Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
หน่วยที่ 2 การส่งเสริมและพัฒนา การเกษตรของประเทศในอาเซียน - Coggle Diagram
หน่วยที่ 2 การส่งเสริมและพัฒนา การเกษตรของประเทศในอาเซียน
2. การส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรของสาธารณรัฐอินโดนีเซีย
สาธารณรัฐอินโดนีเซียเป็นหมู่เกาะ ระหว่างมหาสมุทรแปซิฟิกกับมหาสมุทรอินเดีย และระหว่างทวีปเอเชียกับออสเตรเลีย มีรูปร่างคล้ายพระจันทร์หงายครึ่งซีก มีพื้นที่มากกว่าประเทศไทยประมาณ 10 เท่า ภูมิอากาศมีลักษณะผสมผสานและเปลี่ยนแปลงไปตามภูมิประเทศ มีประชากร ประมาณ 245.5 ล้านคน มีชนเผ่าพันธุ์ต่าง ๆ อาศัยอยู่ตามเกาะ และตามแนวชายแดนด้านตะวันตก
การเกษตรที่สำคัญ ได้แก่ ยางพาราและผลิตภัณฑ์ น้ำมันปาล์ม เนื้อไก่ เนื้อวัว ผลิตภัณฑ์จากป่า กุ้ง โกโก้ กาแฟ สมุนไพร น้ามันหอมระเหย ปลาและผลิตภัณฑ์ที่คล้ายคลึงกัน และเครื่องเทศ
สินค้าส่งออกที่สำคัญ ได้แก่ น้ำมันหล่อลื่น แร่ธาตุ ยาง ไขมันจากสัตว์หรือพืช (รวมน้ำมันปาล์ม) เครื่องจักรไฟฟ้า เครื่องจักร และชิ้นส่วนเครื่องจักรกล
การประยุกต์ในการส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรของประเทศอินโดนีเซีย
ระบบการส่งเสริมการเกษตรของประเทศอินโดนีเซีย เป็นการกระจายอำนาจลงไปสู่ท้องถิ่น มีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและสื่อ เป็นตัวช่วยในการส่งเสริมการเกษตรและการผลิตตามความต้องการของตลาด
ด้านการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ หากนำมา
ใช้ในพื้นที่ในช่วงสถานการณ์ปัจจุบันจะทำให้
การส่งเสริมการเกษตรในพื้นที่มีความปลอดภัยมากขึ้น
การพัฒนาศักยภาพเกษตรกรให้เข้าถึงเทคโนโลยี สมัยใหม่เพิ่มขึ้น และศึกษาแนวโน้มความต้องการสินค้าในตลาดจะทำให้การผลิตสินค้าเกษตรประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น
1. การส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรของสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม
การประยุกต์ในการส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรของประเทศเวียดนาม
ระบบส่งเสริมการเกษตร (พ.ศ. 2564) ใช้ระบบฝึกอบรมและเยี่ยมเยียน (Training and Visit system: T&V)
เนื่องจากไม่มีงบประมาณในการอบรมเจ้าหน้าที่และจัดทำแปลงเรียนรู้ รัฐบาลจึงอาศัยสหกรณ์เป็นหลักในการเข้าถึงเกษตรกร
รัฐเป็นผู้ให้การสนับสนุนและกำหนดแนวทางปฏิบัติให้สอดคล้องกับความต้องการของแต่ละท้องที่ เจ้าหน้าที่ระดับอำเภอส่วนใหญ่
ร่วมกับเกษตรกรในพื้นที่จัดทำแปลง
