Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
✦ — ละครที่พัฒนาขึ้นใหม่🕯️🫧, 25A42BC6-FD84-44E0-97D9-8607B9885314,…
✦ — ละครที่พัฒนาขึ้นใหม่🕯️🫧
☆ ละคร (น.) หมายถึง การแสดงเรื่องราวโดยมีตัวละครต่างดำเนินเรื่องมีผูกเหตุหรือการผูกปมของเรื่อง
☆ ละครที่พัฒนาขึ้นใหม่ คือ การแสดงเรื่องราวโดยมีตัวละครต่างดำเนินเรื่องมีผูกเหตุหรือการผูกปมของเรื่อง โดยมีการปรับปรุง พัฒนา เพื่อให้ทันสมัยขึ้น ไม่มีการรำมาเกี่ยวข้อง และได้รับอิทธิพลมาจากตะวันตก โดยแบ่งเป็น 3 ประเภทคือ
ละครร้อง ละครพูด และละครสังคีต
𓈈 อ้างอิง 𓈈
ครูเก๋, ประเภทของนาฏศิลป์ไทย.
http://chumhed.go.th/public/webboard/data/listcomment/forum_id/3/topic_id/26/page/1/menu/329
. 2563. สืบค้นเมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน 2565
ประเภทของละครไทย ละครที่ไม่ใช่ละครรำ.
http://tecs4.com/intranet/course/detail-user.php?id=66
. 2562. สืบค้นเมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 2565
✿ ผู้รับผิดชอบ ✿
นางสาวใบหยก สุวรรณโรจน์ เลขที่ 33 ชั้นม.4/7
⭐️ — ละครร้อง ˊˎ -
❤︎ ความหมาย ❤︎
ละครแบบหนึ่ง กำเนิดขึ้นในตอนปลายรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้รับอิทธิพลจากละครแบบยุโรป ตัวละครร้องเพลงเอง ในการดำเนินเรื่องตลอดทั้งเรื่อง
❤︎ ประเภท ❤︎
แบ่งออกเป็น 2 ประเภท
𓄲 ละครร้องสลับพูด
ในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์
𓄲 ละครร้องล้วนๆ
ในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชเจ้าฟ้ามหาวชิราวุธสยาม
มกุฎราชกุมาร
❤︎ ผู้แสดง ❤︎
𓄲 ละครร้องสลับพูด : ใช้ผู้หญิงแสดงล้วน ยกเว้นตัวตลกหรือจำอวดที่เรียกว่า “ตลกตามพระ” ซึ่งใช้ผู้ชายแสดง มีบทเป็นผู้ช่วยพระเอกแสดงบทตลก
𓄲 ละครร้องล้วน ๆ :ใช้ผู้ชาย และผู้หญิงแสดงจริงตามเนื้อเรื่อง
❤︎ เรื่องที่แสดง ❤︎
𓄲 ละครร้องสลับพูด : ตุ๊กตายอดรัก ขวดแก้วเจียระไน เครือณรงค์ กากี
𓄲 ละครร้องล้วน ๆ : เรื่องสาวิตรี
❤︎ การแต่งกาย ❤︎
แต่งตามท้องเรื่อง คำนึงถึงฐานะของตัวละคร
❤︎ ลักษณะการแสดง ❤︎
𓄲 ละครร้องสลับพูด : มีทั้งบทร้อง และบทพูด ยึดถือการร้องเป็นส่วนสำคัญ บทพูดเจรจาสอดแทรกเข้ามาเพื่อทวนบทที่ตัวละครร้องออกมา
𓄲 ละครร้องล้วน ๆ : ตัวละครขับร้องโต้ตอบกัน และเล่าเรื่องเป็นทำนองแทนการพูดดำเนินเรื่องด้วยการร้องเพลงล้วน ๆ ไม่มีบทพูดแทรก มีเพลงหน้าพาทย์ประกอบกิริยาบถของตัวละคร
❤︎ ดนตรี ❤︎
𓄲 ละครร้องสลับพูด : บรรเลงด้วยวงปี่พาทย์ไม้นวมหรืออาจใช้วงมโหรีประกอบ ในกรณีที่ใช้แสดงเรื่องเกี่ยวกับชนชาติอื่น ๆ
𓄲 ละครร้องล้วน ๆ : บรรเลงด้วยวงปี่พาทย์ไม้นวม
❤︎ เพลงร้อง ❤︎
𓄲 ละครร้องสลับพูด : ใช้เพลงชั้นเดียวหรือเพลง 2 ชั้น ในขณะที่ตัวละครร้องใช้ซออู้คลอตามเบา ๆ เรียกว่า “ร้องคลอ”
𓄲 ละครร้องล้วน ๆ : ใช้เพลงชั้นเดียวหรือเพลง 2 ชั้น ที่มีลำนำทำนองไพเราะ
𓈈 อ้างอิง 𓈈
ประเภทของละครไทย ละครที่ไม่ใช่ละครรำ.
