นวัวที่ใช้นำหน้าขบวนผูกโปงลางไว้ตรงกลางส่วนบนของต่าง เวลาเดินจะเอียงซ้ายทีขวาทีสลับกันไป ทำให้เกิดเสียงดัง ซึ่งเป็นสัญญาณบอกให้ทราบว่าหัวหน้าขบวนอยู่ที่ใดและกำลังมุ่งหน้าไปทางไหนเพื่อป้องกันมิให้หลงทางส่วนระนาดโปงลางที่ใช้เป็นดนตรีปัจจุบันนี้พบมากที่จังหวัดกาฬสินธุ์ เรียกว่า “ขอลอ” หรือ “เกาะลอ” ดังเพลงล้อสำหรับเด็กว่า “หัวโปก กระโหลกแขวนคอตีขอลอดังไปหม่องๆ” ชื่อ “ขอลอ” ไม่ค่อยไพเราะจึงมีคนตั้งชื่อใหม่ว่า “โปงลาง”
การเล่นทำนอง
ดนตรีของโปงลางจะใช้ลายเดียวกันกับ แคน และพิณ ลายที่นิยมนำมาจัดท่าประกอบการฟ้อน เช่น ลายลมพัดพร้าว ลายช้างขึ้นภู ลายแม่ฮ้างกล่อมลูก ลายนกไซบินข้ามทุ่ง ลายแมงภู่ตอมดอก ลายกาเต้นก้อน เป็นต้น
เครื่องแต่งกาย
ใช้ผู้แสดงหญิงล้วนสวมเสื้อแขนกระบอกสีพื้น นุ่งผ้ามัดหมี่ใช้ผ้าสไบเฉียงไหล่ ผูกโบว์ตรงเอว ผมเกล้ามวยทัดดอกไม้
เครื่องดนตรี
ใช้ดนตรีพื้นเมืองอีสาน ลายโปงลางหรือลายอื่นๆ
โปงลาง แคน พิณ ซ่อ ฉาบ ฉิ่ง กลอง
อ้างอิง
https://sunareenan21.wordpress.com/สืบค้นวันที่
15 พฤศจิกายน 2565
https://www.m-culture.go.th/สืบค้นวันที่
15 พฤศจิกายน 2565
ศิลปินแห่งชาติ
นายทองมาก จันทะลือ
สาขาศิลปะการแสดง
สาขาย่อย การเเสดงพื้นบ้านหมอลำ
ผลงาน:ได้รับการยกย่องให้เป็นศิลปินแห่งชาติในปี พ.ศ. 2529 ด้านศิลปะการแสดง (หมอลำคนแรก)
จัดทำโดย
น.ส.กันยรัตน์ อินทจันทร์ เลขที่31 ม.4/9