Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
Hernia - Coggle Diagram
Hernia
-
การรักษาโดยการผ่าตัด
การผ่าตัดแบบแผลเล็กด้วยวิธีการผ่าตัดผ่านกล้อง (laparoscopic surgery) หรือการใช้แขนกลช่วยผ่าตัดด้วยระบบดาวินชี (robotic–assisted da Vinci surgical system) โดยจะทำผ่านรูเล็กๆ ที่เจาะเข้าทางหน้าท้อง และทำการซ่อมแซมไส้เลื่อน
การผ่าตัดแบบเปิดหน้าท้อง (open surgery) ผู้ป่วยจะได้รับการระงับความรู้สึกโดยวิธีดมยาสลบหรือทำให้ชาเฉพาะที่ โดยแพทย์จะทำการผ่าบริเวณที่มีก้อนนูนเพื่อดันส่วนที่เคลื่อนออกมาให้กลับเข้าไปยังตำแหน่งเดิม แล้วเย็บซ่อมจุดที่อ่อนแอพร้อมใส่วัสดุสังเคราะห์ลักษณะคล้ายตาข่าย (surgical mesh) เพื่อเสริมความแข็งแรง แล้วจึงเย็บปิดแผล
การวินิจฉัย
การตรวจร่างกาย ซึ่งผู้ป่วยมักมีก้อนนูนที่คลำพบได้โดยเฉพาะขณะยืน ยกสิ่งของ หรือไอจามซึ่งแพทย์จะคลำพบก้อนเนื้อได้ง่ายขึ้น
สำหรับไส้เลื่อนชนิดที่มองเห็นไม่ชัดหรือคลำจากภายนอกไม่พบ อาจจำเป็นต้องใช้วิธีตรวจอื่นๆ เพิ่มเติม เช่น ในกรณีของไส้เลื่อนกระบังลม แพทย์อาจใช้วิธีส่องกล้องผ่านลำคอลงไปยังหลอดอาหาร และกระเพาะอาหารเพื่อให้เห็นภาพของอวัยวะภายใน หรือใช้วิธีตรวจอัลตราซาวด์ เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT Scan) และ MRI ในกรณีของไส้เลื่อนที่เกิดบริเวณช่องท้องและช่องเชิงกราน เป็นต้น
การพยาบาล
หลังผ่าตัด
- ประเมินความรู้สึกตัวผู้ป่วย
-วัดV/S ทุก 5 นาที 4 ครั้ง,ทุก 30 นาที 2 ครั้ง, ทุก 1 ชั่วโมง จนสัญญาณชีพอยู่ในเกณฑ์ปกติ
-
- ประเมินอาการเจ็บปวดแผลผ่าตัด และให้ยาแก้ปวดตามแผนการรักษา
- สังเกตอาการข้างเคียงของยาระงับความรู้สึก เช่น คลื่นไส้ อาเจียนปวดศีรษะ เป็นต้น
- ประเมินแผลผ่าตัดทุก 2 ชั่วโมงในวันแรก
- จัดท่านอนหงายราบ ตะแคงหน้าไปด้านใดด้านหนึ่งป้องกันการสำลักอาหารและน้ำ 6-12 ชั่งโมง
- หากหนาวสั่นใช้ผ้าห่มเพราะการไหลเลือดลดลง
-
-
- การฝึกการหายใจลึกหายใจเข้าช้าๆ ทางจมูกแล้วค่อยๆผ่อนลมหายใจออก ทำ 5 ครั้งทุก 1-2 ชั่วโมงเพื่อป้องกันปอดเแฟบและโรคแทรกซ้อนทางปอด
- การฝึกการไออย่างมีประสิทธิภพ ประกองแผลให้บริเวณแผลก่อนไอ เพื่อลดการกระทบกระเทือนแผลและลดความดันในช่องท้อง
สังเกตอาการชาขาทั้งสองข้าง ถ้าครบ 6 ชั่วโมงแล้วขายังไม่หายชา ต้องแจ้งแพทย์ เพราะอาจมีภาวะแทรกซ้อนทางระบบประสาท