http://tecs4.com/intranet/course/detail-user.php?id=66
. 2562. สืบค้นเมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 2565
ละครร้อง.
https://www.baanjomyut.com/library/ancient_drama/03.html
. สืบค้นเมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 2565
✿ ผู้รับผิดชอบ ✿
นางสาวณัฐกานต์ มุ้ยท้องคุ้ง เลขที่ 37 ชั้นม.4/7
https://youtu.be/fOJF4EmGn7E
⭐️ — ละครพูดˊˎ -
❤︎ ความหมาย ❤︎
การแสดงที่ตัวละครพูดโต้ตอบกันพร้อมท่าทาง ไม่มีการใช้ดนตรี การขับร้อง หรือการรำประกอบ
❤︎ ประเภท ❤︎
แบ่งเป็น 3 ประเภทคือ
🫧 ละครพูดล้วน ๆ หรือละครพูดแบบร้อยแก้ว
🫧 ละครแบบร้อยกรอง
🫧 ละครพูดสลับลำ
❤︎ ผู้แสดง ❤︎
𓄲 ละครพูดล้วน ๆ สมัยโบราณใช้ผู้ชายแสดงล้วนต่อมานิยมผู้แสดงชายจริงหญิงแท้
𓄲 ละครพูดแบบร้อยกรอง ใช้ผู้แสดงทั้งชายและหญิง
𓄲 ละครพูดสลับลำ ใช้ผู้แสดงทั้งชายและหญิง
❤︎ เรื่องที่แสดง ❤︎
𓄲 ละครพูดล้วน ๆ เรื่องที่แสดงเรื่องแรก คือ เรื่อง “โพงพาง” เรื่องต่อมาคือ “เจ้าข้า สารวัด!” 𓄲 ละครพูดแบบร้อยกรอง เรื่องเวนิชวาณิช พระร่วง มัทนะพาธา
𓄲 ละครพูดสลับลำ เรื่องชิงนาง และปล่อยแก่
❤︎ การแต่งกาย ❤︎
𓄲 ละครพูดล้วน ๆ แต่งกายตามสมัยนิยม เนื้อเรื่องโดยคำนึงถึงสภาพความเป็นจริงของตัวละคร
𓄲 ละครพูดแบบร้อยกรอง แต่งให้เหมาะสมถูกต้องตามบุคลิกของตัวละคร และยุคสมัยที่บ่งบอกไว้ในบทละคร
𓄲 ละครพูดสลับลำ แต่งกายตามท้องเรื่อง
❤︎ ลักษณะการแสดง ❤︎
𓄲 ละครพูดล้วน ๆ ดำเนินเรื่องด้วยวิธีพูด ใช้ท่าทางแบบสามัญชนประกอบ การพูดที่เป็นธรรมชาติ
𓄲 ละครพูดแบบร้อยกรอง ดำเนินเรื่องด้วยวิธีพูดที่เป็นคำประพันธ์ มีวิธีอ่านออกเสียงปกติเหมือนละครพูดร้อยแก้ว แต่มีจังหวะวรรคตอนเน้นสัมผัส ตามชนิดของคำประพันธ์
𓄲 ละครพูดสลับลำ ยืดถือบทพูดมีความสำคัญในการดำเนินเรื่องแต่เพียงอย่างเดียวบทร้องแทรกเพื่อเสริมความ ย้ำความ ประกอบเรื่อง
❤︎ ดนตรี / เพลงร้อง ❤︎
𓄲 ละครพูดล้วน ๆ บรรเลงโดยวงดนตรีสากลหรือปี่พาทย์ไม้นวม บรรเลงประกอบเฉพาะเวลาปิดฉากเท่านั้น
𓄲 ละครพูดแบบร้อยกรอง บรรเลงดนตรีคล้ายกับละครพูดล้วน ๆ
𓄲 ละครพูดสลับลำ บรรเลงดนตรีคล้ายกับละครพูดล้วน ๆ มีเพลงร้องเป็นบางส่วน
𓈈 อ้างอิง 𓈈
ละครพูด.
https://www.baanjomyut.com/library/ancient_drama/04.html
. สืบค้นเมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 2565
✿ ผู้รับผิดชอบ ✿
นางสาวธนพร มะโร เลขที่ 28 ชั้นม.4/7
⭐️ — ละครสังคีตˊˎ -
❤︎ ความหมาย ❤︎
ละครที่มีทั้งบทพูดและบทร้องเป็นส่วนสำคัญเสมอ จะตัดอย่างใดอย่างหนึ่งออกไม่ได้ เป็นละครที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงริเริ่มขึ้น โดยมีวิวัฒนาการจากละครพูดสลับลำ ต่างกันที่ละครสังคีตมีบทสำหรับพูด และบทสำหรับตัวละครร้องในการดำเนินเรื่องเท่าๆ กั
❤︎ ผู้แสดง ❤︎
ใช้ผู้ชายและผู้หญิงแสดงจริงตามเนื้อเรื่อง
❤︎ การแต่งกาย ❤︎
แต่งตามสมัยนิยม คำนึงถึงสภาพความเป็นจริงของฐานะตัวละครตามเนื้อเรื่อง และความงดงามของเครื่องแต่งกาย
❤︎ เรื่องที่แสดง ❤︎
นิยมแสดงบทพระราชนิพนธ์ใน พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว มี 4 เรื่อง ได้แก่ เรื่องหนามยอกเอาหนามบ่ง ทรงเรียกว่า "ละครสลับลำ" เรื่องวิวาหพระสมุทร ทรงเรียกว่า "ละครพูดสลับลำ" เรื่องมิกาโดและวั่งตี่ ทรงเรียกว่า "ละครสังคีต"
❤︎ การแสดง ❤︎
มุ่งหมายที่ความไพเราะของเพลง ตัวละครจะต้องร้องเองคล้ายกับละครร้อง แต่ต่างกันที่ละครร้องดำเนินเรื่องด้วยบทร้อง การพูดเป็นเจรจาทวนบท ส่วนละครสังคีตมุ่งบทร้องและบทพูดเป็นหลักสำคัญในการดำเนินเรื่อง เป็นการแสดงหมู่ที่งดงาม ในการแสดงแต่ละเรื่องจะต้องมีบทของตัวตลกประกอบเสมอ และมุ่งไปในทางสนุกสนาน
❤︎ ดนตรี ❤︎
บรรเลงด้วยวงปี่พาทย์ไม้นวม
❤︎ เพลงร้อง ❤︎
ใช้เพลงชั้นเดียวหรือเพลง 2 ชั้น มีลำนำที่ไพเราะ
𓈈 อ้างอิง 𓈈
ละครสังคีต.
