Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การพยาบาลทารกที่คลอดเกินกำหนด, นางสาวอรพรรณ จันทร์เหลา C1 รหัสนักศึกษา…
การพยาบาลทารกที่คลอดเกินกำหนด
การตั้งครรภ์ที่มีอายุครรภ์ 42 สัปดาห์เต็ม (294 วัน) หรือมากกว่า โดยเริ่มนับจากวันแรกของประจำเดือนครั้งสุดท้าย (Last menstrual period :LMP)
สาเหตุยังไม่ทราบแน่ชัดแต่อาจเกิดจาก
ความผิดปกติหรือความไม่สมดุลของ H.ที่พบในทารกในครรภ์พิการบางอย่าง เช่น ทารกไม่มีกระโหลกศีรษะ ต่อมใต้สมองผิดปกติ ต่อมหมวกไตฝ่อ และการขาด Placental sulfatase defiency ทำให้การสร้าง H. เอสโทรเจนลดลง มารดาจึงไม่มีมีอาการเจ็บครรภ์คล
สาเหตุที่พบได้บ่อย
ประวัติประจำเดือนไม่แม่นยำ จึงทำให้คำนวนอายุครรภ์ผิด
มีประวัติการตั้งครรภ์เกินกำหนดมาก่อน
ตั้งครรภ์เป็นครั้งแรก (Nulliparity) ซึ่งพบได้มากกว่าครรภ์หลัง
BMI ก่อนการตั้งครร๓มากกว่า 25
ทารกในครรภ์มีความพิการ มีภาวะไม่มีสมองและกระโหลกศีรษะ มีภาวะต่อมหวกไตฝ่อ ทารกไม่มีต่อมใต้สมอง
ผลกระทบต่อการตั้งครรภ์
ต่อลูก
ในกรณีที่รกยังทำงานได้ปกติ ทารกจะเจริญเติบโตขึ้น ตัวโตคลอดยาก เสี่ยงต่อการทำสูติศาสตร์หัตถการ เช่น การผ่าคลอด การใช้เครื่องสุญญากาศช่อวยคลอด เป็นต้น
การเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ผิดปกติ (Abnormal fetal growth) ทารกในครรภ์โตช้า และทารกตัวโตกว่าปกติ
ภาวะคับขันหรือภาวะเครียด (Fetal distress)
ขี้เทาปนในน้ำคร่ำและการสำลักขี้เทา (Meconium staining and pulmonary sapiration)
มีความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตในครรภ์เพิ่มมากขึ้น
ปัญหาน้ำคร่ำน้อย (oligohydramnios)
ปัญหารกเสื่อม (Placental dysfunction)
ต่อมารดา
มีโอกาสตกเลือดหลังคลอดได้มากกว่าครรภ์ปกติ
เสี่ยงที่จะผ่าคลอดเนื่องจากทารกในครรภ์มีขนาดตัวใหญ่กว่าปกติ
ทารกตัวใหญ่ส่งผลให้ช่องทางคลอดฉีกขาดขณะคลอดได้
การตรวจติดตามสุขภาพทารกในครรภ์ก่อนกำหนด
Non stress test (NST)
Biophysical profile (BPP) หรือ Modified BPP
Contraction stress test (CST)
การวัดปริมาณน้ำคร่ำด้วยการตรวจคลื่นความถี่สูง (Ultrasound)
การชักนำการคลอด
ความพร้อมของปากมดลูก (Cervical ripening)
Bishop scoer ได้น้อยกว่า 7 จะถือว่าปากมดลูกยังอยู่ในสภาวะไม่เหมาะสมต่อการชักนำการคลอด
การเซาะแยกถุงน้ำคร่ำ (Sweeping or stripping of the membrane)
การใช้ยา Prostaglandin ACOG 2004 แบบ gel
การใช้ Balloon catheter สอดทางช่องคลอด
การเจาะถุงน้ำคร่ำ (amniotomy)
การให้ยา Oxitocin ทางกระแสเลือด
การทำให้มดลูกมีการหดรัดตัวอย่างมีประสิทธิภาพ และปากมดลูกนุ่ม บางลงและถ่างขยาย
ลักษะทารกที่คลอดจากครรภ์ที่เกินกำหนด
ผิวหนังแห้งแตก เหยี่ยวย่น หลุดลอก
มีขี้เทาเคลือบติดตามตัว
มีรูปร่างผอม ลักษะขาดสารอาหาร แต่ตื่นตัว
หน้าตาดูแก่กว่าเด็กทั่วไป เล็บยาว
แนวทางการรักษา
กลุ่มที่ทราบอายุครรภ์แน่นอน
เมื่ออายุครรภ์ 41 สัปดาห์เต็ม
ไม่มีภาวะแทรกซ้อน ให้เริ่มตรวจติดตามสุขภาพทารกในครรภ์ สัปดหา์ละ 2 ครั้ง โยใช้การตรวจด้วย NST หรือ BPP และการวัดปริมาณน้ำคร่ำ
ถ้ามีภาวะแทรกซ้อน ให้ชักนำการคลอดเมื่อปากมดลูกมีความพร้อม
เมื่ออายุครรภ์ 42 สัปดาห์เต็ม
ให้ชักนำการคลอด ประมาณร้อยละ 90 จะเข้าสู่ระยะคลอดภายใน 2 วัน แต่ถ้าการชักนำการคลอดครั้งแรกล้มเหลว ให้เริ่มชักนำครั้งที่ 2 ภายใน 3 ันถัดมา แต่ถ้ายังไม่คลอด สามารถเลือกระหว่างชักนำการคลอดครั้งที่ 3 หรือผ่าท้องทำคลอด
กลุ่มที่อายุครรภ์ไม่แน่นอน
ให้ตรวจติดตามสุขภาพทารกในครรภ์สัปดาห์ละ 1 ครั้ง ด้วย NST และการวัดปริมาณน้ำคร่ำ ถ้าพบว่า AFI น้อยกว่าหรือเท่ากับ 5 หรือลูกดิ้นลดลงให้ชักนำการคลอด
นางสาวอรพรรณ จันทร์เหลา
C1 รหัสนักศึกษา 62102301140