Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
หลักการ และขึ้นตอนในการสร้างสัมพันธภาพเพื่อการบำบัด, บุคคลควรต้องมีความตระ…
หลักการ และขึ้นตอนในการสร้างสัมพันธภาพเพื่อการบำบัด
สัมพันธภาพเพื่อการช่วยเหลือและบำบัด
(Therepeutic relationship)
สัมพันธภาพกับใคร: เป็นสัมพันธภาพระหว่างพยาบาลกับผู้รับบริการ
วัตถุประสงค์ : พยาบาลเป็นผู้ให้ในการช่วยเหลือผู้รับบริการให้เขาเกิดความเข้าใจปัญหาของตน
เนื้อหาสาระ : ผู้รับบริการเป็นผู้พูด ถาม แสดงออกถึงความคิด ความรู้สึก และเรื่องที่กังวลของเขา
ลักษณะของสัมพันธภาพ : เน้นที่ความคิด ความรู้สึกและความต้องการของผู้รับบริการเป็นหลัก
ระยะเวลา : มีจุดเริ่มต้น และสิ้นสุดของสัมพันธภาพ
กระบวนการ/แบบแผนของของสัมพันธภาพ : เป็นกระบวนการของความร่วมมือระหว่างผู้รับบริการ และผู้ให้การช่วยเหลือในการร่วมกันทำความเข้าใจ และหาวิธีการจัดการปัญหา
สัมพันธภาพในการให้คำปรึกษา
1.การสร้างบรรยากาศ (Rapport)
อบอุ่น เป็นมิตร เป็นกันเอง จริงใจ สนใจปัญหาไวต่อความรู้สึก
ทำให้ผู้รับคำปรึกษาเกิดความรู้สึกสบายใจ ไว้วางใจ
2.การยอมรับ (Acceptance)
ยอมรับโดยไม่มีเงื่อนไข ให้ความเคารพนับถือในสิทธิและความมีคุณค่าของบุคคล
3.ความเข้าใจ (Understanding)
ติดตามทำความเข้าใจถึงความรู้สึก ความคิดและสิ่งที่ผู้รับคำปรึกษาพยายามจะบ่งบอก
4.การมีความรู้สึกร่วม (Empathy)
เอาใจเขามาใส่ใจเรา สามารถที่จะรู้สึกและบรรยายถึงความรู้สึกนึกคิดของบุคคลได้
5.การแสดงความเอาใจใส่ (Attentiveness)
ให้ความสนใจ เอาใจใส่เอาใจใส่และอาศัยทักษาในการฟังและสังเกตติดตามเรื่องราวของผู้รับคำปรึกษา
6.ความเชื่อ (Beliefs)
เชื่เชื่อว่ามนุษย์ทุกคนมีความสามารถที่จะเผชิญปัญหาต่างๆได้
ความหมาย
เป็นสิ่งสำคัญที่ถือเป็นหัวใจของการให้คำปรึกษา “สัมพันธภาพ”ผู้ให้คำปรึกษาจะต้องพยายามสร้างสัมพันธภาพที่ดีต่อผู้รับคำปรึกษาซึ่งความแตกต่างระหว่างความสัมพันธ์ถ้าภาพเพื่อสังคมและสัมพันธภาพเพื่อการช่วยเหลือบำบัดมีความต่างกัน
3 ระยะของการสร้างสัมพันธภาพเพื่อการบำบัดเบื้องต้น
ระยะที่1 ระยะเริ่มต้นการสร้างสัมพันธภาพ (Initial phase):
พยาบาลต้องมีท่าที อบอุ่น จริงใจ
เข้าใจ สนใจและมีความสม่ำเสมอ
สิ่งที่พยาบาลควรทำ
แนะนำตัว
บอกวัตถุประสงค์ในการสนทนากับผู้รับบริการ
บอกวัน เวลา และสถานที่
บอกเรื่องการรักษาความลับของผู้รับบริการ
ประเมินผู้รับบริการเพื่อรวบรวมข้อมูล ให้การวินิจฉัย และวางแผนการพยาบาลผู้รับบริการ
ปัญหาที่พบ
ความวิตกกังวล
การทดสอบพยาบาล ผู้รับบริการทดสอบลแงใจดูว่าพยาบาลมีความจริงใจกับเขาหรือไม่