สาธิตและอบรมเกษตรกรหัวก้าวหน้าเพื่อให้เกิดการยอมรับ
สภาพพื้นที่ 3 ใน 4 ของเวียดนามเป็นภูเขาและป่าไม้
มีความหลากหลายทางชีวภาพสูง ภาคเหนือส่วนใหญ่เป็นภูเขาสูง มีแม่น้ำสำคัญ คือ แม่น้ำแดง บริเวณปากแม่น้ำเป็นดินดอนสามเหลี่ยมที่อุดมสมบูรณ์ เหมาะสมแก่การเพาะปลูก ภาคกลางเป็นที่ราบสูงหินภูเขาไฟ หาดทราย เนินทรายและทะเลสาบ ภาคใต้ส่วนใหญ่เป็นที่ราบสูง มีที่ราบลุ่มแม่น้าโขงเป็นแหล่งเพาะปลูกที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ
ผลผลิตทางการเกษตรที่สำคัญและอยู่ในอันดับต้นของโลก ได้แก่ ข้าว กาแฟ ยาง ชา พริกไทย ถั่วเหลือง เม็ดมะม่วงหมิพานต์ อ้อย ถั่วลิสง กล้วย สัตว์ปีก และปลาทะเล
สินค้าส่งออกที่สำคัญ ได้แก่ เสื้อผ้า รองเท้า อิเล็กทรอนิกส์ อาหารทะเล น้ามันดิบ ข้าว กาแฟ ผลิตภัณฑ์ไม้ และเครื่องจักร
สินค้านำเข้าที่สำคัญ ได้แก่ เครื่องจักรและอุปกรณ์ ผลิตภัณฑ์น้ำมัน ผลิตภัณฑ์เหล็ก วัตถุดิบสำหรับเสื้อผ้า และอุตสาหกรรมรองเท้า อิเลคทรอนิกส์ พลาสติก รถยนต์
3. การส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรของสาธารณรัฐฟิลิปปินส์
ประชากร 36% ประกอบอาชีพเกษตรกรรม โดย 70% ของเกษตรกรอาศัยอยู่ในชนบท ส่วนใหญ่เป็นการทำการเกษตรขนาดเล็ก ภาครัฐมี นโยบายปรับเปลี่ยนการทำการเกษตรสมัยใหม่ เพื่อให้สามารถแข่งขันได้ในตลาดโลก แต่มีปัญหาเกี่ยวกับการปฏิรูปที่ดินที่ล่าช้า ฟิลิปปินส์มีพื้นที่เกษตรกรประมาณร้อยยละ 20 ของพื้นที่ทั้งประเทศ
ผลผลิตทางการเกษตรที่สำคัญ
การเกษตรที่สำคัญ ได้แก่ ข้าว ปลา ปศุสัตว์ สัตว์ปีก กล้วย มะพร้าว ข้าวโพด อ้อย มะม่วง สับปะรด และมันสำปะหลัง เป็นต้น
สินค้าส่งออกที่สำคัญ ได้แก่ เซมิคอนดักเตอร์และผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ อุปกรณ์การขนส่ง
เสื้อผ้า อาหารแปรรูป/เครื่องดื่ม อาหารทะเล ผลไม้ น้ำมันมะพร้าว ทองแดง ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม
สินค้านำเข้าสำคัญ ได้แก่ ผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ เชื้อเพลิง เครื่องจักรและอุปกรณ์การขนส่ง เหล็กและเหล็กกล้า ผ้าทอ ธัญพืช สารเคมี พลาสติก
การประยุกต์ในการส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรของประเทศฟิลิปปินส์
การพัฒนาด้านการเกษตรของประเทศฟิลิปปินส์ ทำได้ยากมาก เนื่องจากอยู่ในเขตมรสุมทำให้
ผลผลิตต่ำ
รัฐบาลมีนโยบายการส่งเสริมและพัฒนาด้านเกษตรอินทรีย์ การพัฒนาคุณภาพดิน เพิ่มธาตุอาหารของดินและลดการใช้สารเคมี
ส่งเสริมการผลิตเกษตรอินทรีย์ เพื่อยกระดับคุณภาพสินค้าและคุณภาพชีวิตของเกษตรกรให้ดียิ่งขึ้น