Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ความเป็นพลเมืองในสังคมพหุวัฒนธรรม, 6210110162 นวมินทร์ พันธางกูร - Coggle…
ความเป็นพลเมืองในสังคมพหุวัฒนธรรม
วัฒนธรรม พหุวัฒนธรรม และสังคมพหุวัฒนธรรม
วัฒนธรรม
หมายถึง ทุกสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นทั้งที่เป็นรูปธรรมและนามธรรมและยังหมายรวมถึงแบบแผนพฤติกรรมทั้งหมดของสังคมที่สืบทอดมานับตั้งแต่อดีต ผ่านการเรียนรู้คิดค้น ดัดแปลง เพื่อสนองความต้องการและพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ โดยมีวิวัฒนาการสืบทอดต่อกันมาอย่างมีแบบแผนเพื่อให้เกิดความเจริญรุ่งเรืองและมั่นคงในสังคม
ลักษณะพื้นฐานที่สำคัญของวัฒนธรรม
วัฒนธรรมเป็นความคิดร่วม (shared ideas) และค่านิยมทางสังคมซึ่งเป็นตัวกำหนดมาตรฐาน ของพฤติกรรม
วัฒนธรรมเป็นสิ่งที่มนุษย์เรียนรู้ (culture is learned) ทีละเล็กทีละน้อยจากการเกิดและเติบโตมาในสังคมแห่งหนึ่ง วัฒนธรรมเปรียบเสมือนมรดกทางสังคม ได้รับการถ่ายทอดจากคนรุ่นหนึ่งสู่
วัฒนธรรมมีพื้นฐานมาจากการใช้สัญลักษณ์ (symbol) พฤติกรรมของมนุษย์มีต้นกำเนิดมาจากการใช้สัญลักษณ์ ไม่ว่าจะเป็นเงินตรา สัญญาณไฟจราจร หรือสัญลักษณ์ทางศาสนา โดยสัญลักษณ์สำคัญที่มนุษย์ใช้คือ ภาษา
วัฒนธรรมเป็นองค์รวมของความรู้และภูมิปัญญา ในลักษณะนี้วัฒนธรรมมีหน้าที่สนองตอบ ความต้องการพื้นฐานของมนุษย์ เช่น วางกฎเกณฑ์ให้มนุษย์ดำเนินชีวิตอย่างมีระเบียบแบบแผน นอกจากนั้นวัฒนธรรมยังเป็นพื้นฐานของการพัฒนาทางด้านเทคโนโลยีเพื่อความเจริญ และความอยู่รอดของมนุษย์
วัฒนธรรมคือกระบวนการที่มนุษย์กำหนดนิยามความหมายให้กับชีวิตและสิ่งต่าง ๆ ที่อยู่รอบตัวเรา
วัฒนธรรมเป็นสิ่งที่ไม่หยุดนิ่ง หากแต่เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงปรับตัวอยู่ตลอดเวลา
ความแตกต่างทางวัฒนธรรม
สาเหตุของความแตกต่างทางวัฒนธรรม
การท่องเที่ยว
การไปศึกษายังต่างประเทศ
ลักษณะภูมิประเทศ
การเคลื่อนย้ายแรงงาน
ระดับองค์การ ไปจนถึงระดับชาติ โดยเฉพาะความสัมพันธ์ในระดับรัฐ กับกลุ่มนักลงทุน
การตื่นตระหนกทางวัฒนธรรม
เป็นสภาวะที่เกิดขึ้นทางจิตใจ อารมณ์ และความรู้สึกที่มีต่อพฤติกรรมที่แตกต่างไปจากพฤติกรรม เดิมที่บุคคลเคยรับรู้ เคยเห็น เคยปฏิบัติ และมีประสบการณ์มาก่อนเป็นความรู้สึกที่เกิดขึ้นอย่างกะทันหันจน ปรับตัวและปรับใจให้รับกับปรากฏการณ์นั้นไม่ทัน
เกิดขึ้นกับบุคคลที่เดินทางไปยังต่างถิ่นหรือต่างประเทศหรือทำงาน ร่วมกับชาวต่างประเทศ แล้วมีความทุกข์เกิดขึ้น หรือประสบกับความยากลำบากในการปรับตัวให้เข้าใจกับวัฒนธรรมที่แตกต่างในสังคมแห่งใหม่
