Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
กระบวนการนโยบายในการบริหารงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร, หน่วยที่ 3…
กระบวนการนโยบายในการบริหารงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร
แนวคิดเกี่ยวกับนโยบายในการบริหารงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร
แนวคิดทั่วไปเกี่ยวกับนโยบายในการบริหารงานฯ
นโยบาย หมายถึง แนวทางการปฏิบัติกว้าง ๆ ที่ตั้งใจจัดทำขึ้นเพื่อเป็นทิศทางในการตัดสินใจบนพื้นฐานของเหตุผลเพื่อดำเนินการต่าง ๆ ให้บรรลุผลสำเร็จ
นโยบายสาธารณะ หมายถึง ป็นกระบวนการตัดสินใจในการดำเนินการของรัฐบาล หรือหน่วยงานภาครัฐที่จะจัดการกับประเด็นปัญหาที่เป็นสาธารณะ ในที่นี้จะหมายถึงประเด็นปัญหาที่จะก่อให้เกิดผลกระทบต่อคนส่วนใหญ่หรือสังคมโดยส่วนรวม
กระบวนการหรือขั้นตอนการบริหารนโยบายสาธารณะมี 3 ขั้นตอน การกำหนดนโยบาย การนำนโยบายไปปฎิบัติ และการประเมินผลนโยบาย
ความสำคัญของนโยบายสาธารณะ มีทั้งผู้มีหน้าที่กำหนดนโยบาย ซึ่งเป็นฝ่ายรัฐบาล และละผู้ที่จะได้รับผลกระทบจากนโยบายซึ่งจะเป็นทั้งองค์การ ประชาชน ชุมชน และสังคม ผลกระทบ ของนโยบายอาจจะเกิดขึ้นในลักษณะเชิงบวก กล่าวคือ องค์การ ประชาชน ชุมชน และสังคม จะได้รับคุณค่าและประโยชน์ต่าง ๆ จากนโยบายสาธารณะ ซึ่งจะเป็นผลลัพธ์ที่ตั้งใจให้เกิดขึ้น และผลกระทบ ของนโยบายอาจจะเกิดขึ้นในลักษณะเชิงลบ กล่าวคือ องค์การ ประชาชน ชุมชน และสังคมอาจจะ ได้รับผลข้างเคียง หรือความเดือดร้อนจากนโยบาย
ประโยชน์นโยบายสาธารณะ
การกำหนดทิศทางการพัฒนาประเทศ
ตอบสนองความต้องการของประชาชน
แก้ไขปัญหาสาธารณะ
เสริมสร้างความเป็นธรรมและความเสมอภาคในสังคม
ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับนโยบายในการบริหารฯ
สภาพแวดล้อมภายในประเทศที่มีอิธิพลต่อการกำหนดนโยบายสาธารณะ
การเมืองในประเทศ
เศรษฐกิจ
สังคม
วัฒนธรรม
การบริหาร
สภาพแวดล้อมภายนอกประเทศที่มีอิทธิพลต่อการกำหนดนโยบายสาธารณะ
สภาพแวดล้อมทางการเมืองระดับโลก
สภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจ
สภาพแวดล้อมทางสังคม
สภาพแวดล้อมทางเทคโนโลยี
ผู้มีหน้าที่และผู้ที่เกี่ยวข้องกับนโยบายในการบริหารฯ
ผู้มีหน้าที่กำหนดนโยบายสาธารณะ
ฝ่ายนิติ ฝ่ายบริหาร ฝ่ายตุลาการ
เป็นผู้ที่ทำหน้าที่ในนามของรัฐ ซึ่ง “รัฐ” ในที่นี้หมายถึง“ชุมชนที่มีประชากรรวมตัวกันตั้งถิ่นฐานอยู่ในดินแดนที่มีอาณาเขตแน่นอน มีอำนาจอธิปไตยและเป็นอิสระหรือไม่อยู่ภายใต้การควบคุมของรัฐอื่น” โดยในแต่ละรัฐจะมีรัฐบาลและสถาบันสำคัญ ๆ ที่ทำหน้าที่ในนามของรัฐ
ผู้ที่มีส่วนเกี่ยงข้องในนโยบายสาธารณะ
กลุ่มผลประโยชน์
เป็นกลุ่มที่พยายามจะเข้าไปมีอิทธิพลในการตัดสินใจทางการเมือง
พรรคการเมือง
จุดมุ่งหมายเพื่อแสวงหาและรักษาอำนาจทางการเมืองภายใต้รัฐบาล
ประชาสังคม
เป็นการรวมตัวของประชาชนที่ไม่ใช่ภาครัฐ ซึ่งจัดตั้งขึ้นจากการรวมกลุ่มของประชาชนที่ต้องการเข้าไปมีส่วนร่วม อย่างกระตือรือร้นในการช่วยกันป้องกัน และจัดการแก้ไขปัญหาที่เป็นสาธารณะหรือปัญหาสังคม ที่เกิดขึ้น
ประชาชนทั่วไป
มีการจัดทำประชามติ หรือประชาพิจารณ์ ก่อนที่ จะดำเนินการตัดสินใจทางนโยบายทั้งนี้ เพื่อที่จะก่อให้เกิดผลลัพธ์ตามที่ตั้งใจไว้และสามารถหลีกเลี่ยงผลลัพธ์ที่อาจก่อให้เกิดผล กระทบในแง่ลบที่อาจเกิดขึ้นได้
