Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
วิวัฒนาการของนาฏศิลป์และการละครไทย รัตนโกสินทร์ ร.1-ร.9, King_Buddha…
วิวัฒนาการของนาฏศิลป์และการละครไทย รัตนโกสินทร์ ร.1-ร.9
รัชกาลที่ 1
พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
วิวัฒนาการ
ในสมัยนี้พระองค์ทรงโปรดเกล้าฯ ให้รวบรวมตำรา การฟ้อนรำต่างๆ เป็นการบันทึกท่ารำแม่บทไว้ มีการปรับปรุงระบำสี่บท และมีการพัฒนาโขนให้มีรูปแบบการแสดงเหมือนละครใน โดยการนําละครในมาผสมผสานในการดำเนินเรื่อง เพิ่มบทร้อง และ ปรับปรุงเครื่องแต่งกายให้ผู้แสดงเปิดหน้าและสวมมงกุฎหรือชฎาเหมือนละครใน
บุคคลสำคัญ
๑. เจ้าฟ้ากรมหลวงพิทักษ์มนตรี
๒. เจ้าฟ้ากรมหลวงเทพบริรักษ์ : ผู้วางรากฐานละครใน
แหล่งอ้างอิง
อาจารย์ฐากูร สําราญพงษ์. (2558).
วิวัฒนาการของนาฏศิลป์ไทย
. สืบค้นเมื่อ 8 พฤศจิกายน 2565 , จาก
http://academic.obec.go.th/textbook/web/images/book/1004240_example.pdf
(น.ส.นลิน ชาญณรงค์ เลขที่ 36)
รัชกาลที่ 8
พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล
บุคคลสำคัญ
๑. คณะโขนละครของพระองค์เจ้าวัชรีวงศ์ (เจ้าขาว)
๒. คณะโขนละครของครูหมัน คงประภัศร์
วิวัฒนาการ
หลวงวิจิตรวาทการ อธิบดีของกรมศิลปาการ ได้ก่อตั้งโรงเรียนนาฏดุริยางคศาสตร์ขึ้นมา เพื่อป้องกันไม่ให้ศิลปะทางด้านนาฏศิลป์สูญหายไป ในสมัยนี้ได้เกิดละครวิจิตร ซึ่งเป็นละครปลุกใจให้รักชาติ และเป็นการสร้างแรงจูงใจให้คนไทยหันมาสนใจนาฏศิลป์ไทย และได้มีการตั้งโรงเรียนนาฏศิลป์แทนโรงเรียนนาฏดุริยางคศาสตร์ ซึ่งถูกทำลายตอนสงครามโลกครั้งที่ 2 เพื่อเป็นสถานศึกษานาฏศิลป์และดุริยางคศิลป์ของทางราชการ และเป็นการทำนุบำรุง เผยแพร่นาฏศิลป์ไทยให้เป็นที่ยกย่องนานาอารยประเทศ
แหล่งอ้างอิง
อาจารย์ฐากูร สําราญพงษ์. (2558).
วิวัฒนาการของนาฏศิลป์ไทย
. สืบค้นเมื่อ 11 พฤศจิกายน 2565 , จาก
http://academic.obec.go.th/textbook/web/images/book/1004240_example.pdf
(นาย อิทธิพัทธ์ อินทจักษ์ เลขที่ 20)
รัชกาลที่ 5
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
บุคคลสำคัญ
๑. พระราชชายา เจ้าดารารัศมี นาฏศิลป์ล้านนา
๒. หม่อมแสง แสดงเป็นจินตะหรา
๓. เจ้าพระยามหินทรศักดิ์ธำรง : ผู้เริ่มละครพันทาง
วิวัฒนาการ
ในสมัยนี้เกิดการพัฒนารูปแบบการแสดง นาฏศิลป์ไทยให้มีความทันสมัยมากขึ้น โดยเริ่มรับวัฒนธรรมจากตะวันตกมาพัฒนารูปแบบการแสดงละครของไทย เช่น ละครพันทาง ละครดึกดำบรรพ์ ละครร้อง ละครเสภา เกิดการประดิษฐ์ท่ารำประกอบการแสดงละครต่าง ๆ เช่น ระบำไก่ ประกอบการแสดงละครพันทางเรื่องพระลอ รูปแบบการแสดงมีความสมจริง มีการนำ ฉาก แสง สี เสียงมาประยุกต์ใช้
แหล่งอ้างอิง
อาจารย์ฐากูร สําราญพงษ์. (2558).