เกิดขึ้นกับบุคคลที่เดินทางไปอาศัยอยู่ยังต่างประเทศเป็นเวลานาน ๆ จนสามารถปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมในประเทศนั้น ๆ ได้เป็นอย่างดีแล้ว แต่เมื่อบุคคลผู้นั้นได้เดินทางกลับบ้านเกิดเมืองนอนของตน
เกิดขึ้นกับบุคคลซึ่งอาจเป็นความแตกต่างกันในเรื่องของบุคลิกภาพ ภูมิลำเนา ถิ่นที่อยู่อาศัย สภาพการเลี้ยงดูและเติบโต ชาติพันธ์ของชนกลุ่มน้อย ระดับการศึกษา ความเชื่อ ศาสนา ประเพณี ตระหนกทางวัฒนธรรมได้ เพราะตลอดจนฐานะทางเศรษฐกิจและสังคม เป็นต้น
อัตราในการตื่นตระหนกทางวัฒนธรรมจะมากหรือน้อย
ประการแรก คือ ขบวนการปลูกฝังสั่งสอนวัฒนธรรมเดิม (Enculturation) ถ้าบุคคลถูกปลูกฝังวัฒนธรรมเดิมมาเคร่งครัด
ประการที่สอง อัตนิยมทางวัฒนธรรม (Ethnocentrism) ถ้าบุคคล มีความนิยมในวัฒนธรรมของตนเองมากเกินไป
ขั้นของการช็อกทางวัฒนธรรมมี 4 ขั้น
1) ขั้นของการฟักตัว (Incubation Stage) เป็นระยะแรกที่อาการช็อกทางวัฒนธรรมเริ่มก่อตัวขึ้น
2) ขั้นของการวิกฤต (Crisis Stage) เป็นระยะที่บุคคลประสบกับสิ่งที่ไม่คาดฝันว่าจะเกิดขึ้นมาก่อน
3) ขั้นของการฟื้นตัว (Recovery Stage) เป็นระยะที่บุคคลเริ่มเกิดความคุ้นเคยกับวัฒนธรรมใหม่
4) ขั้นของการปรับตัว (Adjustment Stage) เป็นระยะที่บุคคลได้เรียนรู้ศึกษา และเข้าใจวัฒนธรรมใหม่
พหุวัฒนธรรม
หมายถึง สิ่งใดที่เกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์วัฒนธรรมที่หลากหลาย หรือการรวมวัฒนธรรมที่หลากหลายและส่งเสริมประโยชน์ของวัฒนธรรมที่หลากหลายภายในสังคมหนึ่ง
ความแตกต่างและหลากหลายทางวัฒนธรรม 3 มิติ
1) ยืนยันอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมของกลุ่มตนเอง และเรียนรู้คุณค่าของมรดกทางวัฒนธรรมของกลุ่มตน
2) เคารพและมีความปรารถนาที่จะเรียนรู้เพื่อทำความเข้าใจและเรียนรู้วัฒนธรรมของคนอื่น
3) ให้คุณค่าความหลากหลายทางวัฒนธรรม เอาใจใส่ต่อการดำรงอยู่ของกลุ่มวัฒนธรรมที่แตกต่าง
สังคมพหุวัฒนธรรม
หมายถึง สังคมที่มีประชากรตั้งแต่สองกลุ่มวัฒนธรรมขึ้นไป แต่ละกลุ่มจะมีลักษณะวัฒนธรรม เป็นของตนเอง มีอัตลักษณ์และชุมชนของตนเอง แต่ในบางครั้งอาจมีลักษณะที่ซ้อนทับกันระหว่างกลุ่ม
การปรับตัวทางวัฒนธรรม
ความหมายของการปรับตัว
วิธีการที่คนเราปรับตัวให้เป็นไปตามความต้องการ ของตัวเองในสภาพแวดล้อมซึ่งบางครั้งส่งเสริม บางครั้งขัดขวาง และบางครั้งสร้างความทุกข์ทรมาน เกิดขึ้นจากความต้องการและใช้วิธีการต่างๆ เพื่อให้บรรลุถึงความต้องการนั้น ในสภาวะแวดล้อมที่ปกติหรือมีอุปสรรคขัดขวางต่างๆ
กระบวนการที่บุคคลใช้ความพยายามในการปรับหรือเปลี่ยนแปลงตนเองเมื่อต้องเผชิญกับ สถานการณ์หรือสภาพปัญหาที่มีความอึดอัดใจ ความวิตกกังวล ความเครียด ความคับข้องใจ จนสามารถอยู่ในสถานการณ์หรือสภาพแวดล้อมนั้นๆ ได้อย่างมีความสุข
