Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
โรคต่อมไทรอยด์ในสตรีตั้งครรภ์ - Coggle Diagram
โรคต่อมไทรอยด์ในสตรีตั้งครรภ์
สรีรวิทยาของต่อมไทรอยด์ขณะตั้งครรภ์
การสร้างฮอร์โมนไทรอยด์จะสัมพันธ์กับ hypothalamic-pituitary-thyroid axis โดยเริ่มจากไฮโปทาลามัสหลั่ง thyrotropin-relesing hormone (THR) เพื่อกระตุ้นต่อมใต้สมองส่วนหน้าให้หลั่ง thyrotropin หรือ thyroid-stimulating hormone (TSH) จากนั้น TSH จึงไปกระตุ้นต่อมไทรอยด์ให้สร้างและหลั่งฮอร์โมนไทรอยด์ทั้ง2ตัว คือthyroxine (T4)และ triodothyronine ซึ่งในระหว่างตั้งครรภ์จะมีการสร้างฮอร์โมนไทรอยด์เพิ่มขึ้นร้อยละ 40-100 เพื่อให้เพียงพอสำหรับมารดาและทารก สำหรับลักษณะทางกายวิภาคพบว่าต่อมไทรอยด์มีเลือดมาเลี้ยงเพิ่มขึ้นและมีขนาดโตขึ้นเล็กน้อย
ความหมาย
โรคของต่อมไทรอยด์เป็นโรคต่อมไร้ท่อที่พบได้บ่อยที่สุดในสตรีวัยเจริญพันธุ์ การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนขณะตั้งครรภ์ รวมถึงความต้องการไอโอดีนสำหรับทารกในครรภ์ที่เพิ่มขึ้น ทำให้การทำงานและและหลั่งฮอร์โมนของต่อมไทรอยด์เปลี่ยนไป
การพยาบาล
ระยะคลอด
1.วัดสัญญานชีพทุก 1-2 ชั่วโมงหากพบว่าชีพจร > 100/min อัตราการหายใจ> 24/min Pluse pressure กว้างกว่า 40 mmHg อาจได้รับอันตรายจากภาวะล้มเหลว ให้รีบรายงานแพทย์ 2.ในระยะที่1ของการคลอด จัดให้ผู้คลอดนอนในท่าศีรษะสูง (fowler's position) ตะแคงด้านใดด้านหนึ่งเพื่อป้องกันภาวะความดันโลหิตต่ำจากการนอนหงายและปอดขยายได้ดีขึ้น 3.ฟังเสียงหัวใจทารกทุก 15-30 นาที หรือใช้ fetal monitoring เพื่อประเมินภาวะของทารกในครรภ์และฟังเสียงหัวใจทารกในครรภ์ทุก 5นาที ในระยะที่2ของการคลอด 3.ดูแลให้ผู้คลอดได้รับความสุขสบาย เช็ดตัวให้สะอาด เพื่อให้สามารถพักผ่อนได้ดีขึ้น ลดการใ้ออกซิเจน 4.ให้ผู้คลอดออกแรงเบ่งให้น้อยที่สุดเพราะการเบ่งจะทำให้หัวใจทำงานมากขึ้น แพทย์มักเลือกใช้สูติศาสตร์หัตถการช่วยคลอด
ระยะหลังคลอด
1.นอนพักบนเตียงในท่า semi-fowler's position เพื่อลดการทำงานของหัวใจและปอดขยายได้ดีขึ้น 2.ดู
ุแลให้มารดารับประทานอาหารที่มีคุณค่าหรือต่อสุขภาพอย่างครบถ้วน และให้ได้ไอโอดีนอย่างเพียงพอวันละ200ไมโครกรัมในมารดาที่ให้นมบุตร 3.ทารกแรกเกิดจากมารดาที่ได้รับยาPTU เพื่อการรักษานั้นอาจมีการแสดงของต่อมไทรอยด์ถูกกดจะมีอาการง่วงซึม เคลื่อนไหวช้า ไม่ค่อยร้อง
ระยะตั้งครรภ์
1.อธิบายให้สตรีตั้งครรภ์เข้าใจถึงอาการไม่สุขสบายรวมทั้งอารมณ์ของสตรีตั้งครรภ์ที่มีภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานมากกว่าปกติ จะมีอารมณ์หงุดหงิดโมโหง่าย
และอาการจะดีขึ้นเมื่อได้รับการรักษาด้วยยา PTU
2.แนะนำให้รับประทานอาหารที่มีคุณค่า มีประโยชน์ ได้แก่ คาร์โบไฮเดรต โปรตีน วิตามินสูง
เพื่อชดเชยการเผาผลาญที่มีมาก
โดยแนะนำให้รับประทานครั้งละน้อย
แต่บ่อยครั้งประมาน 5-6มื้อ/วัน ดื่มน้ำมากๆ
