Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
เคสกรณีศึกษา เตียง 21
Spontaneous pneumothorax
( ภาวะลมรั่วในช่องเยื่อหุ…
-
กิจกรรมการพยาบาล
5.ดูแลการทำงานของสาย ICD เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนจากการใส่ ICD เช่น การติดเชื้อ,การเลื่อนหลุดของสาย ICD เป็นต้น
- ตรวจสอบการทำงานของสายระบายทรวงอกให้ ระบายทรวงอกให้ถูกต้องทุก 8 ชั่วโมงโดยการตรวจรอยรั่วบริเวณรอยต่อระหว่างหลอดแก้วหรือจุกขวดปิดไม่แน่นหากมีรอยรั่วเกิดขึ้นในระบบให้ตรวจสอบรอยรั่ว หากรั่วน้ำจะไม่กระเพื่อม และมีลมออกจากสาย
-
6.ดูแลให้ขวดรองรับสารเหลวอยู่ต่ำกว่าระดับทรวงอกของผู้ป่วยประมาณ2ถึง 3 ฟุตเสมอเพื่อป้องกันไม่ให้สารเหลวดูดกลับซึ่งทำให้ติดเชื้อได้
- สังเกตุการกระเพื่อมขึ้นลงของระดับน้ำในหลอดแก้ว
9.แนะนำให้ผู้ป่วยเปลี่ยนท่านอนอย่างน้อยทุก 2 ชั่วโมงโดยการใช้มือประคองสายท่อระบายทรวงอกขณะเปลี่ยนท่านอนระมัดระวังไม่นอนทับสายท่อระบายทรวงอก
- ถ้าต้องการปิดเครื่องดูด (ตามคำสั่งแพทย์เครื่องดูดให้เปิดความดันOn -20 mmH2O)ให้ปลดสายที่ต่อกับหลอดแก้ว เส้นของขวดควบคุมความดันให้ต่อกับบรรยากาศภายนอกเสมอ เพราะถ้าปิดเครื่องดูดนานหรือเครื่องดูดไม่ทำงาน จะทำให้เกิดลมเยอะ ลมจะดันเข้าไปยังปอด ทำให้ความดันภายในปอดเพิ่มขึ้นส่งผลให้ผู้ป่วยเกิดอาการเหนื่อย
- หลีกเลี่ยงการหนีบสายท่อระบายทรวงอกโดยไม่จำเป็นเพราะจะทำให้เกิดการอุดตันส่งผลให้ลมและสารเหลวระบายออกไม่ดี
-
1.สังเกตุอาการลักษณะการหายใจประเมินสัญญาณชีพทุก ทุก1- 2 ชั่วโมงแรกหากพบว่าอาการและสัญญาณชีพคงที่ให้ประเมินทุก 4 ชั่วโมง
2.ทำแผล สังเกตแผล เปิดแผลดูdischarge ว่ามีซึมหรือไม่ มีบวมแดงหรือไม่ หากแผลเปียกให้รายงานแพทย์ ดู pain score ดู on suction ว่าความดันเท่าไหร่ สังเกตสาย ICD ไม่ให้สายเป็นงวงช้าง เปลี่ยนขวดแก้ว และระวังไม่ให้ขวดแตก เปลี่ยนผ้ากลอสและปิดแผลให้เรียบร้อย
ขวด ICD ต้องเปลี่ยนขวดบ่อยหรือไม่ ซึ่งผู้ป่วยเคสนี้ไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนขวดบ่อย ระหว่างนั้นจึงต้องสังเกตคอยดูการเพิ่มลดของปริมาณน้ำในขวด ดูการทำงานของขวดว่า มีน้ำกระเพื่อมแท่งแก้วหรือไม่ น้ำในแท่งแก้วกระเพื่อมขึ้นลงตามการหายใจของผู้ป่วย มีลมออกในน้ำสม่ำเสมอหรือไม่ ดูการทำงานของเครื่องดูดว่าตอนนี้ทำงานหรือไม่และเครื่องดูดเปิดความดันว่ามีการเคลื่อนขึ้นหรือลดลงจากแพทย์กำหนดความดันไว้หรือไม่
ขวด ICD มี 3 แบบ แบ่งตามจำนวนขวดแก้ว
- แบบ 1 ขวด สำหรับระบายลมที่ค้างในช่องเยื่อหุ้มปอด
- แบบ 2 ขวด สำหรับระบายลมและของเหลวที่ค้าง ในช่องเยื่อหุ้มปอด
- แบบ 3 ขวด สำหรับระบายลม ของเหลว และแก้ไขภาวะปอดแฟบ
กรณีหากทำขวด ICD แตก ให้รีบหนีบสายท่อระบายไว้ก่อน (เพื่อไม่ให้อากาศไหลเข้าปอดไปเพิ่มความดันภายในปอดไปดันปอด ทำให้ผู้ป่วยเกิดอาการเหนื่อยและปอดอาจเกิดการฉีกขาดมากขึ้น) แล้วนำขวด ICD ใหม่มาเปลี่ยน
6.ฝึกบริหารปอด ( Breathing exercise )โดยใช้เครื่องบริหารปอด ( Triflow : tri ball incentive spirometer )
-
-
-
-
2.ดูแลให้ผู้ป่วยได้รับออกซิเจนอย่างเพียงพอ เพื่อป้องกันภาวะพร่องออกซิเจน โดยแพทย์ให้ผู้ป่วยได้รับ Oxygen with bag 10 LPM
- ประเมินสัญญาณชีพทุกๆ 4 ชั่วโมง โดยเฉพาะ ค่า Oxygen sat ไม่ควรต่ำกว่า 96% ,RR ควรอยู่ในช่วง 12 - 20 ครั้งต่อนาที และสังเกตุดูอาการพร่องออกซิเจน เช่น มีอาการหายใจหอบเหนื่อย, รู้สึกกระสับกระส่าย กระวนกระวาย,ผิวหนังซีดหรือมีสีเขียวคล้ำ, ปลายมือปลายเท้าเขียว (cyanosis) และเย็น เป็นต้น เพื่อประเมินสัญญาณชีพและป้องกันภาวะพร่องออกซิเจน
-
- จัดท่านอนศรีษะสูง ( semi Fowler‘s position ศีรษะสูง 20-30องศา หรือท่า Fowler’s position ศีรษะสูง 45-60องศา) เพื่อให้กระบังลมหย่อนตัวทำให้ปอดขยายตัวได้เต็มที่ ส่งเสริมการระบายอากาศ
- จำกัดกิจกรรม โดยจัดสิ่งของเครื่องใช้ให้อยู่ใกล้ตัวผู้ป่วย ให้ผู้ป่วยสามารถหยิบใช้งานได้ง่าย เพื่อลดการเคลื่อนไหวที่ส่งผลทำให้ผู้ป่วยมีอาการเหนื่อย
4.ดูแลให้ผู้ป่วยได้รับยาละลายเสมหะ MUCOTIC 200 MG. GRANULE (1ซองละลายน้ำ 1แก้ว ดื่มวันละ3ครั้งหลังอาหาร เช้า กลางวัน เย็น)เพื่อลดการอุดกั้นทางเดินหายใจที่ส่งผลให้ผู้ป่วยเกิดภาวะพร่องออกซิเจน
8.ติดตามผลการดูแลรักษา โดยติดตามได้จาก
1.การตรวจร่างกาย ดูอกซ้ายมี Subcutaneous emphysema หรือ ถ้ามีแสดงว่าผู้ป่วยยังเป็น Pneumothorax ยังมีลมอยู่ภายในปอดเป็นจำนวนมาก
, Lung explansion ตรวจดูว่าอกซ้ายและขวาสมมาตรเท่ากันหรือไม่,คลำหลอดลม ควรพบ trachea in midline หากคลำดูพบว่าหลอดลมไม่ตรงชิดไปด้านใดด้านหนึ่งแสดงว่ายังมีการรั่วของปอดอยู่ , เคาะปอดฟังเสียง ปอดปกติควรเคาะได้ยิน resonance แต่หากเคาะได้ยินเสียง Hyper resonance แสดงว่าปอดของผู้ป่วยยังรั่วและมีลมค้างอยู่ภายในปอดอยู่,ฟังเสียงปอดทุก lope ควรได้ยินเสียงลมเข้าออกสม่ำเสมอ หากฟังแล้วไม่พบเสียงลม (diminished breath sounds) แสดงว่าปอดข้างนั้นมีการรั่วของปอดอยู่
2.CXR เพื่อดูสภาพของปอดว่ามีการขยายเท่ากันทั้ง 2 ข้างหรือไม่ ดูว่าหลอดลมยังมีการชิดเอียงไปด้านใดด้านหนึ่งอยู่หรือไม่ มี deep sulcus sign หรือไม่
3.ดูการทำงานของขวด ICD ว่ายังมีลมออกหรือไม่ หากดูแล้วไม่มีลมออกอาจแสดงได้ถึงกรณีแรกปอดบริเวณที่รั่วได้ปิดสมานรูรั่วดีแล้วจึงไม่มีลมที่ต้องระบายออกมาแล้วหรืออีกกรณีคือสาย ICD ไม่ทำงานต้องกลับไปตรวจสอบการทำงานของขวด ICD อีกครั้ง
-