ผลของความพยายามของบุคคลที่พยายามปรับตัวกับสภาพปัญหาที่เกิดขึ้นกับ ตนเองไม่ว่าจะเป็นด้านบุคลิกภาพ ด้านความต้องการ หรือด้านอารมณ์ให้สามารถเผชิญหรือปรับตัวได้อย่าง เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมจนสามารถอยู่ในสภาพแวดล้อมนั้นๆ ได้อย่างมีความสุข
ขั้นตอนของการปรับตัวทางวัฒนธรรม 4 ขั้นตอน
The Honeymoon Stage เป็นช่วงเวลาที่บุคคลมีความเบิกบาน คาดหวังและตื่นตา ตื่นใจกับสิ่งแวดล้อมใหม่
The Hostility Stage เป็นช่วงที่ตนเองเริ่มรู้สึกไม่ดีต่อวัฒนธรรมใหม่ที่ตนเข้าไปอยู่ เกิดความวิตกกังวล กลัว และบางครั้งอาจเกิดภาวะซึมเศร้า เกิดความสับสนและความยุ่งยาก
The Integration/Acceptance Stage เป็นช่วงที่ทุกอย่างเริ่มเข้าที่เข้าทางเริ่มรู้สึกสบายใจและผ่อนคลายมากขึ้น เริ่มที่จะยิ้มและหัวเราะเยาะกับความผิดเล็กน้อยของตัวเอง
The Home Stage เป็นช่วงที่บุคคลสามารถปรับตัวได้ค่อนข้างดีในวัฒนธรรมใหม่ และสามารถดำเนินชีวิตอยู่ในทั้งสองวัฒนธรรมได้อย่างมีความสุข (Stages of Cultural Adjustment
การปรับตัวสู่วัฒนธรรมใหม่แบบ การรักษาอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ (A Cultural Ethnic Identity Typological Mode) มี 4 ลักษณะ
1) การยึดติดอยู่กับอัตลักษณ์ชาติพันธุ์ตนเองสูง (Ethnic-Oriented Identity)
2) การรักษาอัตลักษณ์ชาติพันธุ์ตนเองและ ปรับรับวัฒนธรรมใหม่มาด้วย (Bicultural Identity)
3) การไม่ยึดติดกับอัตลักษณ์ชาติพันธุ์ของตนเองและมองว่าตน เป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมใหม่มากกว่า (Assimilation Identity)
4) การไม่รู้สึกว่าตนเองเป็นสมาชิกของทั้งกลุ่มชาติพันธุ์ของตนเอง และในระบบวัฒนธรรมใหม่ (Marginal Identity)
การปรับตัวแบบ W-curve ใช้กับผู้ที่ไม่ได้อาศัยอยู่ในวัฒนธรรมใหม่อย่างถาวร แบ่งออกได้เป็น 7 ส่วน
1) ช่วงที่ผู้มาอยู่ใหม่รู้สึกตื่นตาตื่นใจ (Honeymoon Stage)
2) ช่วงที่บุคคลรู้สึกสับสน แปลกแยก และเครียด (Hostility Stage)
3) ช่วงที่บุคคลรู้สึกเข้าที่เข้าทางมากขึ้น (Humorous Stage)
4) ช่วงที่บุคคลรู้สึกว่าวัฒนธรรมใหม่เป็นเสมือน บ้านของตนเอง (In-Sync Stage)
5) ช่วงที่บุคคลนั้นจะต้องกลับไปสู่วัฒนธรรม เดิมของตน และรู้สึกใจหาย อาลัยวัฒนธรรมใหม่ (Ambivalence Stage)
6) ช่วงที่บุคคลกลับสู่วัฒนธรรมเดิมของตนเอง แต่กลับรู้สึกว่าวัฒนธรรมเดิมของตนเองนั้นแตกต่าง ไปจากความคาดหวัง (Re-entry Culture Shock Stage)
7) ช่วงที่บุคคลค่อยๆ ปรับตัวกลับเข้าสู่ วัฒนธรรมเดิมของตนเอง (Resocialization Stage)
ความสำคัญของการปรับตัวทางวัฒนธรรม
1) ความสามารถทางการสื่อสารภายใต้วัฒนธรรมเจ้าบ้าน (Host communication competence) เป็นความรู้ ความเข้าใจ และแสดงพฤติกรรมการสื่อสารที่เหมาะสม