แนะนำให้นับการดิ้นของทารกในครรภ์
เพื่อประเมินภาวะสุขภาพของทารกในครรภ์
ระมัดระวังการเดิน การทรงตัว
เพราะหญิงตั้งครรภ์จะมีอาการกล้ามเนื้อ
อ่อนแรงเหนื่อยง่ายมือสั่น
ไทรอยด์เป็นพิษในหญิงตั้งครรภ์หรือ
ภาวะฮอร์โมนไทรอยด์สูง (hyperthyroidism)
อาการและอาการแสดง
-ใจสั่น ใจหวิว
-อัตราการเต้นของหัวใจ> 100ครั้ง/นาที
-ชีพจรเต้นเร็วแม้ในขณะนอนพัก
-ความดันโลหิตสูง
-มือสั่น เหงื่อออกมาก ขี้ร้อน ทนร้อนไม่ได้ ผิวหนังอุ่น
-กินเก่ง กินจุ น้ำหนักลด ท้องเสียง่าย
-เหนื่อยล้า กล้ามเนื้อแขนขาอ่อนแรง กล้ามเนื้อลีบ
-คอพอก ตาโปน เห็นภาพซ้อน
-อารมณ์อ่อนไหว แปรปรวน หงุดหงิด โมโหง่าย
ผลกระทบการตั้งครรภ์
มาดา
-ภาวะ preeclampsia
-ภาวะหัวใจล้มเหลว
-บางรายอาจถึงเสียชีวิตได้
ทารก
-การแท้ง
-คลอดก่อนกำหนด
-ตายปริกำเนิด
-การเจริญเติบโตช้าในครรภ์
-แรกคลอดน้ำหนักน้อย
-พิการแต่กำเนิด
-ทารกในครรภ์อาจเกิดภาวะไทรอยด์
-เป็นพิษ เนื่องจากภูมิต้านทานของแม่ผ่านรกไปยังทารกในครรภ์
สาเหตุ
ไทรอยด์เป็นพิษร้อยละ90-95 เกิดจากภาวะ Graves' disease จากการที่มี thyroid-stimulating immunoglobulins (TSIs) หรือ TSH receptor antibodies (TRAb) เป็นแอนติบอดีที่จำเพาะต่อโรค กระตุ้นการทำงานของ TSH-receptor ที่ต่อมไทรอยด์ เพิ่มการสร้างฮอร์โมน T4และT3
การรักษา
propylthiouracil (PTU) เป็นยาที่ใช้ในช่วง
ไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์
เนื่องจาก Methimazole (MMI)
ทำให้เกิดความพิการและผิดปกติของทารกในครรภ์มากกว่า
PTU และยา Carbimazole (CM)
ภาวะไทรอยด์ฮอรโมนต่ำในหญิงตั้งครรภ์ (hypothyroidism)
ภาวะไทรอยด์ต่ำแบ่งได้3ชนิด
1.Overt hypothyroidism คือมีTSH สูง และT4 ต่ำ เป็นกลุ่มที่ต้องรักษาด้วยยา
2.Subclincal hypothyroidsm คือมีค่าTSH สูง แต่T4 ปกติเป็นกลุ่มที่ไม่ต้องรักษา
3.Isolated hypothyroxinemia คือกลุ่มที่มีค่า FT4 ต่ำกว่าเกณฑ์
สาเหตุ
ภาวะไทรอยด์ต่ำที่พบได้บ่อยที่สุดคือ ต่อมไทรอยด์อักเสบเรื้อรัง (Hashimoto thyroidtis) เป็นภาวะที่เกิดจากการมี thyroid peroxidase antibody หรือ Anti-TPO ไปทำลายต่อมไทรอยด์ ทำให้ต่อมไทรอยด์ผลิตฮอร์โมนได้ลดลง ดังนั้น ATA แนะนำให้ตรวจ Anti-TPO ในมารดาทุกรายที่ตรวจพบค่า TSH น้อยกว่า 2.5mU/L
อาการและอาการแสดง
-ผมหยาบร่วง ผิวหนังแห้ง
-อ่อนเพลีย
-เชื่องช้า เชื่องซึม เหนื่อย
-ท้องผูก ขี้หนาว
-หนังตาบวม น้ำหนักเพิ่ม อ้วนขึ้น
ผลกระทบการตั้งครรภ์
มารดา
-แท้ง
-ครรภ์เป็นพิษ
-คลอดก่อนกำหนด
ทารก
-ตายในครรภ์
-น้ำหนักตัวทารกแรกเกิดน้อย
-มีปัญหาด้านพัฒนาการของสมอง IQต่ำ
การรักษา
รักษาด้วยยา Levothyroxine หรือ LT4 และไม่ควรใช้ยาร่วมกับตัวยาอื่นที่เป็น T3 ร่วมกับ T4 อย่างยา Desiccated thyroid extract เพราะมีสัดส่วนของT4 ไม่เพียงพอ เนื่องจากการพัฒนาการสมองทารกต้องการ T4 เป็นหลักและพบว่า T3 ผ่านเข้าระบบประสาททารกได้น้อย