Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
หน่วยที่ 5 องค์กรพัฒนาในการบริหารงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร, 5 - Coggle…
หน่วยที่ 5 องค์กรพัฒนาในการบริหารงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร
แนวคิดเกี่ยวกับองค์กรพัฒนาในการบริหารงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร
ความหมายและความสำคัญขององค์กรพัฒนาในการบริหารงาน
ความหมาย
องค์กรพัฒนาในการบริหารงานส่งเสริมและพัฒนา
การเกษตร หมายถึง กลุ่มบุคคลที่ร่วมมือกันทำงานอย่างเป็นระบบ โดยมีการจัดกลุ่มทำงาน กำหนดบทบาทหน้าที่ มอบหมายความรับผิดชอบ และติดต่อประสานงานกัน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาการส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร โดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงระบบการจัดสรรหรือการกระจายทรัพยากร
ความสำคัญ
เป็นศูนย์กลางในการรวบรวมปัญหาและความต้องการของประชาชน
เป็นแหล่งของความรู้ ข้อมูลข่าวสาร เทคโนโลยี และทรัพยากรบุคคลและวัสดุสิ่งของต่าง ๆ
ทำให้การดำเนินงานในชุมชนและการส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
ประเภทและบทบาทขององค์กร
ประเภทขององค์กรพัฒนา
องค์กรพัฒนาของรัฐ ประกอบไปด้วย
รัฐบาล รวมถึงหหน่วยงานการปกครองท้องถิ่น ตลอดจนบริการต่าง ๆ ของภาครัฐ
องค์กรนอกภาครัฐ ัจจุบันนิยมเรียก องค์การอาสาสมัครเอกชน องค์กรพัฒนาเอกชน หรือองค์การสาธารณประโยชน์
องค์กรชุมชนหรือองค์กรประชาชน เช่น องค์กรชาวบ้าน องค์กรประชาชน หรือ องค์กรชุมชน
องค์กรภาคเอกชน
องค์กรอื่น ๆ เช่น ประชารัฐ
ประเภทขององค์กรพัฒนาในการบริหารงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร
องค์กรภาครัฐ
องค์กรภาคเอกชน
องค์กรภาคประชาชน
บทบาทขององค์กรพัฒนาในการบริหารงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร
WelfareState Theory หรือทฤษฎีสวัสดิการ
Heterogeneity Theory หรือทฤษฎีความหลากหลาย
Social Entrepreneur หรือผู้ประกอบการเพื่อสังคม
Civil Society Theory หรือทฤษฎีประชาสังคม
ผลกระทบขององค์กรพัฒนาในการบริหารงาส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร
การเรียนรู้ของบุคคลเป้าหมาย
การเรียนรู้เป็นพื้นฐานของการพัฒนา เมื่อคนในท้องถิ่นเกิดการเรียนรู้ การเปลี่ยนแปลง การปรับปรุงและการพัฒนาย่อมจะเกิดขึ้น
การมีส่วนร่วม
การส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรต้องอาศัยการมีส่วนร่วมในกิจกรรมของชุมชน การมีส่วนร่วมของชาวบ้านจะทำให้เกิดการเรียนรู้และการเรียนรู้ทำให้เกิดการพัฒนา
การพึ่งตนเอง
ให้ชาวบ้านเป็นผู้วิเคราะห์ปัญหาด้วยตนเอง วางแผนและดำเนินการแก้ไขปัญหาด้วยตัวชาวบ้านเอง โดยที่เจ้าหน้าที่ส่งเสริมหรือนักพัฒนาเป็นเพียงผู้ให้คำปรึกษา
การสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชน
ชุมชนที่สามารถพึ่งตนเองได้สมาชิกมีความผาสุก ปรองดองกัน มีทรัพยากรที่เอื้ออำนวยต่อการประกอบอาชีพ
การพัฒนานโยบายการส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร
ทำให้ทราบปัญหาความต้องการของคนในท้องถิ่น รวมทั้งข้อมูลที่เป็นความสำเร็จและความล้มเหลวของการดำเนินงาน
องค์กรพัฒนากับกระบวนทัศน์ในการส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร
ความหมายและความสำคัญของกระบวนทัศน์
ความหมาย
หมายถึง กรอบรวมของฐานคิดที่อาจเป็นทฤษฎี แนวความคิด แนวทางที่สามารถอธิบายปรากฏการณ์ และทำความเข้าใจกับปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น ได้รับความเชื่อถือ ความศรัทธา ว่าจะนำไปสู่ความสำเร็จ และมีอิทธิพลต่อวิธีคิด วิธีปฏิบัติของสังคมอยู่ยาวนาน
ความสำคัญ
การกำหนดโครงสร้างการบริหาร จะมีการกระจายอำนาจ การตัดสินใจให้แก่ผู้ปฏิบัติงานในพื้นที่มากขึ้น
การสร้างแนวนโยบาย จะมีการเปิดกว้างตามความ
ต้องการของเกษตรกรและชุมชน โดยเกษตรกรและชุมชนมีส่วนร่วม
การปรับเปลี่ยนกระบวนการคิดและระบบปฏิบัติงาน มีการปรับระบบคิดที่ยึดหลักเหตุผลมาเป็นการคิดแบบบูรณาการมากขึ้น
การปรับเปลี่ยนเทคนิคในการทำงาน การปรับบทบาทของนักส่งเสริมการเกษตร ให้เป็นผู้สนับสนุนอำนวยความสะดวกและเป็นที่ปรึกษา
การปรับปรุงหลักสูตรและตำรา ตลอดจนการศึกษาวิจัยในเชิงบูรณาการมากขึ้น
มีการประสานงานในรูปแบบเครือข่ายทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ เพื่อเรียนรู้ร่วมกันในการส่งเสริมและพัฒนาเกษตรกรมากขึ้น
กระบวนทัศน์ที่เหมาะสมในการส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร
กระบวนทัศน์หนึ่งที่เหมาะสมในการส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรในปัจจุบันเน้นหนักแนวคิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนที่เป็นกรอบรวมแนวคิดการพัฒนาไว้หลาย ๆ แนวคิด และอาจเป็นกระบวนทัศน์ทางเลือกใหม่ของการพัฒนาของโลกที่ยังต้องการเวลาในการพิสูจน์ตัวเองว่าจะมีประสิทธิภาพเพียงพอที่จะแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ได้หรือไม่และอย่างไร
กระบวนทัศน์กับกลยุทธ์และกลไกในการส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร
กลยุทธ
กลยุทธ์ภายใต้กระบวนทัศน์หลัก
การปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานด้านการเกษตร
เร่งรัด พัฒนา และส่งเสริมพืชเศรษฐกิจมากชนิดขึ้นเพื่อการส่งออก
ส่งเสริมการผลิตให้ได้ปริมาณตามเป้าหมายของประเทศ
ส่งเสริมและสนับสนุนปัจจัยการผลิตเพื่อให้เกิดการยอมรับเทคโนโลยี
วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิต
ส่งเสริมสนับสนุนการประสานงานด้านการตลาด
ปรับปรุงโครงสร้างและระบบการผลิต
สนับสนุนให้ภาคธุรกิจเอกชนเข้ามามีส่วนร่วม
พัฒนาเกษตรกรให้มีความสามารถในการผลิตเชิงธุรกิจ
พัฒนาสถาบันเกษตร
ส่งเสริมการเกษตรแบบอุตสาหกรรม
ส่งเสริมการเกษตรแบบครบวงจร
สนับสนุนสินเชื่อแก่เกษตรกรเพื่อการผลิต
สนับสนุนการจัดการที่ดิน
การประกันราคาสินค้าการเกษตร
กลยุทธ์ภายใต้กระบวนทัศน์ทางเลือก
ให้ชุมชนเป็นศูนย์กลางของการส่งเสริมการเกษตร
ส่งเสริมการผลิตและธุรกิจเกษตรในระบบเศรษฐกิจพอเพียง
ส่งเสริมการเกษตรในระบบเกษตรกรรมยั่งยืน
พัฒนาเทคโนโลยีที่เหมาะสมจากการวิจัย
ส่งเสริมอุตสาหกรรมเกษตรในระดับครัวเรือนและชุมชน
ส่งเสริมการรวมกลุ่มและสร้างเครือข่าย
พัฒนาระบบส่งเสริมการเกษตร
ส่งเสริมกระบวนการมีส่วนร่วมของเกษตรกรและภาคีต่างๆ
ปรับปรุงหลักสูตรในสถาบันการศึกษา
กลไก
กลไกระดับกระทรวงและกรม
-องค์กรด้านการจัดทำแผนส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร
-คณะกรรมการจัดทำแผนกลยุทธ์
-ระบบส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร
กลไกระดับพื้นที่หรือภูมิภาค
-คณะกรรมการบูรณาการ
-คณะกรรมการประสานงานวิจัยและส่งเสริมการเกษตร
-องค์กรส่งเสริมการเกษตร
กลไกระดับท้องถิ่น
-คณะกรรมการบริหารศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีประจำตำบล
-องค์รปกครองส่วนท้องถิ่น
-เกษตรกรและองค์กรเกษตรกรในระดับตำบลและหมู่บ้าน
-ข้าราชการที่ทำงานในท้องถิ่น
กลไกระดับพื้นที่เฉพาะ
-ระดับจังหวัด
-ระดับอำเภอ
-ระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่
-ระดับชุมชน
การเสริมสร้างประสิทธิภาพขององค์กรพัฒนาในการบริหารงาน
การเสริมสร้างความเข้มแข็งขององค์กรพัฒนาในการบริหารงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร
กระบวนการเสริมสร้างความเข้มแข็งขององค์กร
การวินิจฉัยสถานการณ์
การแสวงหาเทคนิควิธีการเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็ง
การบริหารองค์กรพัฒนา
การติดตามและประเมินผล
องค์กรพัฒนากับการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน
การวิเคราะห์จุดอ่อนของชุมชน แยกออกเป็น 2
ประเด็นใหญ่ ๆ คือ จุดอ่อนทางด้านโครงสร้าง จุดอ่อนทางด้านวัฒนธรรม
ลักษณะความเข้มแข็งของชุมชน มีลักษณะดังนี้ สมาชิกชุมชนมีความเชื่อมั่น พึ่งตนเอง ทำงานร่วมกันในชุมชน ประเมินสภาพปัญหาของชุมชน เข้าร่วมเวทีชาวบ้าน มีแผนของชุมชนในการพัฒนาทุกด้าน มีเครือข่ายความร่วมมือกับชุมชนอื่น
ยุทธศาสตร์การสร้างความเข้มแข็งของชุมชน (การเลือกยุทธศาสตร์การพัฒนาโดยสมาชิกในสังคม เป้าหมายการพัฒนาเน้นที่ “การมีชีวิตที่ดี” ให้ความสำคัญกับวัฒนธรรมชุมชนและภูมิปัญญาชาวบ้าน พัฒนาโดยยึดพื้นฐานความเป็นชุมชน)
