Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ทฤษฎีการเรียนรู้ของกลุ่มพุทธินิยม (Cognitivism) เน้นกระบวนการทางปัญญาหร…
ทฤษฎีการเรียนรู้ของกลุ่มพุทธินิยม (Cognitivism)
เน้นกระบวนการทางปัญญาหรือความรู้ความเข้าใจ
ทฤษฎีเกสตัลต์ (Gestalt Theory)
2) บุคคลจะเรียนรู้จากสิ่งเร้าที่เป็นส่วนรวมได้ดีกว่าสิ่งเร้าที่เป็นส่วนย่อย
3) การเรียนรู้เกิดขึ้นได้ 2 ลักษณะ คือการรับรู้ (perception) เป็นกระบวนการที่บุคคลใช้ประสาทสัมผัสรับc]tการหยั่งเห็น (insight) เป็นการค้นพบหรือการเกิดความเข้าใจใน แนวทางการแก้ปัญหาอย่างฉับพลัน
1) การเรียนรู้เป็นกระบวนการทางความคิดซึ่งเกิดขึ้นภายสมองของมนุษย์
การจัดระเบียบการรับรู้มีกฎดังนี้
กฎแห่งความคล้ายคลึง (Law of Similarity)
กฎแห่งความใกล้เคียง(Law of Proximity)
กฎการรับรู้ส่วนรวมและส่วนย่อย (Law of Pragnanz)
กฎแห่งความสมบูรณ์ (Law of Closure)
กฎแห่งความต่อเนื่อง
กฎความคงที่
การรับรู้ของบุคคลอาจผิดพลาด
การประยุกต์ใช้
ผู้สอนควรเสนอภาพรวมของเนื้อหาให้ผู้เรียนเห็นและเข้าใจก่อนที่จะสอนรายละเอียดหรือส่วนย่อยซึ่งจะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดียิ่งขึ้น เนื่องจากผู้เรียนจะสามารถใช้ประสบการณ์เดิมและสิ่งที่ได้เรียนรู้มาเชื่อมโยงกับเนื้อหาในแต่ละส่วนได้
ผู้สอนควรจัดประสบการณ์ใหม่ให้มีความสัมพันธ์หรือเชื่อมโยงกับประสบการณ์เดิมของผู้เรียนจะช่วยให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ดีและง่ายขึ้น
ผู้สอนควรส่งเสริมกระบวนการคิดของผู้เรียน เนื่องจากกระบวนการคิด จึงเป็นสิ่งจำเป็นและเป็นสิ่งสำคัญในการช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้
ทฤษฎีสนาม (Field Theory)
เคิร์ต เลวิน (Kurt Lewin)
1) พฤติกรรมของคนมีพลังและทิศทาง สำหรับสิ่งที่อยู่ในความสนใจและ ความต้องการของตนจะมีพลังเป็นบวก (+) ส่วนสิ่งที่นอกเหนือจากความสนใจจะมีพลังงาน เป็นลบ (-)
2) การเรียนรู้เกิดขึ้นเมื่อบุคคลมีแรงจูงใจหรือแรงขับที่จะกระทำไปสู่จุดหมายที่ตนต้องการ
การประยุกต์ใช้
2) ผู้สอนควรจัดสิ่งแวดล้อมทางกายภาพและทางจิตวิทยาที่สอดคล้องกับ ความต้องการของผู้เรียนเพื่อดึงดูดความสนใจและตอบสนองความต้องการซึ่งจะช่วยให้ผู้เรียนเรียนรู้ได้ตามจุดหมายที่ตั้งไว้
3) ผู้สอนควรสร้างแรงจูงใจและแรงขับที่จะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ไปสู่ทิศทางหรือจุดหมายที่ต้องการเพราะแรงจูงใจและแรงขับเป็นสิ่งจำเป็นที่จะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดียิ่งขึ้น
1) ผู้สอนควรจัดกิจกรรมให้สอดคล้องกับความสนใจของผู้เรียน โดยการ ทำความเข้าใจ “โลก” ของผู้เรียน(life space) ว่า ผู้เรียนมีอะไรเป็นพลังบวก (+) และอะไรเป็นพลังลบ (-) รวมทั้งผู้เรียนมีจุดมุ่งหมายและความต้องการอะไร
ทฤษฎีเครื่องหมาย (Sign Theory)
ทอลแมน (Tolman)
การเรียนรู้เกิดจากการใช้เครื่องหมายเป็นตัวชี้นำทางให้แสดงพฤติกรรมไปสู่จุดหมายการเรียนรู้
3) การเรียนรู้สิ่งต่างๆ ผู้เรียนมีความสามารถที่จะปรับการเรียนรู้ของตนไปตามสถานการณ์ที่เปลี่ยนไปโดยจะไม่กระทำซ้ำ ๆ
4) การเรียนรู้ที่เกิดขึ้นในบุคคลใดบุคคลหนึ่ง บางครั้งจะไม่แสดงออกในทันที แต่อาจจะแฝงอยู่ในตัวผู้เรียนไปก่อนจนกว่าจะถึงเวลาที่เหมาะสมหรือจำเป็นจึงจะแสดงออก
2) ระหว่างการเรียนรู้ ผู้เรียนพยายามจะไปให้ถึงจุดหมายที่ต้องการ
1) การเรียนรู้สิ่งต่างๆ ผู้เรียนมีความคาดหวังรางวัล (reward expectancy)
การประยุกต์ใช้
2) ในการจัดการเรียนรู้ ผู้สอนควรใช้เครื่องหมาย สัญลักษณ์ หรือ สิ่งอื่น ๆ ที่เป็นเครื่องชี้นำทางควบคู่ไปด้วย เพื่อให้ผู้เรียนบรรลุจุดมุ่งหมายในการเรียนรู้เรื่องนั้น