การต่อต้าน ผู้รับบริการไม่ยอมรับรู้ในการมีสัมพันกับภาพกับพยาบาล
เป็นระยะที่พยาบาล และผู้รับบริการพยายามทำความรู้จักกัน เนื่องจากเป็นผู้แปลกหน้าซึ่งกันและกัน
ระยะที่2 ระยะแก้ไขปัญหา (working phase)
ระยะที่ผู้รับบริการให้ความไว้วางใจ
พยาบาลต้องรับฟังอย่างตั้งใจ ใช้การสังเกต และเทคนิคการให้คำปรึกษามาค้นหาปัญหา
ช่วยผู้รับบริการ
ระบายความรู้สึก
เข้าใจปัญหาของตนเอง
พยาบาลให้การปลอบใจ
พยาบาลเสนอแนะแนวทางการแก้ไขปัญหาให้ผู้บริการให้ได้เลือกหลายๆ แนวทาง
กระตุ้นให้ผู้รับบริการคิดแก้ไขปัญหาของตน
ให้ผู้รับบริการตัดสินใจเลือกแนวทางในการแก้ไขปัญหาด้วยตัวเอง
ปัญหาที่พบ
พยาบาลไม่ทราบว่าปัญหาของผู้ป่วยอยู่ตรงไหน และให้การช่วยเหลือได้ไม่ถูก
พยาบาลเกิดความรู้สึกสงสาร และเห็นใจผู้รับบริการ
ซึ่งพยาบาลต้องมีความเข้าใจตนเองและทราบบทบาทของพยาบาล
ระยะที่3 ระยะยุติสัมพันธภาพ (Termination phase)
เป็นระยะที่ผู้รับบริการคลี่คลายปัญหาแล้ว
ไม่จำเป็นต้องได้รับการช่วยเหลือจากพยาบาลอีกต่อไป
พยาบาลต้องให้ผู้รับบริการเชื่อมั่นในตนเอง ช่วยตนเองตัดสินใจ และปรับตัวเองได้
การตระหนักรู้ในตนเอง (Self-awareness)
ภาวะที่ภาวะที่บุคคลรู้สึกตัวเร็วรู้สติในความเป็นตัวเองและสิ่งแวดล้อมรอบตัวขณะนั้น ครอบคลุมถึงความคิดความรู้สึกและการกระทำของตนรวมไปถึงรู้ว่าตนเป็นใครและตนรู้สึกอย่างไรในขณะนั้น
การให้คำปรึกษา
คือกระบวนการให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ประสบปัญหาต่างๆ
โดยอาศัยโดยอาศัยปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้ให้คำปรึกษาและผู้รับคำปรึกษา
พูดผู้รับคำปรึกษาทำให้เกิดความรู้ความเข้าใจถึงสาเหตุของปัญหาและใช้ศักยภาพของตนในการคิดตัดสินใจและแก้ปัญหาต่างๆได้ด้วยตนเอง
มีผู้ให้คำปรึกษาเป็นผู้เอื้ออำนวย
เทคนิคการให้คำปรึกษา
1.การเริ่มต้น การเริ่มต้นให้คำปรึกษา (Opening the interview)
สร้างบรรยากาศผ่อนคลาย ทักทายด้วยเรื่องทั้วๆไปก่อน
2.การตั้งการตั้งคำถาม (questioning)
เพื่อหาข้อมูลจากผู้รับคำปรึกษา สะท้อนความรู้สึกนึกคิด
ควรใช้คำถามปลายเปิด
3.การถามแกะรอย (probing)
เป็นการถามเพื่อติดตามประเด็นใดประเด็นหนึ่งอย่างต่อเนื่อง
4.Focusing (การเน้นประเด็ยสนทนา)
ใช้ในกรณีที่ผู้รับคำปรึกษาพูดวกวนหรือพูดหลายเรื่องจนไม่สามารถจับประเด็นได้ถูกต้อง
5.แสดงความเข้าอกเข้าใจ (Empathy)
สะท้อนความคิด (Reflection of content)
เช่น “ดูเหมือนว่าตอนนี้คุณกําลังพยายามหาวิธีที่จะไปคุยตกลงทําความเข้าใจกับพ่อของคุณเรื่องการเปลี่ยนคณะเรียน”
