Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ความรู้ เกี่ยวกับ คอมพิวเตอร์และไอที, nghjyj, bgbg, kjl, kisspng-computer…
ความรู้ เกี่ยวกับ คอมพิวเตอร์และไอที
ความหมายของคอมพิวเตอร์
คอมพิวเตอร์ คือ อุปกรณ์ทางอิเล็กทรอนิกส์ (electronic device) ที่มนุษย์ใช้เป็นเครื่องมือช่วยในการจัดการกับข้อมูลที่อาจเป็นได้ ทั้งตัวเลข ตัวอักษร หรือสัญลักษณ์ที่ใช้แทนความหมายในสิ่งต่าง ๆ โดยคุณสมบัติที่สำคัญของคอมพิวเตอร์คือการที่สามารถกำหนดชุดคำสั่งล่วงหน้าหรือโปรแกรมได้ (programmable) นั่นคือคอมพิวเตอร์สามารถทำงานได้หลากหลายรูปแบบ
คุณสมบัติของคอมพิวเตอร์ ปัจจุบันนี้คนส่วนใหญ่นิยมนำคอมพิวเตอร์มาใช้งานต่าง ๆ มากมาย ซึ่งผู้ใช้ส่วนใหญ่มักจะคิดว่าคอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือที่สามารถทำงานได้สารพัด แต่ผู้ที่มีความรู้ทางคอมพิวเตอร์จะทราบว่า งานที่เหมาะกับการนำคอมพิวเตอร์มาใช้อย่างยิ่งคือการสร้าง สารสนเทศ ซึ่งสารสนเทศเหล่านั้นสามารถนำมาพิมพ์ออกทางเครื่องพิมพ์ ส่งผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ หรือจัดเก็บไว้ใช้ในอนาคตก็ได้ เนื่องจากคอมพิวเตอร์จะมีคุณสมบัติต่าง ๆ คือ
1.ความเร็ว (speed) คอมพิวเตอร์ในปัจจุบันนี้สามารถทำงานได้ถึงร้อยล้านคำสั่งในหนึ่งวินาที
2.ความเชื่อถือ (reliable) คอมพิวเตอร์ทุกวันนี้จะทำงานได้ทั้งกลางวันและกลางคืนอย่างไม่มีข้อผิดพลาด และไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย
3.ความถูกต้องแม่นยำ (accurate) วงจรคอมพิวเตอร์นั้นจะให้ผลของการคำนวณที่ถูกต้องเสมอหากผลของการคำนวณผิดจากที่ควรจะเป็น มักเกิดจากความผิดพลาดของโปรแกรมหรือข้อมูลที่เข้าสู่โปรแกรม
4.เก็บข้อมูลจำนวนมาก ๆ ได้ (store massive amounts of information) ไมโครคอมพิวเตอร์ในปัจจุบัน จะมีที่เก็บข้อมูลสำรองที่มีความสูงมากกว่าหนึ่งพันล้านตัวอักษร และสำหรับระบบคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่จะสามารถเก็บข้อมูลได้มากกว่าหนึ่งล้าน ๆ ตัวอักษร
5.ย้ายข้อมูลจากที่หนึ่งไปยังอีกทีหนึ่งได้อย่างรวดเร็ว (move information) โดยใช้การติดต่อสื่อสารผ่านระบบ เครือข่ายคอมพิวเตอร์ ซึ่งสามารถส่งพจนานุกรมหนึ่งเล่มในรูปของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์ที่อยู่ไกลคนซีกโลกได้ในเวลาเพียงไม่ถึงหนึ่งวินาที ทำให้มีการเรียกเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมกันทั่วโลกในปัจจุบันว่า ทางด่วนสารสนเทศ (Information Superhighway)
บุคคลสำคัญของคอมพิวเตอร์