3) ผู้สอนควรมีการปรับเปลี่ยนสถานการณ์ในการเรียนรู้ของผู้เรียนเพื่อช่วยให้ผู้เรียนปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของตนตามที่ต้องการ
4) ผู้สอนควรใช้วิธีการทดสอบการเรียนรู้ของผู้เรียนด้วยวิธีการที่หลากหลาย โดยมีทั้งการทดสอบย่อย ๆ และการติดตามผลระยะยาว เนื่องจากการเรียนรู้บางอย่างอาจไม่สามารถแสดงออกได้ในทันทีทันใด
1) ผู้สอนควรสร้างแรงขับและแรงจูงใจให้เกิดขึ้นกับผู้เรียนเพื่อจะกระตุ้นให้ผู้เรียนพยายามไปให้ถึงจุดมุ่งหมายที่ต้องการ
ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของเพียเจต์
สติปัญญาของเด็กว่ามีพัฒนาการอย่างเป็นลำดับขั้นเป็นไปตามวัยต่างๆ เราจึงไม่ควรที่จะเร่งเด็กให้พัฒนาการข้ามจากขั้นหนึ่งไปสู่อีกขั้นหนึ่ง
2) การใช้ภาษาและกระบวนการคิดของเด็กมีความแตกต่างจากผู้ใหญ่
3) กระบวนการทางสติปัญญาในการเรียนรู้ มี 2 ลักษณะคือ การซึมซับหรือการดูดซึม (assimilation)และการปรับและจัดระบบ (accommodation)
1) พัฒนาการทางสติปัญญาของบุคคลจะเป็นไปตามวัยและเป็นลำดับขั้น ขั้นรับรู้ด้วยประสาทสัมผัส (Sensori-motor Period) ขั้นก่อนปฏิบัติการคิด (Pre-operational Period) ขั้นการคิดแบบรูปธรรม (Concrete Operational Period) และขั้นการคิดแบบนามธรรม (Formal Operational Period)
การประยุกต์ใช้
2) ผู้สอนควรจัดประสบการณ์ให้เด็กอย่างเหมาะสมกับพัฒนาการของผู้เรียน แต่ละขั้น ไม่ควรบังคับให้ผู้เรียนต้องเรียนในสิ่งที่ยังไม่พร้อมหรือยากเกินพัฒนาการตามวัยของเขา เพราะจะทำให้ผู้เรียนเกิดเจตคติที่ไม่ดีต่อการเรียนได้
3) ผู้สอนควรจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ตามวัยของผู้เรียนซึ่งจะสามารถช่วยให้ผู้เรียนพัฒนาไปสู่พัฒนาการในขั้นสูงขึ้นได้
1) ผู้สอนควรให้ความสนใจและสังเกตผู้เรียนอย่างใกล้ชิดเพื่อจะได้ทราบพัฒนาการของผู้เรียนแต่ละคน
ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของบรูนเนอร์
มนุษย์เลือกที่จะรับรู้สิ่งที่ตนเองสนใจ และการเรียนรู้เกิดจากกระบวนการค้นพบด้วยตัวเอง
พัฒนาการทางสติปัญญาของมนุษย์แบ่งได้เป็น 3 ขั้น
ขั้นการเรียนรู้จากความคิด (Iconic Stage)
ขั้นการเรียนรู้สัญลักษณ์และสิ่งที่เป็นนามธรรม (Symbolic Stage)
ขั้นการเรียนรู้จากการกระทำ (Enactive Stage)
2) การเรียนรู้ที่ดีที่สุด คือการให้ผู้เรียนค้นพบการเรียนรู้ด้วยตนเอง (discovery learning)
3) การเรียนรู้เกิดขึ้นจากการที่คนเราสามารถสร้างความคิดรวบยอด หรือสามารถจัดประเภทของสิ่งต่าง ๆ ได้อย่างเหมาะสม
4) การคิดแบบหยั่งรู้ (intuition) เป็นการคิดหาเหตุผลอย่างอิสระที่สามารถช่วยพัฒนาความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ได้
5) แรงจูงใจภายในเป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยให้ผู้เรียนประสบผลสำคัญในการเรียนรู้
การประยุกต์ใช้
1) ผู้สอนควรจัดโครงสร้างของความรู้ให้มีความสัมพันธ์และสอดคล้องกับ ระดับขั้นพัฒนาการทางสติปัญญาของผู้เรียน โดยการวิเคราะห์และจัดโครงสร้างของสาระ การเรียนรู้ให้เหมาะสมและจัดลำดับสิ่งที่จะให้ผู้เรียนเรียนรู้จากง่ายไปหายากและซับซ้อน
ทฤษฎีการเรียนรู้อย่างมีความหมาย (Theory of Meaningful Verbal Learning)
ออซูเบล (Ausubel)
ผู้สอนควรสอนให้ผู้เรียนได้เรียนรู้อย่างมีความหมาย (meaningful learning)
การประยุกต์ใช้
1) ควรมีการการจัดระบบของความรู้ในหลักสูตรให้มีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกันอย่างเป็นระบบ
2) ผู้สอนควรจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างมีความหมาย
3) ผู้สอนควรใช้เทคนิคการจัดการเรียนรู้เพื่อให้เกิดการเรียนรู้อย่างมีความหมายซึ่งจะช่วยให้ผู้เรียนสามารถเชื่อมโยงมโนทัศน์ได้อย่างเป็นระบบ
นายมนตรี เศษวิสัย 6450502404 สาขาหลักสูตรและการสอน วิชาเฉพาะการพัฒนาหลักสูตรและการสอน