สะท้อนความรู้สึก (Reflection of feeling)
ผู้รับคําปรึกษา : “เตียงข้างๆ ฉันมีคนมาเยี่ยมเต็มเลย ทําไมฉันไม่มีแบบนั้นบ้าง”
ผู้ให้คําปรึกษา : “คุณรู้สึกน้อยใจที่ญาติไม่มาเยี่ยมคุณ”
6.การเงียบฟัง (Silence and Listening)
แสดงถึงความสนใจและยอมรับ ทำให้ผู้รับคำปรึกษาคิดทบทวนเรื่องราวของตนแต่ไม่ทิ้งช่วงจนเกิดความเงียบนานเกินไป
7.การให้ความกระจ่างแจ้ง (Clarification)
ขอให้ผู้รับคําปรึกษาอธิบายเพิ่มเติมในกรณีที่คําพูดของเขามีความหมายไม่ชัดเจน หรือคลุมเครือ เช่น “ที่คุณพูดมานั้นหมายความว่าอะไรคะ”
8.การแสดงความเห็นชอบด้วย (Approval)
เป็นกลวิธีที่ส่งเสริม สนับสนุนหรือให้กําลังใจแก่ผู้รับคําปรึกษาในการคิดและ ตัดสินใจของเขา ทําให้ผู้รับคําปรึกษารู้ว่าเราเห็นด้วยกับเขา
9.การสังเกต (Observation)
เป็นการสังเกตพฤติกรรม น้ําเสียง สีหน้า ท่าทาง ในขณะสนทนา จะช่วยให้ผู้ให้คําปรึกษาสามารถเข้าใจความรู้สึกและอารมณ์ของผู้รับคําปรึกษา ช่วยให้สามารถจับ ประเด็นปัญหาที่แท้จริงของผู้รับคําปรึกษา
10.การแนะนำ (Advising)
เป็นการชี้แนะโดยตรงเพื่อช่วยแก้ปัญหา โดยอาศัยความรู้ ทักษะและประสบการณ์ ของผู้ให้คําปรึกษาเอง โดยจะให้คําแนะนําเมื่อพิจารณาอย่างรอบคอบแล้ว ว่าเป็นสิ่งที่สําคัญและจําเป็นสําหรับผู้รับคําปรึกษา
11.การกระตุ้นให้กำลังใจ (Encouragement)
การกระตุ้นให้กําลังใจมักใช้กับผู้ที่ขาดความมั่นใจว่าจะทํากิจกรรมต่างๆ ได้อาจ
ยกตัวอย่างหรือสถานการณ์ท่ีเขาเคยทําได้สําเร็จมาประกอบ
12.การท้าท้าย (Challenge) / การเผชิญความจริง(confrontation)
การชี้ให้ผู้รับคําปรึกษาเห็นถึงความจริงที่เขามองไม่เห็นหรือกําลังปฏิเสธอยู่ หรือเมื่อพบ ความขัดแย้ง เพื่อให้เขากลับมาพิจารณาตนเองและเข้าใจตนเองมากขึ้น
13.การให้ข้อมูล (Giving information)
เป็นการให้รายละเอียดต่างๆ ที่จําเป็นและเป็นจริงแก่ผู้รับคําปรึกษาในการทําความเข้าใจกับปัญหาของตน
14.การทวนซ้ำข้อความ (Restating)
การพูดทวนซ้ำข้อความหลักที่ผู้รับคําปรึกษาได้พูดมา โดยไม่มีการเปลี่ยนแปลง ภาษาหรือความรู้สึก เป็นการช่วยให้ผู้รับคําปรึกษาได้ทบทวนและทําความเข้าใจเรื่องราวที่เขาได้พูดมาอีกครั้ง และยังสื่อถึงความสนใจและใส่ใจ
15.การเปรียบเทียบข้อดี-ข้อเสีย (pros and cons)
ให้ผู้รับคําปรึกษาเลือกวิธีที่จะใช้แก้ไขปัญหาด้วยตนเองโดยเปรียบเทียบข้อดีข้อเสียของแต่ละวิธี ผู้ให้คําปรึกษาต้องตระหนักไว้เสมอว่าในที่สุดแล้วผู้รับคําปรึกษาจะต้องเป็นผู้ตัดสินใจเลือกเอง
16.การสรุปความ (summarizing)
