Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ยกระดับ SME ไทยก้าวไกลนวัตกรรม, 95567F14-0351-4DA6-B987-E4E5DD5B032B,…
ยกระดับ SME ไทยก้าวไกลนวัตกรรม
7อุปสรรคและความท้าทายของระบบนวัตกรรม นวัตกรรมที่ประเทศไทยต้องทำเพื่อให้ประเทศของเราเป็นประเทศที่มีนวัตกรรมมากขึ้นทำให้ดัชนีของประเทศไทยเราดียิ่งขึ้น
ระบบนวัตกรรมที่แข็งแกร่ง
1.การมีวิสาหกิจฐานนวัตกรรมที่เพียงพอต่อการตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงระบบนวัตกรรม
2.นวัตกรรมในระบบนวัตกรรมของไทยมีความเก่งและความเชี่ยวชาญในการพัฒนานวัตกรรมอย่างต่อเนื่อง
3.การใช้ประโยชน์โครงสร้างพื้นฐานของนวัตกรรมและการเข้าถึงบริการทางนวัตกรรมในทุกภาคส่วน
4.การสร้างโอกาสทางนวัตกรรมในระบบภูมิภาค
5.การทำให้กฎระเบียบและนโยบายเป็นเรื่องง่ายกับกระบวนทางนวัตกรรม
6.การเป็นชาตินวัตกรรมที่คนไทยและนานาชาติยอมรับ
7.ระบบวัฒนธรรมไทยตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของโลก
10 อุตสาหกรรมเป้าหมาย ซึ่งจะเป็นกลไกขับเคลื่อนเศรษฐกิจเพื่ออนาคต จะแบ่งเป็น 2 รูปแบบ ได้แก่
. First s-curve : ซึ่งเป็นการลงทุนในกลุ่มอุตสาหกรรมที่มีอยู่แล้วในประเทศ
อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวกลุ่มรายได้ดีและการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ(Affluent, Medical and Wellness Tourism) อุตสาหกรรมท่องเที่ยวถือเป็นอีกหนึ่งกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ โดยประเทศไทยถือได้ว่าเป็นผู้นำด้านการท่องเที่ยว
การเกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพ (Agriculture and Biotechnology) การเกษตรเป็นสาขาอุตสาหกรรมที่มีผลิตภัณฑ์มวลรวมมากที่สุดภายในประเทศไทย
อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ
(Smart Electronics) อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์เป็นเสาหลักสำคัญในภาคการส่งออกของประเทศไทยในปัจจุบัน
อุตสาหกรรมการแปรรูปอาหาร
(Food for the Future) อุตสาหกรรมการแปรรูปอาหารเป็นอุตสาหกรรมที่มีความสำคัญระดับสูงต่อประเทศไทย เนื่องจากเป็นอุตสาหกรรมที่ใช้จำนวนแรงงานมากที่สุด มีมูลค่าการลงทุนสูงที่สุด มีมูลค่าเพิ่มสูงที่สุด และมีการลงทุนด้านวิจัยและพัฒนาสูงที่สุดในบรรดาสาขาต่างๆ ของภาคอุตสาหกรรมการผลิตไทย
อุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่
(Next – Generation Automotive) อุตสาหกรรมยานยนต์ถือเป็นรากฐานสำคัญในการพัฒนาทางเศรษฐกิจของประเทศไทยกว่า 40 ปีที่ผ่านมา และได้รับการกล่าวถึงอย่างมากจากผู้ประกอบการยานยนต์ทั่วโลก
New S-curve : ที่เป็นรูปแบบการลงทุนในอุตสาหกรรมใหม่
อุตสาหกรรมดิจิทัล (DIGITAL) ดิจิทัลถือเป็นแนวโน้มสคัญของโลก ซึ่งจะส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมภาคการผลิตและผู้บริโภคอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
อุตสาหกรรมเชื้อเพลิงชีวภาพและเคมีชีวภาพ (BIOFUELS AND BIOCHEMICALS) อุตสาหกรรมเชื้อเพลิงชีวภาพและเคมีชีวภาพ เป็นกลุ่มอุตสาหกรรมที่มีการคาดการณ์ว่าจะเติบโตเร็วในอนาคต และเป็นอุตสาหกรรมที่ประเทศไทยมีศักยภาพสูง
อุตสาหกรรมการบินและโลจิสติกส์ (AVIATION AND LOGISTICS) อุตสาหกรรมการขนส่งเป็นอุตสาหกรรมที่ประเทศไทยมีข้อได้เปรียบทางด้านภูมิศาสตร์
อุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจร(MEDICAL HUB) อุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจรเป็นการสร้างอุตสาหกรรมใหม่ต่อยอดจากธุรกิจการรักษาพยาบาล และการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ
หุ่นยนต์เพื่ออุตสาหกรรม (ROBOTICS)
ในปัจจุบันประเทศไทยมีอุตสาหกรรมที่มีฐานการผลิตขนาดใหญ่ที่มีแนวโน้มว่าจะมีการใช้วิทยาการหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติตามสายการผลิตมากขึ้น เช่น อุตสาหกรรมยานยนต์และอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น
