Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
หน่วยที่6 การพยาบาลเด็กป่วยที่มีปัญหาการติดเชื้อ, การประเมิณภาวะติดเชื้อ -…
หน่วยที่6 การพยาบาลเด็กป่วยที่มีปัญหาการติดเชื้อ
การพยาบาลเด็กป่วยที่มีปัญหาการติดเชื้อที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน
หัดเยอรมัน
ความหมาย: : โรคติดต่อที่เกิดจากเชื้อไวรัส มักพบในเด็กโต กรณีหญิงตั้งครรภ์ในระยะ 3-4 เดือน ทารกจะติดเชื้อตั้งแต่อยู่ในครรภ์ ทำให้พิการทางหู ตา หัวใจ สมอง
สาเหตุ: เกิดจากเชื้อ Rubella virus อยู่ในจมูก คอ และเลือด
แพร่กระจายทางเสมหะ น้ำลาย เลือด อุจจาระ ปัสสาวะและรับเชื้อในอากาศหรือการใช้ของร่วมกัน
พยาธิสภาพ: เมื่อเชื้อเข้าร่างกาย จะแบ่งตัวที่เยื่อบุลำคอ ทางเดินหายใจ และต่อมน้ำเหลือง ร่างกายอาจมีการตอบสนองด้วยการเกิดผื่น
อาการและอาการแสดง
อาการนำ: ในเด็กเล็กไม่มีไข้ พบผื่นขึ้น ต่อมน้ำเหลืองหลังหู คอ แและท้ายทอยโต จะเป็นอาการ 1-5วัน ก่อนผื่นขึ้นและหายไปเมื่อผื่นขึ้น
อาการผื่น: ขึ้นที่หน้าค่อยกระจายตามลำคอ แขนขา ผื่นเล็กแดงกระจาย อาจเป็นปื้นตามตัว
การวินิจฉัย: วินิจฉัยจากลักษณะของผื่น อาการแสดงที่พบร่วมกับประวัติการฉีควัคซีน หรือตรวจแยกเชื้อไวรัสและตรวจหาภูมิคุ้มกัน
การรักษา: ประคับประคองตามอาการ
การป้องกัน: ฉีด MMR เมื่ออายุ 9-12เดือน
การพยาบาล
เสี่ยงต่อการแพร่เชื้อไปสู่ผู้อื่นทางการหายใจและทางเดินอาหาร
กิจกรรมการพยาบาล
พยาบาลด้วยหลัก Universal Precaution
แยกผู้ป่วยจนกว่าจะพ้นระยะติดต่อ คือประมาณ 4 วันหลังผื่นขึ้น พร้อมทั้งอธิบายให้ผู้ป่วยและญาติเข้าใจ 3. แนะนําครอบครัวให้ดูแลความสะอาดร่างกายของเด็ก และจัดให้เด็กบ้วนน้ําลาย เสมหะ ลงในภาชนะ
แนะนําให้ผู้ป่วยและครอบครัวใช้ผ้าปิดปากและจมูกขณะไอหรือจามทุกครั้ง
ใช้น้ํายาฆ่าเชื้อ ล้างมือก่อนและหลังสัมผัสผู้ป่วย และแนะนําญาติ
ดูแลความสะอาดของสิ่งแวดล้อมภายในห้องแยกของผู้ป่วย ให้มีอากาศถ่ายเทสะดวก เพื่อลดจํานวนเชื้อโรค
ผู้ป่วยไม่สุขสบายจากผื่นคัน
กิจกรรมการพยาบาล
ดูแลความสะอาดผิวหนังบริเวณผื่นคัน ให้แห้งสะอาดอยู่เสมอ เช็ดตวั ด้วยน้ําอุ่น ซับให้แห้ง ไม่ฟอกสบู่ที่
ระคายเคืองผิวหนัง เพราะจะทําให้ผิวแห้งและคันมากขึ้น
สวมเสื้อผ้าสะอาด นุ่ม บาง และหลวมๆ เพื่อป้องกันการระคายเคืองที่ผิวหนัง
ทาคาลาไมด์โลชั่นหรือให้รับประทานยาAntihistamineตามแผนการรักษาเพื่อลดอาการคัน
แนะนําการตัดเล็บมือเด็กให้สั้นใช้การลูบเบาๆเมื่อมีอาการคันเพราะอาจติดเชื้อซ้ําสองได้
จัดกิจกรรมการเล่นให้เหมาะสมกับวัยของผู้ป่วย เพื่อเบี่ยงเบนความสนใจจากอาการคัน
คางทูม
ความหมาย: โรคที่ติดจากเชื้อไวรัสทำให้เกิดการอักเสบ
ของต่อมน้ำลายข้างหู มักพบในเด็กอายุ 5-10 ปี
สาเหตุ: เกิดจากเชื้อ Mump virusที่อยู่ในน้ำลยาย CSF เลือด ปัสสาวะ ติดต่อผ่านการไอ จาม หายใจรดกัน หรือสัมผัสสิ่งปนเปื้อนเชื้อ
พยาธิสภาพ: เชื้อเข้าทางจมูกหรือปาก แบ่งตัวในทางเดินหายใจส่วนบนและต่อมน้ำเหลือง มักพบต่อมน้ำลายข้างหูบวมโต
อาการและอาการแสดง: ไข้ ปวดศีรษะใน 24 ชม. ปวดขากรรไกร ต่อมน้ำลายหน้าหูบวมและกดเจ็บ คางทูมสองข้าง
การวินิจฉัย: วินิจฉัยจากอาการแสดงของต่อมน้ำลายอักเสบ ประวัติการสัมผัสผู้ป่วยใน2-3 สัปดาห์ หรือตรวจแยกเชื้อไวรัสและตรวจหาภูมิคุ้มกัน
ภาวะแทรกซ้อน
1.เยื่อหุ้มสมองอักเสบ
2.อัณฑะอักเสบ
3.รังไข่อักเสบ
4.ตับอ่อนอักเสบ
การป้องกัน: ฉีด MMR1 และ MMR2 เมื่ออายุ 9-12เดือน และ 18 เดือน
การพยาบาล
ผู้ป่วยได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ
เนื่องจากอาการปวดที่ต่อมน้ำลายทำให้เคี้ยวอาหารลำบาก
กิจกรรมการพยาบาล
ให้อาหารเหลว หรืออาหารอ่อนแคลอรี่สูงที่ไม่ต้องเคี้ยวมาก เพื่อลดการปวดบริเวณต่อมน้ําลายที่อักเสบ ขณะเคยี้วเลือกจัดอาหารที่ผู้ป่วยชอบและจัดให้น่ารับประทานโดยให้ปริมาณไม่มากแต่บ่อยครั้ง
บันทึกชนิดและปริมาณอาหารที่ผู้ป่วยรับประทานทุกครั้ง เพื่อประเมินภาวะขาดสารอาหาร
ประคบอุ่นบริเวณหน้าหู เพื่อลดการปวดบริเวณต่อมน้ําลายที่อักเสบ
ชั่งน้ําหนักผู้ป่วยอย่างน้อยวันละ 1 ครั้ง โดยใช้เครื่องชั่งเดียวกัน และเวลาเดียวกันทุกวัน เพื่อประเมินภาวะ
ขาดน้ําและขาดสารอาหาร
ผู้ป่วยไม่สุขสบายจากภาวะแทรกซ้อนของการติดเชื้อไวรัส
กิจกกรรมการพยาบาล
วัดสัญญาณชีพทุก 4 ชม. เพื่อประเมินการอักเสบ
ของลูกอัณฑะ หรือรังไข่
ดูแลให้ผู้ป่วยพักผ่อนมากๆ เพื่อลดการเกิดการอักเสบของลูกอัณฑะ หรือรังไข่
สังเกตอาการอักเสบของลูกอัณฑะ หรือรังไข่ ได้แก่ มีไข้ หนาวสั่น ปวดบริเวณท้องน้อย ลูกอัณฑะบวมแดง
หากพบอาการเหล่านี้ควรรายงานแพทย์ เพื่อพิจารณาให้การรักษาที่เหมาะสมต่อไป
ประคบความร้อนหรือเย็นบริเวณลูกอัณฑะที่อักเสบ บวม แดง หรือบริเวณท้องน้อยบรรเทาอาการปวด 5. ดูแลให้ได้รับยาแก้ปวดตามแผนการรักษา
ถ้ามีไข้สูง ควรให้ยาลดไข้ตามแผนการรักษาและเช็ดตัวลดไข้
จัดสิ่งแวดล้อมให้สะอาด สงบ เงียบ มีอากาศถ่ายเทได้สะดวก เพื่อให้ผู้พักผ่อนได้อย่างเต็มท
หัด
ความหมาย : โรคติดต่อที่เกิดจากเชื้อไวรัส พบมากในช่วงอายุ 8-5ปี ระบาดในฤดูหนาว
สาเหตุ : เกิดจากเชื้อไวรัส Morbillivirus Measles virus ที่อยู่ในจมูกและลำคอ แพร่กระจายเชื้อโดยการสัมผัส น้ำมูก น้ำลาย หรือเสมหะของผู้ป่วย สัมผัสสิ่งปนเปื้อนเชื้อ รวมถึงการหายใจเอาเชื้อไวรัสในอาการ
พยาธิสภาพ : ในระยะแรกจะพบเชื้อบริเวณเยื่อบุโพรงจมูก หรือเยื่อบุตา หลังจากนั้นจะลุกลามเข้าต่อมน้ำเหลืองและกระแสเลือด เกิดตุ่มเล็กๆกระจายไปทั่ว เช่น ในกระพุงเก้บ เรียก koplik's spot และเพิ่มจำนวนต่อมไขมัน และต่อมขน เพิ่มเป็นตุ่มแดง
อาการและอาการแสดง
ระยะที่1 ก่อนผื่นขึ้น : ไข้ 3-5 วัน หน้าแดง ตา แดง เยื่อบุตามอักเสบ กลัวแสง ประมาณวันที่2-3ตรวจพบ koplik's spot บริเวณกระพุงแก้ม แล้วจะหายไปเมื่อผื่นขึ้นแล้ว 24 ชั่วโมง
ระยะที่2 ออกผื่น : หลังจากมีอาการวันที่4-5 เริ่มมีผื่นแดงบริเวณหลังใบหู ไรผม ต้นคอ ลามไปหน้าคอ ลำตัว แขน ขา มีไข้สูงมาก ตาแดงจัด น้ำตาไหล ต่อมน้ำเหลือหลังหูและท้ายทอยโต
ระยะที่3 ฟื้นตัว : เมื่อผื่นขึ้นเต็มที่ ไข้จะลดลง1-2 วัน ผื่นจะกลายเป็นสีคล้ำหรือน้ำตาล เรียกว่า Hyperpigmentation แล้วจางลงใน1อาทิตย์
ภาวะแทรกซ้อน : ปอดอักเสบ ช่องหูอักเสบ อุจาระร่วง
การวินิจฉัย : จากอาการ อาการแสดง ลักษณะผื่น และ koplik's spot
การรักษา : ประคับประคองตามอาการ
การป้องกัน : ฉีด MMR เมื่ออายุ 9-12เดือน
การพยาบาล
เสี่ยงต่อการเกิดภาวะชักเนื่องจากไข้สูง
กิจกรรมการพยาบาล
1.อธิบายพยาธิวิทยาของโรคที่ทําให้เกิดภาวะชักจากไข้สูงได้ และการพยาบาล