วิวัฒนาการของนาฏศิลป์ไทย
. สืบค้นเมื่อ 11 พฤศจิกายน 2565 , จาก
http://academic.obec.go.th/textbook/web/images/book/1004240_example.pdf
(นาย อิทธิพัทธ์ อินทจักษ์ เลขที่ 20)
รัชกาลที่ 9
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช - ปัจจุบัน
บุคคลสำคัญ
๑. สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ทรงมีพระราชเสาวนีย์
ให้จัดสร้างเครื่องแต่งกายโขน และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดแสดงโขนพระราชทาน
๓. ท่านผู้หญิงแผ้ว สนิทวงศ์เสนี
๒. ครูลมุล ยมะคุปต์
วิวัฒนาการ
สมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช :
โปรดเกล้าฯ ให้บันทึกภาพยนตร์สีส่วนพระองค์ บันทึกท่ารำหน้าพาทย์องค์พระพิราพ ท่ารำเพลงหน้าพาทย์ของพระนาง ยักษ์ ลิง โปรดเกล้าฯ ให้จัดพิธีไหว้ครูด้านนาฏศิลป์ไทย การแสดงนาฏศิลป์ การละคร การฟ้อนรำได้จัดอยู่ในความรับผิดชอบของรัฐบาล มีการส่งเสริมให้ผู้เชี่ยวชาญนาฏศิลป์ไทยคิดประดิษฐ์ท่ารำระบำชุดใหม่ ได้แก่ ระบำพม่า-ไทยอธิษฐาน ต่อมาเกิดระบำชุดพิเศษ ที่มีความหมายในการเจริญสัมพันธไมตรีกับต่างประเทศ เช่น ระบำจีน-ไทยไมตรี ระบำมิตรไมตรีญี่ปุ่น-ไทย
ปัจจุบันการแสดงนาฏศิลป์ทั้งประเภทระบำ รำ ฟ้อน และละคร มีรูปแบบการแสดงที่พัฒนามากขึ้น โดยกระบวนท่ารำยังคงรูปแบบมาตรฐานเดิม เครื่องแต่งกายมีทั้งแต่งกายยืนเครื่อง แต่งกายตามเชื้อชาติ แต่งกายเบ็ดเตล็ด มีการนำเทคโนโลยี เช่น ฉาก แสง สี เสียง มาใช้ประกอบการแสดงเพื่อให้สวยงามขึ้น หรือมีการประดิษฐ์ท่ารำ ระบำต่าง ๆ ที่เข้ากับเหตุการณ์ในปัจจุบัน
แหล้งอ้างอิง
อาจารย์ฐากูร สําราญพงษ์. (2558).
วิวัฒนาการของนาฏศิลป์ไทย
. สืบค้นเมื่อ 8 พฤศจิกายน 2565 , จาก
http://academic.obec.go.th/textbook/web/images/book/1004240_example.pdf
(นายปัณณวัตน์ ขวัญดี เลขที่ 22)
รัชกาลที่ 2
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
บุคคลสำคัญ
เจ้าจอมมาดาแย้ม
:girl::skin-tone-2:
เป็นธิดาของพระยาไกรเพ็ชรรัตนสงคราม (ทองดี) เธอเป็นศิษย์คนหนึ่งของสมเด็จพระสัมพันธวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจุ้ย กรมหลวงพิทักษ์มนตรี
เจ้าจอมมารดาแย้มจึง เป็นนางละครผู้มีชื่อในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ที่โดดเด่นจากแสดงเป็นอิเหนา จึงรับสมญาว่าแย้มอิเหนา
นางสัมพันธ์ พันธ์มณี
:woman::skin-tone-2:
ศิลปินผู้มีความรู้ความสามารถในด้านนาฏศิลป์ไทยเป็นอย่างสูง และเป็นผู้พยายาม อนุรักษ์ สืบสาน สร้างสรรค์งานนาฏศิลป์ไทยมาตลอดชีวิต
เป็นผู้ที่ได้รับการยกย่องเชิดชุเกียรติจากสถาบันการศึกษา คือการได้รับยกย่องเชิดชูเกียรติ ให้เป็น ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง
(นาฏศิลป์) ประจำปีพุทธศักราช 2542
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
👦🏻
พระองค์จะทรงทำนุบำรุงประเทศชาติในด้าน ศิลปะ วรรณคดี และสถาปัตยกรรมดังเป็นที่ปรากฎ วรรณคดีในสมัยของพระองค์รุ่งเรือง
ถึงขีดสุด และถือเป็นแบบฉบับอันยอดเยี่ยม
ไม่ว่าจะเป็นคำกลอน ละครนอกละครในเสภา นิราศ กาพย์ ฉันท์ ลิลิต โครงสี่สุภาพ หรือ โครงด้น ในทางนาฏศิลป ทรงปรับปรุงการละครจนถึงขั้นมาตรฐานทั้งในคำร้อง และทำนองรำ
วิวัฒนาการ
ทรงพระราชนิพนธ์บทละครไว้มากมาย เช่น อิเหนา สังข์ทอง ไกรทอง มณีพิไชย ไชยเชษฐ์ และ คาวี ทำให้สมัยนี้มีการฝึกหัดรำ ระบำ โขน ละคร รวมถึงปรับปรุงการแต่งกายในการแสดงเป็นแต่งกายยืนเครื่อง
เป็นยุคทองของนาฏศิลป์ไทยโดยเฉพาะการแสดงละคร เนื่องจากพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทรงโปรดปรานละครรำเป็นอย่างมาก
แหล่งอ้างอิง
อาจารย์ฐากูร สําราญพงษ์. (2558).
วิวัฒนาการของนาฏศิลป์ไทย
. สืบค้นเมื่อ 8 พฤศจิกายน 2565 , จาก
http://academic.obec.go.th/textbook/web/images/book/1004240_example.pdf
( นางสาว จริงใจ วรพงศ์ เลขที่ 31 )
มูลนิธิ ร.2. (2564).
อุทธยาน ร.2
. สืบค้นเมื่อ 8 พฤศจิกายน 2565 , จาก
http://kingrama2found.or.th/?p=106
( นางสาว จริงใจ วรพงศ์ เลขที่ 31 )
รัชกาลที่ 4
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
วิวัฒนาการ
ในสมัยนี้ทรงให้มีละครรำผู้หญิงในราชสำนักตามแบบเดิมและเอกชน ให้มีการแสดงละครได้ทั้งชายและหญิง และเกิดการแสดงรำเบิกโรง ชุดรำกิ่งไม้เงิน-ทอง เกิดละครประเภทใหม่ คือ ละครออกภาษา (ละครพันทางในปัจจุบัน)
พระบามสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สมัยนั้นได้เริ่มมีการติดต่อกับชาวต่างชาติ โดยเฉพาะชาวยุโรปบ้างแล้ว พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรงโปรดเกล้าฯ ให้ฟื้นฟูละครหลวงขึ้นอีกครั้งนึง พร้อมทั้งออกประกาศสำคัญเป็นผลให้การละครไทยขยายตัวอย่างกว้างขวาง
บุคคลสำคัญ
💗 เจ้าจอมมารดาวาด แสดงเป็นอิเหนา พระเอกเรื่อง อิเหนา เล่นได้ดีเยี่ยมจนพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวตรัสเรียกว่า "แมวอิเหนา" ต่อมาจึงได้เข้าถวายตัวเป็นเจ้าจอมในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงเปลี่ยนชื่อเป็นวาด
✏️ นายคุ้ม แสดงเป็นพระราม
🖍️ นายบัว แสดงเป็นทศกัณฐ์
แหล่งอ้างอิง
อาจารย์ฐากูร สําราญพงษ์. (2558).
วิวัฒนาการของนาฏศิลป์ไทย
. สืบค้นเมื่อ 8 พฤศจิกายน 2565 , จาก
http://academic.obec.go.th/textbook/web/images/book/1004240_example.pdf
( นางสาว จริงใจ วรพงศ์ เลขที่ 31 )
นางสาว พรรษชล ศิริพันธ์. (2559).