กระบวนการเสริมสร้างความเข้มแข็งแก่ชุมชน (การวิเคราะห์สถานการณ์ การวางแผน การดำเนินงานตามแผนที่วางไว้ การติดตามประเมินผล)
หน้าที่ขององค์กรพัฒนาในการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน การเสริมสร้างความเข้มแข็ง
ของชุมชนโดยกระตุ้นให้สมาชิกขององค์กรตื่นตัวเห็นความสำคัญและให้ความร่วมมือกัน
การรวมกลุ่มเพื่อสร้างความเข้มแข็งของชุมชน
-เกิดจากการที่ภาครัฐไม่สามารถตอบสนองความต้องการ
-เกิดจากความต้องการที่จะช่วยเหลือสังคมของกลุ่มคนต่างๆ
-เกิดจากการที่รัฐเริ่มกระจายอำนาจ
หลักการและขั้นตอนในการเสริมสร้างประสิทธิภาพ
หลักการเสริมสร้างประสิทธิภาพ
เน้นกระบวนการพัฒนาส่งเสริมทรัพยากรมนุษย์ในองค์กร
ประสานเป้าหมายและตอบสนองเป้าหมายร่วมกัน
ดำเนินการอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง
พัฒนาการทำงานเป็นทีม
สร้างบรรยากาศที่ดีในองค์กร
ใช้วิธีการผสมผสาน
มีแม่แบบที่ต้องการ
ขั้นตอนการเสริมสร้างประสิทธิภาพ
กำหนดแม่แบบขององค์กรพัฒนาที่มีประสิทธิภาพ
วิเคราะห์ปัญหาและความจำเป็นขององค์กรพัฒนา
สำรวจข้อมูลที่เกี่ยวข้องขององค์กรพัฒนา
ยืนยันผลที่ได้
กำหนดกลยุทธ์ในการเสริมสร้างประสิทธิภาพ
กำหนดแผนปฏิบัติการ
ปฏิบัติตามแผน
ประเมินผลและรายงาน
วิธีการและเงื่อนไขความสำเร็จในการเสริมสร้างประสิทธิภาพขององค์กร
วิธีการเสริมสร้างประสิทธิภาพ
วิธีการเสริมสร้างทรัพยากรบุคคล
การฝึกอบรม ตัวอย่างเทคนิคที่นำมาใช้ เช่น การบรรยาย การประชุมอภิปราย การสาธิต การระดมความคิด การศึกษากรณีตัวอย่าง การทดสอบ การแสดงบทบาทสมมติ การสัมมนา
การศึกษาดูงาน
3การวิเคราะห์และพัฒนาตนเอง
การฝึกทักษะเฉพาะ
การให้คำปรึกษา
การสอนงาน
การหมุนเวียนงาน
การสร้างทีมงาน
การประชุม
การรายงาน
การจูงใจ
การสร้างบรรยากาศ
วิธีการเสริมสร้างองค์กรพัฒนา
การจัดโครงสร้างองค์กร
การออกแบบงานให้เหมาะสม
การเลือกสรรบุคลากรอย่างมีคุณภาพ
กำหนดเวลาทำงานแบบยืดหยุ่น
ความพร้อมของเครื่องมือ วัสดุอุปกรณ์
การสำรวจข้อมูลและป้อนข้อมูลย้อนกลับ
การวิจัยแก้ปัญหา
การสร้างองค์กรแม่แบบ
พันธมิตรขององค์กร
สร้างระบบงานที่มีคุณภาพ
สร้างระบบการสื่อสารที่ดี
ระเบียบปฏิบัติที่เหมาะสม
สร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้
สร้างแรงผลักดันให้องค์กร
การบริหารทรัพยากรอย่างมีคุณค่า
เงื่อนไขความสำเร็จ
ความรู้ความสามารถและความตั้งใจจริงของฝ่ายบริหาร
ความพร้อมและความตั้งใจจริงของฝ่ายปฏิบัติ
การสนับสนุนเอื้ออำนวยขององค์กร
ความเหมาะสมสอดคล้องกับปัจจัยที่เกี่ยวข้อง
การใช้เทคนิคและวิธีการดำเนินการอย่างเหมาะสม
การดำเนินการอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง
การมีระบบข้อมูลที่เป็นประโยชน์
การมีระบบที่ปรึกษาสนับสนุน
5