2.แนะนําผู้ปกครองให้เช็ดตัวลดไข้อย่างมปีระสิทธิภาพเพื่อระบายความร้อนออกจากร่างกายจนกว่าไข้
ลดลงต่ํากว่า 38.5 องศาเซลเซียส
3.ให้ยาลดไข้ paracetamol 10 mg/kg/dose ตามแผนการรักษาของแพทย์ ควรทําควบคู่กับการเช็ดตัว เพื่อนำพาความร้อน
4.. วัด V/S ทุก 4 ชม.และประเมิน BT หลังเช็ดตัวลดไข้ 30 นาที และ 1-2 ชั่วโมง เพื่อติดตามดูระดับอุณหภูมิ
ให้ผู้ป่วยรับน้ำทางปากอย่างเพียงพอ หรือให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำตามแผนการรักษา เพื่อทดแทนน้ำที่เสียไปทางเหงื่อ หรือปัสสาวะ
6.ให้ยากันชักตามแผนการรักษา ในเด็กที่มีประวัติชัก
7.จัดสิ่งแวดล้อมให้สงบ อากาศถ่ายเทสะดวก เพื่อการพักผ่อนอย่างเพียงพอ
ผู้ป่วยไม่สุขสบายจากการเจ็บตา เคืองตา
กิจกรรมการพยาบาล
ทำความสะอาดด้วยน้ำต้มสุกสะอาดหรือ NSS
2.จัดให้ผู้ป่วยอยู่บริเวณแสงไม่จ้า เพื่อลดอาการระคายเคืองของตา
ดูแลไม่ให้ผู้ป่วยขยี้ตา
4.เบี่ยงเบนความสนใจ โดยการเล่านิทาน
5.ดูแลพักผ่อนเพื่อลดการใช้สายตา
6.สังเกตความผิดปกติของนัยตา หากผิดปกติควรรายงานแพทย์
ดูแลให้ได้รับวิตามิน เอ ตามแผนการรักษา
เสี่ยงต่อการแพร่เชื้อไปสู่ผู้อื่นทางการหายใจและทางเดินอาหาร
กิจกรรมทางการพยาบาล
พยาบาลด้วยหลัก Universal Precaution
แยกผู้ป่วยจนกว่าจะพ้นระยะติดต่อ คือประมาณ 4 วันหลังผื่นขึ้น พร้อมทั้งอธิบายให้ผู้ป่วยและญาติเข้าใจ
แนะนําให้ผู้ป่วยและครอบครัวใช้ผ้าปิดปากและจมูกขณะไอหรือจามทุกครั้ง
ใช้น้ํายาฆ่าเชื้อ ล้างมือก่อนและหลังสัมผัสผู้ป่วย และแนะนําญาติ
ดูแลความสะอาดของสิ่งแวดล้อมภายในห้องแยกของผู้ป่วย ให้มีอากาศถ่ายเทสะดวก เพื่อลดจํานวนเชื้อโรค
แนะนําครอบครัวให้ดูแลความสะอาดร่างกายของเด็ก และจัดให้เด็กบ้วนน้ําลาย เสมหะ ลงในภาชนะ
วัณโรค
ความหมาย: โรคที่เกิดจากแบคทีเรียทำให้ปอดอักเสบ
สาเหตุ: ติดเชื้อจาก Mycobacterium tuberculosis เข้าสู่ปอดผู้ป่วย แพร่กระจายผ่านการไอ จาม หากตรวจเสมหะไม่พบ 3ครั้งและไม่มีการไอถือว่าไม่สามารถแพร่เชื้อได้
พยาธิสภาพ: เชื้อเข้าทางการหายใจ ฝังที่ปอดและแบ่งตัวเพิ่มจำนวนจน Macrophage ทำลายเชื้อไม่หมด จนเกิดหนอง เมื่่อหนองแตกจะแพร่ไปตามหลอดลม ทำให้เกิดกนองในช่องเยื่อหุ้มปอด
อาการและอาการแสดง
1.วัณโรคปอด: ไข้ต่ำ เบื่ออาหาร ไอเรื้อรังมีมูกเลือดปน เจ็บหน้าอก
2.วัณโรคต่อมน้ำเหลือง: ต่อมน้ำเหลือที่รักแร้ คอ ขาหนีบบวมโต
วัณโรคเยื่อหุ้มเยื่อสมอง: ปวดหัว อาเจียน ซึม
วัณโรคกระดูและและข้อ: ปวดข้อและกระดูก หนองไหลออกจากที่บวม
การวินิจฉัย:
Tuberculin test
ตรวจเพาะเชื้อMycobacterium tuberculosis
ภาวะแทรกซ้อน
1.Menigitis
Lung abcess
Pleural effusion
การรักษา: ระยะแรกให้ยาอย่างน้อย 3 ชนิด ต่อมาลดเหลือ
การให้ยา 2 ชนิด ให้อย่างต่อเนื่องอย่างน้อย6เดือน
และให้ผู้ป่วยพักผ่อนอย่างเพียงพอ รับประทานอาหารที่มีโปรตีนสูง
การป้องกัน
ฉีดวัคซีน BCG ตั้งแต่แรกเกิด
การพยาบาล
เสี่ยงต่อการแพร่กระจายเชื้อให้ผู้อื่น เนื่องจาก
มีการติดต่อทางระบบทางเดินหายใจหรือระบบทางเดินอาหาร
ให้การดูแลเพื่อลดการแพร่กระจายของเชื้อเช่นเดียวกับการดูแลผู้ป่วยโรคหัด เน้นจัดให้ผู้ป่วยอยู่ในห้องแยก
ให้คำแนะนำบิดามารดาหรือผู้ดูแลผู้ป่วยให้ทำการทดสอบการติดเชื้อวัณโรค เพื่อป้องกันการแพร่กระจาย
