Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การใช้เครื่องมือชนิดต่างๆในการคัดกรองด้านสุขภาพและจิตเวช, นางสาวเดือน…
การใช้เครื่องมือชนิดต่างๆในการคัดกรองด้านสุขภาพและจิตเวช
เกณฑก์ารแบ่งประเภทของแบบทดสอบ
แบ่งโดยพิจารณาจากมิติ
(3.1) มิติทางด้านร่างกาย (Physical dimension) จะเป็นการวัดด้าการดูแลตนเอง (Self-care)และการทำกิจวัตรประจำวัน (Activitiesofdailyliving)
(3.2) มิติทางด้านจิตใจ (Mental dimension) จะเป็นปัจจัยด้านจิตใจที่มีผลต่อพฤติกรรมของบุคคล ซึ่งหมายรวมถึงศักยภาพของความคิด (Cognitive potential) อารมณ์และพฤติกรรม (Emotion and Behaviors)
(3.3) มิติทางด้านสังคม (Social dimension) จะเป็นพฤติกรรมหรือปฏิสัมพันธ์ทางสังคมที่บุคคลตอบสนองต่อบุคคลอื่นในสังคมรวมทั้งทัศนคติและการปรับตัวทางสังคม
แบ่งตามเกณฑก์ารแปลความหมายคะแนน
(1.1)แบบทดสอบประเภทปรนัย (ObjectiveTests)
(1.2) แบบทดสอบประเภทอัตนัย (Subjective Tests)
แบ่งตามประเภทของการวัด
2.1 แบบสอบวดั ความสามารถ (Ability Tests)- แบบสอบวัดความสำเร็จ- แบบสอบวัดเชาว์ปัญญา (Intelligence Tests)- แบบสอบวัดความสามารถเฉพาะ (Achievement Tests)
2.2 แบบสอบวัดบุคลิกภาพ (Personality Tests)- แบบสอบวัดความสนใจทัศนคติและค่านิยม (Interests, Attitudes and Values)- แบบประเมินบุคลิกภาพโดยใช้เทคนิคการสัง เกตการสัมภาษณ์และมาตรประเมิน (Personality assesses by Observation,Interview and Rating)- แบบประเมินบุคลิกภาพโดยใช้แบบสำรวจและเทคนิคภาพสะท้อน(Personality assesses by Inventories and Projective technique)
ความสําคัญในการใช้เครื่องมือคัดกรอง
การประเมินความเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาทางสุขภาพจิตการพัฒนาระบบบริการสุขภาพสู่ทิศทางที่จะบรรลุเป้าหมายที่พึงประสงค์ สามารถทำใหเ้กิดผลลัพธ์ต่อคุณภาพชีวิตท่ีดี และตอบสนองความพึงพอใจของผู้ใช้บริการได้อย่างแท้จริง
การพิจารณาใช้เครื่องมือคัดกรองและประเมินปัญหาทางสุขภาพจิต
เครื่องมือคัดกรองและประเมินภาวะทางจิต
เครื่องมือเพื่อวัดระดับของสภาวะทางจิต (Scale) เช่นแบบประเมินและวิเคราะห์ความเครียดด้วยตนเอง (Stress Inventory)
เครื่องมือคัดกรองความผิดปกติทางจิต (Screening Tests) เช่น แบบสอบถาม (General Health Questionnaire (GHQ)
เครื่องมือวินิจฉัยความผิดปกติทางจิต (Schedule) เช่น The Mini-International Neuropsychiatric Interview (M.I.N.I)
คุณสมบัติของเครื่องมือประเมินทางสุขภาพจิต
ความเที่ยง (Reliability) ความสามารถของเครื่องมือในการให้ผลลพัธ์เหมือนเดิม
ความตรง (Validity) ความสามารถของเครื่องมือในการแสดงผลสอดคล้องกับสิ่งที่ต้องการวัด
ความไว (Sensitivity) ความสามารถของเครื่องมือหรือแบบประเมินในการวินิจฉัยผู้ที่ป่วยหรือมีความผิดปกติได้ถูกต้อง
ความจำเพาะ (Specificity) ความสามารถของเครื่องมือหรือแบบประเมินในการวินิจฉัย ผู้ที่ไม่ป่วย หรือ ไม่มีความผิดปกติได้ถูกต้อง
ลักษณะคำถามที่พบได้ในแบบคัดกรองสุขภาพจิต
คำถามด้านบวกเป็นข้อคำถามที่เกี่ยวข้องกับแบบสอบถามมีลักษณะคำถามในแง่เชิงบวก เช่น “ท่านรู้สึกพอใจในชีวิต”
คำถามด้านลบเป็นข้อคำถามที่เก่ียวข้องกับแบบสอบถามมีลักษณะคำถามในแง่เชิงลบ เช่น “ท่านรู้สึกว่าชีวิตของท่านมีแต่ความทุกข์”
รูปแบบของแบบประเมิน
รูปแบบข้อคำถามท่ีมีคำตอบเป็นปรนัยให้เลือกตอบ เช่น แบบคัดกรองภาวะซึมเศร้าในเด็ก (Children,Depression Inventory : CDI)
รูปแบบข้อคำถามในตารางและให้คะแนนตามความคิดเห็น เช่น แบบประเมินและวิเคราะห์ความเครียดด้วยตนเอง (Stress Inventory)
ความหมายการคัดกรอง (Screening) :
หมายถึง การทดสอบสมาชิกของกลุ่มประชากรเพื่อประมาณโอกาสที่ประชากรเหล่านี้จะมีโรคใดโรคหน่ึงที่ต้องการค้นหาการคัดกรอง มี 2 ประเภทคือ
1.การคัดกรองโรค (Disease screening) คือ คัดกรองว่าบุคคลใดป่วยบ้างและการคัดกรองสุขภาพ
2.การคัดกรองความเสี่ยง (Healthorriskscreening) คือคัดกรองว่าใครมีโอกาสเกิดปัญหาสุขภาพบ้างขณะท่ียังไม่ได้เป็นโรค
แนวทางและวิธีการประเมินปัญหาทางสุขภาพจิตของบุคคล
ในการศึกษาความเจ็บป่วยทางจิตนั้นเป็นประเด็นปัญหาสำคญั เนื่องจากความเจ็บป่วยทางจิตไม่สามารถวินิจฉัยโรคจากห้องปฏิบัติการได้ จึงพัฒนาเครื่องมือทั้งแบบคัดกรองและแบบวินิจฉัยเพื่อให้ผู้ท่ีไม่ใช่จิตแพทย์ดำเนินการและในการพิจารณาว่าสิ่งใดปกติหรือไม่ปกตินั้นจำเป็นต้องมีเกณฑ์การตัดสิน ดังนี้
กำหนดมาตรฐานเป็นเกณฑ์ (The Descriptive Model) เป็นวิธีการตัดสินพฤติกรรมของคนว่าปกติหรือผิดปกติ
การใช้ทฤษฎีเพื่อธิบายพฤติกรรมที่ผิดปกติ (Explanatory Model) การใช้ทฤษฎีมาอธิบายถึงความผิดปกติจึงเป็นวิธีหนึ่งในการที่จะตัดสินพฤติกรรมของบุคคลได้ ซึ่งทฤษฎีที่อธิบายความแปรปรวนของพฤติกรรมมีหลายทฤษฎี
ตัวอย่างเครื่องมือคัดกรองและประเมินปัญหาทางสุขภาพจิต
แบบสอบมิติเดียว(Uni-dimensionalTests)ซึ่งจะครอบคลุม3ด้านคือ อารมณ์(Mood) ความคิด (Cognitive) พฤติกรรม (Behavior)
แบบสอบสองมิติ (Two-dimensional Tests) แบ่งออกเป็น ด้านจิตใจ-สังคม (Mental-Social) : MS) ด้านร่างกาย-จิตใจ (Physical-Mental : PM) ด้านร่างกาย-สังคม (Physical-Social : PS)
แบบสอบหลายมิติ (Multi-dimensional Tests) กล่าวถึงด้านร่างกาย จิตใจ สังคม (Physical- Mental-Social : PMS) (3.1)แบบสอบมิติเดียว (Uni-dimensional Tests) ซึ่งจะครอบคลุม 3 ด้านคือ Mood,Cognitive functions, Behavior
(3.3) แบบสอบหลายมิติ (Multi-dimensional Tests) (Physical-Mental-Social : PMS)
(3.2)แบบสอบสองมิติ (Two-dimensional Tests) แบ่งออกเป็น Mental-Social Tests, Physical-Mental Instruments, Physical-Social Tests
การคัดกรองทางสุขภาพจิต
เป็นการทดสอบเพื่อประมาณโอกาสที่ประชากรจะเกิดปัญหาสุขภาพจิต เป็นการประเมินความผิดปกติด้านจิตใจและระดับความรุนแรงเพื่อการส่งต่อ และวางแผนใหเความช่วยเหลือ
แบบประเมินและวิเคราะหค์วามเครียดด้วยตนเอง (Stress Inventory)
แบบวัดสถานการณ์ที่ก่อใหเ้กิดความเครียด (Life Distress Inventory)
แบบสอบถาม General Health Questionnaire ฉบับภาษาไทย (Thai GHQ)
แบบวัดสุขภาพจิตในคนไทย (Thai Mental Health Questionnaire : TMHQ)
ดัชนีชี้วัดัสุขภาพจิตในคนไทย (Thai Mental Health Indicator : TMHI)
เครื่องชี้วัดคุณภาพชีวิตขององค์การอนามัยโลกชุดย่อฉบับภาษาไทย(WHOQOL-BREF- THAI)
แบบประเมินพฤติกรรมและอาการฉบับภาษาไทย (Behavior and Symptom Identification Scale :BASIS-32)
แบบทดสอบสภาพสมองของไทย (Thai Mental State Exam : TMAE)
แบบวัดHamilton Rating Scale for Depression ฉบับภาษาไทย
แบบสอบถามเพื่อประเมินความรุนแรงของภาวะซึมเศร้า (Thai Depression Inventory)
แบบคัดกรองภาวะซึมเศร้าในเด็ก (Children , s Depression Inventory : CDI)
แบบคัดกรองภาวะซึมเศร้าในวัยรุ่น (Center for Epidemiologic Studies Depression Scale : CES-S)
แบบวัดความซึมเศร้าในผู้สูงอายุไทย (Thai Geriatric Depression Scale : TDGS)
แบบวัดความฉลาดทางอารมณ์ (กรมสุขภาพจิต)
แบบคัดกรองพัฒนาการเด็ก
บทบาทของพยาบาลในการใช้เครื่องมือคัดกรองและประเมินปัญหาทางสุขภาพจิต
พัฒนาการของผู้รับบริการและครอบครัวตั้งแต่แรกเกิดถึงปัจจุบันรวมทั้งแบบแผน พฤติกรรม
ความสามารถในการปรับตัวของผู้รับบริการและครอบครัวต่อการดำเนินชีวิตประจำวันในครอบครัวและชุมชน
ข้อมูลทางกายภาพ ได้แก่ ความสามารถด้านต่างๆของผู้รับบริการพฤติกรรมต่างๆ เป็นสัญญาณนำไปสู่พฤติกรรมที่ผิดปกติ
ข้อมูลสิ่งแวดล้อมที่เสี่ยงต่อการเกิดปัญหาต่อพฤติกรรมของผู้รับบริการสิ่งแวดล้อมที่กระตุ้นมากเกินไปหรือน้อยเกินไป เช่น แสง สี เสียง สัมผัสมีผลทำให้ผู้รับบริการเกิดความผิดปกติความไม่สุขสบายเครียดและวิตกกังวล
ข้อมูลที่เป็นอาการแสดงของการเจ็บป่วย ความกลัวการบาดเจ็บต่อร่างกายหรือความปวด เพราะสิ่งเหล่านี้มีผลต่อความคิดรวบยอดของผู้รับบริการ
ข้อมลูของครอบครัวที่มีผลต่อพฤติกรรมของผู้รับบริการเช่นลักษณะของความเครียดและความรู้เกี่ยวกับพัฒนาการของผู้รับริการ
สรุป พยาบาลมีบทบาทสำคัญในการประเมินและคัดกรองผู้รับบริการที่มีความเสี่ยงต่อการมีความผิดปกติทางสุขภาพจิต โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการดูแลระดับปฐมภูมิการประเมินและคัดกรองความผิดปกติซึ่ง ต้องใช้ทักษะในการเลือกและใช้เครื่องมือโดยเฉพาะอย่างยิ่งทักษะในการประเมินและคัดกรองความผิดปกติซึ่งต้องใช้เครื่องมือที่มีความไว ใช้ระยะเวลาน้อยในการตรวจวัดมีความน่าเชื่อถือ ในการแยกความแตกต่างระหว่างผู้ที่มีความเสี่ยงสูง และความเสี่ยงต่ำ ต่อการมีปัญหาทางสุขภาพจิต
นางสาวเดือน ขันตินิติกุล เลขที่ 31
รหัสนักศึกษา 63126301031