ขั้นตอนของกระบวนการนโยบายในการบริหารงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร
การกำหนดนโยบายในการบริหารงานฯ
เป็นขั้นตอนแรกของกระบวนการบริหารนโยบาย ซึ่งเกี่ยวข้องกับกิจกรรมหรือองค์ประกอบที่สำคัญหลายประการ ตามที่ วิชัย ศรีขวัญ (2556, น. 10-21 ถึง 10-27) ระบุไว้ดังต่อไปนี้
1.การก่อตัวของประเด็นสาธารณะ
ปัญหาสาธารณะและโอกาสในการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ที่จะก่อให้เกิดผลกระทบต่อองค์การ ประชาชน สังคม หรือประเทศ
2.การนิยามหรือการระบุประเด็นปัญหา
วัตถุประสงค์พื้นฐานเพื่อสร้างจุดเน้นหรือจุดที่จะต้องสนใจเป็นพิเศษของ
คณะผู้แก้ไขปัญหา คือ อะไรคือปัญหา ใครมีปัญหา รูปแบบในการแก้ไขปัญหา
3.การกำหนดวัตถุประสงค์
เป็นข้อความที่บ่งบอกว่าจะทำอะไรบ้างให้เกิดผลสำเร็จ และในการเขียนวัตถุประสงค์
จะนิยมเขียนตามคำย่อว่า SMART
4.การวิเคราะห์ทางเลือกและการตัดสินใจ
ต้องคำนึงถึงความเป็นไปได้ในการนำไปปฏิบัติให้บรรลุเป้าประสงค์อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล จะพิจารณาจากแนวคิดการตัดสินใจ 3 ทฤษฎี
1.ทฤษฎีหลักเหตุผล
2.ทฤษฎีการเปลี่ยนแปลงในส่วนเพิ่ม
3.ทฤษฎีการผสมผสานระหว่างทางกว้างและทางลึก
การนำนโยบายไปปฏิบัติในการบริหารงานฯ
การนำนโยบายไปปฎิบัติ หรือการขับเคลื่อนนโยบายเป็นการแปลง หรือการแปลความนโยบายไปสู่การดำเนินงาน ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับระบบการบริหารองค์กรหรือระบบราชการ
โครงสร้างการจัดองค์กร
มีหน้าที่และความรับผิดชอบในการนำนโยบายสาธารณะไปปฏิบัติ ได้แก่ หน่วยงานในระบบราชการ
ระบบหรือกระบวนการบริหาร
กำหนดแนวทางการดำเนินงานเป็นยุทธศาสตร์ หรือกลยุทธ์ แผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม เพื่อดำเนินการให้บรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้
ปัจจัยแห่งความสำเร็จในการนำนโยบายไปปฎิบัติ
ความสำเร็จในการปฏิบัติงาน ขึ้นกับหน่วยงานในราชการบริหารส่วนกลางจะต้องทำความเข้าใจและชี้ให้เห็นความสำคัญของนโยบายที่จะนำไปปฏิบัติ
การเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อม ที่ไม่สามารถคาดการณ์ได้ และปัจจัยที่ควบคุมยาก หรือไม่อาจควบคุมได้ ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการนำนโยบายไปปฏิบัติ เช่น ปัญหาอุบัติภัยสาธารณภัยต่างๆ
ประสิทธิภาพขององค์กร
กระบวนการนำนโยบายไปปฏิบัติที่ได้รับความร่วมมือจากภาคีการพัฒนา
ความพร้อมในการจัดการกับเหตุแห่งความเสี่ยง
การประเมินนโยบายในการบริหารงานฯ
เป็นขั้นตอนสุดท้ายในการบริหารนโยบาย คือ การประเมินผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น
ภายหลังจากที่ได้มีการนำนโยบายไปปฏิบัติแล้ว
ความสำคัญของการประเมินนโยบาย
องค์กรต้องเผชิญกับสภาพแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกที่มีการเคลื่อนไหวมีเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วอยู่ตลอดเวลา
วัตถุประสงค์ของการประเมินนโยบาย
เพื่อติดตามความก้าวหน้าผลการดำเนินงานตามนโยบายที่กำหนดไว้
เพื่อประเมินความเหมาะสมของนโยบายที่กำหนดไว้
เพื่อประเมินว่าสภาพแวดล้อมที่สำคัญและสัมพันธ์กับนโยบายได้มีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร
ขั้นตอนในการประเมินนโยบาย
ตรวจสอบปัจจัยพื้นฐาน