เป็นการสรุปเนื้อหาความรู้สึก หรือกระบวนการให้คําปรึกษาก็ได้ เพื่อให้ผู้รับคําปรึกษาเห็นภาพรวมของปัญหา
ทําให้เกิดความเข้าใจประเด็นสําคัญตรงกัน โดยอาจให้ผู้รับคําปรึกษาเป็นผู้สรุปความเองและผู้ให้คําปรึกษาช่วยเสริมสิ่งที่ขาดไป
5กระบวนการให้คำปรึกษา
ขั้นตอนที่1 การสร้างสัมพันธภาพ (Building therapeutic relationship stage)
สร้างความคุ้นเคย ความไว้วางใจ ในการรับการปรึกษาเพื่อให้ผู้รับคำปรึกษาพร้อมที่จะเปิดเผยเรื่องราวและความรู้สึกของตัวเอง กระตือรือร้นที่จะให้การช่วยเหลือสนใจใส่ใจทั้งในเชิงกายภาพและภาวะจิตใจ
Greeting การทักทาย การกล่าวต้อนรับ
Small talk พูดคุยในเรื่องทั่วไป
Opening เปิดโอกาสให้ผู้รับคำปรึกษาพูดถึงปัญหาที่ต้องการมาพบ
Attending การใส่การใส่ใจเป็นการแสดงท่าทีที่สนใจในระหว่างการสนทนาด้วยสีหน้าที่สอดคล้องกับเรื่องที่กำลังสนทนา
S=squarely การนั่งแบบมุมฉาก ไม่ประจันหน้ากัน
O=open เปิดใจรับและให้ความสนใจของผู้รับการปรึกษา
L=lean โน้มตัวไปข้างหน้าเล็กน้อย
E=eye contact สบสายตาแสดงความสนใจ
R=relax มีท่าทีสบายๆ ไม่เคร่งเครียด จนผู้รับคำปรึกษารู้สึกอึดอัด
บทบาทของผู้ให้คำปรึกษาสร้างบรรยากาศที่ดีเหมาะที่จะพูดคุยกันอย่างเปิดเผยกล่าวทักทายแล้วจึงนำเข้าสู่ประเด็นต่างๆ เช่น แนะนำตัวเอง ถามชื่อผู้รับคำปรึกษา สนทนาเรื่องทั่วไป บอกจุดประสงค์ของการสนทนา เป็นต้น
ขั้นตอนที่2 การสำรวจปัญหา (Exploring stage)
เป็นขั้นตอนที่เปิดโอกาสให้ผู้รับคำปรึกษาเล่าถึงปัญหาต่างๆ เพื่อให้เขาได้เห็นความคิด อารมณ์ ความรู้สึกและพฤติกรรมของตนเอง เป็นการสำรวจตนเองเห็นปัญหาที่แท้จริงพบสาเหตุของปัญหาและรับรู้ความต้องการของตนเอง
เกณฑ์ที่แสดงว่าสามารถผ่านขั้นตอนการสำรวจปัญหา
ผู้รับคำปรึกษาสามารถสรุปประเด็นต่างๆที่เกี่ยวกับปัญหาได้
ผู้รับคำปรึกษามีภาษากายที่ผ่อนคลายและแสดงออกว่าเริ่มรับรู้ถึงประเด็นต่างๆของปัญหา
ผู้รับคำปรึกษามีอารมณ์สงบ แสดงออกมาทางภาษา
ผู้รับคำปรึกษาเริ่มมีแนวทางที่จะจัดการกับปัญหา
ขั้นตอนที่3 การเข้าใจปัญหา สาเหตุและความต้องการ (Understanding stage)
จัดเรียงและเชื่อมโยงข้อมูลต่างๆที่ได้จากการสำรวจปัญหาร่วมกับผู้รับคำปรึกษา เพื่อให้ผู้รับคำปรึกษาเข้าใจถึงปัญหาที่แท้จริง สาเหตุของปัญหา และความต้องการของตน และนำมาจัดอันดับว่าปัญหาเซนกันหาเร่งด่วนที่ต้องการแก้ไข และอาจทวนซ้ำเพื่อความชัดเจนของปัญหาและการเข้าใจปัญหาของตนเองอย่างแท้จริง ชี้ประเด็นต่างๆให้ชัด การให้กำลังใจ และหัวใจสำคัญคือกระบวนการให้การปรึกษาเพื่อนำไปสู่การวางแผนและการปฏิบัติให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนดร่วมกัน