- พลิกตะแคงตัวทุก 2 ชั่วโมง ใน 24 ชั่วโมงแรกเพื่อช่วยป้องกันการคั่งของหลอดเลือดดำอุดตันและอาการแทรกซ้อนในระบบทางเดินหายใจ
- ควรให้นั่งหรือยืนทันทีที่อาการดี เพื่อกระตุ้นให้ลำไส้ทำงานเร็วขึ้น ป้องกันภาวะท้องอืด ป้องกันปอดแฟบ และปอดอักเสบแนะนำให้ลุกนั่งช้าๆและหยุดพักก่อนยืน ประคองแผล หายใจลึกๆเพื่อลคความเจ็บปวดเมื่อยืน
-
-ให้กำลังใจผู้ป่วย อธิบายแผนการรักษาให้รับทราบเป็นระยะ เปิดโอกาสให้ซักถาม แนะนำแนวทางการดูแลตนเองที่ช่วยให้สภาพผู้ป่วยดีขึ้น
- ให้ครอบครัวมีส่วนร่วมพูดคุยให้กำลังใจผู้ป่วย
เมื่อกลับบ้าน
- ระวังไม่ให้แผลเปียกน้ำ จนกว่าจะตัดไหม ห้ามแกะ เกา บริเวณแผลเพื่อป้องกันแผลติดเชื้อ
- ขณะไอหรือจามให้ใช้ฝ่ามือ หรือผ้าหนานุ่มกดประคองแผลไว้
- เลี่ยงการเบ่งถ่ายอุจจาระ หรือปัสสาวะ
- ห้ามทำงานหนักหรือยกของหนักอย่างน้อย 3 เดือน เพราะจะทำใหกลับมาเป็นซ้ำ
- รับประทานอาหารที่มีประ โยชน์ให้ครบ 5 หมู่ และดื่มน้ำมากๆ เพื่อไม่ให้ท้องผูก
- งดการมีเพศสัมพันธ์อย่างน้อย 1 /2 - 2 เดือน
- แนะนำให้ใส่กางเกงในที่กระชับ เพื่อช่วยประคองแผล ลดความเจ็บปวด
- ถ้ามีอาการปวดแผลมาก ควรทานยาแก้ปวดตามแพทย์สั่ง และสังเกตอาการผิดปกติ
-
ความหมาย
Hernia คือภาวะที่มีการเคลื่อนหรือดันตัวของสำไส้ส่วนหนึ่งออกนอกช่องท้องในบริเวณที่กล้ามเนื้อผนังช่องท้องที่มีความบอบบางหรืออ่อนแอลง ไส้เลื่อนมีหลายชนิดแตกต่างกันไปตามจุดที่เกิด ทั้งขาหนีบ กระบังลม สะดือ หน้าท้อง ช่องเชิงกราน ฯลฯ
สาเหตุ
ไส้เลื่อนมีสาเหตุหลากหลาย อาจเกิดจากความบางหรืออ่อนแรงของกล้ามเนื้อผนังช่องท้องซึ่งอาจเป็นมาตั้งแต่กำเนิดหรือเกิดขึ้นในภายหลัง โดยต้นเหตุอาจมาจากแรงดันทำให้ผนังช่องท้องในจุดต่างๆ จนตึงและฉีกขาด อาจมาจากการออกกำลังกายหนักเกินไป โรคอ้วน การตั้งครรภ์ การไอบ่อยๆ จากโรคเรื้อรังอย่างโรคถุงลมโป่งพอง โรคหลอดลมอักเสบเรื้อรัง การเบ่งอุจจาระเนื่องจากท้องผูก การออกแรงยกของหนักบ่อยๆ
พยาธิสภาพ
ไส้เลื่อน มีพยาธิสภาพตามวามรุนแรงของการอุดกั้นในรายที่สามารถดันกลับเข้าไปที่เดิมได้ หรือมีลำไส้ไหลเลื่อนลงมาตุง พบก้อนบริเวณใดบริเวณหนึ่งของช่องท้อง หรือขาหนีบ เกิดจากผงหน้าท้อง บางตำแหน่งมีความอ่อนแอหรือหย่อนผิดปกติทำให้ลำไส้ที่อยู่ข้างใต้ไหลเลื่อนทะลักเข้าในบริเวณนั้นๆ และเกิดเป็นก้อนตุง