ดร.จอห์น วี. อะทานาซอฟฟ์
ผลงานเด่น : ABC ,คอมพิวเตอร์
อิเล็กทรอนิกส์เครื่องแรก
ชาร์ลส์ แบบเบจ
ผลงาน : เครื่องคำนวณหาผลต่าง differential machine และเครื่อง
วิเคราะห์ analytical machine
มาร์วิน มินสกี
ผลงาน: ปัญญาประดิษฐ์ : โครงข่ายใยประสาทเทียม (aritfitial neuron network)
ส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์
จอภาพ (Monitor)
จอภาพ เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ติดต่อกับผู้ใช้โดยตรง นับเป็นอุปกรณ์ที่มีความสำคัญมากที่สุดอันหนึ่งของเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยจะแสดงผลออกมาเป็นภาพทางหน้าจอ โดยการแปลงจากสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์ที่ส่งเข้ามา โดยวิธีการนั้นขึ้นอยู่กับชนิดของจอภาพ ซึ่งสามารถแบ่งได้เป็นจอภาพแบบหลอดรังสีแคโธด หรือจอซีอาร์ที (cathode ray tube: CRT) และจอภาพแบบผลึกเหลวทรานซิสเตอร์แผ่นบาง หรือจอแบบ แอลซีดี
เคส (Case)
เคสเป็นโครงที่ใช้สำหรับใส่อุปกรณ์ภายในต่างๆเข้าไว้ด้วยกัน อุปกรณ์ที่มักจะใส่ไว้ในเคสก็เป็นพวก เมนบอร์ด(Mainboard) แรม (RAM) การ์ดจอ(VGA Card) ฮาร์ดดิสก์(Hard Disk Drive) พาวเวอซัพพลาย(Power Supply) เป็นต้น มีหลายแบบ หลายสีให้เลือกใช้ตามความพึงพอใจของผู้ใช้
พาวเวอร์ซัพพลาย (Power Supply)
ทำหน้าที่จ่ายกระแสไฟให้กับอุปกรณ์ต่างๆในเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยสามารถเลือกใช้งานได้ตามจำนวนวัตต์ ถ้าเครื่องคอมพิวเตอร์มีอุปกรณ์ต่อเยอะก็ควรจะเลือกใช้ที่วัตต์สูงๆ ไม่เช่นนั้นกำลังไฟอาจจะไม่พอทำให้ไม่สามารถใช้งานได้
คีย์บอร์ด (Keyboard
ทำหน้าที่รับข้อมูลจากผู้ใช้ โดยจะประกอบไปด้วยแป้นพิมพ์ที่มีปุ่มต่างๆมากมาย ทั้งปุ่มตัวอักษร(Typewriter keys) ตัวเลข (Numeric keypad) ปุ่มพิเศษ (Special-purpose keys) ปุ่มควบคุมอื่นๆ (Control keys) หรือปุ่มฟังก์ชั่นต่างๆFunction keys) สำหรับการใช้งานคอมพิวเตอร์ที่ต้องใช้การพิมพ์เป็นหลัก
.เมาส์ (Mouse)
ทำหน้าที่รับข้อมูลจากผู้ใช้ โดยจะใช้การเลื่อนเมาส์เพื่อบังคับตัวชี้ตำแหน่ง(Pointer) บนหน้าจอ แล้วใช้การกดปุ่มบนตัวเมาส์เพื่อสั่งให้ทำงานอะไรบนหน้าจอที่จุดนั้นๆได้
เมนบอร์ด (Main board)
ทำหน้าที่เป็นตัวควบคุมอุปกรณ์ทั้งหมดในเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยอุปกรณ์ทุกตัวจะต้องเชื่อมต่อกับเมนบอร์ดนี้ มีลักษณะเป็นแผ่นวงจรขนาดใหญ่ โดยบนแผ่นวงจรนั้นจะมีช่องสำหรับนำอุปกรณ์ต่างๆมาเสียบไว้ที่เรียกว่า ซ็อคเก็ต(Socket) ซึ่งแต่ละอุปกรณ์ก็จะมี socket เฉพาะของอุปกรณ์นั้นๆ