การเปรียบเทียบผลลัพธ์ที่คาดหวังกับผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง
การแก้ไขเพื่อให้การดำเนินงานสอดคล้องกับนโยบาย
ผู้ประเมินนโยบาย
ผู้ปฎิบัติงาน
ผู้ประเมินภายในองค์การซึ่งมีความเชี่ยวชาญเฉพาะทาง
ผู้ประเมินภายนอกองค์การ ซึ่งได้รับมอบหมายงานประเมินผลจากองค์การส่งมอบผลิตภัณฑ์หรือบริการ
ผู้ประเมินซึ่งได้รับการมอบหมายงานประเมินผลจากผู้สนับสนุน
นโยบายในการบริหารงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรของประเทศไทย
นโยบายในการบริหารงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร
ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติได้ประกาศใช้แล้ว 12 ฉบับ ตั้งแต่ฉบับที่ 1(พ.ศ. 2504–2509) ถึงฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560–2564) เป็นแผนแม่บทที่เกิดจากกระบวนการจัดทำโดยการมีส่วนร่วมของภาคีการพัฒนาในการกำหนดทิศทางการแก้ปัญหาหรือการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ ให้ความสำคัญกับข้อมูลกระแสความเปลี่ยนแปลงและสภาพแวดล้อมที่เกี่ยวข้อง
นโยบายในการบริหารงานส่งเสริม และพัฒนา
การเกษตรตามบทบัญญัติของกฎหมาย
นโยบายตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
ด้านการบริหารราชการแผ่นดิน ส่งเสริมการบริหารแบบบูรณาการ โดยการมีส่วนร่วมของประชาชนในการกำหนดนโยบายและการวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม
ด้านเศรษฐกิจ สนับสนุนการดำเนินการตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และเศรษฐกิจแบบเสรี ส่งเสริมการรวมกลุ่มของภาคเอกชน และประชาชนในการประกอบอาชีพ
ด้านที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม ส่งเสริมการพัฒนาโดยการใช้ประโยชน์จากปัจจัยการผลิตทางการเกษตรที่เกี่ยวข้องกับทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุล
แนวนโยบายอื่น ๆ ที่สำคัญ เช่น การกำหนดให้บุคคลมีเสรีภาพในการประกอบกิจกรรมอาชีพและการแข่งขันโดยเสรี และเป็นระบบ
นโยบายตามบทบัญญัติของกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการเกษตร
กฎหมายเกี่ยวกับเกษตรกรและสถาบันเกษตรกร
กฎหมายเกี่ยวกับการผลิต การจัดการสินค้าเกษตรและความมั่นคงอาหาร
กฎหมายเกี่ยวกับทรัพยากรการเกษตร
กฎหมายเกี่ยวกับการขับเคลื่อนแผนการพัฒนาเกษตร
นโยบายในการบริหารงานส่งเสริมและพัฒนา
การเกษตรของรัฐบาลและส่วนราชการ
นโยบายสอดคล้องกับสภาพแวดล้อมทั้งภายในประเทศ และการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมระดับโลกด้านการเกษตร
สนับสนุนนโยบายของรัฐบาล แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งขาติ และนโยบายที่เป็นบทบัญญัติของกฎหมายที่เกี่ยวข้อง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เกษตรกรมีคุณภาพชีวิตที่ดี
มีอาชีพที่มั่นคง มีรายได้เพียงพอต่อการเลี้ยงชีพ มีความภูมิใจในอาชีพ
โดยเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตรและอาหารให้มีคุณภาพและปริมาณเพียงพอต่อความต้องการ
รัฐบาลจะกำหนดนโยบายให้สอดคล้องกับกรอบแนวทาง หรือนโยบายที่กำหนดไว้โดย
บทบัญญัติของกฎหมาย และวิสัยทัศน์การพัฒนาประเทศ รวมทั้งแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
หน่วยที่ 3 กระบวนการนโยบายในการบริหารงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร