Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ภาวะน้ำคร่ำอุดกันหลอดเลือดในปอด (Pulmonary amniotic fluid embolism),…
ภาวะน้ำคร่ำอุดกันหลอดเลือดในปอด
(Pulmonary amniotic fluid embolism)
ความหมาย
เป็นภาวะที่มีน้ำคร่ำพลัดเข้าไปในกระแสเลือด ทำให้เกิดการอุดตันของหลอดเลือดดำเล็กๆในปอดและกระตุ้นให้เกิดการหดรัดตัวของหลอดเลือดในปอดอย่างรวดเร็วคล้ายปฏิกิริยาแพ้อย่างรุนแรง ทำให้เกิดภาวะล้มเหลวของระบบไหลเวียนโลหิต หัวใจและปอดหยุดทำงาน ระบบการแข็งตัวของเลือดถูกทำลายเป็นผลให้เกิดภาวะลิ่มเลือดกระจายทั่วไปในหลอดเลือด (Disseminated intravascular coagulation : DIC) ตกเลือดและเสียชีวิตในที่สุด
สาเหตุและพยาธิสภาพ ยังไม่ทราบแน่ชัด จากการศึกษาต้องมีองค์ประกอบ 3 องค์ประกอบ คือ
ถุงน้ำคร่ำแตกแล้ว
มีทางเปิดติดต่อกันของน้ำคร่ำกับเส้นเลือดดำมารดา
มดลูกมีการหดรัดตัว ทำให้เกิดความแตกต่างของแรงดันภายในโพรงมดลูกสูงพอที่จะดันให้น้ำคร่ำผ่านเข้าสู่กระแสเลือดดำของมารดา
เกณฑ์การวินิจฉัยตาม National Amniotic Fluid Embolus Registry
มีความดันโลหิตต่ำอย่างเฉียบพลัน หรือหัวใจหยุดเต้น (acute hypotension or cardiac arrest)
มีภาวะขาดออกซิเจนอย่างเฉียบพลัน (acute hypoxia) โดยมีอาการหอบ เขียว หยุดหายใจอย่างรวดเร็ว
มีภาวะความผิดปกติของการแข็งตัวของเลือดอย่างรุนแรง (consumptive coagulopathy)
เกิดอาการเจ็บครรภ์คลอด ทำคลอด ขูดมดลูก หรือภายใน 30 นาทีหลังคลอด
ไม่สามารถตรวจพบว่ามีโรคหรือภาวะอื่นที่ทำให้มีอาการเหล่านี้ได้
อาการและอาการแสดง
หนาวสั่น (chill)
เหงื่อออกมาก (Diaphoresis)
คลื่นไส้ วิตกกังวล พักผ่อนน้อย
หายใจลำบาก (Dyspnea) เกิดการหายใจล้มเหลวทันทีทันใดและมีการเขียวตามใบหน้าและตามตัว (cyanosis)
เกิดภาวะน้ำคั่งในปอด (Pulmonary edema)
เส้นเลือดที่หัวใจตีบ (cadiovascula collapse)
ความดันเลือดต่ำลงมาก (Hypotension)
ชัก
หมดสติและเสียชีวิตในเวลาต่อมา
ถ้าเกิดอาการนานกว่า 1 ชั่วโมง ผู้ป่วยยังมีชีวิตอยู่จะเกิดภาวะกลไกการแข็งตัวของเลือดสูญเสียไปและเกิดอาการตกเลือดอย่างรุนแรงตามมา
การแบ่งระยะของอาการและอาการแสดง
ระยะที่ 1 ภาวะไหลเวียนโลหิตล้มเหลว (hemodynamic collapse) ผู้คลอดจะเริ่มหายใจลำบาก แน่นหน้าอก เขียวตามปลายมือปลายเท้า ใบหน้าและลำตัว เกิดขึ้นแบบทันทีทันใด หัวใจและปอดหยุดทำงาน ตรวจพบความดันโลหิตต่ำ ชีพจรเร็ว อาจมีชักเกร็ง หมดสติ
ระยะที่ 2 ภาวะเลือดไม่แข็งตัว (coagulopathy) อาจพบมดลูกหดรัดตัวไม่ดี มีการตกเลือดหลังคลอด ตรวจพบเกร็ดเลือดต่ำ ระยะการแข็งตัวของเลือดยาวนาน
การวินิจฉัยโรค
ระบบหายใจล้มเหลว (respiratory distress)
อาการเขียว (cayanosis)
เส้นเลือดที่หัวใจหดเกร็ง (cardiovascula collapse)
เลือดออก
ไม่รู้สติ
การป้องกันภาวะน้ำคร่ำอุดกันหลอดเลือดในปอด
ขณะเจ็บครรภ์คลอดไม่คสรเร่งให้มดลูกหดรัดตัวถี่เกินไป
การเจาะถุงน้ำควรทำอย่างระมัดระวัง ไม่ให้โดนปากมดลูกเนื่องจากจะทำให้เส้นเลือดที่ปากมดลูกฉักขาดและจะทำให้น้ำคร่ำพลัดเข้าสู่กระแสเลือดได้
การระตุ้นการเจ็บครรภ์ในรายที่เด็กตายในครรภ์โดยใช้ oxitocin drip ควรทำอย่างระมัดระวัง ไม่ควรเจาะถุงน้ำก่อนปากมดลูดเปิดหมดเพื่อป้องกันไม่ให้น้ำคร่ำพลัดเข้าสู่กระแสเลือด
ไม่ควรกระตุ้นการเจ็บครรภ์โดยวิธีเลาะแยกถุงน้ำคร่ำ (stripping membrane) จากคอมดลูกเพราะจะทำให้เส้นเลือดดำบริเวณปากมดลูกด้านในฉีกขาดได้
ในรายที่มีภาวะรกเกาะต่ำ การตรวจภายในควรทำอย่างระวัดระวัง
ถ้าผู้คลอดเจ็บครรภ์มากเกินกำหนด ผู้คลอดได้พักน้อย ควรรายงานแพทย์
การรักษาภาวะน้ำคร่ำอุดกั้นทางเดินของปอด
หลอดเลือดแดงฝอยของปอดหดเกร็ง ระบบหายใจล้มเหลว ให้การรักษาโดยการช่วยฟื้นคืนชีพ ใส่ ET tube และให้ออกซิเจน ให้ยา Amminophyline 1 amp ผสมใน 50% giucose 50 ml IV pump ช้าๆเพื่อขยายหลอดลม
ความบกพร่องในการแข็งตัวของเลือดให้ Fresh blood เพื่อเพิ่ม Fibrinogen และ plasma ลดภาวะ Fibrinigen ในเลือดต่ำ และเพื่อเพิ่ม Blood volume ลดการเกิดหัวใจล้มเหลว เนื่องจากการขาดเลือดไปเลี้ยง
มดลูกอ่อนตัว ให้ยากระตุ้นการหดรัดตัวของมดลูก
การพยาบาล
ประเมินสภาพผู้คลอดหรือมารดาหลังคลอดอย่างใกล้ชิด สัญญาณชีพ ระดับการรู้สึกตัว การหดรัดตัวของมดลูก
จัดท่า Fowler's position
ให้ยาละเลือดตามแผนการรักษา
ให้ออกซิเจนผ่านทาง mask หรือ bag หรือทาง ET Tube
ระวังภาวะตกเลือดหลังคลอดเนื่องจากภาวะกลไกการแข็งตัวของเลือดสูญเสียไป
ช่วยเหลือแพทย์ในการช่วยฟื้นคืนชีพในรายที่เกิดหัวใจล้มเหลว
ส่งผู้คลอดไปดูแลต่อที่หอผู้ป่วยหนัก โดยใส่เครื่องช่วยหายใจใน 2 - 3 วันแรก เพื่อดูแลระบบหายใจและระบบไหลเวียนโลหิต
ถ้าผู้คลอดและบุตรเสียชีวิต ควรดูแลและให้กำลังใจกับครอบครัวผู้คลอด
นางสาวอรพรรณ จันทร์เหลา
C1 รหัสนักศึกษา 62102301140