ซีพียู (CPU)
ซีพียูคือโปรเซสเซอร์(Processor) หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า หน่วยประมวลผลกลาง หรือ ซิพ(Chip) เป็นอุปกรณ์ที่สำคัญมากที่สุดเพราะมีหน้าที่ประมวลผลข้อมูลที่ผู้ใช้ป้อนเข้ามาหรือโปรแกรมที่ผู้ใช้งานส่งข้อมูลเข้ามาเป็นชุดคำสั่ง ซีพียู ประกอบด้วยส่วนหลัก 2 ส่วนดังนี้
1) หน่วยคำนวณและตรรกะ (ALU: Arithmetic & Logical Unit) ทำหน้าที่เหมือนกับเครื่องคำนวณอยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยทำงานเกี่ยวกับการคำนวณทางคณิตศาสตร์ เช่น บวก ลบ คุณ หาร และยังทำการเปรียบเทียบทางตรรกศาสตร์ โดยจะเปรียบเทียบเงื่อนไขและกฎเกณฑ์ทางคณิตศาสตร์ เพื่อพิสูจน์ว่าคำตอบนั้นเป็นจริงหรือเท็จ
2) หน่วยควบคุม (Control Unit) ทำหน้าที่ควบคุมขั้นตอนการประมวลผลและทำการประสานงานกับอุปกรณ์ต่างๆ ทั้งด้าน Input และOutput รวมถึงหน่วยความจำต่างๆด้วย
การ์ดแสดงผล (Display Card)
การ์ดแสดงผลจะทำงานเมื่อซีพียูประมวลผลจากข้อมูลต่างๆที่โปรแกรมส่งเข้ามา เมื่อซีพียูประมวลผลเสร็จก็จะทำการส่งข้อมูลที่จะใช้แสดงผลต่อไปยังการ์ดแสดงผล การ์ดแสดงผลก็จะส่งต่อข้อมูลไปยังจอภาพเพื่อแสดงผลออกมาตามข้อมูลที่ได้รับมา โดยการ์ดบางรุ่นจะสามารถประมวลผลได้ในตัวเอง ทำให้ซีพียูไม่ต้องทำงานมากนัก มีผลทำให้การทำงานของคอมพิวเตอร์นั้นเร็วขึ้นด้วย บางรุ่นก็จะมีหน่วยความจำในตัวเอง แต่บางรุ่นที่ไม่มีก็จะต้องดึงหน่วยความจำมาจากแรม (RAM) ซึ่งหาก แรมมีจำนวนน้อย อาจส่งผลให้คอมพิวเตอร์ทำงานได้ช้าลงไปด้วย แต่ในบางรุ่นที่มีหน่วยความจำในตัวเองก็จะทำให้รับข้อมูลจากซีพียูได้มากขึ้น ประมวลผลได้เร็วขึ้น ทำให้การแสดงผลบนจอภาพมีคุณภาพที่สูงตามไปด้วย
แรม (RAM)
แรม หรือ RAM (Random-Access Memory) เป็นหน่วยความจำหลักที่ซีพียูสามารถดึงมาใช้ได้ทันที แต่ไม่ใช่หน่วยความจำถาวรจำเป็นต้องมีไฟมาหล่อเลี้ยงตลอดเวลาในการทำงาน หากไม่มีไฟมาหล่อเลี้ยงข้อมูลที่บันทึกไว้ก็จะหายไป โดยการทำงานของแรมนั้น เมื่อซีพียูได้รับข้อมูลมาจากผู้ใช้งานหรือโปรแกรมแล้วก็จะเริ่มทำการประมวลผล เมื่อซีพียูประมวลผลเสร็จแล้ว ก็จะส่งต่อข้อมูลที่ประมวลผลเสร็จแล้วเก็บไปไว้ที่แรมก่อนจะถูกส่งต่อไปยังอุปกรณ์ต่างๆต่อไป
ฮาร์ดดิสก์ (Hard dis)
เป็นหน่วยความจำถาวรประจำเครื่อง โดยจะประกอบไปด้วยแผ่นจานแม่เหล็ก(platters) หลายๆแผ่นมาเรียงอยู่บนแกนเดียวกันที่เรียกว่า Spindle ทำให้แผ่นแม่เหล็กแต่ละแผ่นหมุนไปพร้อมๆกัน โดยใช้มอเตอร์เป็นตัวหมุน โดยจะมีหัวอ่านติดอยู่ประจำแผ่นแต่ละแผ่นซึ่งหัวอ่านของแต่ละแผ่นจะเชื่อมติดกัน สามารถเคลื่อนที่เข้า-ออกแผ่นจานได้อย่างรวดเร็ว โดยมีแผงวงจรควบคุมอีกต่อหนึ่งอยู่ ซึ่งข้อมูลที่เก็บลงฮาร์ดดิสก์จะเก็บอยู่บนแผ่นจานแม่เหล็ก โดยแผ่นจานแต่ละแผ่นจะถูกแบ่งออกเป็นสองส่วนก็คือ แทร็กและเซกเตอร์ โดยแทร็กจะเป็นรูปวงกลมทีละชั้นเข้าไปข้างใน และในแต่ละแทร็กก็จะถูกแบ่งออกเป็นเสี้ยวหนึ่งของวงกลมซึ่งเรียกว่าเซกเตอร์
ฟล็อปปี้ดิสก์ (Floppy Disk)
เป็นอุปกรณ์ที่มีมาก่อนคอมพิวเตอร์เสียอีก ฟล็อปปี้ดิสก์ ยุคแรกๆมีขนาดตั้งแต่ 8 นิ้ว 5.25 นิ้ว จนปัจจุบันอยู่ที่ 3.5 นิ้ว มีความจำอยู่ที่ไม่กี่ร้อยกิโลไบต์จนถึง 2.88 เมกกะไบต์ ปัจจุบันคอมพิวเตอร์รุ่นใหม่นั้นแทบจะไม่มี Floppy Disk Drive อีกแล้ว เนื่องจากแผ่น ฟล็อปปี้ดิสก์ นั้นจุความจำได้น้อย แถมยังพังง่าย ปัจจุบันถูกทดแทนด้วย Flash Drive เสียมากกว่า
เน็ตเวิร์คการ์ด (Lan card)
เน็ตเวิร์คการ์ดหรือการ์ดแลน เป็นตัวเชื่อมต่อระหว่างคอมพิวเตอร์และเครือข่าย โดยส่วนใหญ่จะเรียกว่า NIC (Network Interface Card) โดยจะทำการแปลงข้อมูลเป็นสัญญาณไฟฟ้าที่สามารถส่งไปตามสายสัญญาณได้ ซึ่งก็จะมีความเร็วในการส่งข้อมูลหลายระดับตั้งแต่ 10 Mbps, 100Mbps หรือ 1000Mbps ซึ่งการ์ดบางรุ่นก็สามารถเลือกระดับความเร็วในการทำงานได้ ปัจจุบันเมนบอร์ดส่วนใหญ่มักจะมีชิพที่เป็นช่องเน็ตเวิร์คการ์ดในตัวอยู่แล้ว ทำให้ เน็ตเวิร์คการ์ด นั้นไม่ค่อยมีเห็นใช้กันแล้ว
CD-ROM / CD-RW /DVD / DVD-RW
ใช้สำหรับการอ่านแผ่น CD หรือ DVD โดยหากต้องการที่จะเขียนข้อมูลลงไปในแผ่นจะต้องเป็นไดร์ฟที่มี RW ด้วย โดยการทำงานนั้นจะอ่านข้อมูลจาก CD/DVD โดยใช้หัวอ่านเลเซอร์ที่จะยิงแสงเลเซอร์ลงบนซีดีรอม ซึ่งบนซีดีรอมนั้นจะแบ่งเป็นแทร็กและเซกเตอร์เช่นเดียวกับฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ แต่จะมีขนาดเท่ากันทุกเซกเตอร์ เมื่อเริ่มทำงานมอเตอร์จะหมุนแผ่นด้วยความเร็วต่าางๆกันทำให้แต่ละเซกเตอร์มีอัตราเร็วในการอ่านคงที่
ความหมายของไอที
เทคโนโลยีสารสนเทศ หรือ ไอที (information technology: IT) คือการประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์โทรคมนาคม เพื่อจัดเก็บ ค้นหา ส่งผ่าน และจัดดำเนินการข้อมูล ซึ่งมักเกี่ยวข้องกับธุรกิจหนึ่งหรือองค์การอื่น ๆ ศัพท์นี้โดยปกติก็ใช้แทนความหมายของเครื่องคอมพิวเตอร์และเครือข่ายคอมพิวเตอร์ และยังรวมไปถึงเทคโนโลยีการกระจายสารสนเทศอย่างอื่นด้วย เช่นโทรทัศน์และโทรศัพท์ อุตสาหกรรมหลายอย่างเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีสารสนเทศ ตัวอย่างเช่น ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ อิเล็กทรอนิกส์ อุปกรณ์กึ่งตัวนำ อินเทอร์เน็ต อุปกรณ์โทรคมนาคม การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ และบริการทางคอมพิวเตอร์
