Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การพยาบาลผู้คลอดที่มีภาวะรกค้างและการล้วงรก - Coggle Diagram
การพยาบาลผู้คลอดที่มีภาวะรกค้างและการล้วงรก
รกติด (placenta accreta) หมายถึง ภาวะที่รกมีการฝังตัวลึกกว่าชั้นปกติ ซึ่งปกติจะฝังตัวที่บริเวณเยื่อบุโพรงมดลูก แต่ในรายที่การฝังตัวผิดปกติ รกอาจฝังตัวถึงชั้นกล้ามเนื้อมดลูก ทำให้ไม่สามารถคลอดรกตามธรรมชาติในระยะที่ 3 ได้
รกค้าง (retained placenta) หมายถึง ภาวะที่รกไม่ลอกหรือคลอดออกมาใน 30 นาทีหลังทารกคลอด
อาจไม่ลอกทั้งรก หรือลอกเพียงบางส่วนก็ได้
ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดรกค้าง
การฝังตัวของรกแน่นผิดปกติ เช่น เคยได้รับการขูดมดลูก
กล้ามเนื้อมดลูกหดรัดตัวไม่ดี
เคยผ่าตัดคลอดทางหน้าท้องในครรภ์ที่ผ่านมา
มีรกเกาะต่ำในครรภ์ปัจจุบัน
เคยมีประวัติรกค้างในครรภ์ก่อน เมื่อเข้าสู่ระยะที่ 3 ของการคลอดแต่รกไม่ลอกตัวตามธรรมชาติ หรือที่เรียกว่ารกค้าง ต้องคำเนินการล้วงรก
ข้อบ่งซี้ในการล้วงรก
ระยะที่สามของการคลอดล่าช้า (มากกว่า 30 นาทีหลังจากทารกคลอต)
สายสะดือขาด
มีเลือดออกมากในระยะที่สามของการคลอด
ผู้คลอดที่เคยผ่าตัดคลอดทางหน้าท้องมาก่อน แพทย์อาจจะพิจารณาทำการล้วงรก เพื่อประเมินสภาพภายในของมดลูกว่ามีการฉีกขาดหรือไม่
ภาวะแทรกซ้อนจากการล้วงรก
ภาวะแทรกซ้อนจากการล้วงรกต่อผู้คลอด ได้แก่ ตกเลือดหลังคลอดเนื่องจากล้วงรกออกไม่หมด มีเศษรกค้าง ทำให้มดลูกหดรัดตัวไม่ดี ติดเชื้อมีการฉีกขาดของช่องทางคลอด มดลูกทะลุ มดลูกปลิ้น และเกิดภาวะแทรกช้อนจากการได้รับระงับความรู้สึกหรือยาสลบ
การพยาบาลผู้คลอดที่ได้รับการลัวงรก
อธิบายให้ผู้คลอดเข้าใจภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้น แจ้งแนวทางการดูแลรักษาต่อไป
เตรียมอุปกรณ์ เครื่องมือเครื่องใช้ที่จำเป็นในการล้วงรกให้พร้อม และเจาะเลือด CBC, grouping &matching จองเลือด PRC 2 unit
ดูแลให้ผู้คลอดได้รับยาระงับความรู้สึก ยาบรรเทาปวด ยากล่อมประสาท หรือตมยาสลบเพื่อให้กล้ามเนื้อมคลูกคลายตัว
ดูแลการได้รับสารละลายทางหลอดเลือดคำและยาปฏิชีวนะตามแผนการรักษา
ประเมินสัญญาณชีพทุก 5-15 นาที ตลอดเวลาที่แพทย์ทำการล้วงรก หลังล้วงรกประเมินสัญญาณชีพทุก 15 นาทีใน 1 ชั่วโมงแรก จากนั้นประเมินทุก 30 นาที จนครบ 2 ชั่วโมง หรือจนกว่าสัญญาณชีพจะคงที่และ
อยู่ในภาวะปกติ หากอาการทั่วไปปกติประเมินทุก 4 ชั่วโมง
ประเมินการหครัดตัวของมดลูก หากพบว่ามตลูกหลรัดตัวไม่ตีต้องกระตุ้นโดยใช้มือ คลึงมดลูกให้แข็งและดูแลกระพาะปัสสาวะให้ว่าง หากยังไม่ดีขึ้นควรรายงานแพทย์เพื่อพิจารณา ให้การช่วยเหลือต่อไป
สังเกตอาการแสดงของการตกเลือด เช่น ใจสั่น ชีพจรเต้นเร็ว มีเลือดออกทางช่องคลอด ปลายมือปลายเท้าเย็น เป็นต้น
แนะนำให้คลึงมดลูกด้วยตนเองเพื่อป้องกันการตกเลือดหลังคลอด
ประเมินลักษณะและ ปริมาณลือดที่ออกทางช่องคลอด
ดูแลให้ได้รับสารละลายทางหลอดเลือดดำ และยากระตุ้นการหดรัดตัวของมดลูกตามแผนการรักษา
กระตุ้นให้ถ่ายปัสสาวะเอง แต่หากไม่สามารถถ่ายปัสสาวะได้เอง ทำการสวนปัสสาวะให้
ประเมินแผลฝีเย็บว่ามีอาการบวม มีการคั่งของเลือดหรือเกิด hematoma บริเวณผลฝีเย็บหรือไม่
ดูแลความสุขสบายทั่วไป และจัดสภาพแวดล้อมให้ผู้คลอดสามารถพักผ่อนได้เต็มที่