Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพฤติกรรมนิยม (Behaviorism) มีมุมมองต่อธรรมชาติของ…
ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพฤติกรรมนิยม (Behaviorism)
มีมุมมองต่อธรรมชาติของมนุษย์ในลักษณะที่เป็นกลาง
ทฤษฎีการเชื่อมโยงของธอร์นไดค์ (Thorndike’s connectionism)
การเรียนรู้เกิดจากการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนอง
1) กฎแห่งความพร้อม (Law of Readiness)
3) กฎแห่งการใช้และไม่ใช้ (Law of Use and Disuse)
2) กฎแห่งการฝึกหัด (Law of Exercise)
4) กฎแห่งผลที่พึงพอใจ (Law of Effect)
การประยุกต์ใช้
1) ผู้สอนควรตรวจสอบความพร้อมหรือการสร้างความพร้อมให้แก่ผู้เรียน
3) ผู้สอนควรเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้นำความรู้ในสิ่งที่ได้จากการเรียนรู้นั้นไปใช้บ่อยๆ ในสถานการณ์ที่หลากหลาย
2) ผู้สอนควรให้ผู้เรียนฝึกทักษะที่สำคัญและจำเป็นบ่อย ๆ เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ที่คงทน
**ทฤษฎีการวางเงื่อนไข (Conditioning Theory)
ทฤษฏีการวางเงื่อนไขของวัตสัน
วัตสัน (Watson)
1) พฤติกรรมที่เกิดจากการเรียนรู้เป็นสิ่งที่สามารถควบคุมให้เกิดขึ้นได้โดยการควบคุมสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไขให้สัมพันธ์กับสิ่งเร้าตามธรรมชาติ
2) พฤติกรรมที่เกิดจากการเรียนรู้ใด ๆ สามารถลดพฤติกรรมนั้นให้หายไปได้โดยการควบคุมสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไขให้สัมพันธ์กับสิ่งเร้าตามธรรมชาติอย่างเหมาะสม
การประยุกต์ใช้
1) ผู้สอนควรสร้างพฤติกรรมที่พึงประสงค์ให้เกิดกับผู้เรียนโดยใช้สิ่งเร้าที่เหมาะสมกับภูมิหลังและความต้องการของผู้เรียนควบคู่ไปกับสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไข
ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิก (Classical conditioning)
เสนอโดย พาฟลอฟ (Pavlov)
การเรียนรู้ของสิ่งมีชีวิตสามารถเกิดจากการตอบสนองต่อสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไข (conditioned stimulus)ได้ กฎการเรียนรู้จากทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิกของของพาฟลอฟ
1) พฤติกรรมการตอบสนองของมนุษย์สามารถเกิดขึ้นได้จากการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้าที่ไม่วางเงื่อนไขหรือความต้องการทางธรรมชาติ (unconditioned stimulus)กับสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไข (conditioned stimulus)
2) กฎแห่งการลดภาวะ (Law of Extinction)
3) กฎแห่งการฟื้นคืนสภาพเดิมตามธรรมชาติ (Law of Spontaneous Recovery)
4) กฎแห่งการถ่ายโยงการเรียนรู้สู่สถานการณ์อื่น ๆ (Law of Generalization)
5) กฎแห่งการจำแนกความแตกต่าง (Law of Discrimination)
การประยุกต์ใช้
ผู้สอนควรนำสิ่งเร้าที่เป็นความต้องการทางธรรมชาติของผู้เรียนมาใช้คู่กับสิ่งเร้าที่มีเงื่อนไขเพื่อช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดี
ทฤษฏีการวางเงื่อนไขแบบต่อเนื่อง (Contiguous conditioning)
กัทธรี (Guthrie)
แมวจะใช้การกระทำครั้งสุดท้ายที่ประสบผลสำเร็จเป็นแบบแผนและยึดไว้สำหรับการแก้ปัญหาครั้งต่อไป และการเรียนรู้เมื่อเกิดขึ้นแล้วแม้เพียงครั้งเดียวก็นับว่าได้เรียนรู้แล้วไม่จำเป็นต้องทำซ้ำอีก
2) การเรียนรู้เกิดขึ้นได้แม้เพียงครั้งเดียว (One trial learning)
3) กฎของการกระทำครั้งสุดท้าย (Law of Recency)
1) กฎแห่งความต่อเนื่อง (Law of Continuity)
4) การจูงใจ (Motivation)
การประยุกต์ใช้
ถ้าผู้สอนต้องการให้ผู้เรียนเกิดพฤติกรรมใด ผู้สอนควรให้สิ่งเร้าแบบ วางเงื่อนไขที่เหมาะสมแก่ผู้เรียนอย่างต่อเนื่อง เช่น การให้รางวัลผู้เรียนที่ทำความดีทุกครั้งจนผู้เรียนทำความดีอย่างต่อเนื่อง
ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบปฏิบัติการ (Operant Conditioning)
สกินเนอร์ (Skinner)
1) การกระทำใดๆ ถ้าได้รับการเสริมแรงจะมีแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นอีก ส่วนการกระทำที่ไม่มีการเสริมแรงจะลดลงและหายไปในที่สุด
4) การให้แรงเสริมหรือให้รางวัลเมื่อมีการกระทำพฤติกรรมที่ต้องการได้จะสามารถช่วยปรับหรือปลูกฝังนิสัยที่ต้องการได้
3) การลงโทษทำให้เรียนรู้ได้เร็วและลืมเร็ว
2) การเสริมแรงที่แปรเปลี่ยนทำให้การตอบสนองคงทนกว่าการเสริมแรงที่คงที่หรือตายตั
การประยุกต์ใช้
ในระหว่างที่มีการเรียนการสอน ผู้สอนควรให้การเสริมแรงแก่ผู้เรียนทันทีเมื่อผู้เรียนสามารถตอบสนองได้อย่างเหมาะสมซึ่งจะช่วยเพิ่มอัตราการตอบสนองในการเรียนรู้ให้มากขึ้นเรื่อยๆ
ทฤษฏีการเรียนรู้ของฮัลล์ (Hull’s Systematic Behavior Theory)
การที่มนุษย์และสัตว์จะเกิดการเรียนรู้ได้ต้องมีการสร้างแรง ขับ(Drive) ได้แก่ ความหิว ความกระหาย เป็นต้น
2) กฎแห่งการจัดลำดับกลุ่มนิสัย (Law of Habit Hierarchy) เมื่อมีสิ่งเร้ามากระตุ้น แต่ละคนจะมีการตอบสนองต่างๆ กัน ในระยะแรกการแสดงออกจะมีลักษณะง่ายๆ แต่เมื่อเกิดการเรียนรู้มากขึ้นก็สามารถแสดงการตอบสนองในระดับที่ซับซ้อนได้
3) สมมติฐานของการใกล้จะบรรลุเป้าหมาย (Goal Gradient Hypothesis) เมื่อผู้เรียนยิ่งใกล้บรรลุเป้าหมายจะมีสมรรถภาพในการตอบสนองมากขึ้น การเสริมแรงที่ให้ในเวลาใกล้เคียงกับการบรรลุเป้าหมายจะช่วยทำให้เกิดการเรียนรู้ได้ดีที่สุด
1) กฎแห่งการยับยั้งปฏิกิริยา (Law of Reactive Inhibition) ถ้าร่างกายเกิดความเหนื่อยล้า การตอบสนองหรือการเรียนรู้จะลดลง
การประยุกต์ใช้
ในการจัดการเรียนการสอน ผู้สอนควรคำนึงถึงความพร้อมความสามารถ และเวลาที่ผู้เรียนจะเรียนได้ดีที่สุด
การให้การเสริมแรงในช่วงที่ผู้เรียนทำได้ใกล้ถึงเป้าหมายมากที่สุดจะช่วยทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดี
นายมนตรี เศษวิสัย 6450502404 สาขาหลักสูตรและการสอน วิชาเฉพาะการพัฒนาหลักสูตรและการสอน