ดูแลให้ผู้ป่วยได้รับยาวัณโรคครบตามแผนการรักษา
มีโอกาสได้รับยารักษาวัณโรคไม่ครบตามแผนการรักษา
เนื่องจากการขาดความรู้ในการปฏิบัติตนที่ถูกต้อง
ดูแลให้ผู้ป่วยได้รับยาตามแผนการรักษา
ให้คำแนะนำบิดามารดาหรือผู้ดูแลผู้ป่วยในการให้ยา
ให้เด็กรับประทานยาต่อเนื่องนานอย่างน้อย 6 เดือนอย่างสม่ำเสมอ ทุกชนิดตามแผนการรักษา และไม่ควรหยุดยาเอง
เน้นย้ำผู้ปกครองให้มาตรวจตามนัดทุกครั้ง
เสี่ยงต่อเนื้อเยื่อของร่างกายขาดออกซิเจน เนื่องจากการติดเชื้อที่ปอด
จัดท่านอนให้หายใจสะดวก ศีรษะสูง
ดูแลทางเดินหายใจให้โล่ง โดยใช้ลูกยางหรือเครื่องดูดเสมหะดูดเสมหะให้ผู้ป่วยพร้อมประเมินการหายใจหลังจากดูเสมหะ
ดูแลให้ได้รับยารักษาวัณโรคอย่างครบถ้วน
รวมทั้งสังเกตอาการผิดปกติของยา
ประเมินการได้รับออกซิเจนของร่างกาย และการติดเชื้อของทางเดินหายใจอย่างน้อยทุก 4 ชั่วโมง ถ
ผู้ป่วยและครอบครัววิตกกังวลและกลัวการแยกห้อง
หรืออุปกรณ์เครื่องใช้จากผู้อื่น
1.ให้ข้อมูลเกี่ยวกับการแยกห้อง หรืออุปกรณ์เครื่องใช้จากผู้ป่วยอื่น
รวมทั้งระยะเวลาของการแยกห้อง
ให้เวลาพูดคุยหรือเล่นกับผู้ป่วย รวมทั้งให้ผู้ป่วยได้เห็นหน้าตาและฟังเสียงก่อนใส่ผ้าปิดปากและจมูก
กระตุ้นให้ผู้ป่วยระบายความรู้สึกวิตกกังวลและ
ความกลัวโดยการวาดรูปหรือจัดการเล่น หรืออนุญาตให้นำ
ของเล่นที่ผู้ป่วยชอบ
ส่งเสริมให้บิดามารดาหรือครอบครัวอยู่เฝ้าและทำกิจกรรมแก่ผู้ป่วย
สุกใส
การพยาบาล
เสี่ยงต่อการติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อนที่ผิวหนังจากผู้ป่วยเกาบริเวณตุ่ม
1.อาบน้ําให้สะอาดโดยใช้สบู่ที่ฆ่าเชื้ออย่างอ่อน
สังเกตและบันทึกลักษณะของผื่นและตุ่มที่ผิวหนัง
เสี่ยงต่อการแพร่กระจายเชื้อไปสู่ผู้อื่นเนื่องจากมีการติดต่อทางระบบหายใจ และจากน้ําเลือดหนองจากตุ่มพองตามตัวของผู้ป่วย
1.จัดให้ผู้ป่วยอยู่ในห้องแยกเพื่อป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อ
สวมถุงมือขณะให้การพยาบาลเมื่อต้องสัมผัสตุ่มพอง
แนะนําให้ผู้ป่วยและครอบครัวใช้ผ้าปิดปากและจมูกขณะไอหรือจามทุกครั้ง
4.แนะนําให้ผู้ป่วยและครอบครัวใช้ผ้าปิดปากและจมูกขณะไอหรือจามทุกครั้ง
ผู้ป่วยไม่สุขสบายจากผื่นคันตามผิวหนัง
ดูแลความสะอาดผิวหนังบริเวณผื่นคัน ให้แห้งสะอาดอยู่เสมอ เช็ดตัวด้วยน้ำอุ่น ไม่ฟอกสบู่ที่ระคายเคืองผิวหนัง
สวมเสื้อผ้าสะอาด นุ่ม บาง และหลวม
แนะนำการตัดเล็บมือเด็กให้สั้น ใช้การลูบเบาๆเมื่อมีอาการคัน
จัดกิจกรรมการเล่นให้เหมาะสมกับวัยของผู้ป่วย เพื่อเบี่ยงเบนความสนใจจากอาการคัน
ความหมาย: โรคที่เกิดจากเชื้อไวรัสที่ทำให้เกิดตุ่มพองที่ผิวหนัง พบมากที่เยื่อบุ mucous พบมากในเด็กวัยเรียน
สาเหตุ: เกิดจากเชื้อ Varicella Zoster Virus ติดต่อจากละอองน้ำมูกและเสมหะ หรือการสัมผัสตุุ่มหนอง
พยาธิสภาพ: ติดเชื้อและเพิ่มจำนวนในต่อมน้ำเหลืองและกระจายเข้าสู่เลือด หลังจากติดเชื้อ 10-12 วัน จะเกิดผื่น หลังจากผื่นขึ้น
1-3วันร่างกายจะสร้างภูมิคุ้มกัน หากเกิดในผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่องจะเกิดโรคงูสวัด
การวินิจฉัย
ซักประวัติสัมผัสกับผู้ป่วยโรคสุกใสหรืองูสวัด
ผลตรวจ White blood count
อาการและอาการแสดง
ภาวะแทรกซ้อน
