Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การแปลเบื้องต้น, นางสาว ธนภรณ์ หินจีน
รหัส 64121020017 - Coggle Diagram
การแปลเบื้องต้น
-
-
ทฤษฎีการแปล
ยุคแรก
ยุคแรก ยุคเริ่มต้นเป็นยุคที่ยาวนานมาก คือ เริ่มมาจากซิเซโร ตั้งกฎที่มีชื่อเสียงอันหนึ่ง คือพูดว่า "จงอย่าแปลคำต่อคำ" หลังจากนั้น ๒๐ ปีต่อมา ฮอเรสซึ่งก็เป็นนักคิดโรมัน เขาก็พูดคล้ายๆ กัน ยุคนี้ยาวนานมากที่มีทฤษฎีการแปลว่า จงอย่าแปลคำต่อคำ คนที่ดังมากที่เขียนเรื่องนี้เกี่ยวกับ ทฤษฎีการแปลว่าจงอย่าแปลคำต่อคำคือ จอห์น ไดเดน ไดเดนเป็นกวีชาวอังกฤษเป็นนักแปลด้วย ซึ่งส่วนใหญ่จะแปลงานของฮอเรส ลักษณะของ ทฤษฎีการแปลในยุคนี้เขาจะบอกว่า "อย่าแปลคำต่อคำ" แต่ให้"แปลโดยการถ่ายทอด ความหมาย" ลักษณะเด่นก็คือว่า เป็นทฤษฎีการแปลที่เกิดมาจากคนที่ทํางานแปลจริงๆ เอา ประสบการณ์ของตัวเองขึ้นมาพูด
คำพูดที่ดังมากของไดเดนก็คือคำพูดที่ว่า คนเราควรจะแปล, สมมติแปลฮอเรสก็ควรจะแปลให้ เปรียบเสมือนฮอเรสพูดภาษาอังกฤษในยุคสมัยนี้ ส่วนใหญ่ไดเดนไม่ได้เขียนบทความแต่จะ เขียนคำนำ ในคำนำเขาจะเขียนเกี่ยวกับทฤษฎีการแปลเอาไว้ เขาบอกว่าการแปลมี ๓ อย่าง คือ
-
๒. การแปลง มีการแปลอีกประเภทหนึ่ง ที่เรียกว่า "การแปลง" การแปลงคือ คล้ายๆ การเขียน เลียนแบบขึ้นมาใหม่ เช่นที่เราเห็นชัดที่สุดที่ มรว. คึกฤทธิ์ ปราโมช เขียนเรื่อง"ไผ่แดง" กับ เรื่อง"กาเหว่าที่บางเพลง" เป็นการแปลง โดยทั่วไปการแปลง ประเทศที่มีชื่อเสียงมากในเรื่องการแปลง คือฝรั่งเศส การแปลงนั้นไดเดนบอกว่าไม่ใช่เรื่องที่เสียหายในยุคหนึ่ง การแปลงมีประโยชน์มากถ้าหากว่า เป็นยุคที่สองชนชาติเพิ่งติดต่อกันใหม่ๆ แล้วในชนชาติที่จะแปลไม่มีองค์ความรู้เกี่ยวกับ วัฒนธรรม หรือความคิดประเพณีของอีกชนชาติเลย การแปลตรงๆ มันจะไม่ทำให้เกิดความ เข้าใจ
๓. การแปลที่แท้จริง คือการแปลแบบที่รักษาต้นฉบับเอาไว้ ไดเดนเปรียบเปรย การแปลคำต่อคำ ว่า "การแปลคำต่อคำ เปรียบเสมือนการเต้นรำ บนเส้นเชือก ด้วยขาที่ผูกมัดไว้ นักเต้นรำ อาจ ประคองตัวไม่ให้ตกลงไปด้วยความระมัดระวัง แต่อย่าคาดหวังเลยว่า จะมีความสง่างามของ ท่วงท่า และหากจะกล่าวถึงที่สุดแล้ว นี่เป็นภารกิจที่โง่เขลา เพราะไม่มีคนสติดีคนไหน จะเสี่ยง ชีวิตเพียงเพื่อเสียงปรบมือ ที่ปรบมือให้เขาเพราะเขาเอาตัวรอดได้ โดยที่เขาไม่ตกลงมาคอหัก ตาย" นี่คือคำวิจารณ์การแปลคำต่อคำแบบเถรตรง
ยุคที่สอง