Programmer (โปรแกรมเมอร์อันดับหนึ่งคงหนีไม่พ้น Programmer (โปรแกรมเมอร์) หรือสาย Coding
คนที่เรียนสาย Computer, IT ส่วนใหญ่ ล้วนใฝ่ฝันอยากเป็น Programmer (โปรแกรมเมอร์)
กันทั้งสิ้นแต่การที่จะเป็น Programmer (โปรแกรมเมอร์) ที่ดีและเก่งนั้น
ไม่ใช่เรื่องง่ายเพราะต้องอาศัยความรู้และประสบการณ์ด้านคณิตศาสตร์ ตรรกศาสตร์ (Logic)ตลอดจนทักษะและไหวพริบในการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าอีกด้วยปัจจุบัน Programmer (โปรแกรมเมอร์) คุณภาพ ยังเป็นที่ต้องการของตลาดอยู่เป็นจำนวนมาก
System Analyst (SAอันดับสองเป็นของ System Analyst (SA) หรือสาย Document, Business บางครั้งเรียก Business Analyst (BA)
ส่วนใหญ่คนที่ทำงานด้านนี้ ก็จะมาจาก Programmer (โปรแกรมเมอร์) ที่สะสมประสบการณ์มาได้พอประมาณ
งานด้าน SA นั้น จะเน้นในเรื่องการ Design หรือออกแบบระบบ และวิเคราะห์ระบบ
จากความต้องการของลูกค้า หรือผู้ใช้ พูดง่ายๆคือ เปลี่ยนความต้องการของผู้ที่ไม่มีความรู้ด้านไอที
มาเป็นระบบที่สามารถส่งต่อให้กับ Programmer (โปรแกรมเมอร์) นำไปพัฒนาต่อเป็น Application ต่อไป
ตำแหน่งนี้ ต้องการทักษะทางด้านการคิด วิเคราะห์ และทักษะด้านภาษา รวมถึงการออกแบบอีกด้วย
System Engineer (วิศวกรระบบอันดับสามซึ่งได้รับความนิยมพอๆกับ SA ก็คือวิศวกรระบบ หรือ System Engineer บางที่เรียก System Integrator (SI)
งานในสายนี้จะไม่ค่อยได้เน้นการทำ Application แต่จะเน้นการออกแบบ ติดตั้งและดูแลระบบ Server, Network
หรือพวก Infrastructure ต่างๆ ที่ใช้กันในองค์กร และหน่วยงานทั้งหลาย
ตำแหน่งนี้จะใช้ทักษะการใช้งาน Hardware, ระบบปฏิบัติการ (OS), ระบบเครือข่าย (Network) ต่างๆ
ซึ่งค่าตอบแทนสำหรับบุคลากรด้านนี้นั้น ถือว่าค่อนข้างสูงเลยทีเดียว
Tester (ผู้ทดสอบระบบ)ในการพัฒนาซอฟแวร์หรือ Application นั้น จะขาดตำแหน่งนี้ไปไม่ได้ นั่นคือ Tester หรือผู้ทดสอบระบบตำแหน่งนี้อาจจะดูเหมือนเป็นงานที่ง่าย แต่จริงๆแล้ว ต้องอาศัยทักษะหลายอย่าง เช่นทักษะด้านภาษา ด้านการวิเคราะห์ รวมถึงความคิดสร้างสรรค์ รวมถึงความอดทนเป็นอย่างสูงซึ่งหน้าที่ของ Tester (ผู้ทดสอบระบบ) จะทำหน้าที่ทดสอบหรือใช้งานตัวซอฟแวร์หรือApplication