2) การสื่อสารภายในสังคมของเจ้าบ้าน (Host social communication) เป็นการศึกษาถึงการสื่อสารระหว่างบุคคล และสื่อมวลชนของเจ้าบ้าน
3) การสื่อสารภายในสังคมของกลุ่มชาติพันธุ์ตนเอง (Ethnic social communication) เป็นการศึกษาถึงการ สื่อสารระหว่างบุคคลและสื่อมวลชนของชนชาติพันธุ์ตนเอง
4) สิ่งแวดล้อม (Environment) เป็นการศึกษา ถึงลักษณะการเปิดรับของเจ้าบ้าน และความเข้มแข็งของ กลุ่มชนชาติพันธุ์เดียวกัน
5) พื้นฐานลักษณะส่วนบุคคล สิ่งที่ติดตัวและเตรียมตัวไว้ล่วงหน้า (Predisposition) เป็นการศึกษาถึงระดับของการเตรียมตัวและระดับของความเป็นชนชาติพันธุ์ รวมถึงบุคลิกภาพ
6) การเปลี่ยนรูประหว่างวัฒนธรรม (Intercultural transformation) ส่งผลให้ผู้แปลกหน้ามีสุขภาพจิตที่ดีและก้าวเข้าสู่ความเป็นผู้สื่อสารระหว่างวัฒนธรรมโดยไม่ยึดติดกับวัฒนธรรมใดวัฒนธรรมหนึ่ง
กลุ่มการปรับตัวทางวัฒนธรรม
กลุ่มไม่ปรับตัว (no adapt) เป็นกลุ่มที่ไม่เข้าใจในความแตกต่างทางวัฒนธรรม
กลุ่มเข้าใจ (understanding) เป็นกลุ่มที่มองเห็นและเข้าใจวัฒนธรรมที่แตกต่าง แต่เป็นแค่การยอมรับและเข้าใจวัฒนธรรมผู้อื่นเท่านั้น
กลุ่มปรับตัว (adjusting) กลุ่มนี้จะมีการปรับตัวปรับพฤติกรรมของตนเองให้เข้ากับวัฒนธรรมอื่น
กลุ่มเรียนรู้ (learning) เป็นกลุ่มที่เมื่อเจอวัฒนธรรมที่แตกต่างแล้วพยายามทำความเข้าใจเรียนรู้และผสมผสานองค์ประกอบทางวัฒนธรรมที่แตกต่างเข้าหาตนเอง
ปัจจัยในการแพร่กระจายของวัฒนธรรม
หลักภูมิศาสตร์ ต้องไม่มีอุปสรรคทางภูมิศาสตร์ขวางกั้น
ปัจจัยทางเศรษฐกิจ ผู้คนที่เดินทางติดต่อไปมาหาสู่กันทางเศรษฐกิจมีโอกาสนําวัฒนธรรมติดตัวไปแลกเปลี่ยนกับวัฒนธรรมอื่นได้
ปัจจัยทางสังคม การไปศึกษา การแต่งงาน การอพยพย้ายถิ่นโดยภัยเศรษฐกิจ
การคมนาคมขนส่งที่ดี เป็นปัจจัยสำคัญที่เอื้อการต่อแพร่กระจายทางวัฒนธรรม
ความรู้สึกสอดคล้องกลมกลืนทางวัฒนธรรม
องค์ประกอบของความรู้สึกสอดคล้องกลมกลืนในชีวิต
องค์ประกอบด้านความสามารถเข้าใจ (Comprehensibility) เป็นการรับรู้และประเมินสิ่งเร้าว่าเป็นสิ่งที่สามารถเข้าใจได้
องค์ประกอบด้านความสามารถในการจัดการ (Manageability) เป็นการรับรู้และประเมินของบุคคลว่าตนมีแหล่งทรัพยากรเพียงพอที่จะใช้ตอบสนอง หรือจัดการกับปัญหาที่รุมเร้าตนอยู่
องค์ประกอบด้านความสามารถในการให้ความหมาย (Meaningfulness) เป็นการรับรู้และประเมินของบุคคลว่าปัญหาหรือสิ่งที่เกิดขึ้นในชีวิตเป็นสิ่งที่มีความหมาย มีคุณค่าาและตนมีกําลังความสามารถเพียงพอที่จะเข้าไปจัดการ
การพัฒนาความรู้สึกสอดคล้องกลมกลืน
ลักษณะของประสบการณ์ชีวิตที่เกี่ยวกับความรู้สึกเชื่อมั่น และไว้วางใจผู้อื่นได้โดยสม่ำเสมอ
ลักษณะของประสบการณ์ชีวิตที่เผชิญกับสิ่งเร้าหรือเหตุการณ์ในชีวิตที่อยู่ในระดับสมดุลพอดี (Good load balance)