1.ต่อมน้ำเหลืองอักเสบและเกิดีใต้ผิวหนัง
สมองอักเสบและเยื่อหุ้มสมองอักเสบ
การรักษา
ลดไข้ รักษาตามอาการ
ให้ยายับยั้งไวรัส Acycovir
การป้องกัน
ผู้ที่ยังไม่เคยป่วยที่มีอายุ13ปีขึ้นไป: รับวัคซีน VARILRIX หรือ MMRV1และ MMRV2 ห่างกันเข็มละ 4 สัปดาห์
แนะนำให้เด็กอายุ 1 ปี ที่ยังไม่เคยเป็นโรค ให้ฉีด VARILRIX หรือ MMRV1และ MMRV2
การพยาบาลเด็กป่วยที่มีปัญหาการติดเชื้ออื่น ๆ
ไข้เลือดออก
ความหมาย : โรคติดเชื้อไวรัสเดงกี จากยุงลายเป็นพาหะ
อาการสำคัญ : ไข้สูง2-7วัน จากนั้นจะลดลงอย่างรวดเร็ว พร้อมกับมีอาการช็อกหรือเลือดออก โดยเฉพาะระบบทางเดินอาหาร
พยาธิสรีรภาพ
ยุงที่มีเชื้อไวรัสเดงกีในต่อมน้ำลายกัดคน แพร่เชื้อเข้าสู่กระแสเลือด ทำให้มีการสร้าง Dengue specific antibody กระตุ้นระบบ Complement , Coagulation และ Fibrinolysis ส่งผลดังนี้
หลอดเลือดฝอย เปราะบางแตกง่าย
จำนวนเกร็ดเลือดลดลง
เกร็ดเลือดสั้นลงในระยะสั้น
การแข็งตัวของเลือดบกพร่อง และ Acute DIC มีผลทำให้เลือดออกมาก
ตับวาย
อาการ อาการแสดง
ระยะไข้ : ไข้สูงเกิน 38.8 องศาเซลเซียส ร่วมกับปวดหัว เบื่ออาหาร จุดเลือดออกเล็กๆกระจายตามแขน ลำตัว รักแร้ อาจมีเลือดออกตามไรฟันหรือกำเดา
ระยะช็อค : พบการรั่วของพลาสม่าทุกราย รั่วประมาณ24-48 ชํ่วโมงหลังไข้ลด อาจมีอาการรุนแรง มีการไหลเวียนล้มเหลวเนื่องจากมีการรั่วของพลาสม่าไปที่ปอดและช่องท้องมาก จนเกิดภาวะ Hypovolemic Shock
ระยะฟื้นตัว : ผู้ป่วยที่ไม่มีอาการช็อคเมื่อไข้ลดจะดีขึ้นอย่างรวดเร็ว เมื่อพลาสม่าหยุด HCT คงที่ ชีพจรช้าลงและแรงขึ้น ความดันปกติ ปัสสาวะออดมากขึ้น
การวินิจฉัย
อาการทางคลินิก
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
ภาวะแทรกซ้อน
ภาวะเลือดออกในระบบทางเดินอาหาร
ตับและไตวาย
ไส้ติ่งอักเสบ
ปอดอักเสบ
การป้องกัน
กำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย
ป้องกันไม่ให้ยุงกัดในเวลากลางวัน
การพยาบาล
ผู้ป่วยไม่สุขสบายเนื่องจากภาวะไข้
1.วัดประเมิณสัญญาณชีพทุก 4 ชม.
2.เช็ดตัวลดไข้ด้วยน้ำอุ่นเพื่อระบายความร้อนออกจากร่างกาย
3.ให้ยาลดไข้ Paracetamol 10 mg/kg/dose ตามแผนการรักษาของแพทย์
4.ดูแลความสะอาดของร่างกายและช่องปากเพื่อความสุขสบาย
5.จัดสิ่งแวดล้อมให้สงบเงียบ อาดาศถ่ายเทสะดวก เพื่อการพักผ่อนอย่างเพียงพอ
ผู้ป่วยไม่สุขสบายเนื่องจากอาการปวดท้อง
1.ดูแลให้ผู้ป่วยนอนในท่า fowler's position หรือนอนตะแคงเพื่อบรรเทาอาการปวดท้อง
2.ดูแลด้วยความระมัดระวัง นุ่มนวล ไม่คลำท้องโดยไม่จำเป็น เพื่อป้องกันการกระทบกระเทือนที่ผิวหนังและหน้าท้อง
3.ให้ยาแก้ปวดตามแผนการรักษาและสังเกตอาการผิดปกติ
สังเกตลักษณะ ตำแหน่งและระยะเวลาอาการปวดท้อง
จัดกิจกรรมเบี่ยงเบนความสนใจอาการปวดท้อง ที่เหมาะสมกับวัยและสภาพของผู้ป่วย เช่นอ่านหนังสือให้ฟัง ฟังเพลง
เสี่ยงต่อการสูญเสียน้ำและเกลือแร่ เนื่องจากเบื่ออาหาร อาเจียน มีไข้สูง
1.ประเมิณอาการแสดงภาวะขาดน้ำ ถ้าพบอาการแสดงเช่น ปากแห้ง นำ้หนักลด ปัสสาวะออกน้อย ให้รีบรายงานแพทย์
2.ดูแลให้ได้รับน้ำเพียงพอ ดื่มน้ำครั้งละน้อยๆ แต่บ่อยครั้ง
ดูแลให้รับสารน้ำทางหลอดเลือดดำตามแผนการรักษา
4.ดูแลให้รับประทานอาหารอ่อน ย่อยง่าย พลังงานสูง
5.บันทึกปริมาณสารน้ำเข้า-ออกร่างกายใน24 ชม.