ขั้นตอนที่4 การวางแผนแก้ไขปัญหา (Action stage)
ช่วยให้ผู้รับคำปรึกษาได้กำหนดเป้าหมายที่ต้องการในการจัดการกับปัญหารวมถึงหาทางเลือกไว้หลายหลายทางโดยเปรียบเทียบข้อดีและข้อเสียเพื่อให้ผู้รับคำปรึกษาได้ตัดสินใจเลือกที่เหมาะสมกับตนเองช่วยให้ผู้รับคำปรึกษาวางแผนการปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม
ขั้นตอนที่5 การยุติการปรึกษา (Termination stage)
เป็นการยุติการให้คำปรึกษาในแต่ละครั้งและยุติเพื่อสิ้นสุดการให้ความช่วยเหลือผู้รับคำปรึกษาแต่ละราย
เป็นการยุติให้คำปรึกษาเมื่อผู้รับคำปรึกษาเข้าใจปัญหาของตน สามารถคิดหาแนวทางแก้ไขปัญหา และนำไปปฏิบัติได้
ส่ส่งเสริมการเห็นคุณค่าในตนเอง และเป็นกำลังใจให้ผู้รับคำปรึกษาในการจัดการกับปัญหา รวมถึงเปิดโอกาสให้กลับมาพูดคุยเพื่อติดตามผล หรือส่งต่อในกรณีที่ไม่สามารถให้คำปรึกษาในเรื่องนั้นๆได้
รูปแบบของการให้คำปรึกษา
รายบุคคล (individual counseling)
เกิดขึ้นระหว่าง 2 บุคคล มักเน้นปัญหาที่ผู้รับคำปรึกษาต้องการความเป็นส่วนตัว เป็เป็นปัญหาที่เป็นความลับและส่วนใหญ่มักเป็นปัญหาด้านอารมณ์และจิตใจ
แบบกลุ่ม (Group counseling)
เป็นกระบวนการที่บุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไปมีความต้องการตรงกันที่จะปรับปรุงหรือพัฒนาตนเองเรื่องใดเรื่องหนึ่งมาปรึกษาหารือกัน โดยมีผู้ให้คำปรึกษาทำหน้าที่เป็นผู้อำนวยความสะดวกในกลุ่ม ใช้หลักการและเทคนิคของการให้คำปรึกษาและกระบวนการของกลุ่มมาใช้ ในกระบวนการนี้สมาชิกได้มีโอกาสเรียนรู้และสร้างสัมพันธภาพ และให้ความร่วมมือในกิจกรรมกลุ่ม การไว้วางใจผู้อื่น การให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกัน เรียนรู้ในการเผชิญปัญหาของตนเอง จากการที่สมาชิกกลุ่มร่วมกันหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาร่วมกัน
หลักการ
พัฒนาสัมพันธภาพภายในกลุ่ม
สร้างบรรยากาศ อบอุ่น ยอมรับ ไว้วางใจ เข้าใจ
ใช้พลังของสมาชิกกลุ่มให้เกิดประโยชน์
ประโยชน์ของการให้คำปรึกษาแบบกลุ่ม
สมาชิกรู้สึกว่าตนไม่ได้อยู่อย่างโดดเดี่ยวมีคนอื่นที่มีปัญหาเช่นตน
ลักษณะกลุ่มเสมือนสังคมเล็กๆของชีวิตจริง
กลุ่มเป็นสถานที่ที่ปลอดภัย สำหรับทดลองพฤติกรรมใหม่ๆ
สมาชิกเรียนรู้การให้และการรับความช่วยเหลือซึ่งกันและกัน
สมาชิกเรียนรู้จากกันและกันด้วย การสังเกตุ การแก้ปัญหาของผู้อื่น
ช่วยประหยัดเวลากว่าการปรึกษารายบุคคล
บุคคลควรต้องมีความตระหนักรู้ในตนเองก่อน ก่อนที่จะไปให้คำปรึกษาผู้อื่น