Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
(หน่วยที่ 4 การส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรของประเทศเอเชียใต้และตะวันออกกลาง) …
หน่วยที่ 4 การส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรของประเทศเอเชียใต้และตะวันออกกลาง
2. การส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรของรัฐอิสราเอล
สภาพภูมิศาสตร์ที่ต่างกันสุดขั้ว ทั้งอากาศร้อนชื้น และหิมะตก และพื้นที่เกือบครึ่งประเทศเป็นทะเลทรายที่มีอากาศร้อนปริมาณฝนอันน้อยนิดและไม่ทั่วถึง มีแหล่งน้าจืดที่จำกัด และสภาพดินเป็นเนินหินทรายที่เต็มไปด้วยผลึกตะกอนเกลือสีขาว มีพื้นที่เพาะปลูกเพียงร้อยละ 11 ของประเทศ
การเกษตรที่สำคัญ ได้แก่ ผักและผลไม้ ดอกไม้ พืชไร่ และสินค้าเกษตรอินทรีย์
สินค้าส่งออกที่สำคัญ ได้แก่ องุ่น น้ำส้มชนิดออเร้นจ์แช่แข็ง อินทผลัมสดหรือแห้ง ไขมันและน้ำมันระเหยจากพืช
สินค้าเกษตรนำเข้าที่สำคัญ ได้แก่ ปลาทูน่าปรุงแต่ง ข้าว พืชผักและผลไม้ อาหารปรุงแต่งอื่นๆ สับปะรดปรุงแต่ง และข้าวโพดหวาน
การประยุกต์ในการส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรของประเทศอิสราเอล
มีการใช้เทคโนโลยีที่ก้าวหน้าในการผลิตภายใต้การจัดการที่มีประสิทธิภาพ มีการประสานงานอย่างใกล้ชิดระหว่างนักวิจัย นักส่งเสริมเกษตรกร และหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
จัดทีมผู้เชี่ยวชาญหลายๆ ด้านให้คำแนะนำในพื้นที่ มีห้องปฏิบัติการ
เพื่อตรวจสอบ ให้คำแนะนำทั่วประเทศ และใช้วิธีการส่งเสริมให้สอดคล้องกับพื้นฐาน
การให้คำแนะนารายบุคคล การส่งเสริมแบบกลุ่ม และการใช้สื่อต่างๆ
เป็นการส่งเสริมการเกษตรที่มีประสิทธิภาพ แต่ต้องใช้การลงทุนจำนวนมาก
1. การส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรของสาธารณรัฐอินเดีย
การประยุกต์ในการส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรของประเทศอินเดีย
มีการใช้ระบบการส่งเสริมและพัฒนา
การเกษตรแบบฝึกอบรมและเยี่ยมเยียน (training and visit system)
มีการใช้ระบบการส่งเสริมการเกษตรที่เรียกว่า Agricultural Technology Management Agency Model หรือ ATMA model เป็นระบบแบบกระจายอำนาจจากส่วนกลางไปสู่ท้องถิ่น
เน้นให้เกิดความหลากหลายทางการเกษตรและการใช้การตลาดเป็นสิ่งนำทางในการส่งเสริมการเกษตร
อินเดียเป็นประเทศเกษตรกรรมที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับ 2 ของโลก รองจากจีน มีพื้นที่การเพาะปลูกมากเป็นอันดับ 2 ของโลก (รองจากสหรัฐอเมริกา) ประมาณ 159 ล้านเฮกตาร์ หรือมากกว่าครึ่งหนึ่งของเนื้อที่โดยรวมของประเทศ อินเดียสามารถก้าวขึ้นสู่การเป็นประเทศส่งออกสินค้าเกษตรรายใหญ่ของโลกและสามารถพัฒนาระบบการเกษตรของประเทศอย่างยั่งยืน จนนำไปสู่การผลิตอาหารเพียงพอสำหรับเลี้ยงประชากรจำนวน 1.2 พันล้านคน
ผลผลิตทางการเกษตรที่สำคัญ ได้แก่ ข้าว ข้าวสาลี น้ำมันที่ได้จากพืช ฝ้าย ปอ น้าตาล ถั่วเลนทิล หัวหอม มันฝรั่ง เนื้อแกะ เนื้อแพะ และปลา
สินค้าส่งออกที่สำคัญ ได้แก่ สิ่งทอ เครื่องหนัง พืชและผลิตภัณฑ์จากพืช ด้ายและเส้นใย สัตว์น้ำสดและแช่แข็ง สัตว์น้ำแปรรูป
สินค้านำเข้าที่สำคัญ ได้แก่ ปุ๋ย และยางพารา
3. การส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรของสาธารณรัฐอิสลามอิหร่าน
อิหร่านมีพื้นที่เพาะปลูกประมาณ 18 ล้านเฮกเตอร์ ผลิตอาหารประมาณ 65 ล้านตัน อิหร่านผลิตปริมาณอาหารเป็นลำดับที่ 30 ของโลก และลำดับที่ 8 ในเรื่องความหลากหลายการผลิตอาหาร
ผลผลิตทางการเกษตรที่สำคัญ
การเกษตรที่สำคัญ ได้แก่ ถั่วพิชตาชิโอ (pistachio) อินทผลัม ทับทิม ลูกเบอรี่ แอบเปิ้ล หญ้าฝรั่ง ส้ม องุ่น ถั่ว และลูกเกด
สินค้าส่งออกที่สำคัญ ได้แก่ เมล็ดข้าวโพด เมล็ดถั่วเหลือง กากถั่วเหลืองข้าวสาร น้ำตาล กล้วย เนื้อวัวแช่แข็ง ฝ้าย ข้าวสาลี น้ำมันปาล์ม น้ำมันถั่วเหลือง ข้าวบาร์เลย์ เนย นมโค ยางพารา น้ำมันทานตะวัน และถั่วเลนทิล
สินค้านำเข้าสำคัญ ได้แก่ ถั่วพิสตัสชิโอลูกเกด หญ้าฝรั่น ถั่วลันเตา ธัญญาหาร ฝ้าย ผลไม้ และไข่ปลาคาร์เวียร์ อินทผลัม และมะนาวหวาน
การประยุกต์ในการส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรของประเทศอิหร่าน
มีการใช้ Knowledge Management คือ เน้นให้เกษตรกรมีความรู้ให้เกษตรกรแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน
ให้เกษตรกรมาฝึกปฏิบัติที่แปลงเรียนรู้แล้วค่อยไปลงมือปฏิบัติในแปลงของตนเอง โดยการส่งเสริมให้เกษตรกรแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน
จัดตั้งศูนย์เรียนรู้ในชุมชน การจัดทำแปลงเรียนรู้ต้นแบบ และจัดการศึกษาดูงาน