6.ชั่งน้ำหนักตัววันละครั้ง
7.แนะนำครอบครัวให้มีส่วนร่วมในการดูแลให้ได้รับสารน้ำ สารอาหารอย่างเพียงพอ และตวงน้ำดื่ม/ปัสสาวะ
เสี่ยงต่อการเกิดภาวะช็อคเนื่องจากผนังของเส้นเลือดฝอยไม่ยอมให้น้ำซึมผ่านมากขึ้น
1.ดูแลให้ได้รับสารน้ำทางหลอดเลือดดำตามแผนการรักษา และติดตามผลตรวจปัสสาวะ หากพบค่าผิดปกติควรรายงานแพทย์
2.วัดสัญญาณชีพทุก 15 30นาที หรือ 1 ชั่วโมงตามความรุนแรงของอาการ ถ้าความดันต่ำกว่า 90/60 ชีพจรเบาและเร็ว หัวใจเต้นช้า มีอาการแสดงของภาวะช็อค เช่นมือเท้าเย็น ปัสสาวะออกน้อย ความรู้สึกตัวลดลง ผิวสีคล้ำเป็นจ้ำ ควรรายงานแพทย์
3.สังเกตและบันทึกอาการแสดงของการมีเลือดออก เช่นอุจาระดำ อาเจียนเป็นเลือด รีบรายงานแพทย์
บันทึกปริมาณสารน้ำเข้า-ออกร่างกาย ไม่น้อยกว่า1cc/kg/hr หากผิดปกติควรรายงานแพทย์
เสี่ยงต่อภาวะเลือดออกง่าย เนื่องจากเกร็ดเลือดต่ำ
1.หยุดเลือดทันที
2.ดูแลความสะอาดช่องปากและฟันด้วยแปรงขนอ่อนนุ่ม ตัดเล็บให้สั้น เพื่อป้องกันการมีเลือดออกตามช่องปากและผิวหนัง
3.เลี่ยงหัตถการที่ทำให้เลือดออก เช่น เจาะเลือด และดูแลบริเวณเข็มหรือข้อต่อที่ให้สารน้ำเพื่อป้องกันไม่ให้เลือดออกมากขึ้น
4.ดูแลให้ได้รับเลือด และสังเกตภาวะแทรกซ้อน
6.ป้องกันอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้น เช่น ยกไม้กั้นเตียง
5.สังเกตและบันทึกการมีเลือดออกจากอวัยวะภายใน เช่น ทางเดินอาหาร ทางเดินหายใจ หากมีอาการผิดปกติควรแจ้งแพทย์
ติดตามค่า HCT เพื่อประเมิณภาวะซีดจากการเสียเลือดและค่าเกร็ดเลือด ทุก4ชั่วโมง
เสี่ยงต่อภาวะน้ำเกิน เนื่องจากระยะพักฟื้นมีการซึมกลับของน้ำและโปรตีนเข้าสู้กระแสเลือด
1.สังเกตอาการผู้ป่วยอย่างใกล้ชิดเมื่อเข้าสู่ระยะฟื้น คือ รับประทาอาหารและปัสสาวะเพิ่มมากขึ้น ฮีมาโตคริตลดลงปกติ รีบรายงานแพทย์เพื่อให้ลดจำนวนสารน้ำที่ให้หรือหยุดให้สารน้ำ
2.วัดสัญญาณชีพทุก4 ชั่วโมงและสังเกตอาการของน้ำท่วมปอดและหัวใจวาย ถ้าพบอาการผิดปกติเช่น หอบ หายใจลำบาก ไอมีเสมหะฟองสีขาวหรือมีเลือดปน บวม ตับโต ควรรีบรายงานแพทย์
3.ดูแลให้รับสาน้ำทางหลอดเลือดดำตามแผนการรักษา ปรับไม่ให้หยดเร็วเกิน
4.ป้องกันภาวะน้ำเกิน โดยบันทึกปริมาณสารน้ำเข้า ออกร่างกาย และชั่งน้ำหนักทุกวัน
ครอบครัววิตกกังวลกลัวผู้ป่วยมีอาการรุนแรงหรือสูญเสียผู้ป่วย
1.เปิดโอกาสให้ระบายความรู้สึก รับฟังด้วยความเห็นใจ
2.อธิบายวัตถุประสงค์ของการรักษาพยาบาล ให้ข้อมูลตามความเหมาะสม ให้กำลังใจผู้ป่วยและครอบครัว
3.กระตุ้นให้ครอบครัวมีส่วนร่วมในการดูแลผู้ป่วย ให้กำลังใจ ชมเชยเมื่อครอบครัวสามารถดูแลผู้ป่วยได้
4.อธิบายให้ครอบครัวทราบเหตุผลในการปฏิบัติรักษาพยาบาลต่อผู้ป่วย ให้ครอบครัวมีส่วนร่วมในการวางแผนการพยาบาลตามความเหมาะสม
5.บอกความก้าวหน้าของโรคและการรักษาพยาบาลให้ทราบทุกระยะ
6..ให้คำแนะนำการปฏิบัติตัวเมื่อผู้ป่วยมีอาการดีขึ้น แนะนำการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย
เอดส์ในเด็ก
ความหมาย : กลุ่มอาการที่ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายถูกทำลาย มักเสียชีวิตด้วยโรคติดเชื้อแวยโอกาส
สาเหตุ : ติดเชื้อ HIV ทางเพสสัมพันธ์ สัมผัสเข็มฉีดยาหรือสัมผัสผ่านเยื่อเมือกกับเลือด สารคัดหลั่งปนเปื้อนเชื้อ มารดาสู่ทารก น้ำนมจากมารดาสู่ทารก
พยาธิสรีรภาพ : เมื่อเชื้อเข้าร่างกายจะจับกับ Cell CD4 Cell จับกับแอนติเจน CD4 บนผิวT cell ใช้เอนไซม์ revers transcriptase ของตัวมันเองเปลี่ยนจากRNA เป็น DNA เพื่อแทรกเข้าไปอยู่ในDNA ของT cell แฝงตัวจนกว่าจะถูกกระตุ้นจะแบ่งตัวเพิ่มจำนวนยีน HIV ทำให้ Cell CD4 ในร่างกายติดเชื้อและถูกทำลายลงในเวลาอันรวดเร็ว
อาการและอาการแสดง