https://sites.google.com/site/munoka001/nad-ysaphth/lakhr-5
. 2554. สืบค้นเมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 2565
ละครสังคีต.
https://www.kroobannok.com/1369
. 2551. สืบค้นเมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 2565
✿ ผู้รับผิดชอบ ✿
นางสาวศิริรัตน์ จิตกาวิน เลขที่ 42 ชั้นม.4/7
https://youtu.be/GCFtT_Dp5QU
👥 — บุคคลสำคัญ
👥 ครูอาคม สายาคม 👥
ชื่อ : ครูอาคม สายาคม เดิมชื่อ บุญสม
วัน/เดือน/ปีเกิด : 26 ตุลาคม พ.ศ. 2460
❤︎ ผลงานต่างๆ ❤︎
𓄲 ผลงานด้านการแสดง : แสดงเป็นตัวเอก เช่น พระราม อิเหนา พระร่วง พระอภัยมณี เป็นต้น
𓄲 ผลงานด้านประดิษฐ์ท่ารำ : ได้แก่ เพลงหน้าพาทย์ตระนาฏราช เพลงหน้าพาทย์โปรยข้าวตอก เพลงเชิดจีน เป็นต้น
𓄲 ผลงานด้านวิชาการ : เขียนคำอธิบายนาฏยศัพท์ บทความ เพลงพื้นเมือง เพลงหน้าพาทย์ เป็นต้น
𓄲 ผลงานด้านวิทยุกระจายเสียง : ตั้งคณะสายเมธี แสดงนิยายและบรรเลงในแบบดนตรีสากลและดนตรีไทย เป็นต้น
𓄲 ผลงานด้านภาพยนตร์ :
💽 แสดงภาพยนต์ เรื่องอมตาเทวี ของบริษัทละโว้ภาพยนต์ แสดงเป็นพระเอก
💽แสดงภาพยนต์ เรื่องไซอิ๋ว ของคณะปัญญาพล แสดงเป็นพระถังซำจั๋ง เป็นต้น
𓄲 ผลงานด้านกำกับเวที : กำกับการแสดงและการสอนโขนและละครเรื่องต่างๆ
👥 ลมุล ยมะคุปต์ 👥
ชื่อ : นางลมุล ยมะคุปต์ หรืออีกชื่อหนึ่งที่ศิษย์ทั้งหลายขนานนามให้ท่านด้วยความรักและเคารพคือ “คุณแม่ลมุล”
วัน/เดือน/ปีเกิด : 2 มิถุนายน พ.ศ.2448
❤︎ ผลงานต่างๆ ❤︎
𓄲 ผลงานด้านการแสดง : ท่านแสดงเป็นตัวเอกเกือบทุกเรื่อง เพราะมีฝีมือเป็นเยี่ยม เช่น พระสังข์ เขยเล็ก เจ้าเงาะ ซมพลา พระวิษณุกรรม พระอภัยมณี เป็นต้น
𓄲 ผลงานด้านการประดิษฐ์ท่ารำ : ที่ประดิษฐ์ให้กรมศิลปากรในฐานะผู้เชี่ยวชาญ เช่น รำแม่บทใหญ่ รำซัดชาตรี รำเถิดเทิง รำกิ่งไม้เงินทอง ระบำกลอง ระบำฉิ่ง ระบำนกยูง ระบำกฤดาภินิหาร ระบำชุมนุมเผ่าไทย เป็นต้น
𓈈 อ้างอิง 𓈈
บุคคลสำคัญในวงการนาฏศิลป์ไทย.
https://sites.google.com/site/bukhkhlsakhaynatsilpm4/bukhkhl-sakhay-khxng-natsilp-thiy/khru-lmul-yma-khup
. สืบค้นเมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 2565
✿ ผู้รับผิดชอบ ✿
นางสาวชุติมา ทองชนะ เลขที่ 32 ชั้นม.4/7
https://youtu.be/lUqBs7T9f1A