นวัตกรรม มีความสำคัญสำหรับผู้ประกอบการ นวัตกรรมเป็นทางออกที่สำคัญที่สุด กลไกในการ support ผู้ประกอบการ มีทั้งการเงินและไม่ใช่การเงิน ประเทศไทยมีการเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจ ในยุคสมัยต่างๆ
ยุค thailand 2.0 ยุคอุตสาหกรรมโรงงาน เบาค่าแรงในระดับต่ำ โรงงานผลิตสิ้นค้าเพื่อส่งออกทำตามออเดอร์ที่มีต่างชาติสั่ง หรือเรียกว่าเป็นOEM เป็นยุคที่โรงงานอุตสาหกรรมเกิดขึ้นเยอะมาก
ยุค thailand 3.0 เป็นยุคที่เรียกว่าการทำอุตสาหกรรมหนัก มีเรื่องของเครื่องจักรและอุปกรณ์ ความทันสมัยเข้ามามากขึ้น เป็นยุคของการใช้เทคโนโลยีเข้ามาใช้ในการเปลี่ยนแปลงภาคอุตสาหกรรมในการผลิตที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น
เริ่มจาก thailand 1.0 ยุคของการเกษตร วัดจากความมั่งคั่งมีกำลังคนมีแรงงานเยอะ มีที่ดิน เยอะ
thailand 4.0 ที่มี keyword ความสำคัญคือความคิดสร้างสรรค์ นวัตกรรม เทคโนโลยีนวัตกรรม ในการขับเคลื่อนประเทศ
นวัตกรรมจะช่วยให้เศรษฐกิจเติบโต BCG Economy หรือ เศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว เป็นแนวคิดการนำวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรมไปยกระดับความสามารถเทคโนโลยีและนวัตกรรมจะเข้าไปช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้กับผู้ผลิต
เศรษฐกิจสีเขียว (Green Economy) ที่เน้นส่งผลดีต่อสิ่งแวดล้อม และการพัฒนาที่ยั่งยืนเป็นเป้าหมายสูงสุด
เศรษฐกิจชีวภาพ มีความมั่งคั่งในเรื่องของ ความหลากหลายทางชีวภาพในอันดับ 8 ของโลก เน้นการนำความรู้ระดับสูงด้านเทคโนโลยีชีวภาพ และต้นทุนด้านความหลากหลายทางชีวภาพ ที่ประเทศไทยมีอยู่มากมาเป็นตัวขับเคลื่อน
เศรษฐกิจหมุนเวียน -นวัตกรรมรีไซเคิลการใช้ขยะมาเป็นพลังงาน-การแปรรูป การรียูส รีดิวซ์ รีไซเคิล เน้นการใช้ประโยชน์จากวัตถุดิบต่างๆ
สตาร์ทอัพ (Startup) ถือเป็นวิสาหกิจกลุ่มใหม่ ที่มีศักยภาพในการเติบโตอย่างก้าว กระโดด ผู้ประกอบการกลุ่มนี้สามารถประยุกต์ใช้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม เพื่อมาสร้างธุรกิจให้เติบโตอย่างรวดเร็ว จึงเป็นวิสาหกิจแห่งอนาคตที่จะเป็นอีกหนึ่งกกลัง สำคัญในการขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจของประเทศไทย ซึ่งประเทศไทยมียูนิคอร์น 2 ตัว
แฟลช เอ็กซ์เพรส ยูนิคอร์น สตาร์ทอัพ ตัวแรกของไทย ถือเป็นรุ่นพี่ในวงการสตาร์ทอัพเลยก็ว่าได้ ที่นำโดย "คมสันต์ ลี" สามารถระดมทุนรวมได้มากที่สุดในระยะเวลาเพียงแค่ 3 ปี และขึ้นเป็นขนส่งเอกชนอันดับ 1 ด้วยตัวเลขจัดส่งพัสดุต่อวันสูงสุดร่วม 2 ล้านชิ้น
ยูนิคอร์น สตาร์ทอัพ จากไทยนั้น โดยล่าสุด สตาร์ทอัพที่เพิ่งก้าวขึ้นเป็นยูนิคอร์นตัวใหม่ของวงการก็คือ Bitkub ที่นับเป็นยูนิคอร์นตัวที่ 3 ของวงการสตาร์ทอัพไทย ที่นำทัพโดย “จิรายุส ทรัพย์ศรีโสภา” ซีอีโอและผู้ก่อตั้งบิทคับ ล่าสุดได้ เข้ามาลงทุนใน “บิทคับ ออนไลน์”
Ascend Money ยูนิคอร์น สตาร์ทอัพ ตัวที่สองจากไทย เป็นผู้ให้บริการด้านการเงินดิจิทัลของ "เครือซีพี" ปัจจุบัน “ทรูมันนี่” ครองผู้นำในตลาดอีวอลเล็ต มียอดผู้ใช้ในไทยมากกว่า 20 ล้านราย
กลไกการสนับสนุนผู้ประกอบการนวัตกรรม start up thailand
ปั้นเยาวชนให้เป็นเจ้าของธุรกิจ แบ่งเป็น นวัตกรรมเพื่อเศรษฐกิจ นวัตกรรมเพื่อสังคม
GROWTH โกรท
การเติบโตของผู้ประกอบการ การต้องตลาดสินค้าและนวัตกรรม มีกลไกให้คำปรึกษา
GRANT การสนับสนุนให้ทุนกับโครงการที่นำเสนอนวัตกรรม 75% ของโครงการ 25% ของผู้ประกอบการ เพื่อให้ผู้ประกอบการมีส่วนร่วมในการทำนวัตกรรม ไม่เกิน 1.5 ล้านบาท
GROOM กรูม Grooming คือการให้ความรู้ผู้ประกอบการ พัฒนาทักษะความรู้ให้แก่ผู้ประกอบการ ฝึกในการคิดแผนธุรกิจ การทำธุรกิจ การบ่มเพาะ มีการให้เงินทุนกับผู้ประกอบการที่ต้องการทุน ไม่ว่าจะเป็นนวัตกรรมด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคม ,การทำ product ด้านกระบวนการใหม่ๆ