ระยะติดเชื้อไม่ปรากฏอาการ: พบแอนติบอดี้ต่อเชื้อ HIV ในเลือด
ระยะติดเชื้อปรากฏอาการ : พบแอนติบอดี้ต่อเชื้อ HIV ในเลือด ร่วมกับมีอาการหรือกลุ่มโรคที่เกี่ยวข้องกับระบบภูมิคุมกัน
ระยะเป็นเอดส์
1.ผู้ป่วยเอดส์ มีอาการบ่งชี้ภาวะภูมิคุ้มกันเสื่อม
2.ผู้ป่วยเอดส์พบเม็ดเลือดขาว CD4 ต่ำกว่า200ไมโคลิตร อย่างน้อย2ครั้ง
3.ผู้ป่วยกลุ่มติดเชื้อจากแม่ : อายุต่ำกว่า15เดือน คลอดจากแม่ที่ติดเชื้อ ผู้ป่วยจะถูกวินิจฉัยว่าเป็นดรคเอดส์ถ้าตรวจพบอาการหลักและรอง อย่างละ2ข้อ
อาการหลัก
น้ำหนักลดมากกว่าร้อยละ10 หรือเลี้ยงไม่โต
มีประวัติถ่ายเหลว2ครั้งขึ้นไป/วัน เรื้อรัง หรือเป็นๆหายๆ มากกว่า1 เดือน
มีประวัติไข้ เป็นๆหายๆหรือเรื้อรัง มากกว่า1เดือน
ติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนล่างรุนแรง แสดงลักษณะ bilateral reticulonodular interstitial pulmonary infiltration ติดต่อกันตั้งแต่2 เดือนขึ้นไป
อาการรอง
ต่อมน้ำเหลืองโตทั่วไป หรือ ตับ ม้ามโต
พบติดเชื้อราในเยื่อบุปาก
ติดเชื้อไม่รุนแรงซ้ำหลายครั้ง เช่น หูชั้นกลาง/คออักเสบ
ไอเรื้อรังติดต่อกันนานมากกว่า1เดือน
ผื่นแดงอักเสบคล้ายผื่นแพ้เรื้อรัง
มีผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการยืนยันการติดเชื้อ HIV ของแม่ตั้งครรภ์หรือก่อนคลอด หรือยืนยันการติดเชื้อ HIV ในเด็กหรือพบแอนติบอดี้ในเด็ก
การวินิจฉัย
ผู้ใหญ่และเด็กที่มีอายุ > 18 เดือน ให้ตรวจหาแอนติบอดีต่อเชื้อ HIV
เด็กที่มีอายุ < 18 เดือน ใช้วิธีตรวจหาเชื้อหรือส่วนประกอบของไวรัสโดยตรง (HIV Viral Testing)
ภาวะแทรกซ้อน
ระบบประสาท = เยื่อหุ้มสมองและสมองอักเสบ มีความผิดปกติด้านการเคลื่อนไหว
ระบบทางเดินหายใจ = ติดเชื้อ เช่น ปอดอักเสบ วัณโรค
ระบบทางเดินอาหาร = ติดเชื้อทางเดินอาหาร ท้องเดินเรื้อรัง
ระบบหลอดเลือด = มะเร็งหลิดเลือดใต้ผิวหนัง
การรักษา
ให้ยาต้านไวรัส มีข้อบ่งชี้ ดังนี้
1.1 มีอาการติดเชื้อและระบบภูมิคุ้มกันเริ่มผิดปกติ
1.2 ในเด็กอายุน้อยกว่า 12 เดือน ได้รับการวินิจฉัยแล้วทุกราย 1.3 เด็กอายุ 1 ปีขึ้นไป ให้เริ่มยากรณี CD4 ผิดปกติ (< 15 %)
ให้ยากระตุ้นการทํางานของระบบภูมิคุ้มกันให้ดีขึ้น เช่น Interferon
รักษาโรคติดเชื้อ หรือมะเร็งที่เกิดขึ้น
ให้ยารักษาอาการอื่นๆ เช่น ยาแก้คัน ยาแก้ปวดข้อ ยากันชัก เป็นต้น
การป้องกัน
เน้นป้องกันจากแม่สู่ลูก หญิงตั้งครรภ์ที่ติดเชื้อถ้าได้ AZT ระยะสั้น ๆ จะป้องกันเชื้อจากแม่สู่ลูกได้ส่วนหนึ่ง
การพยาบาล
เสี่ยงต่อการติดเชื้อฉวยโอกาสเพิ่มขึ้นเนื่องจากมีภูมิคุ้มกันบกพร่อง
สังเกตและประเมินอาการการติดเชื้อ วัณโรคปอด ปอดอักเสบจากเชื้อ CMV หรือปอดอักเสบจากเชื้อ P.Carinii (อายุน้อยกว่า 1 ปี)
แยกผู้ป่วย ห่างจากผู้ป่วยอื่นที่มีการติดเชื้อ
3.อธิบายวิธีการป้องกันการติดเชื้อ
4.ล้างมือก่อนและหลังให้การพยาบาลทุกครั้ง
6 . ดูแลความสะอาดบริเวณอวัยวะสืบพันธุ์ทุกครั้งหลังถ่ายอุจจาระและปัสสาวะ
5.ให้วัคซีนให้ครบ โดยวัคซีนวัณโรค , สุกใส (ติดเชื้อ HIV ให้ได้ ถ้ามีอาการเอดส์ห้ามให้)
ดูแลความสะอาดช่องปาก /ความสะอาดร่างกาย อุปกรณ์ของใช้ของผู้ป่วย
ให้ยาต้านจุลชีพตามแผนการรักษา
เนื้อเยื่อของร่างกายได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอเนื่องจากมีการติดเชื้อที่ปอด
ประเมินสัญญาณชีพ
ให้นอนศีรษะสูง เพื่อให้กระบังลมหย่อนตัว ปอดขยายตัวได้มากขึ้น
3.กระตุ้นให้ไอ(เด็กโต) เคาะปอด ดูดเสมหะ
ให้ได้รับออกซิเจนตามแผนการรักษา
ได้รับสารอาหารไม่เพียงพอกับความต้องการของร่างกายเนื่องจาก รับประทาน
ไม่ได้ มีแผลในช่องปาก
ประเมินภาวะโภชนาการ
ค้นหาสาเหตุเช่น อาการเบื่ออาหาร เจ็บแผลในช่องปาก กลืนลําบาก ภาวะถ่ายเหลว
