Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
AAA : Aortic Abdominal Aneurysm, ทำให้มีแรงดันกระทำต่อหลอดเลือดมากขึ้น,…
AAA : Aortic Abdominal Aneurysm
พยาธิสภาพ
ผนังหลอดเลือดแดงใหญ่เอออร์ตามีความยืดหยุ่นสูง
ขยายและหดตัวตามระดับความดันโลหิต
ทำให้ผนังหลอดเลือดอ่อนแอ
ผนังหลอดเลือดชั้นกลางเสียควมยืดหยุ่น
ส่วนมากจะอยู่ต่ำกว่า renal artery
ความหมาย
การโป่งพองเฉพาะจุดของหลอดเลือดแดงใหญ่ในข่องท้องอย่างถาวร โดยมีเส้นผ่าศูนย์กลางมากกว่า 1.5 เท่าของขนาดปกติ ซึ่งปกติจะมีขนาดประมาณ 2 เซนติเมตร
การรักษา
การผ่าตัดแบบใส่หลอดเลือดเทียมผ่านทางหลอดเลือดแดง (endovascular aortic aneurysm repair : EVAR)
โดยการใส่หลอดเลือดเทียมเข้าไปแทนส่วนของหลอดเลือดที่โป่งพอง เพื่อป้องกันการปริแตกของหลอดเลือด โดยส่วนหลอดเลือดที่โป่งพองยังคงอยู่ มีแต่หลอดเลือดเทียมจะทำหน้าที่แทน
ข้อดี คือ แผลผ่าตัดขนาดเล็กเหมาะสมกับผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูง / ใช้เวลาในการรักษาน้อยลง / มีโอกาสเสียเลือดหรือติดเชื้อขณะผ่าตัดน้อยกว่าการผ่าตัดแบบเปิด / เทคโนโลยีทันสมัยและภาวะแทรกซ้อนน้อย
แผลผ่าตัดจะทำบริเวณขาหนีบทั้งสองข้าง เพื่อสอดสายผ่านหลอดเลือดแดง femoral artery เข้าไปยังเอออร์ตาส่วนที่โป่งพองและคาหลอดเลือดเทียมไว้
ใช้ภาพ CTA เพื่อดูลักษณะทางกายภาพของ AAA ได้แก่ ขนาด ความยาว ความคดเคี้ยว มุมของ AAA และขนาดของ iliac และ femoral artery ควรจะโตกว่า 7-8 mm จึงจะสามารถสอด endovascular device เข้าไปได้
โดยใช้เส้นเลือด external iliac artery
การผ่าตัดแบบเปิด (open repair)
โดยการผ่าตัดเปิดเข้าไปตัดส่วนของหลอดเลือดที่เป็นพยาธิสภาพออกแล้วเย็บต่อหลอดเลือดเทียมเข้าไปแทน มีขั้นตอนการผ่าตัดซับซ้อนและสูญเสียเลือดมาก
กิจกรรมการพยาบาล
ผู้ป่วยมีความวิตกกังวลเนื่องจากกลัวเกี่ยวกับการผ่าตัด
กิจกรรมการพยาบาล
สร้างสัมพันธภาพกับผู้ป่วยแสดงท่าทีเห็นใจผู้ป่วย
ให้ข้อมูลเกี่ยวกับการผ่าตัดให้ผู้ป่วยเข้าใจตามความเหมาะสม ได้แก่ การผ่าตัด EVAR หรือการผ่าตัดแบบใส่หลอดเลือดเทียมผ่านทางหลอดเลือดแดง โดยแผลผ่าตัดจะทำบริเวณขาหนีบทั้งสองข้าง เพื่อสอดสาย ผ่านหลอดเลือดแดงเข้าไปยังเอออตาร์ส่วนที่โป่งพองและคาหลอดเลือดเทียมไว้ โดยหลอดเลือดที่โป่งพองยังคงอยู่ แต่หลอดเลือดเทียมจะ ทำหน้าที่แทน
เปิดโอกาสให้ผู้ป่วยซักถามในสิ่งที่สงสัยและยังไม่เข้าใจ
สอนวิธีการปฏิบัติตัวก่อนและหลังผ่าตัดเพื่อช่วยให้ผู้ป่วยมีความมั่นใจว่าร่างกายจะฟื้นตัวเร็วหลังจากผ่าตัด เช่น หลังผ่าตัดผู้ป่วยห้ามงอขาอย่างน้อย 6 ชั่วโมง และใช้ถุงทรายวางกดทับบริเวณขาหนีบ อย่างน้อย 2 ชั่วโมง เพื่อป้องกันการบวมและเป็นการกดห้ามเลือด ระยะเวลาพักฟื้นหลังผ่าตัดประมาณ 2-3 สัปดาห์ ควรอาบน้ำเมื่อแผลที่ขาหนีบแห้งดี การรับประทานอาหารควรหลีกเลี่ยงอาหารเค็ม โดยเฉพาะผู้ป่วยที่เป็นความดันโลหิตสูง เพราะอาจทำให้เกิดภาวะหลอดเลือดแดงส่วนอื่น โป่งพองได้
ให้ผู้ป่วยฝึกปฏิบัติการปฏิบัติตัวหลังผ่าตัดให้ถูกต้อง เช่น การหายใจ ลึก ๆ (Deep breathing) , การไอเพื่อขับเสมหะออกได้อย่างมีประสิทธิภาพ (Effective cough) เพื่อให้ผู้ป่วยมั่นใจว่าจะสามารถทำได้ซึ่งจะช่วย ลดความวิตกกังวลได้
1.ผู้ป่วยเสี่ยงต่อการเกิดภาวะหลอดเลือดแดงใหญ่ในช่องท้องปริแตกก่อนผ่าตัด
กิจกรรมการพยาบาล
แนะนำให้ผู้ป่วยห้ามคลำท้อง เคาะท้อง หรือออกแรงเบ่ง
ไอ จามที่รุนแรง เนื่องจากอาจจะเพิ่มแรงดันทำให้หลอดเลือดใหญ่ที่โปร่งพองในช่องท้องปริแตกได้ หากจะไอหรือจาม
ควรใช้มือประคองบริเวณท้อง
แนะนำให้ผู้ป่วยนอนพักอยู่บนเตียงและงดกิจกรรม
ควรให้นอนเหยียดขา ไม่งอขา
สังเกตอาการผิดปกติที่อาจแสดงถึงภาวะหลอดเลือดแดงใหญ่ในช่องท้องปริแตก ได้แก่ ปวดท้อง ปวดหลังและสีข้าง ปวดบริเวณหลอดเลือดที่มีการโป่งพอง เจ็บหน้าอก
ส่งเสริมการดูแลผู้ป่วยก่อนเข้ารับ
การผ่าตัด EVAR
กิจกรรมการพยาบาล
ประเมินสภาพร่างกายผู้ป่วยมีความสำคัญอย่างยิ่งเนื่องจากผู้ป่วย
เป็นผู้สูงอายุ การตรวจสภาพร่างกายทั่วไป เช่น ความดันโลหิตสูง
ชีพจร การตรวจการทำงานของหัวใจ ปอด และไต
การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจและรังสีของปอด
ตรวจหาปริมาณเม็ดเลือด โปรตีน อิเล็คโทรลัยต์ทและก๊าซใน
หลอดเลือดแดง เพื่อเป็นข้อมูลเปรียบเทียบก่อนการผ่าตัด
เตรียมพร้อมด้านจิตใจ โดยประคับประคองด้านจิตใจและ
ให้ความมั่นใจต่อผู้ป่วยว่าพยาบาลและแพทย์จะให้กานดูแลรักษา
และช่วยเหลือผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด
การเตรียมความสะอาดร่างกาย โดยทำความสะอาดบริเวณผิวหนังตั้งแต่ระดับราวนมถึงหัวหน่าวรวมถึงขาหนีบทั้งสองข้าง