ขึ้นมายุคนี้จะเกี่ยวข้องกับยุคทฤษฎีความหมายของการแปล เริ่มต้นมาในช่วงศตวรรษ ที่ ๑๘ - ๑๕ โดยเฉพาะบทความที่สำคัญมาก และก็คนได้อ้างถึงเกี่ยวกับทฤษฎีการแปลนี้ก็คือ บทความของชไลเออร์มาเคอร์ ที่จริงเขาเป็นนักชีววิทยาชาวเยอรมัน เป็นนักคิดทางด้านการ ตีความ เขาเขียนบทความนี้ ชาวเยอรมันถือว่ามีบทบาทมากในเรื่องทฤษฎีการแปล กล่าวกันว่าชาวเยอรมันให้ความสนใจ มากกับเรื่องการแปล ถึงขนาดมีคำกล่าวว่า "การแปลเป็นชะตากรรมของภาษาเยอรมัน" วิวัฒนาการของภาษาเยอรมันสมัยใหม่ มีความเกี่ยวข้องอย่างแนบแน่นกับการแปล โดยเฉพาะ การแปลที่ลูเธอร์แปลพระคัมภีร์ไบเบิล แล้วก็มีการแปลงานของโฮเมอร์ และเชคสเปียร์ มาเป็น ภาษาเยอรมัน ทำให้ภาษาเยอรมันเกิดวิวัฒนาการ และกลายมาเป็นภาษาเยอรมันในปัจจุบัน ทำ ให้นักคิดทางด้านเยอรมันสนใจทฤษฎีการแปลมากพอสมควร คือชไลเออร์มาเคอร์ ในบทความนี้ พูดแบบสรุปๆ การแปลมี ๒ วิธี คือ
-
-
ยุคที่สาม
หลังยุคที่ ๒ เข้าสู่ยุคที่ ๓ นับเป็นยุคที่มีเวลาอยู่สั้นมาก เป็นยุคที่เกิดมาจากอิทธิพล แนวคิดที่เขาเรียกว่า "formalism" ของพวกรัสเซียและเชค ที่เรียกว่าพวกโครงสร้างนิยม การ เกิดขึ้นของทฤษฎีภาษาศาสตร์แบบพฤติกรรมศาสตร์และความเฟื่องฟูของแนวคิดทางด้านสถิติ นักคิดคนสำคัญของกลุ่มนี้ที่เขียนทฤษฎีการแปลที่คนจะอ้างถึงมากมาย คือ โรมัน ยาคอร์ปสัน ยุคนี้มีเวลาค่อนข้างสั้นมาก เขามองว่ายุคนี้มาจากแนวคิดทางด้านวิทยาศาสตร์ด้วยคือ มีความ เชื่อว่า น่าจะมีการทำตารางแผนผังของการเทียบเคียงของภาษา ๒ ภาษาได้ โดยที่เขาจะพยายาม ใช้ศัพท์วิทยาสัญลักษณ์เข้ามาเปรียบเทียบกับการถอดความหมายทางด้านภาษาศาสตร์ พยายาม ใช้ความรู้ทางด้านภาษาศาสตร์เชิงโครงสร้าง กับทฤษฎีข้อมูลมาใช้ในการแปลระหว่างภาษา อิทธิพลที่ยุคนี้ทําให้เกิดวารสารทางวิชาการเกี่ยวกับนักแปลอาชีพ และการแปลเป็นประเด็น หลัก ซึ่งถือว่าเป็นวารสารโดยเฉพาะทางวิชาการขึ้นมา แต่ว่ายุคนี้อยู่ได้ไม่นาน เพราะว่าส่วน หนึ่งถูกล้มไป เพระว่าแนวคิดภาษาศาสตร์ในเชิงพฤติกรรมศาสตร์ล้มไป เพราะการเกิดขึ้นของ ภาษาศาสตร์สำนัก “นอม ชอมสกี้”
ยุคที่สี่
เรียกว่าเป็นยุคของสัญญวิทยา คนที่มีอิทธิพลในทฤษฎีการแปลยุคนี้ ก็คือ อูมเบอร์โต้ เอ โก้ เขาเขียนหนังสือเป็นทฤษฎีการแปลเล่มหนึ่งชื่อ "mouse or rat" และคนที่เขียนที่เป็นพวก postmodern ส่วนใหญ่แนวคิดในด้านทฤษฎีการแปลของกลุ่มนี้ ก็คือ เน้นไปทางด้าน สหสัมพันธบท (intertextuality) ความหมายขึ้นอยู่กับบริบทที่แวดล้อม แล้วเอโก้ก็เขียนหนังสือ ทฤษฎีการแปลเล่มหนึ่งพูดว่า " การแปลคือการต่อรอง" การต่อรองระหว่างนักแปลกับต้นฉบับ มันจะเป็นการต่อรองประโยคต่อประโยคและคำต่อคำ หรือความหมายต่อความหมาย มีอีกคนหนึ่งที่นิยามเรื่องการแปลได้ดีคือวิกเป็นสไตล์ เป็นนักปรัชญา บอกว่า การแปลเป็น เสมือนปัญหาทางคณิตศาสตร์ มันแก้ได้ แต่ไม่มีระเบียบวิธีอย่างเป็นระบบในการแก้
รูปแบบการแปล
-
-
- เรื่องสั้นบันเทิงคดี อัตชีวประวัติ
-
-
-
-
-
-
-