ดูแลให้ได้รับอาหารครั้งละน้อยๆแต่บ่อยครั้ง หลีกเลี่ยงอาหารที่ระคายเคืองแผลในช่องปาก
ดูแลความสะอาดของช่องปาก-กระตุ้นให้ผู้ป่วยบ้วนปากก่อนและหลังอาหารเพื่อลดและป้องกันการติดเชื้อในช่องปาก
ให้คําแนะนํามารดา-อาหารที่เหมาะสมและมีคุณค่าทางโภชนาการ
ชั่งน้ําหนักทุก 1 สัปดาห์เพื่อประเมินภาวะโภชนาการ
มารดากังวล / สูญเสียภาพลักษณ์เนื่องจากมีรอยโรคที่ผิวหนังจากการติดเชื้อ
ประเมินการความรู้สึกของผู้ป่วยและมารดา เกี่ยวกับภาพลักษณ์ที่เปลี่ยนแปลง
ให้เด็ก/ครอบครัวระบายความรู้สึกของการเปลี่ยนแปลง
ให้กําลังใจและกระตุ้นเด็กและครอบครัวมีบทบาทในกิจวัตรประจําวัน การมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น
ขาดความรู้ในการปฏิบัติตัวเมื่อกลับบ้าน
ให้คําแนะนําผู้ป่วยเกี่ยวกับวิธีป้องกันการแพร่กระจายเชื้อสู่ผู้อื่น
ให้คําแนะนําเกี่ยวกับการป้องกันการติดเชื้อฉวยโอกาส
ให้คําแนะนําอาการที่ควรมาพบแพทย์
อาการไข้ หนาวสั่น เหงื่อออกตอนกลางคืน กลืนลําบาก เกิดคราบสีขาวในช่องปากหรือมีแผลในปาก เกิดผื่นผิวหนัง ปัสสาวะแสบ ขัด บ่อย มีกลิ่นเหม็น ไอแห้ง ๆ ไอมีเสมหะ สีเขียวหรือสีสนิมเหล็ก อาการ หายใจตื้น ๆ หายใจลําบาก อ่อนเพลียง่าย หรือน้ําหนักลด
โรคผิวหนังที่พบบ่อยในเด็ก
ผื่นผ้าอ้อม
ลักษณะ : เป็นผื่น หรือตุ่มแดง อาจมีตุ่มน้ำหรือหนองร่วม
ความหมาย : ผื่นผ้าอ้อมเป็นโรคผิวหนังในเด็กทารกที่ใช้ผ้าอ้อมห่อหุ้มร่างกาย
สาเหตุ
ใช้ผ้าอ้อมที่เปียกและใส่นานเกิน
ใช้สบู่หรือผงซักฟอกชนิดแรง หรือล้างไม่หมด
ผู้ปกครองดูแลสุขอนามัยของทารกไม่เหมาะสม
การรักษา
ให้ยาปฏิชีวนะ Amoxicillin
ใช้ครีมบํารุงผิวที่ทําให้ผิวหนังนุ่ม
ควรล้างบริเวณผื่นผ้าอ้อมด้วยน้ําสบู่อ่อน ล้างปัสสาวะ หรืออุจจาระที่ค้างแล้วเช็ดให้แห้ง
ใช้ผลิตภัณฑ์ให้ความชุ่มชื้น เช่น ทาวาสลีนทุกครั้งที่เปลี่ยนผ้าอ้อม
ให้ยาสเตอรอยด์ชนิดอ่อนๆให้ทาเพื่อลดการระคายเคืองและอักเสบของผื่นผ้าอ้อม
แผลอักเสบชนิด Impetigo Contagiosa
ความหมาย : โรคติดเชื้อแบคทีเรียที่พบมากที่สุดในเด็ก
สาเหตุ : เกิดจากเชื้อ staphylococcus และ ฺBeta hemolytic streptococcus หรืออาจเกิดจากโรคแทรกซ้อนของโรคผิวหนังบางชนิด เช่น หิด ยุงกัด
ลักษณะ
ช่วงแรกจะมีลักษณะแดงต่อมาจะกลายเป็นตุ่มน้ำหนอง เมื่อตุ่มหนองแตกแผลจะลุกรามไปรอบ ๆ ต่อมาจะแห้งเป็นเสก็ดน้ำตาล บางครั้งหลุดออกมาเหลือแต่ผื่นแดง พบบ่อยบริเวณ แก้ม คาง หู จมูก แขน ขา
ภาวะแทรกซ้อน
1.เด็กเล็กติดเชื้อจะรุนแรงและเข้าสู่กระแสโลหิตได้ง่าย และเสียชีวิตได้
กรณีมีการติดเชื้อผิวหนังในตําแหน่งที่ลึก จะเกิดฝีขนาดเล็ก (Boil) หรือขนาดใหญ่ เรียก (Abscess) เด็กจะ มีไข้และมีอาการบวมแดง ต่อมากลายเป็นหนอง อาจต้องผ่าตัดเพื่อระบายหนองออก
ผู้ป่วยที่เป็น อิมเพ็ททิโก (Impetigo) จากเชื้อสเตร็ปโทค็อกคัส บางรายอาจมีภาวะไตอักเสบเฉียบพลันซึ่ง เป็นภาวะแทรกซ้อนที่สําคัญ
การรักษา
1.โรคนี้แม้จะหายเองได้แต่การกินยาปฏิชีวนะก็มีความจําเป็นโดยเฉพาะในเด็กเล็กการใช้ยา รับประทานจะทําให้โรคหายเร็วขึ้น ปกติรับประทานนาน 10-14 วัน และลดการกลับมาเป็นใหม่ของโรค
การทําความสะอาดแผลด้วยน้ําเกลือหรือสบู่ที่มีตัวยาฆ่าเชื้อตรงแผล วันละ 3-4ครั้งจนกว่าแผลจะหาย
ข้อวินิจฉันทางการพยาบาล
เสี่ยงต่อการติดเชื้อแทรกซ้อนที่ผิวหนังเนื่อจากผู้ป่วยเกาบริเวณตุ่ม
กิจกรรมทางการพยาบาล
เน้นดูแลการทำความสะอาดผิวหนังไม่ให้เปียกชื้อ เช่น การเปลี่ยนอ้อมบ่อยๆ
ทายาตามแผนการรักษาอย่างต่อเนื่อง
ตัดเล็บให้สั้น สะอาด
การประเมิณภาวะติดเชื้อ
ประวัติการสัมผัสโรค
ประวัติการรับวัคซีน
ประวัติการเป็นโรคติดเชื้อชนิดใดชนิดหนึ่ง
อาการที่ตรวจพบ
ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