ลักษณะของประสบการณ์ชีวิตในการร่วมแก้ไขปัญหาหรือการที่บุคคลมีส่วนร่วมในการกำหนดผลลัพธ์ในชีวิตตน
ประโยชน์ของความรู้สึกสอดคล้องกลมกลืน
ช่วยให้บุคคลมีการรับรู้ว่าปัญหาที่เกิดขึ้นนั้นสามารถเข้าใจได้
ช่วยให้บุคคลมีการรับรู้ว่าปัญหานั้นสามารถแก้ไขได้
ช่วยให้บุคคลมีการรับรู้ว่าปัญหานั้นมีคุณค่า คุ้มค่า มีความท้าทาย ในการเข้าไปจัดการ
การสื่อสารภายใต้มิติความหลากหลายทางวัฒนธรรม
ช่องว่างของอำนาจ (Power Distance) สามารถอธิบายได้ว่า สมาชิกในสถาบันและองค์กร ในประเทศที่มีอำนาจน้อย ยอมรับว่าอำนาจมีความไม่เท่าเทียมกันในสังคม
Large Power Distance เป็นประเทศยากจนที่มีกลุ่มชนชั้นกลางน้อย เป็นสังคมที่อำนาจอยู่เหนือสิทธิบุคคลที่มีอำนาจจะเป็นบุคคลที่มีสิทธิและเป็นคนดี
Small Power Distance เป็นประเทศที่มีความร่ำรวยและมีกลุ่มชนชั้นกลางเป็นจำนวนมาก การใช้อำนาจอยู่ภายใต้หลักของกฎหมาย
ความเป็นส่วนตัวและการรวมเป็นกลุ่ม (Individualist & Collectivist) ในสังคมที่มีวัฒนธรรมที่แตกต่างกันย่อมส่งผล ต่อรูปแบบการสื่อสารที่แตกต่างกันด้วย
Individualist เป็นสังคมมีวัฒนธรรมที่ให้ความสำคัญกับเรื่องตนเองและครอบครัว โดยไม่สนใจบุคคลที่อยู่รอบข้าง
Collectivist เป็นสังคมที่คนจะถูกเลี้ยงดูมาในรูปแบบของครอบครัว มีความเป็นกลุ่ม ต้องได้รับการปกป้องจากกลุ่ม และต้องมีความซื่อสัตย์ต่อกลุ่ม
สังคมที่แบ่งแยกวัฒนธรรมในเรื่องของบทบาททางเพศ
ความเข้มแข็ง (Masculinity) จะให้ความสำคัญความท้าทาย การหารายได้การยอมรับ และความก้าวหน้า จะแบ่งบทบาทผู้ชายและผู้หญิงชัดเจน
ความนุ่มนวล (Femininity) ความสัมพันธ์และคุณภาพชีวิตเป็นสิ่งที่มีความสำคัญ
การหลีกเลี่ยงความไม่แน่นอน (Uncertainty Avoidance)
Strong Uncertainty Avoidance ความไม่มั่นใจเป็นสิ่งที่ติดตัวบุคคลมาตั้งแต่เกิด
Weak Uncertainty Avoidance มองว่าความไม่มั่นใจเป็นส่วนหนึ่ง ของชีวิตและสามารถยอมรับมันได้
เป็นระดับมุมมองต่ออนาคต (Long and Short Term Orientation)
Long-Term Orientation มีความเกี่ยวข้องกับการประกอบความดีงาม เพื่อประโยชน์ในอนาคต
Short-Term Orientation มีความเกี่ยวข้องกับความดีงามในอดีต และปัจจุบัน
ความสุขของบุคคล Indulgence & Restraint
Indulgence ประเทศที่มีมิติทางวัฒนธรรมดังกล่าวจะมีความสุข มาก มีอิสระในการแสดงออกซึ่งความคิดเห็นต่าง ๆ ให้ความสำคัญกับการพักผ่อนจดจำแต่เรื่องที่ดี
Restraint ประเทศที่มีมิติทางวัฒนธรรมดังกล่าวจะมีความสุขน้อย สิ่งที่เกิดขึ้นในชีวิตไม่ใช่สิ่งที่ตนเองเป็นคนทำไม่มีอิสระในการแสดงออกซึ่งความคิดเห็น มีกฎเกณฑ์ในสังคมไม่ให้ความสำคัญกับการพักผ่อน
6210110162
นวมินทร์ พันธางกูร