Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การพยาบาลผู้ป่วยไตบาดเจ็บเฉียบพลัน และโรคไตเรื้อรัง - Coggle Diagram
การพยาบาลผู้ป่วยไตบาดเจ็บเฉียบพลัน
และโรคไตเรื้อรัง
ภาวะไตบาดเจ็บเฉียบพลัน (Acute Kidney Injury/ AKI)
คือ ภาวะที่ไตเสียหน้าที่ไปอย่างเฉียบพลันในการขจัดของเสียรวมทั้งการเสียความสามารถในการควบคุมน้ำ กรด-ด่าง และ อิเล็กโทรไลท์ ผลตามมาที่พบบ่อยคือ volume overload, metabolic acidosis, hyperkalemia, hypo-hypernatremia และการสะสม nitrogen waste products ต่างๆ
สาเหตุของ AKI
Prerenal: สาเหตุจากเลือดไปที่ไต (Renal blood flow) ลดลง ทำให้แรงดันเพื่อการกรองผ่านลดลง และ ทำให้เกิดภาวะ Ischemia nephrons
Intrarenal (Intrinsic) : เนื้อเยื่อไตถูกทำลายเนื่องจากได้รับสารที่มีพิษต่อไต (nephrotoxins) ติดเชื้อ ระบบอิมมูนผิดปกติ ทำให้มีการอักเสบที่ไตและแม้แต่สาเหตุจาก prerenal ที่ได้รับการแก้ไขช้าหรือไม่เหมาะสมทำให้เลือดไปเลี้ยงไตไม่เพียงพอเป็นเวลานาน
Post renal AKI : เกิดจากปัสสาวะไหลออกไม่ได้ ทำให้มีการท้นหรือย้อนกลับสู่ไต ทำให้ไตถูกทำลาย
อาการและอาการแสดงของไตบาดเจ็บเฉียบพลัน
กลุ่มอาการภาวะน้ำเกิน (ปัสสาวะออกน้อย บวม BP สูงขึ้น
HR เร็วขึ้น Neck vein โป่ง น้ำหนักเพิ่ม
ปอดมีเสียง Rales หรือ Crepitation)
กลุ่มอาการ Azotemia /Uremia ได้แก่
คลื่นไส้ อาเจียน อ่อนเพลีย สับสน ซึมลง มือสั่น
Electrolyte imbalance เช่น Hyperkalemia
Metabolic acidosis หายใจหอบลึก
การวินิจฉัย AKI
การซักประวัติและตรวจร่างกาย
การตรวจปัสสาวะเพื่อประเมินหน้าที่ของไต
การตรวจเลือด
โรคไตเรื้อรัง (Chronic kidney disease: CKD)
เป็นภาวะที่ไตเสียหน้าที่อย่างถาวร โดยใช้เวลาค่อยเป็นค่อยไป
การรักษาทำได้ในระยะแรก คือ การชะลอความก้าวหน้าของโรค และหากไตเสียหน้าที่เกือบทั้งหมดการรักษาจึงเป็นการบำบัดทดแทนไต (Renal replacement therapy/RRT)
ภาวะไตผิดปกติ หมายถึง มีลักษณะตามข้อใดข้อหนึ่ง ดังนี้
ตรวจพบความผิดปกติดังต่อไปนี้ อย่างน้อย 2 ครั้ง
ในระยะเวลา 3 เดือน ได้แก่
ตรวจพบอัลบูมินในปัสสาวะ (albuminuria)
ตรวจพบเม็ดเลือดแดงในปัสสาวะ (hematuria)
มีความผิดปกติของเกลือแร่ (electrolyte) ที่เกิดจากท่อไตผิดปกติ
ตรวจพบความผิดปกติทางรังสีวิทยา
ตรวจพบความผิดปกติทางโครงสร้างหรือพยาธิสภาพ
มีประวัติการได้รับผ่าตัดปลูกถ่ายไต
อาการและอาการแสดงของโรคไตเรื้อรัง
ภาวะเป็นเลือดเป็นกรด (Acidosis) มีอาการคลื่นไส้ อาเจียน หายใจหอบลึก (Kussmual breathing)
กระดูกบาง
โลหิตจางเพราะขาด Erythropoietin การสร้างเม็ดเลือดแดงลดลงและเม็ดเลือดแดงมีอายุสั้น
ระดับของโปแตสเซียม แมกนีเซียม และฟอสเฟตสูง
Uremia มีอาการผิดปกติในหลายระบบ เช่น อ่อนเพลีย ไม่มีแรง การรับรสเสีย คลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร ท้องผูก ท้องเดิน ผิวหนังแห้งและคันเพราะมีผลึกยูเรียเกาะ
อาการระบบหัวใจและหลอดเลือด เช่น น้ำเกิน ความดันโลหิตสูง หัวใจวาย เยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ
วัตถุประสงค์และเป้าหมายของการดูแลผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง
ตรวจคัดกรองและส่งปรึกษาหรือส่งต่อ (screening and consultation or referral) เพื่อให้สามารถวินิจฉัยโรคได้ในระยะแรกและส่งปรึกษาอายุรแพทย์โรคไตได้อย่างเหมาะสม
ชะลอการเสื่อมของไต (slowing the progression
of kidney diseases) เพื่อป้องกันหรือยืดระยะเวลา
การเกิดโรคและการเข้ารับการบำบัดทดแทนไต
ประเมินและรักษาภาวะแทรกซ้อนของโรคไตเรื้อรัง (evaluation and treating complications) เพื่อวินิจฉัยและให้การดูแลรักษาที่เหมาะสมรวมทั้งเพื่อป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง
ลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด (cardiovascular risk reduction) เพื่อป้องกันการเกิดและลดอัตราการเสียชีวิตจากโรคหัวใจและหลอดเลือด ซึ่งเป็นสาเหตุการเสียยชีวิตที่สำคัญ
เตรียมผู้ป่วยเพื่อการบำบัดทดแทนไต (preparation for renal replacement therapy) เพื่อให้ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังได้รับการเตรียมพร้อมสำหรับการบำบัดทดแทนไตในระยะเวลาที่เหมาะสม