บุคคลสำคัญสมัยรัตนโกสินทร์ในรัชกาลที่ 4
. สืบค้นเมื่อ8 พฤศจิกายน 2565, จาก
https://sites.google.com/site/dramaticarttuppschool/home
( นางสาว จริงใจ วรพงศ์ เลขที่ 31 )
รัชกาลที่ 7 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
วิวัฒนาการ
โปรดให้มีการจัดตั้งศิลปากรขึ้นแทนกรมมหรสพที่ถูกยุบไป ทำให้ศิลปะโขน ละคร ระบำ รำ ฟ้อน ยังคงปรากฏอยู่ เพื่อเป็นแนวทางในการอนุรักษ์และพัฒนาสืบต่อไป
บุคคลสำคัญ
๓. หลวงวิจิตรวาทการ : อธิบดีคนแรกของกรมศิลปากร
๒. เจ้าพระยาวรพงศ์พิพัฒน์ จัดตั้งกองมหรสพ
๑. เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี : ผู้วางรากฐานก่อตั้งโรงเรียนนาฏดุริยางคศาสตร์
แหล่งอ้างอิง
อาจารย์ฐากูร สําราญพงษ์. (2558).
วิวัฒนาการของนาฏศิลป์ไทย
. สืบค้นเมื่อ 11 พฤศจิกายน 2565 , จาก
http://academic.obec.go.th/textbook/web/images/book/1004240_example.pdf
(นาย อิทธิพัทธ์ อินทจักษ์ เลขที่ 20)
รัชกาลที่ 3
พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
บุคคลสำคัญ
๒. นายเกษ แสดงเป็นพระราม (ครูผู้ฝึก)
๑. หม่อมแย้ม แสดงเป็นอิเหนา
๓. กรมหลวงรักษ์รณเรศ ทรงมีคณะละครผู้ชายจัดแสดงเรื่อง อิเหนา บทพระราชนิพนธ์ของรัชกาลที่ ๑
๔. พระองค์เจ้าทินกร ทรงมีคณะละครผู้ชายและทรงแต่งบทละครนอกหลายเรื่อง
วิวัฒนาการ
ในสมัยนี้ทรงให้มีการยกเลิกละครหลวง จึงทำให้การแสดงนาฏศิลป์ไทยมีมากขึ้นในประชาชนทั่วไป ทำให้เกิดการแสดงของเอกชนขึ้นมากมาย อีกทั้งก่อให้เกิดศิลปินที่มีความสามารถและเป็นผู้สืบทอดการแสดงให้เป็นแบบแผนต่อมา
แหล่งอ้างอิง
อาจารย์ฐากูร สําราญพงษ์. (2558).
วิวัฒนาการของนาฏศิลป์ไทย
. สืบค้นเมื่อ 8 พฤศจิกายน 2565 , จาก
http://academic.obec.go.th/textbook/web/images/book/1004240_example.pdf
(น.ส.นลิน ชาญณรงค์ เลขที่ 36)
รัชกาลที่ 6
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
บุคคลสำคัญ
๑. พลเอกเจ้าพระยารามราฆพ แสดงเป็นพระราม
๓. สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจุฑาธุชธราดิลก ทรงจัดแสดงละครดึกดำบรรพ
๒. สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าอัษฎางค์เดชาวุธ
คณะละครวังสวนกุหลาบ
วิวัฒนาการ
ในสมัยนี้นาฏศิลป์ไทยถือว่าเจริญรุ่งเรืองขึ้นมาก เนื่องจากพระองค์ทรงโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งกรมมหรสพขึ้น ให้มีการทำนุบำรุงศิลปะการแสดง และดนตรีไทยให้มีระเบียบแบบแผนขึ้น และยังทรงเป็นบรมครูของเหล่าศิลปิน ทรงพระราชนิพนธ์บทโขน ละคร ฟ้อนรำไว้เป็นจำนวนมาก เช่น พระร่วง ศกุนตลา ท้าวแสนปม และหัวใจนักรบ
แหล่งอ้างอิง
อาจารย์ฐากูร สําราญพงษ์. (2558).
วิวัฒนาการของนาฏศิลป์ไทย
. สืบค้นเมื่อ 8 พฤศจิกายน 2565 , จาก
http://academic.obec.go.th/textbook/web/images/book/1004240_example.pdf
(นายปัณณวัตน์ ขวัญดี เลขที่ 22)