เตรียมยา Cefazolin 1 gm V OR ฉีด เพื่อใช้ป้องกันการติดเชื้อ
ในผู้ป่วยที่เข้ารับการผ่าตัด
อาการและอาการแสดง
ส่วนใหญ่ไม่มีอาการหรืออาการแสดง อาจตรวจพบโดยบังเอิญจากการถ่ายภาพรังสีทรวงอก หรือมาด้วยโรคอื่น ๆ ที่ไม่ใช่โรคของหลอดเลือดซึ่งมักคลำพบก้อนเต้นได้ทางหน้าท้อง มีอาการเจ็บปวด รู้สึกปวดตุบ ๆ ในท้อง หรือมีอาการปวดหลังเรื้อรัง
การวินิจฉัย
เริ่มต้นจากการซักประวัติ และตรวจร่างกายโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เมื่อพบความผิดปกติในช่องท้องแพทย์จะส่งตรวจเพิ่มเติม โดยส่วนใหญ่ตรวจพบจากการเอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์ หรืออัลตร้าซาวน์ช่องท้องด้วยโรคอื่น และตรวจพบโรคนี้โดยบังเอิญ การตรวจทางห้องปฏิบัติการนี้นอกจากจะช่วยวินิจฉัยโรคแล้ว ยังสามารถบอกขนาดและตำแหน่งของเส้นเลือดแดงที่โป่งพองได้ด้วย ทำให้ช่วยในการวางแผนผ่าตัดได้ดียิ่งขึ้น
ข้อมูลผู้ป่วย
ชายไทยวัยสูงอายุ อายุ 74 ปี CC: ผู้ป่วยมาตามนัด F/U เพื่อทำการผ่าตัด EVAR PI : 1 ปีก่อน ผู้ป่วยตรวจร่างกายที่รพ.ใกล้บ้าน U/S พบก้อนบริเวณหน้าท้อง แพทย์จึงแนะนำให้ไปตรวจเพิ่มเติม หลังจากนั้นจึงไปทำ CT-scan ที่รพ.จุฬาภรณ์ พบว่าเส้นเลือดแดงโป่งพองขนาด 4 ซม. 1 ปีก่อน ผู้ป่วยตรวจร่างกายที่รพ.ใกล้บ้าน U/S พบก้อนบริเวณหน้าท้อง แพทย์จึงแนะนำให้ไปตรวจเพิ่มเติม หลังจากนั้นจึงไปทำ CT-scan ที่รพ.จุฬาภรณ์ พบว่าเส้นเลือดแดงโป่งพองขนาด 4 ซม. 3 วันก่อน ผู้ป่วยจึงขอย้ายมารักษาตามสิทธิที่รพ.นพรัตนราชธานี แพทย์จึงให้มานอนที่รพ.เพื่อเตรียมตัวผ่าตัดในอีก 2 วันข้างหน้า
ปัจจัยเสี่ยง
ส่วนใหญ่การเสื่อมสภาพและการขาดเป็นท่อนของเส้นใยยืดหยุ่นที่อยู่ในผนังชั้นกลางของหลอดเลือดแดง
พบในผู้สูงอายุ การสูบบุหรี่ ภาวะความดันโลหิตสูง
โรคปอดเรื้อรัง
ทำให้มีแรงดันกระทำต่อหลอดเลือดมากขึ้น
ผนังหลอดเลือดจะอ่อนแรง
ทำให้การไหลเวียนเลือดไหลจากหัวใจไปตามการไหลวน
โดยปกติจะไหลจากหัวใจไปตามแนวขนาน
ยิ่งทำให้เพิ่มแรงดันต่อผนังหลอดเลือดมากขึ้น
ผนังหลอดเลือดจะขยายออกจนไม่สามารถขยายได้อีก
ทำให้มีโอกาสแตกได้
ผู้ป่วยมีโรคประจำตัว คือ ความดันโลหิตสูง
จำนวนเซลล์กล้ามเนื้อเรียบลดลง
มีการฉีกขาดของเนื้อเยื่อิลาสติน
เกิดการตายของเนื้อเยื่อ