นั้นจริงๆหลังจากที่โปรแกรมเมอร์ (Programmer) ส่งต่องานให้ใน Version นั้นๆก่อนการทดสอบทุกครั้งนั้น Tester (ผู้ทดสอบระบบ) จำเป็นต้องเขียน Test Case หรือขั้นตอนการทดสอบเป็นหัวข้อๆไป ให้สอดคล้องกับ Requirement ที่ลูกค้าหรือผู้ใช้ต้องการบางครั้งตำแหน่งนี้อาจจะไม่ได้อยู่ในทีมพัฒนา เพราะลูกค้าหรือผู้ใช้จะเป็นคนทดสอบเอง
Project Manager (PM)เป็นตำแหน่งที่ต้องคอยกำกับดูแลทีมพัฒนา ในแต่ละโปรเจค มีประสบการณ์ทำงานสูง
ซึ่งจำเป็นต้องมีทักษะรอบด้าน ไม่ว่าจะเป็นด้านการ Coding ด้านภาษา ด้านการวิเคราะห์แก้ปัญหารวมถึงด้านการดูแลคนในทีม ให้สามารถทำงานให้เสร็จตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ให้ได้ตำแหน่งนี้จะอยู่ในระดับหัวหน้างาน เป็นงานที่ต้องมีความรับผิดชอบสูงมาก แต่ค่าตอบแทนก็สูงตามเช่นกัน
IT Consulting (ที่ปรึกษาด้านไอที)ผู้ที่จะให้คำปรึกษาด้านไอทีได้นั้น ต้องการคนที่มีความรู้รอบด้าน มีประสบการณ์ค่อนข้างนานซึ่งอาจจะจำแนกที่ปรึกษาด้านไอทีนี้ ได้อีกหลายประเภท เช่น ด้านการพัฒนาซอฟแวร์
ด้านการดูแลระบบ ด้านระบบเครือข่ายและ Server เป็นต้น
โดยปกติแล้วตำแหน่งนี้ อาจจะทำควบคู่ไปกับตำแหน่ง Project Manager
ซึ่งต้องอาศัยประสบการณ์ในการทำงานที่ค่อยข้างสูงเหมือนกัน
IT Support/Help Desk/Administratorสำหรับงานอันนี้ จะมีหน้าที่คอยช่วยเหลือองค์กร ในด้าน IT ทุกๆด้าน ที่ไม่ใช่งานเฉพาะทางมากนัก
เช่น การสอนการใช้งานระบบ, Computer, Network, Server, Internet ตลอดจนอุปกรณ์ไอทีต่างๆรวมถึงการใช้งาน Application การลงโปรแกรม การดูแลระบบต่างๆอีกด้วย
ตำแหน่งงานนี้ ไม่ต้องการทักษะที่สูงมากนัก แต่จะเน้นประสบการณ์การใช้งานระบบนั้นๆมากกว่าซึ่งทุกองค์กรจำเป็นต้องมีพนักงานตำแหน่งนี้ หรือบุคลากรที่รู้เรื่องไอทีอยู่อย่างแน่นอนนอกจากตำแหน่งที่กล่าวไปแล้ว ยังมีตำแหน่งงาน IT (ไอที) อื่นๆอีกมาก ที่แตกแขนงจากตำแหน่งดังกล่าวออกไป
เพื่อให้เหมาะสมกับองค์กร และลักษณะงานที่รับผิดชอบ
ทั้งนี้ หากยังตัดสินใจไม่ได้ว่าอยากจะทำตำแหน่ง IT (ไอที) อะไร ลองปรึกษา Head Hunter
หรือ Recruiter ที่มีความเชี่ยวชาญทางด้าน IT (ไอที) เพื่อจะได้รับคำแนะนำที่ดี
และอาจจะค้นพบตัวเองว่า เรานั้นเหมาะสำกับตำแหน่งงาน IT (ไอที) ด้านไหนกันแน่
บุคคลสำคัญทางด้านไอที
สตีฟ จ๊อบส์ (Steve Jobs)
บิล เกตส์ (Bill Gates)
สตีเฟน วอซนิแอค
(Stephen Wozniak)
ดร. จอห์น วี. อะทานาซอฟฟ์
(John V. Atanasoff)
5.ทิม เบอร์เนอร์ส- ลี
(Tim Berners-Lee หรือ TBL)